ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,784 รายการ
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทสนา (เทสนาสังคิณี-มหาปัฎฐาน)สพ.บ. 125/6ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 18 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 53 ซ.ม. หัวเรื่อง พระอภิธรรม
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดประสพสุข ต.ทับตีเหล็ก อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี
ตราดินเผารูปสัญลักษณ์ทางศาสนาประกอบอักษรโบราณ พบที่เมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดง ณ ห้องบรรพชนคนอู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
ตราดินเผารูปกลม มีเส้นคั่นตามแนวนอนตรงกลาง แบ่งพื้นที่เป็นสองส่วน ส่วนบนเป็นรูปโคหมอบ มีรูปจันทร์เสี้ยวและตรีศูล ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระศิวะอยู่ด้านบน โคอาจหมายถึงโคนนทิ พาหนะของพระศิวะ ด้านข้างรูปโคเป็นรูปครุฑ พาหนะของพระวิษณุหรือพระนารายณ์ ลักษณะเช่นนี้ คล้ายตราประทับโบราณของอินเดียสมัยราชวงศ์คุปตะ
ส่วนล่างของตราดินเผา เป็นจารึกจำนวน ๑ บรรทัด นักวิชาการบางท่านเสนอว่า เป็นตัวอักษรพราหมีสมัยราชวงศ์คุปตะ ภาษาสันสกฤต อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐ – ๑๑ (ประมาณ ๑,๕๐๐ - ๑,๖๐๐ ปีมาแล้ว) ความว่า
“ศิวํ พฺริหสฺปติ” แปลว่า “พระศิวะผู้ยิ่งใหญ่”
ทั้งนี้มีนักวิชาการบางท่าน เสนอว่า ตัวอักษรที่ปรากฏบนตราดินเผา เป็นตัวอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ (ประมาณ ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว) ความว่า
“ศิวรฺพรหม หฤตา” แปลว่า “พระศิวะ พระพรหมและพระวิษณุ”
ด้านข้างของตราดินเผา ถูกประทับด้วยตรารูปสี่เหลี่ยมเป็นตัวอักษร ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นอักษรปัลลวะ อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๓ (ประมาณ ๑,๓๐๐ - ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว) แต่ยังไม่สามารถอ่านและตีความได้
ตราดินเผารูปแบบเดียวกันนี้ ยังพบที่เมืองโบราณอู่ทอง อีก ๑ ชิ้น แต่มีสภาพชำรุด และยังพบที่เมืองโบราณจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ จำนวนหนึ่ง โดยด้านข้างหรือส่วนที่เป็นความหนาของตราดินเผาแต่ละชิ้นมีการจารึกข้อความที่แตกต่างกันออกไป จากลักษณะของการแบ่งรายละเอียดของตราออกเป็นสองส่วน มีสัญลักษณ์ของเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ที่ส่วนบน และมีจารึกอักษรโบราณที่ด้านล่าง อาจเทียบได้กับตราดินเผาและเหรียญเงินในศิลปะอินเดีย สมัยคุปตะและหลังคุปตะ กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ (ประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว)
จากรูปแบบศิลปกรรมและจารึก ทำให้สันนิษฐานได้ว่าตราดินเผาชิ้นนี้อาจเป็นตราดินเผารุ่นแรกที่พ่อค้าหรือนักบวชชาวอินเดียที่นับถือศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ลัทธิไศวนิกายนำติดตัวเข้ามาในสมัยทวารวดี เพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร อาจเกี่ยวข้องกับด้านการค้า การศาสนา หรือเป็นเครื่องราง ต่อมาคนพื้นเมืองสมัยทวารวดี จึงได้นำแนวคิดการทำตราประทับมาผลิตขึ้นใช้เอง ปรากฏเป็นรูปแบบที่หลากหลายขึ้น
เอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. สหมิตรพริ้นติ้ง : นนทบุรี, ๒๕๔๕.
ผาสุข อินทราวุธ. ทวารวดี : การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษร สมัย, ๒๕๔๒.
อนันต์ กลิ่นโพธิ์กลับ. การศึกษาความหมายและรูปแบบตราประทับสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสต รมหาบัณฑิต สาขาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๗.
เลขทะเบียน : นพ.บ.73/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 56 หน้า ; 4.6 x 50 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 46 (35-51) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : สีมาวินิจฉฺย (สีมาวินิจฉัย) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
องค์ความรู้วิชาการ เรื่อง ชายฝั่งอันดามันของประเทศไทย ตอนที่ ๒ อิทธิพลทางวัฒนธรรมของชาวต่างชาติที่เข้ามาในพื้นที่จัดทำข้อมูลโดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง
เลขทะเบียน : นพ.บ.134/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 4.4 x 47.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 80 (318-321) ผูก 4 (2564)หัวเรื่อง : ปัญญาบารมี--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อผู้แต่ง -
ชื่อเรื่อง พระโอวาทบางเรื่องของเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราชวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๔
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ บริษัท ประชาชน จำกัด
ปีที่พิมพ์ 2515
จำนวนหน้า 37 หน้า
หมายเหตุ พิมพ์ในงานฌาปนกิจศพ นายประกิจ ศักดิ์สวัสดิ์
เป็นโอวาทของพระบาทสมเด็จพระสังฆราช วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามในโอกาสต่างๆ รวม 7 เรื่อง ประกอบด้วย เรื่องผู้มีเกียรติเรื่องอโคจร พระโอวาทประทานเฉพาะ เรื่องการใช้คน เรื่องการปกครองกับการเล่นว่าว เรื่องการทำบุญและเรื่องคนไทยกับฝรั่ง
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.8/1-6
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
หิน เป็นวัสดุที่คงทนและหาง่ายตามสภาพแวดล้อม ซึ่งหากพบในแหล่งโบราณคดีและไม่ได้มีรูปทรงที่บ่งบอก ว่าเป็นโบราณวัตถุ (artifact) นักโบราณคดีไทยส่วนใหญ่จะจัดให้หินเหล่านี้อยู่ใน “นิเวศวัตถุ” (geofact) โดยที่บางครั้ง ไม่ได้มีการนำมาวิเคราะห์วัตถุเหล่านี้ในเชิงลึก แต่หากนำมาวิเคราะห์ บางครั้งเราอาจเข้าใจว่า ทำไม “นิเวศวัตถุ” เหล่านี้ถูกพบเป็นกลุ่มก้อนร่วมกับโบราณวัตถุประเภทอื่น (ภาพที่ 1) นักโบราณคดีต่างชาติจัดวัตถุดังกล่าวให้อยู่ในโบราณวัตถุที่เรียกว่า “Ground stone” ซึ่งหมายถึงวัตถุ ประเภท หิน เพื่อการผลิตสิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวันหรือวัตถุเชิงพิธีกรรม ฯลฯ รูปแบบการใช้งานของ “Ground stone” ยกตัวอย่างได้ เช่น หินขัดภาชนะดินเผา (abrasion, polish) (Adams 2002: 1) หินที่นำมาทำสะเก็ดหิน (flaking) การทำหินหรือเขาสัตว์เจาะรู โดยใช้หินเป็นเครื่องมือในการเจาะ (drilling) (ภาพที่ 2) (Wright 1992: 53) และ การใช้งานยังขึ้นอยู่กับประเภทและลักษณะทางกายภาพของหินด้วย เช่น หินขนาดเล็กนำมาขัดภาชนะดินเผา เพราะ ถนัดมือ (ภาพที่ 3) แตกต่างจากหินที่ถูกนำไปใช้งานในหน้าที่การใช้งานอื่น ๆ เช่น หินกะเทาะ หินบด หินสำหรับลับเขา สัตว์หรือหัวธนู (ภาพที่ 4) หรือ แท่นหินลับขวานหินขัด (ภาพที่ 5) ที่ต้องใช้หินขนาดใหญ่ (cobble) (Wright 1992) ดังนั้นหินที่พบในแหล่งโบราณคดีบางชิ้น อาจถูกนำมาใช้งานในแง่ของเครื่องมือการผลิตด้วยวิธีต่าง ๆ จน ทำให้เกิดโบราณวัตถุ และขณะที่มีการผลิตวัตถุ Ground stone เหล่านั้นก็สึกกร่อนไปโดยที่มนุษย์ไม่ได้ตั้งใจ เช่นกัน ดังนั้นนักโบราณคดีต่างชาติ จึงจัดให้ “Ground stone” อยู่ในโบราณวัตถุประเภทหนึ่งที่จะสามารถ อธิบายความสำคัญของแหล่งโบราณคดีนั้น ๆ ได้ ภาพที่ 1 ภาพกลุ่มโบราณวัตถุ ได้แก่ หินขัดภาชนะ หินดุ เครื่องมือหิน จากแหล่งโบราณคดีโคกพนมดี ที่มา : รัชนี ทศรัตน์ และ ชาร์ลส ไฮแอม, สยามดึกดำบรรพ์, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ริเวอร์บุ๊คส์, 2542), 49. ภาพที่ 2 ประเภทการใช้งาน Ground stone ที่มา: https://www.persee.fr/doc/paleo_0153-9345_1992_num_18_2_4573 ภาพที่ 3 การใช้หินขัดภาชนะในประเทศอินเดียและประเทศเดนมาร์ก ที่มา : Valentine Roux. Ceramics and Society. (Nanterre: Springer. 2019), 97. ภาพที่ 4 การใช้วัตถุขัดกับหินด้วยวิธี abrading ที่มา : Jenny L. Adams, Ground Stone Analysis. In Archaeological Investigations along Tonto Creek: Artifact, Environmental, and Mortuary Analyses. 2, Lithic, Ground Stone, and Environmental Analyses, edited by J. J. Clark. Anthropological (Tucson: Center for Desert Archaeology. 2002), 23. ภาพที่ 5 สันนิษฐานการใช้งานการขัดหิน ที่มา : อาพัน กิจงาม และปฏิพัฒน์ พุ่มพงษ์แพทย์ (2549 : 32)------------------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวสุวิมล เงินชัยโรจน์ นักวิชาการวัฒนธรรม กลุ่มวิจัยและพัฒนางานโบราณคดี กองโบราณคดี------------------------------------------------------
รัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑
สีฝุ่น บนผนังปูน
จิตรกรรมพุทธประวัติตอนนางสุชาดาถวายข้าวมธุปายาสให้แด่พระพุทธเจ้า เป็นหนึ่งในภาพเขียนสีภายในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จากหนังสือปฐมสมโพธิกถา พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงบรรยายถึงวิธีการหุงข้าวมธุปายาสของนางสุชาดาว่าจะต้องเลี้ยงแม่วัวนมจำนวน ๑,๐๐๐ ตัว ไว้ในป่าชะเอม ให้แม่โคทั้งหลายได้กินเครือชะเอมเป็นประจำสม่ำเสมอ จะทำให้น้ำนมมีรสหอมหวาน และให้แม่โคอีก ๕๐๐ ตัวดูดกินนมของแม่โค ๑,๐๐๐ ตัวที่เลี้ยงในป่าชะเอม จากนั้นจึงให้แม่โคอีก ๒๕๐ ตัว ดูดกินนมของแม่โค ๕๐๐ ตัว โดยวิธีการนี้จะทำให้จำนวนแม่โคที่ดูดกินนมจากแม่วัวอีกคอก จำนวนลดลงเรื่อยๆ จนเหลือโคเพียง ๘ ตัว น้ำนมแม่โคทั้งแปดตัวสุดท้ายนี้จะมีรสหวานหอมเป็นเลิศอย่างที่ไม่มีน้ำนมโคอื่นมาเปรียบเทียบได้ จนถึงวันเพ็ญเดือนหกน้ำนมของแม่โคจะไหลออกมาเองเมื่อได้แล้วจึงเทน้ำนมลงใส่ภาชนะใหม่ยกขึ้นตั้งบนเตาและนำน้ำนมมาหุงข้าวมธุปายาส
จิตรกรรมผนังระหว่างหน้าต่างพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ผนังนี้ วาดภาพนางสุชาดา ธิดาเศรษฐีหมู่บ้านเสนานี ใกล้ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม หุงข้าวมธุปายาส ขึ้นเพื่อเป็นอาหารไปแก้บนเพราะสมปรารถนาตั้งครรภ์บุตรคนแรกเป็นผู้ชาย นางสุชาดาเห็นพระพุทธเจ้า ขณะยังเป็นพระโพธิสัตว์ประทับใต้ต้นนิโครธ (ต้นไทร) ก็เข้าใจว่าพระองค์เป็นเทพยดาเพราะมีลักษณะงาม นางจึงนำข้าวมธุปายาสถวายพร้อมทั้งถาด พระโพธิสัตว์ได้นำข้าวมธุปายาสมาแบ่งเป็น ๔๙ ก้อน แล้วเสวยจนหมด จากนั้นจึงนำถาดไปอธิษฐานแล้วลอยไปในแม่น้ำเนรัญชรา เพื่อเสี่ยงทายเรื่องที่จะสามารถตรัสรู้ได้หรือไม่ ข้าวมธุปายาสของนางสุชาดาจึงนับว่าเป็นอาหารมื้อสุดท้ายก่อนที่พระโพธิสัตว์จะได้บรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า
วัดเขาสุกิมเป็นวัดปฏิบัติธรรม และเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 12 ตำบลเขาบายศรี อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี นายขาว หอมนาม ชาวบ้านในพื้นที่วัดเขาสุกิมได้ให้ข้อมูลว่า แต่ก่อนที่จะมีชื่อว่าวัดเขาสุกิม มีชาวบ้านบริเวณเขาสุกิมได้เห็นแสงสว่างแวววาวอยู่บนยอดเขา มีลำแสงคล้ายพญานาคระยิบระยับ ส่วนมากจะเป็นวัน 8 ค่ำ กับ 15 ค่ำ แสงนี้มักจะปรากฏให้เห็นเสมอ สมัยนั้นมีพระธุดงค์องค์หนึ่งมาปักกลดอยู่ที่บ้านเนินดินแดง เพราะเห็นว่าเนินดินแดงนั้นเป็นที่สงบ ก็สร้างที่พักสงฆ์ราวปี พ.ศ. 2500 ต่อมามีชาวบ้านผู้ใจบุญนำข้าวปลาอาหารไปถวายพระธุดงค์ที่พักอยู่ที่พักสงฆ์เนินดินแดง และเล่าสิ่งประหลาดที่เกิดบนยอดเขาสุกิมให้พระธุดงค์องค์นั้นฟัง จากนั้นมาอีกไม่นานนักพระธุดงค์องค์นั้นก็ได้เดินสำรวจที่บริเวณเขาสุกิม ก็ทราบว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ จึงพร้อมด้วยอุบาสกอุบาสิกาช่วยกันสร้างเป็นที่พักสงฆ์อีกแห่งหนึ่ง ประกอบด้วยนายขาว นายมา นายสง่า และมีอีกมากที่มาช่วยสร้าง อยู่มาไม่นานนักพระธุดงค์องค์นั้น ก็ได้ย้ายจากที่พักสงฆ์เนินดินแดงมาพักอยู่ที่พักสงฆ์ที่สร้างใหม่ คือ บริเวณเขาสุกิม ตามคำบอกเล่าของผู้รู้เล่าให้ฟังว่า พระธุดงค์องค์นั้นรู้ด้วยญาณว่า บริเวณเขาสุกิมนั้นมีของมีค่ามหาศาล มีทอง เพชร นิล จินดา เจ้าป่าเจ้าเขาจึงบันดาลให้เห็นลำแสงเป็นตัวพญานาค เพื่อปกป้องมิให้ผู้ใดเข้าไปทำลาย หรือไปฉิบฉวยสมบัติของตัวเอง และยังกล่าวไว้อีกว่าผู้ที่มีบุญหรือมีญาณแก่กล้าเท่านั้น จึงจะเห็นลำแสงที่ปรากฏเป็นตัวพญานาค จากบัดนั้นมาที่พักสงฆ์เขาสุกิมแห่งนี้ก็ได้กลายมาเป็น “วัดเขาสุกิม” พระธุดงค์นั้นก็คือ ท่านพระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย ที่ได้สร้างสำนักสงฆ์เป็นวัดตราบเท่าทุกวันนี้ การสร้างวัดจากข้อมูลของวัดเขาสุกิมได้ระบุว่าเริ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2509 พันโทสนิท พร้อมด้วยคุณนายประนอม บูรณะคุณ และคุณรัตนา เอกครพานิช ได้มีจิตศรัทธาบริจาคที่ดิน จำนวน 6 ไร่ 50 ตารางวา ถวายเพื่อสร้างวัด ต่อจากนั้น ประชาชนชาวบ้านได้เข้ามาสนับสนุน ส่งเสริมด้านต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น เป็นต้นว่า ได้ช่วยกันบริจาคทุนทรัพย์ในการสร้างกุฎิกรรมฐานขนาดเล็กขึ้นจำนวนหลายหลัง เพื่อทดแทนกุฏิชั่วคราวที่ได้จัดสร้างไว้ในครั้งแรกที่ได้ ชำรุดทรุดโทรมลงไปและได้ทำการปลูกสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกด้านอื่นๆ อีกหลายอย่างเพื่อถวายแก่พระภิกษุ สามเณรและผู้ปฏิบัติธรรม ในระยะเวลาต่อมา กุฏิกรรมฐานขนาดเล็กก็ได้พัฒนาขึ้นเป็นกุฏิกรรมฐานขนาดถาวรขนาด สองชั้นมีทางเดินจงกรมยาว 25 ก้าว ทั้งชั้นล่างและชั้นบน ตลอดระยะเวลาที่ท่านพระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย ได้ก้าวขึ้นมาบนเขาสุกิมแห่งนี้ นับเป็นระยะเวลาถึง 30 ปีเศษ ( 2507-2543 ) ที่ท่านเป็นผู้บุกเบิก ริเริ่มและสร้างสรรค์ภูเขาซึ่งเป็นป่าดงดิบ ให้เป็นวัดที่ร่มริ่น เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของพระภิกษุสาม เณรและผู้ที่สนใจปฏิบัติกรรมฐาน เป็นสถานที่ทัศนาการของประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ วัดเขาสุกิมได้พัฒนาขึ้นมาอย่างช้าๆ แต่ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น ได้แก่ ศาสนสถาน ศาสนสมบัติ ศาสนวัตถุ เช่น เสนาสนะ กุฎิ อาคาร สิ่งของต่างๆ และวัตถุโบราณต่างๆ ที่มีอยู่ในวัดเขาสุกิมทั้งหมดนั้น เกิดขึ้นด้วยบุญญาบารมีของ ท่าน พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย ทั้งสิ้น กล่าวคือทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นด้วยพลังศรัทธาของประชาชนที่มีความเคารพนับถือเลื่อมใส พิจารณาแล้วจึงได้เสียสละทุนทรัพย์จัดสร้างและบริจาคสิ่งของสนับสนุนเป็นประจำวันมิได้ขาด ทุกสิ่งทุกอย่างเกิด ขึ้น จากผู้ที่มีศรัทธานำมาถวายทั้งสิ้น ปัจจุบันวัดเขาสุกิมมีเนื้อที่ในการขออนุญาตสร้างวัด จำนวน 6 ไร่ 50 ตารางวา มีเนื้อที่เป็นของวัด 3,344 ไร่ ต่อมา ได้ยกที่ให้ โรงเรียนมัธยมวัดเขาสุกิม 50 ไร่ และโรงพยาบาลวัดเขาสุกิม 14 ไร่ จึงเหลือเนื้อที่ของวัด 3,280 ไร่ ท่านพระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย ได้เริ่มบุกเบิก จนเป็นที่รู้จักของผู้ปฏิบัติธรรมและสาธุชนทั่วไปเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นสถานที่มีความสำคัญอีก แห่งหนึ่งของจังหวัดจันทบุรี วัดเขาสุกิมตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงปัจจุบัน มีเจ้าอาวาสมาแล้ว 3 รูป ลำดับได้ดังนี้ 1. พระอธิการคำพันธ์ สิริปญฺโญ เป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508-2517 2. พระอธิการคำพันธ์ คมฺภีรญาโณ เป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517-2526 3. พระญาณวิลาส (บุญ สิริปญฺโญ) เป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526- ปัจจุบัน------------------------------------------------------------ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี------------------------------------------------------------อ้างอิง : นิภา เจียมโฆษิต. ประเพณีท้องถิ่นของจังหวัดจันทบุรี. จันทบุรี : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี. 2538. ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนและภาพประกอบ จากเว็บไซต์วัดเขาสุกิม http://www.khaosukim.org/khaosukim/index.php/aboutwat ขอขอบคุณภาพประกอบ จากเว็บไซต์ sanook เรื่อง “วัดเขาสุกิม" สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เมืองจันทบุรีhttps://www.sanook.com/travel/1395185/
พระพุทธรูปยืนตริภังค์ปางแสดงธรรม พบจากเจดีย์หมายเลข ๓ เมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดง ณ ห้องบรรพชนคนอู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง พระพุทธรูปยืนปางแสดงธรรม อุษณีษะเป็นกะเปาะสูง เม็ดพระศกใหญ่ พระพักตร์รูปไข่ พระขนงต่อกันเป็นปีกกา พระเนตรโปน เหลือบลงต่ำ พระนาสิกใหญ่ พระโอษฐ์หนา อมยิ้มเล็กน้อย พระกรรณยาวเซาะเป็นร่อง พระศอเป็นปล้อง ครองจีวรเรียบ จีวรบางแนบพระวรกาย เห็นขอบสบงบริเวณบั้นพระองค์ พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระแสดงวิตรรกมุทรา (ปางแสดงธรรม) พระหัตถ์ซ้ายหักหายไปสันนิษฐานว่าอาจยึดชายจีวรในระดับบั้นพระองค์ ยืนตริภังค์ (ยืนเอียงสะโพก) ทั้งนี้การยืนตริภังค์ของพระพุทธรูป แสดงถึงอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบคุปตะ แต่ลักษณะพระพักตร์เป็นแบบทวารวดีแล้ว จึงกำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๔ (ประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว) พระพุทธรูปยืนตริภังค์ พบจำนวนไม่มากนักในสมัยทวารวดี โดยพบในกลุ่มพระพุทธรูปแสดงวรมุทรา (ปางประทานพร) สลักด้วยหินขนาดใหญ่ กลุ่มพระพุทธรูปสำริด และพระพิมพ์อีกจำนวนหนึ่ง พระพุทธรูปยืนตริภังค์ ศิลปะทวารวดี มักจะครองจีวรห่มเฉียง และแสดงวิตรรกมุราด้วยพระหัตถ์ขวา ส่วนพระหัตถ์ซ้ายยึดชายจีวรในระดับบั้นพระองค์หรือปล่อยลงข้างพระวรกาย เป็นลักษณะการแสดงพระหัตถ์ที่ไม่สมมาตร ต่างจากกลุ่มพระพุทธรูปยืนสมภังค์ (ยืนตรง) มักจะครองจีวรห่มคลุม แสดงวิตรรกมุทราสองพระหัตถ์ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะที่นิยมในพระพุทธรูปที่สร้างในสมัยทวารวดี ซึ่งพบเป็นจำนวนมากกว่าพระพุทธรูปยืนตริภังค์ (ยืนเอียงสะโพก) นอกจากพระพุทธรูปยืนตริภังค์องค์นี้แล้ว ที่เมืองโบราณอู่ทองยังพบพระพุทธรูปยืนตริภังค์อีกจำนวนหนึ่ง ได้แก่ พระพุทธรูปสำริดยืนตริภังค์ จากเจดีย์หมายเลข ๒ และ ๑๓ รวมทั้งยังพบพระพิมพ์ดินเผาภาพพระพุทธรูปยืนตริภังค์จากเจดีย์หมายเลข ๒ และ ๓ อีกด้วย---------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง---------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. พระพุทธรูปและพระพิมพ์ทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๒. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๖๒.