ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,788 รายการ
เมื่อเดือนก่อนแอดฯได้มีโอกาสเจอกับรุ่นพี่ภัณฑารักษ์ท่านหนึ่ง และได้ให้แอดฯดูโบราณวัตถุชิ้นหนึ่งที่สันนิษฐานว่ามาจากเมืองศรีเทพ นั้นคือชิ้นส่วนประติมากรรมมือซ้ายที่กำลังถือวัตถุบางอย่างรูปทรงคล้ายถ้วยชาม บริเวณตอนกลางของวัตถุมีลักษณะเป็นปุ่มก้อนกลมไข่ปลาอยู่หลายก้อน และด้านบนสุดมีชิ้นส่วนบางอย่างครอบวัตถุก้อนกลมไข่ปลาเหล่านั้นไว้ โดยปัจจุบันโบราณวัตถุชิ้นนี้จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จ.สุโขทัย
โบราณวัตถุชิ้นนี้จะเป็นอะไรนะ และจะเกี่ยวข้องอะไรกับเมืองศรีเทพ ม่ะ เดี๋ยวแอดฯจะเล่าให้ฟัง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ดร. อนุรักษ์ ดีพิมาย คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
ยุทธนาวรากร แสงอร่าม ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
อ้างอิง
เชษฐ์ ติงสัญชลี. (2565). ลวดลายในศิลปะทวารวดี การศึกษาที่มาและการตรวจสอบกับศิลปะอินเดียสมัยคุปตะ-วกาฏกะ. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์.
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ. (2531). รายงานการขุดแต่งโบราณสถานเขาคลังใน เมืองโบราณ ศรีเทพ อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์ : อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ.
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ. (2532). รายงานเบื้องต้นหลุมขุดตรวจฐานโบราณสถาน โบราณสถานเขาคลังใน (P10) เมืองโบราณศรีเทพ อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์ : อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ.
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ. (2532). รายงานเบื้องต้นการขุดแต่งโบราณสถานเขาคลังใน (ต่อ) เมืองโบราณศรีเทพ อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์ : อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ.
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ. (2533). ดรรชีภาพปูนปั้นจากโบราณสถานเขาคลังใน เมืองโบราณศรีเทพ อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์ : อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ.
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ. (2534). รายงานทางวิชาการฉบับที่ 2/2534 การปฏิบัติงานทางโบราณคดีโบราณสถานเขาคลังในด้านทิศใต้ เมืองโบราณศรีเทพ อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ เพชรบูรณ์ : อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ.
รอยพระพุทธบาท
เลขทะเบียน ๓๘ / ๒๕๑๖
แบบศิลปะ / สมัย ศิลปะล้านนา สร้างขึ้นในราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑
บูรณะในสมัยพระเจ้ากาวิละเมื่อพุทธศักราช ๒๓๓๗
วัสดุ (ชนิด) ไม้ลงรักปิดทองล่องชาด ประดับมุก
ขนาด กว้าง ๑๒๔ เซนติเมตร สูง ๒๐๐ เซนติเมตร
ประวัติความเป็นมา พระธรรมราชานุวัตร เจ้าอาวาสวัดพระสิงห์วรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
ให้ยืมจัดแสดง
ความสำคัญ ลักษณะและสภาพของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
รอยพระพุทธบาทไม้ลงรัก ทาชาด ประดับมุกและกระจก ตกแต่งบริเวณขอบด้านนอกด้วยลงรักปิดทองเป็นลายพันธุ์พฤกษา ตรงกลางทำรูปธรรมจักรประดับด้วยแก้วอังวะ (กระจกจืน) ใต้นิ้วพระบาททำเป็นรูปมงคล ๑๐๘ ประการ จัดตามตำแหน่งระบบภูมิจักรวาลตามแนวตั้ง ตั้งแต่โสฬสพรหมโลกชั้นสูงสุด ลดหลั่นด้วยพรหมโลกชั้นรองลงมา จนถึงเทวโลกที่ประกอบไปด้วยสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ ฉกามาพจร ปรนิมมิตวสวดี นิมมานรดี ยามา ดุสิต ดาวดึงส์ และจาตุมหาราชิก ซึ่งแต่ละชั้นจะมีอักษรล้านนาอธิบาย ยกเว้นเมื่อกล่าวถึงพรหมชั้นที่ ๑๖ หรือชั้นสูงสุด โดยใช้คำว่า “อกนิฏฐาพรหม” เขียนด้วยอักษรปาละของอินเดีย ตอนกลางเขียนภาพแกนจักรวาล คือ เขาพระสุเมรุ ล้อมรอบด้วยสีทันดรสมุทร เทือกเขาทั้ง ๗ และมหาทวีปทั้ง ๔ มีรูปพระเจ้าจักรพรรดิกับสิ่งของอันเป็นมงคลทั้งหลายประทับอยู่ที่เชิงเขาพระสุเมรุ โดยมีกำแพงจักรวาลล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง ภายในรอยพระพุทธบาทนี้ประดับเต็มไปด้วยรูปเทวดา ปราสาท สัตว์ ดอกไม้ทิพย์ และสิ่งอื่น ๆ อีกมากมาย เพื่อสะท้อนความหมายของภูมิจักรวาล หลายภาพมีคำอธิบายเขียนด้วยอักษรล้านนา ภาษาบาลีและภาษาไทยวน ที่ส้นพระบาทระบุพระนามอดีตพุทธเจ้า ๓ พระองค์ คือ พระกัสสปะ พระโกนาคมนะ พระกกุสันธะ โดยรอยพระบาทของพระโคตรมะเป็นรอยพระบาทสุดท้ายแต่ไม่ได้ระบุพระนาม จุดเด่นของรอยพระพุทธบาท ได้แก่ รูปจักรรัตนะที่ประดับอยู่กึ่งกลางพระบาท
ด้านหนึ่งของรอยพระพุทธบาทมีจารึกกล่าวถึงการบูรณะรอยพระพุทธบาท ความว่า ในพุทธศักราช ๒๓๓๗ พระเจ้ากาวิละและพระราชวงศ์ ได้ร่วมกันบูรณะรอยพระพุทธบาทไม้เก่าแก่ที่เก็บรักษาไว้ภายในวัดพระสิงห์ โดยเปลี่ยนแผ่นไม้กระดานที่ชำรุดแล้วลงรักปิดทองล่องชาด แต่ไม่ได้ประดับมุก ในการบูรณะครั้งนี้น่าจะมีการเปลี่ยนแก้วอังวะที่ประดับภายในจักรรัตนะ เนื่องจากแก้วอังวะแต่ละแผ่น จะมีการปั้นรักนูนหนาล้อมรอบขึ้นเป็นกรอบ ส่วนด้านล่างของจารึก ยังมีร่องรอยงานลง รักปิดทอง สันนิษฐานว่าเป็นเรื่องการเดินทางไปนมัสการรอยพระพุทธบาทที่เขาสุมนกูฏในศรีลังกา
ลักษณะเครื่องทรงเทวดา ลายพันธุ์พฤกษา และลายประกอบต่าง ๆ ภายในรอยพระพุทธบาท มีความคล้ายคลึงกับที่พบในเครื่องทรงของเทวดาปูนปั้นประดับวิหาร ที่วัดโพธารามมหาวิหาร ซึ่งมีอายุประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ตรงกับสมัยของพระเจ้าติโลกราช รวมทั้งรูปแบบของอักษรจารึกที่ใช้อยู่ในราวพุทธศักราช ๒๐๐๐ – ๒๑๕๐ ดังนั้นรอยพระพุทธบาทนี้น่าจะสร้างขึ้นในราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ และได้รับการบูรณะในสมัยพระเจ้ากาวิละเมื่อพุทธศักราช ๒๓๓๗
ที่มา:
ฮันส์ เพนธ์, พรรณเพ็ญ เครือไทย และศรีเลา เกษพรหม, ประชุมจารึกล้านนา เล่ม ๒ จารึกพระเจ้ากาวิละ (เชียงใหม่ : คลังข้อมูลจารึกล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๔๑), ๒๖๑.
ฮันส์ เพนธ์, พรรณเพ็ญ เครือไทย และศรีเลา เกษพรหม, ประชุมจารึกล้านนา เล่ม ๒ จารึกพระเจ้ากาวิละ (เชียงใหม่ : คลังข้อมูลจารึกล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๔๑), ๔๕ – ๕๒.
ข้อมูลจากทะเบียนโบราณวัตถุของคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มีโบราณวัตถุที่ได้จากการดำเนินการขุดค้นกรุพระมหาธาตุ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยหน่วยศิลปากรที่ ๓ สุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ หลากหลายประเภท อาทิ พระพุทธรูป พระพิมพ์ เครื่องสังคโลก เครื่องทอง เครื่องใช้อันเป็นเครื่องพุทธบูชาต่างๆ
.
วัตถุที่สำคัญที่ค้นพบในกรุพระมหาธาตุจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้แก่ พระพุทธรูปสลักและดุนลายบนแผ่นทอง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับนั่งในซุ้มเรือนแก้ว ซึ่งเป็นซุ้มแบบหน้านางที่พบมากในศิลปะสุโขทัย เทียบได้กับพระพิมพ์ที่พบในกรุวัดมหาธาตุและวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐
.
วัตถุที่พบในกรุแห่งนี้ส่วนมากมีรูปแบบที่จัดอยู่ในศิลปะอยุธยา ถูกบรรจุอยู่ในเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมที่นิยมสร้างอยู่ตามกลุ่มเมืองวัฒนธรรมสุโขทัย จึงเป็นหลักฐานอีกประการหนึ่งที่บ่งชี้ว่า เจดีย์พระมหาธาตุเพชรบูรณ์แม้จะมีลักษณะทางศิลปกรรมในศิลปะสุโขทัย แต่ก็ได้รับกระแสอิทธิพลจากศิลปะอยุธยาด้วย ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากความสัมพันธ์ทางเครือญาติดังปรากฏพระพุทธรูปอู่ทองในสุโขทัยก็ดี หรืออาจสร้างขึ้นในช่วงเวลาที่ตกอยู่ใต้อิทธิพลทางการเมืองของอยุธยาแล้วก็เป็นได้
วันเสาร์ที่ ๒๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๑๐.๐๐ น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานผ้าพระกฐินให้กรมศิลปากรนำไปถวายพระสงฆ์ที่จำพรรษาครบถ้วนไตรมาส ณ วัดบูรพาภิราม ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีนายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธี ผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ตลอดจนผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และพุทธศาสนิกชนในจังหวัดร้อยเอ็ด เข้าร่วมพิธี
กฐินพระราชทาน เป็นกฐินหลวงประเภทหนึ่งที่พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานผ้าพระกฐินให้แก่หน่วยงานราชการ องค์กร คณะบุคคล หรือบุคคลผู้ประสงค์ขอรับพระราชทานเชิญไปทอดถวาย ณ พระอารามหลวง ทั้งกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดในช่วงกฐินกาล โดยการทอดกฐิน เป็นประเพณีสำคัญทางศาสนาที่พุทธศาสนิกชนถือปฏิบัติและสืบทอดมายาวนาน ช่วงเวลาในการทอดกฐินกำหนดระยะเวลา ๑ เดือน หลังวันออกพรรษา ระหว่างวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ของทุกปี นับเป็นการทำนุบำรุงสืบทอดพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง ในโอกาสนี้ กรมศิลปากรได้จัดการแสดงโขน เรื่อง รามเกียรติ์ ชุด “พระจักรีปรามกลียุค” สมโภชองค์พระกฐิน เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ชื่นชมการแสดงศิลปวัฒนธรรม ซึ่งเป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงอย่างหนึ่งของไทย พร้อมทั้งบริจาคปัจจัยนำเข้าสมทบถวายบำรุงพระอารามหลวง วัดบูรพาภิราม รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๓,๒๐๒,๑๕๒ บาท (สามล้านสองแสนสองพันหนึ่งร้อยห้าสิบสองบาทถ้วน)
นอกจากนี้ กรมศิลปากร ได้จัดพิมพ์หนังสือ ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่มที่ ๒๙ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นหนังสือที่ระลึกในโอกาสที่กรมศิลปากรนำผ้าพระกฐินพระราชทานไปทอดถวาย และเป็นวิทยาทานแก่สาธารณชนผู้ร่วมกิจกรรมกับกรมศิลปากร มีเนื้อหาว่าด้วยประวัติความเป็นมาของวัดบูรพาภิราม ที่ประดิษฐานของพระพุทธรัตนมงคลมหามุนี พระพุทธรูปสำคัญจังหวัดร้อยเอ็ด ประวัติศาสตร์จังหวัดร้อยเอ็ด สถานที่สำคัญ เทศกาลงานประเพณี วัฒนธรรมอันหลากหลาย วิถีชีวิตความเป็นอยู่ และภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนภารกิจ กรมศิลปากรในเขตพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อเป็นความรู้ให้ผู้ที่สนใจศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม
วัดบูรพาภิราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ ๕๕๙ ถนนผดุงพานิช ตำบลในเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ปรากฏหลักฐานการก่อสร้างวัดในหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๑๓ ของกรมการศาสนาว่า ก่อสร้างเป็นวัดประมาณ พ.ศ. ๒๓๔๐ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานของผู้สร้าง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๑ และได้รับการยกสถานะเป็นพระอารามหลวง ตั้งแต่วันที่ ๑๕ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๓๑
หมวดหมู่ พุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 64 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.อักษร ขอมฉบับ ล่องชาดได้รับบริจาคจากวัดท่าแค
หมวดหมู่ พุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 56 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.อักษร ขอมฉบับ ล่องชาดได้รับบริจาคจากวัดท่าแค
ชื่อเรื่อง สพ.ส.72 คัมภีร์กุมารเพช์กุมาระแพดประเภทวัสดุ/มีเดีย สมุดไทยขาวISBN/ISSN -หมวดหมู่ เวชศาสตร์ลักษณะวัสดุ 159; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง ตำรายาแผนโบราณ ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก ประวัติวัดอู่ทอง ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ
วันที่ 24 เมษายน 2567 เวลา 10.30 น. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีแถลงข่าวส่งมอบผลงานการอนุรักษ์จัดเก็บคัมภีร์ใบลานวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม จำนวน 894 รายการ (ผูก) พร้อมหนังสือบัญชีทะเบียนคัมภีร์ใบลาน และมอบเกียรติบัตรแก่อาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม (อส.มศ.) ณ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า กรมศิลปากร โดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ ดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามกับกรมศิลปากร เพื่อเผยแพร่ผลงานการอนุรักษ์จัดเก็บคัมภีร์ใบลานวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม ถึงวันที่ 21 มีนาคม 2567 ระยะเวลา 2 เดือน ทำการอนุรักษ์จัดเก็บคัมภีร์ใบลาน จำนวน 894 รายการ (ผูก) โดยบูรณาการประสานความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากร คณะสงฆ์ และประชาชน สร้างการรับรู้อย่างเป็นรูปธรรม เกิดเครือข่ายอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม (อส.มศ.) เพิ่มขึ้น จำนวน 7 รูป/คน ความสำเร็จของการดำเนินงานครั้งนี้ จึงถือเป็นก้าวสำคัญที่สร้างความมั่นใจในการเป็นผู้นำการอนุรักษ์ให้กับประชาชน และสร้างการรับรู้แบบตรงไปตรงมาแก่ชุมชนท้องถิ่นที่อยู่ใกล้ชิดเอกสารโบราณ โดยมีวัดเป็นแหล่งเอกสารโบราณและคณะสงฆ์เป็นผู้เก็บรักษาสมบัติล้ำค่าเหล่านี้ไว้ สรุปผลความสำเร็จของการดำเนินงานได้ ดังนี้
1. กรมศิลปากร อนุรักษ์จัดเก็บและจัดทำทะเบียนคัมภีร์ใบลาน ซึ่งเป็นการจัดระบบคัมภีร์ใบลานเพื่อให้บริการตามหลักวิชาการ ออกเลขทะเบียนบัญชีรายชื่อคัมภีร์ใบลานจำนวน 67 มัด มีเลขทะเบียน 144 เลขที่ รวมทั้งสิ้นจำนวน 894 ผูก ถือว่าเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้กลางกรุงที่สำคัญ
2. ความสำคัญของคัมภีร์ใบลานเทียบเท่าความสำคัญของวัดซึ่งเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 4 เนื่องจากเป็นคัมภีร์ใบลานพระไตรปิฎกซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ภายในพระบรมมหาราชวังมาแต่เดิมตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 จึงถือว่าเป็นคัมภีร์ใบลานพระไตรปิฎกฉบับหลวงประจำรัชกาลที่ 4 ด้วยเช่นกัน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดให้อัญเชิญคัมภีร์พระไตรปิฎกชุดนี้ มาประดิษฐาน ณ วัดราชประดิษฐฯ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนมากขึ้น
3. จากการสำรวจ อนุรักษ์จัดเก็บ พบว่า มีคัมภีร์ใบลานฉบับทรงสร้างซ่อมเติมเต็มฉบับที่หายไปในรัชกาลก่อน ซึ่งในแหล่งเอกสารโบราณวัดราชประดิษฐฯ นี้ รัชกาลที่ 5 ทรงสร้างซ่อมคัมภีร์บางฉบับที่หายไปในรัชกาลที่ 4 เพื่อทำให้สมบูรณ์เต็มชุด จึงเรียกว่าคัมภีร์ใบลานฉบับหลวงทรงสร้างซ่อม หรือคนทั่วไปเรียกว่า คัมภีร์ใบลาน 2 รัชกาล เนื่องจากมีตราพระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 4 อยู่ด้านซ้าย และตราพระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 5 อยู่ด้านขวา ของปกคัมภีร์ใบลาน โดยสรุปมีคัมภีร์สำคัญ ได้แก่ วรด.1-3 (วัดราชประดิษฐฯ เลขที่ 1-3) เรื่อง อนาคตวังสะ สมัยรัชกาลที่ 4 อายุประมาณ 170 ปี, วรด.14,17,28-32,83,98 (วัดราชประดิษฐฯ เลขที่ 14,17,28-32,83,98) เรื่อง วังสมาลินี, อรรถกถาสังยุตตนิกาย, ฎีกามหาวงศ์, โยชนาอภิธัมมัตถสังคหะและปุคคลบัญญัติ ฉบับหลวงสร้างซ่อม รัชกาลที่ 5 อายุ 139 ปี
4. คัมภีร์ใบลานสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ได้รับการอนุรักษ์จัดเก็บอย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการ โดยใช้ไม้ประกับประกบด้านข้างของคัมภีร์เพื่อเป็นการรักษาทรงไม่ให้โค้งงอ ส่วนกล่องบรรจุคัมภีร์ที่มีมาแต่เดิม จำนวนทั้งสิ้น 87 กล่อง ถือเป็นโบราณวัตถุที่มีความสำคัญเพราะสร้างโดยประณีตศิลป์ เพื่อเก็บรักษาคัมภีร์ มีข้อความจารึกฝังที่สันกล่องระบุปี จ.ศ.1247 (พ.ศ.2428) กล่องประณีตศิลป์นี้จึงมีอายุอย่างน้อย 139 ปี จึงถ่ายโอนภารกิจนี้ให้กับสำนักช่างสิบหมู่ดำเนินการอนุรักษ์ซ่อมแซมต่อไป
5. ขยายเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์รักษาเอกสารโบราณเพิ่มเติมจากปีงบประมาณ 2566 ที่ผ่านมา โดยการอบรมจัดตั้งสมาชิก (อส.มศ.) ตามหลักสูตรอบรมจัดตั้งเป็นเวลา 2 วัน มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 7 รูป/คน จึงถือเป็นการร่วมมือระหว่างวัด กรมศิลปากร และภาคส่วนประชาชน เป็นอย่างดี ตามโครงการความร่วมมือระหว่างวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามกับกรมศิลปากรเพื่อเผยแพร่ผลงานการอนุรักษ์จัดเก็บคัมภีร์ใบลานวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม สร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมให้แก่คณะสงฆ์และประชาชนเพิ่มขึ้น
ภาพปูนปั้นเล่าเรื่องเวสสันตระชาดก (วิศวนตร – อวทาน)
- ทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔)
- ปูนปั้น
- เดิมประดับที่ฐานลานประทักษิณ ของเจดีย์จุลประโทน อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดี เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๑
ภาพเล่าเรื่องบุรุษกำลังยืนพูดอยู่กับบุรุษและสตรีคู่หนึ่ง บุรุษและสตรีนั้นแสดงความสนิทสนมซึ่งอาจเป็นสามีภรรยากัน โดยตีความว่าเป็นภาพตอนพระเวสสันดร กำลังประทานพระมัทรีแก่ท้าวสักราช (พระอินทร์) ซึ่งจำแลงเป็นพราหมณ์มาทูลขอ
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=40149
ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th
วันที่ 25-26 มกราคม 2567 หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ ร่วมกับ กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ และ กลุ่มงานสงวนและรักษาหนังสือ เข้าอนุรักษ์เอกสารโบราณเบื้องต้น ประเภทหนังสือสมุดไทยขาว และใบลานฉบับตัวพิมพ์ ทำความสะอาด ลงทะเบียน พร้อมจัดทำสมุดทะเบียน และอนุรักษ์เอกสารโบราณที่ชำรุด พร้อมทั้งให้ความรู้คำแนะนำกับทางวัดและชุมชนเพื่อใช้ในการดูแลรักษาต่อไป ณ วัดกลาง ต.ท่าเรือ อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา
เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๐พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปทรงเปิดศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ กองกำกับการสนับสนุนทางอากาศตำรวจตระเวนชายแดน (ค่ายนเรศวร) อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์รหัสเอกสาร ภ หจภ นร ๑๔.๕/๒๑
ชื่อเรื่อง ประวัติจังหวัดนนทบุรี และตำนานพระพุทธรูปสำคัญผู้แต่ง -ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ ศาสนา เลขหมู่ 294.31218 ป312สถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์บูรณะการพิมพ์ปีที่พิมพ์ 2505ลักษณะวัสดุ 112 หน้า หัวเรื่อง พระพุทธรูป นนทบุรี – ประวัติศาสตร์ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกประวัติจังหวัดนนทบุรี เป้นเรื่องที่กล่าวถึงภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ การปกครอง การคมนาคม สภาพภูมิศาสตร์ อาชีพของราษฎรและขนมธรรมเนียมประเพณีของชาวจังหวัดนนทบุรี และกล่าวถึงตำนานพระพุทธรูปเชียงแสน เรื่องพระพุทธชินราช พระพุทธสิหิงค์ และตำนานพระพุทธรูปลานช้าง