ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,789 รายการ

          พระแสงศรกำลังราม เป็นหนึ่งในพระแสงอัษฎาวุธ ประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ลักษณะเป็นเนื้อสัมฤทธิ์ เก่าแก่ สง่า และงดงามยิ่ง เป็นของโบราณชิ้นสำคัญมาสู่พระบารมี เมื่อครั้งต้นรัชกาล พระแสงศรกำลังรามนี้มีพร้อมทั้งลูกศรและคันศร ตามหลักฐานการค้นพบที่บันทึกไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๒๘ ภาค ๑ วันที่ ๙ เมษายน รัตนโกสินทร ศก ๑๓๐ หน้า ๓๗ - ๔๒ เรื่อง ธงพระกระบี่ธุชพระครุฑพาหน้อยแลพระแสงศรกำลังราม อธิบายความไว้ว่า พระอธิการรุ่ง วัดหนองตานวล ท้องที่กิ่งอำเภอตากคลี อำเภอพยุหคีรี มณฑลนครสวรรค์ ได้คุมคนงานและช้างไปตัดไม้ในดงหนองคันไถ ครั้นเมื่อ ณ วันอังคาร เดือนยี่ แรม ๓ ค่ำ ตรงกับวันที่ ๑๗ มกราคม รัตนโกสินทร ศก ๑๒๙ พระอธิการรุ่งได้ใช้ให้นายตี่กับเด็กแบนซึ่งเป็นศิษย์ ไปหาใบตองกล้วยป่า เพื่อนำมามวนบุหรี่บน เขาชอนเดื่อ เมื่อทั้งสองถึงไหล่เขาพบว่ามีศิลา ๒ ก้อนตั้งอยู่เคียงกัน นายตี่มองเห็นศีรษะนาคโผล่จากใบไม้ที่ร่วงสะสมอยู่ในซอกศิลา เข้าใจว่าเป็นพระพุทธรูปจึงหยิบยกขึ้นมาดูเห็นเป็นศรทั้งคัน เมื่อเห็นเป็นเช่นนั้นเด็กแบนจึงทำการค้นหาที่ซอกศิลาต่อจึงพบลูกศรอีกลูกหนึ่ง ทั้งสองจึงนำศรและลูกศรที่พบ ถวายพระอธิการรุ่ง ในเวลานั้นขุนวิจารณ์พยุหพล ปลัดว่าการกิ่งอำเภอตากคลี กำลังเดินทางตรวจราชการในท้องที่ ได้ข่าวเรื่องศรจึงไปขอดูแล้วรายงานขึ้นไปยังมณฑลนครสวรรค์ พระยาศิริไชยบุรินทร์ (ศุข) ข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลนครสวรรค์ จึงได้พาพระอธิการรุ่ง นายตี่และเด็กแบน พร้อมด้วยศรเข้ามายังกรุงเทพ ฯ เพื่อทูลเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ศรที่พบนี้มีลักษณะเป็นเครื่องสัมฤทธิ์ ศีรษะเปนนาคราช ๓ เศียรและลูกศรสัมฤทธิ์ มีขนนกสามใบ ปลายคมเป็นรูปวัชระ เป็นฝีมือโบราณอันประณีต ไม่มีรอยมือจับหรือสิ่งที่จะส่อให้เห็นว่าได้ทำขึ้นไว้สำหรับเทวรูปถือ สันนิษฐานว่าศรนี้น่าจะได้สร้างขึ้นไว้สำหรับการพิธีตามลัทธิพราหมณ์โดยเฉพาะใช้ชุบน้ำทำน้ำมนต์หรือแช่งน้ำสาบานดังเช่นทำน้ำพระพิพัฒน์สัตยา           ครั้นในการพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ ซึ่งเป็นพระราชพิธีสุดปีตามจันทรคติ รัตนโกสินทร ศก ๑๒๙ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๒๕ - ๒๙ มีนาคม รัตนโกสินทร ศก ๑๒๙ คันศรและลูกศรที่พบได้ถูกอันเชิญขึ้นสมโภชในการพระราชพิธีนี้ด้วย ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๖ มีนาคม รัตนโกสินทร ศก ๑๒๙ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงนำศรเครื่องสัมฤทธิ์ ศีรษะเปนนาคราช ๓ เศียรและลูกศรสัมฤทธิ์ ทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเจิมศรสัมฤทธิ์ และโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพนักงานพาดบันไดแก้วตั้งเข้าพระราชพิธีไว้ในพระแท่นมณฑลด้านหน้าพระพักตร์ แล้วพระราชทานนามศรนี้ว่า พระแสงศรกำลังราม จากนั้นพระราชทานพัดครุฑทอสำหรับงานมงคลแก่พระอธิการรุ่ง และพระราชทานเงินแก่ศิษย์พระอธิการรุ่งทั้งสองคนที่เป็นผู้เก็บพระแสงศรกำลังรามนี้ได้ คนละ ๑๐๐ บาท ดังปรากฏข้อความในราชกิจจานุเบกษา เรื่อง พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ เล่มที่ ๒๘ ภาค ๑ วันที่ ๙ เมษายน รัตนโกสินทร ศก ๑๓๐ หน้า ๒๙ - ๓๗           จากเหตุการณ์อันได้พระแสงศรกำลังราม มาสู่พระบารมีพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งต้นรัชกาล พระแสงศรกำลังรามได้ถูกอัญเชิญนำมาใช้ในงานพระราชพิธีสำคัญ โดยเฉพาะ ในการพระราชพิธีศรีสัจปานการถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มหาราชครูพิธีพราหมณ์เชิญพระแสงศรกำลังรามเข้าร่วมในพระราชพิธีดังกล่าว โดยเชิญพระแสงศรกำลังรามแทงน้ำในพระขันหยก และเชิญลงชุบแทงในหม้อน้ำพระพุทธมนต์ร่วมกับพระแสงอีก ๓ องค์ ซึ่งตรงกับวันที่ ๑ เมษายน รัตนโกสินทร ศก ๑๓๐ ดังปรากฏข้อความที่มีการบันทึกในราชกิจจานุเบกษา เรื่อง พระราชพิธีศรีสัจปานการถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เล่มที่ ๒๘ ภาค ๑ วันที่ ๙ เมษายน รัตนโกสินทร ศก ๑๓๐ หน้า ๔๓ - ๔๖ และในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งที่ ๒ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช ๒ ธันวาคม รัตนโกสินทร ศก ๑๓๐ ในขบวนเสด็จพระราชดำเนินด้วยกระบวนพยุหยาตราโดยทางสถลมารคเลียบพระนคร ซึ่งตรงกับวันที่ ๓ ธันวาคม รัตนโกสินทร ศก ๑๓๐ เจ้าพนักงานได้อัญเชิญพระแสงอัษฎาวุธประจำพระองค์ จำนวน ๘ องค์ ตามขบวนเสด็จพระราชดำเนินทางเบื้องซ้ายและเบื้องขวา พระแสงศรกำลังรามถูกอัญเชิญอยู่ในแถวที่ ๔ ในกระบวนเสด็จทางเบื้องซ้าย โดยมี นายสุดจินดา (จำลอง สวัสดิชูโต ภายหลังเป็นพระยาจินดารักษ์) เป็นผู้ถืออัญเชิญเสด็จ           การที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้ของโบราณอันสำคัญมาสู่พระบารมี ภายในต้นปีแห่งรัชสมัย ทำให้ทรงรู้สึกปีติโสมนัสยิ่งนัก เปรียบดั่งได้ช้างเผือกซึ่งเป็นสิ่งหายาก เป็นสิ่งสำคัญ เป็นสวัสดีมงคลมาสู่พระบรมราชวงศ์และสยามประเทศ ดังปรากฏอยู่ในลายพระราชหัตถเลขา ที่มีถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม รัตนโกสินทร ศก ๑๒๙ ว่า “การที่ได้แผ่นสัมฤทธิ์รูปกระบี่ธุช ครุฑพ่าห์จากนครไชยศรีซึ่งได้ให้ประกอบเปนธงกระบี่ธุช ครุฑพ่าห์ขึ้นแล้วนั้นอย่าง ๑ กับการที่ได้ศรนี้อีกอย่าง ๑ ทำให้หม่อมฉันรู้สึกปลื้มอิ่มใจเปนอย่างยิ่ง รู้สึกว่าคล้ายๆ ได้ช้างเผือก เปนอันเข้าใจดีว่าพระราชหฤทัยพระราชาธิบดีแต่ก่อนๆ มาท่านจะทรงรู้สึกอย่างไร เมื่อมีช้างเผือกเพราะรู้อยู่ว่านับวันนั้นจะหายากเข้าทุกที ได้เคยนึกเสียดายตะหงิดๆ นี่ก็นับว่าเปนโชคดี เปนบุญนักหนาที่ได้ของสำคัญๆ เช่น กระบี่ธุช ครุฑพ่าห์ และศรโบราณนี้มาภายใน ปีต้นแห่งรัชสมัย นับเปนสวัสดีมงคลแก่ตัวหม่อมฉันและพระราชบรมวงษ์จักรี ทั้งสยามรัฐสีมาประชาชนที่หม่อมฉันนี้ได้รับภารเปนผู้ทำนุบำรุง ดูเหมือนมาเปนเครื่องเตือนใจให้รู้สึกหน้าที่ของตน ที่จะต้องแผ่อาณาแก่ประชาชนทั้งหลายในสยามรัฐ และจะต้องทำนุบำรุงให้ชาติดำเนินไปสู่ ความเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นให้ราษฎรได้รับความร่มเย็นเปนศุขทั่วกัน ให้ได้คงเปนใหญ่อยู่จริงสมนามแห่งชาติเรานี้ชั่วกัลปาวสาน” ภาพ : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินด้วยกระบวนพยุหยาตราโดยทางสถลมารคเลียบพระนคร ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช ซึ่งตรงกับวันที่ ๑๗ ธันวาคม รัตนโกสินทร ศก ๑๓๐ ภาพ : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับพระราชอาสน์ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช ซึ่งตรงกับวันที่ ๑๗ ธันวาคม รัตนโกสินทร ศก ๑๓๐ ภาพ : พระแสงศรกำลังราม ภาพ : ลูกศรสัมฤทธิ์มีหัวลูกศรเป็นรูปวชิระ ภาพ : ต้นฉบับราชกิจจานุเบกษา เรื่อง “ธงพระกระบี่ธุชพระครุฑพาหน้อย แลพระแสงศรกำลังราม” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๘ ภาค ๑ (๙ เมษายน ร.ศ. ๑๓๐) ๓๗ - ๔๒. ภาพ : ต้นฉบับราชกิจจานุเบกษา เรื่อง “พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๘ ภาค ๑ (๙ เมษายน ร.ศ. ๑๓๐) ๒๙ - ๓๗. ภาพ : ต้นฉบับราชกิจจานุเบกษา เรื่อง “พระราชพิธีศรีสัจปานการถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๘ ภาค ๑ (๙ เมษายน ร.ศ. ๑๓๐) ๔๓ - ๔๖. ------------------------------------------- เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวรวิวรรณ พุฒซ้อน บรรณารักษ์ชำนาญการ กลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ------------------------------------------- บรรณานุกรม จดหมายเหตุพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒนากร, ๒๔๖๖. “ธงพระกระบี่ธุชพระครุฑพาหน้อยแลพระแสงศรกำลังราม” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๘ ภาค ๑ (๙ เมษายน ร.ศ. ๑๓๐) ๓๗ - ๔๒. ประมวลภาพประวัติศาสตร์ไทย พระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๕๐. ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๕๐. “พระราชพิธีศรีสัจปานการถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๘ ภาค ๑ (๙ เมษายน ร.ศ. ๑๓๐) ๔๓ - ๔๖. “พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๘ ภาค ๑ (๙ เมษายน ร.ศ. ๑๓๐) ๒๙ - ๓๗. สารานุกรมพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เล่ม ๑ พระราชประวัติ บุคคล และเรื่องที่เนื่องในพระองค์. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, 2540.


ชื่อเรื่อง :  เทศนาเสือป่าผู้แต่ง :  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวปีที่พิมพ์ : ๒๔๗๗สถานที่พิมพ์ : [กรุงเทพฯ]สำนักพิมพ์ : ม.ป.พ.จำนวนหน้า : ๑๗๘ หน้า       เทศนาเสือป่า เล่มนี้ จมื่นเทพดรุณาทร (เปรื่อง กัลยาณมิตร) พิมพ์แจกในงาน ฌาปนกิจศพ นางเนื่อง สาตราธิกรณ์ฤทธิ์ (เนื่อง กัลยาณมิตร) ประกอบด้วย ๑๗ กัณฑ์ กัณฑ์ ที่ ๑ ความจำเป็นที่จะมีศาสนา , กัณฑ์ ที่ ๒ กำเนิดแห่งศาสนา, กัณฑ์ ที่ ๓ ศาสนาพราหมณ์ ,  กัณฑ์ ที่ ๔ ศาสนายิวกับศาสนาครสตัง , กัณฑ์ ที่ ๕ ความภักดีต่อศาสนา , กัณฑ์ ที่ ๖ ปาฏิหาริย์ , กัณฑ์ ที่ ๗ ศาสนาเป็นของสำหรับชาติ , กัณฑ์ ที่ ๘ ประวัติการแห่งพระพุทธศาสนา , กัณฑ์ ที่ ๙ ความประพฤติแห่งพุทธศาสนิก , กัณฑ์ ที่ ๑๐ การอุปสมบท , กัณฑ์ ที่ ๑๑ พระไตรย์สรณาคม , กัณฑ์ ที่ ๑๒ ประโยชน์แห่งการอยู่ในธรรม , กัณฑ์ ที่ ๑๓ หลักแห่งความประพฤติชอบ , กัณฑ์ ที่ ๑๔ ปฐมสิกขาบท , กัณฑ์ ที่ ๑๕ ทุติยะสิกขาบท , กัณฑ์ ที่ ๑๖ ตะติยะ จตุตถ และเบญจมะสิกขาบท และ กัณฑ์ ที่ ๑๗ จตุราริยะสัจจ์


กิจการพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย นับแต่เริ่มหยั่งรากในวัฒนธรรมจนปัจจุบัน เป็นเวลากว่าหนึ่งร้อยปีมาแล้ว ได้แตกกิ่งก้านสาขาไปมากมาย






ชื่อเรื่อง                           ทสปุญฺญกิริยาวตฺถุวณฺณนา (ทสปุญฺญกิริยาวตฺถุวณฺณนา)สพ.บ.                                  171/2ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           56 หน้า กว้าง 4.8 ซ.ม. ยาว 54.3 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                          ธรรมเทศนาบทคัดย่อ/บันทึกเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ภาษาบาลี ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม  อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี 


ชื่อเรื่อง                                สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทสนา (เทสนาสังคิณี-มหาปัฎฐาน)สพ.บ.                                  125/7ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           22 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 53 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พระอภิธรรม  บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม  เส้นจาร ฉบับล่องชาด  ได้รับบริจาคมาจากวัดประสพสุข  ต.ทับตีเหล็ก อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี


       พระพุทธรูปมารวิชัย หรือพระพุทธรูปชนะมาร หล่อด้วยสำริด ประทับขัดสมาธิเพชร พระบาททั้งสองไขว้กัน และเห็นฝ่าพระบาททั้งสองข้าง ฝ่าพระบาทเรียบเสมอกัน พระรัศมีเป็นเปลว พระศกขมวดเป็นก้นหอย มีเส้นขอบไรพระศก พระพักตร์กลม พระขนงโก่ง พระเนตรเรียว ฝังมุกและนิล พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์เล็กหยักเป็นคลื่น พระวรกายอวบอ้วน พระอุระนูน บั้นพระองค์เล็ก ครองจีวรห่มเฉียง ชายผ้าสังฆาฏิสั้นเป็นรูปหางปลาอยู่เหนือพระถัน ประทับเหนือฐานสามเหลี่ยม หน้าพระเพลามีชายจีวรคลี่เป็นแฉกคล้ายรูปพัด         จากรูปแบบศิลปกรรมสามารถกำหนดอายุว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนกลาง พุทธศตวรรษที่ ๒๑ – ๒๒ พระพุทธรูปศิลปะอยุธยากลุ่มนี้ สร้างขึ้นโดยได้รับอิทธิพลทางจากศิลปะสุโขทัยและล้านนา กล่าวคือ มีรัศมีเป็นเปลว แบบพระพุทธรูปสุโขทัย มีพระวรกายที่อวบอ้วน มีชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน ขัดสมาธิเพชร และที่หน้าพระเพลามีชายจีวรคลี่เป็นรูปพัดแบบพระพุทธรูปล้านนา ในขณะเดียวกันมีลักษณะที่แสดงรูปแบบของพระพุทธรูปศิลปะอยุธยา คือ มีเส้นขอบพระเนตรกับพระขนงป้ายเป็นแผ่นวงโค้ง มีเส้นขอบไรพระศก และพระโอษฐ์หยักเป็นคลื่น ผสมผสานจนเกิดเป็นรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของพระพุทธรูปศิลปะอยุธยา โดยสามารถศึกษาเปรียบเทียบกับกลุ่มพระพุทธรูปศิลปะอยุธยาตอนกลาง ที่พบในพระอุระและพระพาหาของพระมงคลบพิตร ซึ่งพระพุทธรูปเหล่านั้น ล้วนสร้างขึ้นก่อนถูกนำมาบรรจุในพระอุระและพระพาหาขององค์พระมงคลบพิตรในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๒  การพบรูปแบบพระพุทธรูปแบบศิลปกรรมสุโขทัยและล้านนา  ปรากฏในพระพุทธรูปสมัยอยุธยาองค์นี้ เป็นหลักฐานสำคัญว่าช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๒ อยุธยามีความสัมพันธ์กับหัวเมืองทางเหนือ ได้แก่ สุโขทัยและล้านนา        สำหรับคติการสร้างพระพุทธรูปปางมารวิชัย แสดงพุทธประวัติเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าทรงสามารถชนะพระยามารที่ยกพลมาผจญพระองค์ และได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งแสดงสัญลักษณ์โดยวางพระหัตถ์ขวาเหนือพระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงสู่พระธรณีเป็นกิริยาเรียกพระแม่ธรณีขึ้นมาเป็นพยานในพระบารมีที่ทรงบำเพ็ญมา พระแม่ธรณีจึงปรากฏกายขึ้นและบีบน้ำที่ทรงรดสรงในการบำเพ็ญทานในอดีตชาติ อันนับประมาณมิได้ จนท่วมทัพของพรยามารพ่ายแพ้ไป การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าถือเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ เหนือกว่าชัยชนะทั้งปวงของพระองค์  โดยนัย การบูชาพระพุทธรูปองค์นี้ จึงบูชาเพื่อชัยชนะทั้งทางโลกและทางธรรม ในทางโลกคือชัยชนะเหนือศัตรู ทางธรรมคือชัยชนะเหนือกิเลสทั้งปวง   เอกสารอ้างอิง สันติ เล็กสุขุม, ศิลปะอยุธยา, กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๔๔. ศักดิ์ชัย สายสิงห์, พระพุทธรูปสำคัญและพุทธศิลป์ในดินแดนไทย, กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๕๔.


เลขทะเบียน : นพ.บ.73/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  54 หน้า ; 4.6 x 50 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 46 (35-51) ผูก 2 (2564)หัวเรื่อง : สีมาวินิจฉฺย (สีมาวินิจฉัย) --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


องค์ความรู้วิชาการ เรื่อง ชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย : ตอนที่ ๓ พระวิษณุบนชายฝั่งทะเลอันดามันจัดทำข้อมูลโดย : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง 


เลขทะเบียน : นพ.บ.134/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  46 หน้า ; 4.4 x 47.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 80 (318-321) ผูก 5 (2564)หัวเรื่อง : ปัญญาบารมี--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อผู้แต่ง              พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ชื่อเรื่อง               เรื่องวิจารณ์นิทานปันหยีหรืออิเหนาเรื่องพระรามและสูจิบัตรโขนละคร ครั้งที่พิมพ์          - สถานที่พิมพ์         กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์           โรงพิมพ์การศาสนา ปีที่พิมพ์                 2518 จำนวนหน้า           218 หน้า หมายเหตุ                พิมพ์ในโอกาสเกียรติคุณของพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร เรื่องวิจารณ์นิทานปันหยีหรืออิเหนาทรงได้เค้าเรื่องมาจากหนังสือเรื่อง  Pandjiverhalen onderling vergeleken ของระเด่นปูรฺพจรก ส่วนรื่องพระรามว่าด้วยเรื่องประวัติความเป็นมาของวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ครอบคลุมถึงนิทานเก่าแก่ของเรื่องนี้ที่แพร่หลายในแถบเอเชียและสูจิบัตรโขน-ละครภาษาอังกฤษแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษเพื่อเผยแพร่แก่ชาติต่างประเทศ


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.8/1-7 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)



Messenger