ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,805 รายการ
พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธุ์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๔๖ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาโหมด ประสูติเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๔๒๗ มีพระเชษฐาร่วมเจ้าจอมมารดา คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธุ์ เสด็จไปทรงศึกษาต่อที่ทวีปยุโรป เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๐ ทรงศึกษาที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ
ในรัชกาลที่ ๕ ทรงรับราชการจนได้เป็นมหาอำมาตย์ตรี ตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลอง กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ อธิบดีกรมสำรวจและอธิบดีโรงกษาปณ์
ถึงรัชกาลที่ ๖ ทรงสถาปนาเป็น กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๗ เป็นมหาเสวกตรี พระองค์ทรงรับราชการตำแหน่งผู้ตรวจการกรมศิลปากร ซึ่งเป็นกรมที่ตั้งขึ้นใหม่ โดยโอนกิจการของกรมช่างมหาดเล็ก จากกระทรวงวัง และกรมพิพิธภัณฑ์ จากกระทรวงธรรมการ นอกจากนี้ยังทรงดำรงตำแหน่งองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๖ ด้วยพระโรคอหิวาตกโรค เมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๒ พระชันษา ๓๖ ปี เป็นต้นราชสกุล สุริยง
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส นับเป็นพระราชนัดดาพระองค์หนึ่งในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่สืบสายจากพระบรมชนกนาถ
ภาพ : มหาเสวกตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส
หนังตะลุง
ศิลปะการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ที่มีความน่าสนใจในหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการแสดง ตัวหนัง เครื่องดนตรี ต่างเกิดขึ้นด้วยภูมิปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ของบรรพบุรุษ
ฟ้อนโตหรือเต้นโต การแสดงในช่วงเทศกาลออกหว่าหรือออกพรรษาของชาวไทใหญ่ นอกจากการฟ้อนนกกิงกะหร่าแล้ว ยังมีการแสดงที่ควบคู่กันคือ การฟ้อนโตหรือเต้นโต เป็นการแสดงที่อิงมาจากท่าทางของสัตว์ในป่าหิมพานต์ ตามตำราทางพระพุทธศาสนาได้กล่าวว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จกลับจากการโปรดพระมารดา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มายังบนโลกมนุษย์ในวันเทโวโรหณะ บรรดาสัตว์ทั้งหลายจึงมาร่วมกันเฝ้าพระองค์และต่างแสดงกิริยาดีใจตามธรรมชาติของตน โดยเฉพาะนกกิงกะหร่าและโต ในการแสดงฟ้อนโต หรือที่เรียกว่าเต้นโตนั้น ผู้แสดงจะออกท่าทางตามภูมิปัญญาของผู้ถ่ายทอดหรือบรรพชน การแต่งกายมีลักษณะแตกต่างกันออกไป บางแห่งมีลักษณะการแต่งหน้าคล้ายเลียงผา ลำตัวสั้น แต่บางแห่งมีลักษณะเหมือนกิเลน ลำตัวยาว มักใช้ผู้แสดง ๒ คน การเต้นโตคล้ายการเชิดสิงโตของชาวจีน คนหนึ่งเชิดส่วนหัว อีกคนเชิดส่วนหาง ผู้แสดงต้องซ้อมและนัดหมายจังหวะกันอย่างดีเพื่อให้การแสดงเป็นธรรมชาติและสร้างความสนุกสนานแก่ผู้ชม การแสดงโต จังหวัดเชียงราย ในอำเภอแม่สาย มักมีผู้แสดงอีกคนที่คล้ายแป๊ะยิ้มในการเชิดสิงโตแบบจีน แต่ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอนนั้นไม่นิยม การแสดงโตโดยมาก มักให้ตัวโตคาบธนบัตร โดยการสนับสนุนจากผู้ว่าจ้าง เครื่องดนตรีที่ใช้ในการแสดงนั้น มีวงกลองก้นยาวของชาวไทใหญ่ (กลองปู่เจ่) ๑ ลูกกว้างมีความยาว ๒เมตรขึ้นไป ฉาบใหญ่หรือกลาง ๑ คู่ และฆ้อง ๓ ลูกขึ้นไป โดยใช้ผู้ตีลูกละ ๑ คน ส่วนวงกลางมองเชิง ประกอบไปด้วยกลองหน้าตัด ๒ ด้าน (ลักษณะคล้ายกลองตะโพนของภาคกลาง) ๑ ลูก ฉาบใหญ่หรือกลาง ๑ คู่ และฆ้องไล่ระดับเสียงกัน ๑ ชุด โดยเน้นเสียงฆ้องเป็นหลัก ทำให้เกิดความไพเราะเมื่อบรรเลงร่วมกัน ปัจจุบันการฟ้อนกิงกะหร่าและการฟ้องโตไม่ได้แสดงแค่ช่วงเทศกาลวันออกพรรษา แต่ยังแสดงในงานมงคลทั่วไป สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมของชาวไทใหญ่ผู้เรียบเรียง : นางสาวอริสรา คงประเสริฐ นักจดหมายเหตุภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่.อ้างอิง :๑. ธีรยุทธ ยวงศรี. ม.ป.ป. "ฟ้อนโต/เต้นโต". สารานุกรมวัฒนธรรมไทย(Online). https://db.sac.or.th/thailand-cultural.../detail.php... , สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๕.๒. มหาวิทยาลัยราชฏักเชียงใหม่. ม.ป.ป. "ข้อมูลการฟ้อนนกกิงกะหร่าและการเต้นโต". โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชฏักเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เรื่อง การวิจัยหลักสูตรอย่างมีส่วนร่วมของมนุษยชนสำหรับสถานศึกษา(Online). https://online.pubhtml5.com/aofc/ufdf/#p=2 , สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๕.
วันพุธที่ ๒๗ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ เวลา ๑๑.๐๐ น. นายพนมบุตร จันทรโชติ ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วยนางสาวพิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ ผู้ทรงคุณวุฒิ นางรักชนก โคจรานนท์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง ผู้บริหารกรมศิลปากร ข้าราชการ พนักงานราชการ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ร่วมถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน และลงนามถวายพระพรชัยมงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ณ ห้องประชุมชั้น ๕ อาคารกรมศิลปากร เทเวศร์ กรุงเทพฯ
กรมศิลปากร ขอแนะนำ “ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร” ซึ่งเป็นช่องทางเผยแพร่ข้อมูลองค์ความรู้ด้านศิลปกรรมของสำนักช่างสิบหมู่ ผ่านทางเว็บไซต์ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลความรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีองค์ความรู้เกี่ยวกับงานศิลปะไทย ในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) อาทิ งานช่างปิดทองประดับกระจก การสร้างลวดลายในงานโลหะ การจัดสร้างหุ่นหลวง การเขียนภาพจิตรกรรมไทย การตอกกระดาษตอกฉลุหนัง การแกะแม่พิมพ์หินสบู่ การประดับมุกแบบญี่ปุ่น ฯลฯ และชมผลงานของสำนักช่างสิบหมู่ได้อีกมากมาย
ผู้สนใจสามารถเข้าถึงข้อมูลองค์ความรู้งานด้านศิลปกรรม ของสำนักช่างสิบหมู่ ผ่านทางเว็บไซต์ https://datasipmu.finearts.go.th
เรื่อง “หาดคุ้งวิมาน”
จันทบุรีเป็นเมืองท่องเที่ยว มีสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติมากมาย ทั้งน้ำตก ทะเล หาดทราย จะขอแนะนำหาดทรายที่สวยงามที่น่าสนใจให้ทราบกันหลายแห่ง ได้แก่ หาดคุ้งวิมาน แหลมเสด็จ หาดจ้าวหลาว อ่าวคุ้งกระเบน หาดแหลมสิงห์ อ่าวกระทิง อ่าวยาง จะขอเริ่มที่หาดคุ้งวิมานก่อน
หาดคุ้งวิมาน เป็นหาดที่สวยงามแห่งหนึ่งของจังหวัดจันทบุรี อยู่ในท้องที่ตำบลสนามไชย อำเภอนายายอาม ถ้ามาจากระยองจะแยกเข้าทางขวามือของเส้นทางถนนสุขุมวิท ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 301-302 ก่อนถึงตัวเมืองจันทบุรี ประมาณ 28 กิโลเมตร เข้าไป 27 กิโลเมตรก็จะถึงชายหาดคุ้งวิมาน
ก่อนถึงชายหาดคุ้งวิมานประมาณ 1 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายมือขึ้นไปบนภูเขาเตี้ยๆ มีจุดชมวิวทิวทัศน์ มีมุมสวยๆ บนเขาและทางลาดที่มองออกไปทะเล มีถนนเลียบทะเลที่สวยที่สุดในภาคตะวันออก สมกับชื่อที่เป็นวิมานของคุ้งแห่งนี้
หาดคุ้งวิมานเป็นหาดทรายสีทอง มีโขดหินผุดโผล่เป็นแห่งๆแต่งแต้มชายหาดให้สวยงามยิ่งขึ้นยามที่คลื่นถาโถมซัดเข้าหาโขดหินตามกำลังแรงของลม ทำให้น้ำแตกกระเซ็นเป็ฟองนฝอยขาวพร่างตาตัดกับสีฟ้าสดใสของน้ำทะเล ไกลออกไปเห็นเรือประมงอยู่ลิบๆ ฝูงนกนางนวลและนกทะเลบางชนิดบินฉวัดเฉวียนอย่างร่าเริงน่ามอง จึงอยากเชิญชวนให้มาท่องเที่ยวกันที่หาดคุ้งวิมาน
อ้างอิง : ที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี : อัมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ. 2533.
มัทธิว เจ. (2542, เมษายน). “เที่ยวทะเลจันท์.” Trips Magazine. ปีที่ 3 ฉบับที่ 30 : หน้า 44-65.
ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้
นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
องค์ความรู้หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา เรื่อง “สิริสาธรนารีรัตน์: พระภูษาไหมจากที่ราบสูงโคราช”
จากพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ของ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ที่ทรงมีพระทัยตั้งมั่นในการสืบสาน รักษา และต่อยอดพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์แห่งศิลปาชีพ สืบสานอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาของคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการพัฒนาผ้าไทย โดยพระองค์ได้พระราชทานลายผ้า “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่และสื่อความหมายถึงการส่งมอบความรักความสุขให้แก่ชาวไทย ในการนี้ กลุ่มทอผ้าต่างๆจึงได้นำลายผ้าพระราชทานไปรังสรรค์ผลงานออกมามากมาย และหนึ่งในความสำเร็จชาวจังหวัดนครราชสีมา ที่สามารถนำผ้าไหมยกดอกที่มีชื่อว่า “สิริสาธรนารีรัตน์” เข้ารับพระราชทานรางวัลได้สำเร็จ
ขอบคุณข้อมูลจากนายธงชัย พันธุ์สง่า ครอบครัวดีเทล ผู้ประกอบการโอทอปประเภทผ้า จากจังหวัดนครราชสีมา
รวบรวมและเรียบเรียงโดย นางรสสุคนธ์ ตั้งนภากร บรรณารักษ์ชำนาญการ
#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่พระเจ้าเก้าตื้อ วัดบุปผาราม (วัดสวนดอก) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่รูปแบบ : ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 21 วัสดุ : สำริด ลงรักปิดทองประวัติ : พระเมืองแก้วโปรดให้สร้างขึ้น เริ่มทำการหล่อพระพุทธรูปเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 11 ค่ำเดือน 8 ปีชวด จุลศักราช 866 (พ.ศ. 2047) เสร็จแล้วได้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถวัดบุปผาราม เมื่อวันพุธ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 จุลศักราช 871 (พ.ศ. 2052) สถานที่ : ปัจจุบันประดิษฐานภายในวิหารพระเจ้าเก้าตื้อ ลักษณะ : พระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบบนฐานหน้ากระดานเกลี้ยง พระพักตร์รูปไข่ ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลวสูง สังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่ยาวจรดพระนาภี ----------------------------------------------------------“พระเจ้าเก้าตื้อ” เป็นพระพุทธรูปสำริดศิลปะล้านนาสภาพสมบูรณ์ที่ใหญ่ที่สุด คำว่า “เก้าตื้อ” หมายถึงพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่หนักมากถึง 9 ตื้อ โดยมีขนาดหน้าตักกว้าง 2.90 เมตร และสูง 3.87 เมตร .ลักษณะของพระพุทธรูปเป็นแบบเชียงแสนสิงห์สอง คือกลุ่มที่มีอิทธิพลศิลปะสุโขทัยแบบหมวดใหญ่ เห็นได้จากลักษณะของพระพักตร์รูปไข่ ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว ประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก ชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี เป็นตามแบบพระพุทธรูปศิลปะล้านนาที่พบมากในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 21 แต่ชายสังฆาฏิทำเป็นแผ่นใหญ่เป็นลักษณะอิทธิพลของศิลปะอยุธยาเข้ามาผสมด้วย จากลักษณะรูปแบบของพระพุทธรูปมีความสอดคล้องกับเอกสารที่กล่าวถึงการสร้าง----------------------------------------------อ้างอิง- พระรัตนปัญญาเถระ, แสง มนวิทูร, แปล. ชินกาลมาลีปกรณ์. พระนคร : กรมศิลปากร, 2501. หน้า 119-121.- ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะล้านนา. กรุงเทพฯ : มติชน, 2556. หน้า 244-245.- ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย. นนทบุรี : เมืองโบราณ, 2565. หน้า 552.- ศักดิ์ชัย สายสิงห์. คู่มือนำชม ศิลปกรรมโบราณล้านนา. นนทบุรี : เมืองโบราณ, 2563. หน้า 110.- กรมศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. 108 องค์พระปฏิมา พระพุทธรูปคู่แผ่นดิน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนา, 2560. หน้า 37.
อาฎานาฎิยสุตฺต (อาฎานาฎิยสูตร) ชบ.บ 125/1ก
เอกสารโบราณ
(คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 163/2เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
จิตรกรรมพุทธประวัติ ตอน พระพุทธเจ้าทรงลอยถาด
ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔
จิตรกรรมบนพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
จิตรกรรมสีฝุ่นภาพพระโพธิ์สัตว์ประทับริมฝั่งแม่น้ำ ลอยถาดไปยังวิมานของนาคนามว่าพญากาฬ ซึ่งขดตัวอยู่ในปราสาทและเบื้องหน้ามีพานรองรับถาดของอดีตพุทธเจ้า
คุณลักษณะอย่างหนึ่งของนาคตามความเชื่อในสังคมไทยนั้น ถือว่าเป็นสัตว์ที่มี “อายุยืนนาน” โดยตำนานต่าง ๆ กล่าวว่านาคเป็นสัตว์ที่มีชีวิตทันเห็นพระพุทธเจ้า หรืออดีตพระพุทธเจ้า อาทิ พุทธประวัติในปฐมสมโพธิกถา กล่าวว่าภายหลังจากพระโพธิสัตว์ทรงรับข้าวมธุปายาสจากนางสุชาดาแล้ว ทรงนำถาดไปลอยน้ำเพื่อเสี่ยงทายว่า พระองค์จะได้ตรัสรู้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าหรือไม่ เมื่อพระองค์ลอยถาด ปรากฏว่าถาดของพระองค์ได้ลอยทวนน้ำ แล้วจมลงไปยังวิมานของนาคตนหนึ่งนามว่า พญากาฬ ซึ่งเป็นนาคที่ได้รับถาดจากอดีตพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วในภัทรกัลป์ก่อนหน้านี้สามพระองค์* ดังข้อความตอนหนึ่งกล่าวว่า
“....ทรงพระอธิษฐานว่า ถ้าอาตมะจะได้ตรัสเป็นพระบรมโลกนาถ ขอให้ถาดนี้จงเลื่อนลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไป แม้ว่ามิได้สำเร็จประสงค์ ก็จงลอยล่องไปตามกระแสชลไหล แล้วก็ทรงลอยถาดลงในอุทกธารา ขณะนั้นอันว่าถาดทองเหมือนดังมีเจตนาจะแสดงซึ่งนิมิตแก่พระโพธิ์สัตว์ อันจะได้ตรัสรู้แก่พระสัพพัญญุตญาณ ก็บันดาลดุจสุวรรณวิหกหงส์ลงเล่นสินธุวารี เลื่อนลอยทวนกระแสชลนทีขึ้นไปไกลประมาณ ๘๐ ศอก ถึงที่วนแห่งหนึ่งก็จมลงตรงเบื้องบนภพพิมานแห่งพญากาฬนาคราช กระทบกับถาดอันเป็นพุทธบริโภคแห่งพระสัพพัญญูทั้ง ๓ ในอดีต...”
ดังนั้นพญากาฬนาค จึงเป็นพญานาคที่มีชีวิตยืนยาวตั้งแต่พระพุทธเจ้าองค์แรก นอกจากนี้วรรณกรรมพุทธศาสนาหลายเรื่องที่แพร่หลายในสังคมไทย มักจะแสดงให้เห็นว่า “นาค” เป็นสัตว์อายุยืนในกัลป์ปัจจุบัน อาทิ วรรณกรรมเรื่องไตรภูมิกถา พระราชนิพนธ์ของพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) กล่าวว่านาคเป็นบริวารของท้าววิฬุปักษ์ จตุโลกบาลรักษาทิศตะวันตก บนชั้นสวรรค์จตุมหาราชิกา มีอายุ ๕๐๐ ปีทิพย์หรือเท่ากับ ๙ ล้านปีของมนุษย์
ในนิทานพระพุทธสิหิงค์ แต่งโดย พระโพธิรังสี ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ช่วงต้นเรื่องกล่าวถึงที่มาของรูปแบบพระพุทธสิหิงค์ว่า เกิดขึ้นภายหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ๗๐๐ ปี กษัตริย์เมืองสีหล (ลังกา) มีพระประสงค์อยากเห็นรูปกายพระพุทธเจ้าว่าเป็นอย่างไร จึงได้ตรัสถามกับบรรดาพระอรหันต์ในที่ประชุม ขณะนั้นมีนาคตนหนึ่งอยู่ในที่ประชุมได้อาสาแปลงกายเป็นพระพุทธเจ้าให้กษัตริย์ได้ทอดพระเนตร ดังความในนิทานกล่าวว่า
“...ครั้งนั้น พญานาคตนหนึ่ง มาในที่ประชุมนั้น ได้ฟังพระราชากับพระเถระสนทนากัน จึงพูดขึ้นว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พระสัมพุทธนั้นข้าพเจ้าเคยเห็น ถ้าพระผู้เป็นเจ้าใคร่จะเห็นพระสัมพุทธ โปรดจัดสถานที่ขึ้นสักแห่งหนึ่ง ข้าพเจ้าจะแสดงรูปของพระพุทธให้ดู แต่ถ้าเห็นรูปนี้เหมือนพระพุทธแล้วขอพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายอย่าได้ไหว้ข้าพเจ้าเลย รูปสกปรก ไม่ควรไหว้...”
นอกจากนี้ตำนานการสร้างพระพุทธรูป พระเจ้าตนหลวง วัดศรีโคมคำ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา มีเรื่องราวที่เกี่ยวกับนาคด้วยเช่นกัน กล่าวคือ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จถึงเมืองภูกามยาว (พะเยา) ทรงให้พระอานนท์ไปตักน้ำที่สระหนองเอี้ยง ขณะที่พระอานนท์กำลังจะตักน้ำ มีพญานาคตนหนึ่งออกมาขู่ด้วยการพ่นควันพิษและแผ่พังพาน ไม่ให้พระอานนท์ตักน้ำ พระพุทธเจ้าทราบความจึงเสด็จมาโปรดพญานาค ด้วยการแสดงปาฏิหาริย์แปลงเป็นพระพุทธเจ้ากกุสันธะ มีความสูง ๓๒ ศอก พญานาคเห็นเกิดความเลื่อมใส ยอมให้พระอานนท์ตักน้ำไปถวายแด่พระองค์ พระพุทธเจ้ายังมีรับสั่งแก่พญานาคว่า ต่อไปหลังจากพระองค์ปรินิพพานไป ให้สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่สูง ๓๒ ศอกไว้
ครั้นเวลาผ่านไป ๒๐๓๐ ปี พญานาคนึกถึงพระดำรัสของพระพุทธเจ้า จึงได้ขึ้นไปบอกแก่สองตายายที่อาศัยอยู่ใกล้ ๆ กับสระหนองเอี้ยง พร้อมทั้งมอบทองคำสำหรับใช้ในการก่อสร้าง สองตายายจึงได้ว่าจ้างให้ชาวเมืองมาช่วยการสร้างพระพุทธรูปขึ้น เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ พระเมืองตู้ เจ้าเมืองพะเยาได้ส่งพระราชสาส์นถึงพระเมืองแก้ว เจ้าเมืองเชียงใหม่ แจ้งเรื่องการก่อสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ พระเมืองแก้วทรงมีพระราชศรัทธาจึงพระราชทานทองคำ ๒ พัน เงิน ๖ พัน สำหรับก่อสร้างวิหาร และพระราชทานชื่อว่า พระเจ้าตนหลวง ทุ่งเอี้ยง เมืองพะยาว กระทั่งใน พ.ศ. ๒๐๖๙ จึงได้ฉลองสมโภชพระพุทธรูปองค์นี้
*ได้แก่ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ และพระกัสสปะ
อ้างอิง
ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระ. ปฐมสมโพธิกถา. กรุงเทพฯ: กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๓๐. (รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จัดพิมพ์ทูลเกล้าฯ ถวายสนองพระมหากรุณาธิคุณในมหามงคลเฉลิมพระเกียรติวันพระบรมราชสมภพครบ ๒๐๐ ปี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว วันอังคารที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๐).
ศานติ ภักดีคำ. นาค. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๕๖.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. นาคมาจากไหน ?. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ: นาตาแฮก, ๒๕๖๕.
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 17/4ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 28 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อผู้แต่ง พระเทพวิสุทธิเมธี
ชื่อเรื่อง คู่มือมนุษย์
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ บริษัท สยามบรรณ จำกัด
ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๗
จำนวนหน้า ๑๖๔ หน้า
หมายเหตุ จัดพิมพ์ในโอกาสสยามจดหมายเหตุขึ้นสู่ปีที่ 9
รายละเอียด คู่มือมนุษย์เป็นผลงานการแต่งของท่านพุทธทาสภิกขุเล่มนี้ ปี๑๐ เรื่องดังต่อไปนี้ ๑.ท่านชอบพุทธศาสนาในเหลี่ยมไหน ๒.พุทธศาสนามุ่งชี้อะไรเป็นอะไร ๓.ลักษณะสามัญของสิ่งทั้งปวง ๔.อำนาจของความยึดติด ๕.ชั้นของการปฏิบัติศาสนา ๖.คนเราติดอะไร ๗. การทำให้รู้แจ้งตามวิธีธรรมชาติ ๘.ลำดับแห่งความหลุดพ้นจากโลกและ ๑๐.สรุปความ