Ground stone: หินธรรมชาติที่ใช้สำหรับการผลิตและตกแต่งวัตถุทางวัฒนธรรม
หิน เป็นวัสดุที่คงทนและหาง่ายตามสภาพแวดล้อม ซึ่งหากพบในแหล่งโบราณคดีและไม่ได้มีรูปทรงที่บ่งบอก ว่าเป็นโบราณวัตถุ (artifact) นักโบราณคดีไทยส่วนใหญ่จะจัดให้หินเหล่านี้อยู่ใน “นิเวศวัตถุ” (geofact) โดยที่บางครั้ง ไม่ได้มีการนำมาวิเคราะห์วัตถุเหล่านี้ในเชิงลึก แต่หากนำมาวิเคราะห์ บางครั้งเราอาจเข้าใจว่า ทำไม “นิเวศวัตถุ” เหล่านี้ถูกพบเป็นกลุ่มก้อนร่วมกับโบราณวัตถุประเภทอื่น (ภาพที่ 1)
นักโบราณคดีต่างชาติจัดวัตถุดังกล่าวให้อยู่ในโบราณวัตถุที่เรียกว่า “Ground stone” ซึ่งหมายถึงวัตถุ ประเภท หิน เพื่อการผลิตสิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวันหรือวัตถุเชิงพิธีกรรม ฯลฯ รูปแบบการใช้งานของ “Ground stone” ยกตัวอย่างได้ เช่น หินขัดภาชนะดินเผา (abrasion, polish) (Adams 2002: 1) หินที่นำมาทำสะเก็ดหิน (flaking) การทำหินหรือเขาสัตว์เจาะรู โดยใช้หินเป็นเครื่องมือในการเจาะ (drilling) (ภาพที่ 2) (Wright 1992: 53) และ การใช้งานยังขึ้นอยู่กับประเภทและลักษณะทางกายภาพของหินด้วย เช่น หินขนาดเล็กนำมาขัดภาชนะดินเผา เพราะ ถนัดมือ (ภาพที่ 3) แตกต่างจากหินที่ถูกนำไปใช้งานในหน้าที่การใช้งานอื่น ๆ เช่น หินกะเทาะ หินบด หินสำหรับลับเขา สัตว์หรือหัวธนู (ภาพที่ 4) หรือ แท่นหินลับขวานหินขัด (ภาพที่ 5) ที่ต้องใช้หินขนาดใหญ่ (cobble) (Wright 1992)
ดังนั้นหินที่พบในแหล่งโบราณคดีบางชิ้น อาจถูกนำมาใช้งานในแง่ของเครื่องมือการผลิตด้วยวิธีต่าง ๆ จน ทำให้เกิดโบราณวัตถุ และขณะที่มีการผลิตวัตถุ Ground stone เหล่านั้นก็สึกกร่อนไปโดยที่มนุษย์ไม่ได้ตั้งใจ เช่นกัน ดังนั้นนักโบราณคดีต่างชาติ จึงจัดให้ “Ground stone” อยู่ในโบราณวัตถุประเภทหนึ่งที่จะสามารถ อธิบายความสำคัญของแหล่งโบราณคดีนั้น ๆ ได้
ภาพที่ 1 ภาพกลุ่มโบราณวัตถุ ได้แก่ หินขัดภาชนะ หินดุ เครื่องมือหิน จากแหล่งโบราณคดีโคกพนมดี
ที่มา : รัชนี ทศรัตน์ และ ชาร์ลส ไฮแอม, สยามดึกดำบรรพ์, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ริเวอร์บุ๊คส์, 2542), 49.
ภาพที่ 2 ประเภทการใช้งาน Ground stone
ที่มา: https://www.persee.fr/doc/paleo_0153-9345_1992_num_18_2_4573
ภาพที่ 3 การใช้หินขัดภาชนะในประเทศอินเดียและประเทศเดนมาร์ก
ที่มา : Valentine Roux. Ceramics and Society. (Nanterre: Springer. 2019), 97.
ภาพที่ 4 การใช้วัตถุขัดกับหินด้วยวิธี abrading
ที่มา : Jenny L. Adams, Ground Stone Analysis. In Archaeological Investigations along Tonto Creek: Artifact, Environmental, and Mortuary Analyses. 2, Lithic, Ground Stone, and Environmental Analyses, edited by J. J. Clark. Anthropological (Tucson: Center for Desert Archaeology. 2002), 23.
ภาพที่ 5 สันนิษฐานการใช้งานการขัดหิน
ที่มา : อาพัน กิจงาม และปฏิพัฒน์ พุ่มพงษ์แพทย์ (2549 : 32)
------------------------------------------------------
เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวสุวิมล เงินชัยโรจน์ นักวิชาการวัฒนธรรม กลุ่มวิจัยและพัฒนางานโบราณคดี กองโบราณคดี
------------------------------------------------------
นักโบราณคดีต่างชาติจัดวัตถุดังกล่าวให้อยู่ในโบราณวัตถุที่เรียกว่า “Ground stone” ซึ่งหมายถึงวัตถุ ประเภท หิน เพื่อการผลิตสิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวันหรือวัตถุเชิงพิธีกรรม ฯลฯ รูปแบบการใช้งานของ “Ground stone” ยกตัวอย่างได้ เช่น หินขัดภาชนะดินเผา (abrasion, polish) (Adams 2002: 1) หินที่นำมาทำสะเก็ดหิน (flaking) การทำหินหรือเขาสัตว์เจาะรู โดยใช้หินเป็นเครื่องมือในการเจาะ (drilling) (ภาพที่ 2) (Wright 1992: 53) และ การใช้งานยังขึ้นอยู่กับประเภทและลักษณะทางกายภาพของหินด้วย เช่น หินขนาดเล็กนำมาขัดภาชนะดินเผา เพราะ ถนัดมือ (ภาพที่ 3) แตกต่างจากหินที่ถูกนำไปใช้งานในหน้าที่การใช้งานอื่น ๆ เช่น หินกะเทาะ หินบด หินสำหรับลับเขา สัตว์หรือหัวธนู (ภาพที่ 4) หรือ แท่นหินลับขวานหินขัด (ภาพที่ 5) ที่ต้องใช้หินขนาดใหญ่ (cobble) (Wright 1992)
ดังนั้นหินที่พบในแหล่งโบราณคดีบางชิ้น อาจถูกนำมาใช้งานในแง่ของเครื่องมือการผลิตด้วยวิธีต่าง ๆ จน ทำให้เกิดโบราณวัตถุ และขณะที่มีการผลิตวัตถุ Ground stone เหล่านั้นก็สึกกร่อนไปโดยที่มนุษย์ไม่ได้ตั้งใจ เช่นกัน ดังนั้นนักโบราณคดีต่างชาติ จึงจัดให้ “Ground stone” อยู่ในโบราณวัตถุประเภทหนึ่งที่จะสามารถ อธิบายความสำคัญของแหล่งโบราณคดีนั้น ๆ ได้
ภาพที่ 1 ภาพกลุ่มโบราณวัตถุ ได้แก่ หินขัดภาชนะ หินดุ เครื่องมือหิน จากแหล่งโบราณคดีโคกพนมดี
ที่มา : รัชนี ทศรัตน์ และ ชาร์ลส ไฮแอม, สยามดึกดำบรรพ์, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ริเวอร์บุ๊คส์, 2542), 49.
ภาพที่ 2 ประเภทการใช้งาน Ground stone
ที่มา: https://www.persee.fr/doc/paleo_0153-9345_1992_num_18_2_4573
ภาพที่ 3 การใช้หินขัดภาชนะในประเทศอินเดียและประเทศเดนมาร์ก
ที่มา : Valentine Roux. Ceramics and Society. (Nanterre: Springer. 2019), 97.
ภาพที่ 4 การใช้วัตถุขัดกับหินด้วยวิธี abrading
ที่มา : Jenny L. Adams, Ground Stone Analysis. In Archaeological Investigations along Tonto Creek: Artifact, Environmental, and Mortuary Analyses. 2, Lithic, Ground Stone, and Environmental Analyses, edited by J. J. Clark. Anthropological (Tucson: Center for Desert Archaeology. 2002), 23.
ภาพที่ 5 สันนิษฐานการใช้งานการขัดหิน
ที่มา : อาพัน กิจงาม และปฏิพัฒน์ พุ่มพงษ์แพทย์ (2549 : 32)
------------------------------------------------------
เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวสุวิมล เงินชัยโรจน์ นักวิชาการวัฒนธรรม กลุ่มวิจัยและพัฒนางานโบราณคดี กองโบราณคดี
------------------------------------------------------
(จำนวนผู้เข้าชม 2061 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน