การเกล้าผมตามแบบฉบับแม่หญิงล้านนา
ตอน การเกล้าผมตามแบบฉบับแม่หญิงล้านนา
ในอดีตอาณาจักรล้านนา เป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่และมีวัฒนธรรมเฉพาะ ทั้งทางด้านภาษา ด้านอาหารการกิน รวมไปถึงการใช้ชีวิตที่เรียบง่ายและการแต่งกายที่งดงาม โดยเฉพาะแม่หญิงชาวล้านนาที่มีการแต่งกายเป็นเอกลักษณ์ที่สามารถบ่งบอกถึงแหล่งที่อยู่อาศัย
การเกล้าผมมวย เป็นลักษณะหนึ่งในการแต่งกายแบบแม่หญิงชาวล้านนา โดยตั้งแต่วัยเด็ก จนถึงวัยผู้ใหญ่ ผู้หญิงชาวล้านนามักไว้ผมยาวจนถึงปลายซิ่น และเกล้าผมมวยให้อยู่ด้านหลังของศีรษะ หรืออยู่ประมาณสูงกว่าท้ายทอยของศีรษะ รูปแบบการเกล้าผมมวยของชาวล้านนานั้น โดยทั่วไปนิยมใช้หวีสับกวาดเส้นผมจากหน้าผากให้เรียบ แล้วใช้หวีสับไว้ใกล้มวยผม ส่วนตรงผมมวยอาจจะเหน็บปิ่นรั้งเอาไว้เพื่อไม่ให้มวยผมหลุด บ้างหาดอกไม้สดเสียบเพิ่มความสวยงาม หากมีฐานะมักจะตกแต่งผมด้วยดอกไม้ไหวที่ทำขึ้นจากทองเหลือง
นอกจากทรงผมเกล้ามวยแบบที่กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีการเกล้าผมแบบอื่นด้วย เช่น
การเกล้าผมมวยแบบชักหงีบ คือ ดึงผมด้านหน้าตรงกลางให้เรียบ แล้วใช้นิ้วสอดสองข้างตรงขมับ ให้ผมโป่งออกมาเล็กน้อย
การเกล้าผมวิดหว้อง คือ การเกล้าผมบริเวณกลางศีรษะ โดยมีการดึงผมออกมา เรียกว่า ว้อง เพื่อเป็นห่วงกลางมวยผม
การเกล้าผมแบบอั่วซ้อง คือ การเกล้าผมโดยนำเอาผมเป็นช่อ เรียก ช้อง (จ๊อง) นำมามัดกับเศษผมทาชันโรงและนำผมบางส่วนไปเสริมบนศีรษะก่อนมวยเพื่อให้มวยผมมีขนาดโตขึ้นและประดับตกแต่งด้วยดอกไม้
ในสมัยต่อมา ทรงผมที่นิยมคือ ทรงผมแบบอี่ปุ่น (ญี่ปุ่น) ซึ่งผู้ทำให้ผมทรงนี้จนเกิดความนิยมกันอย่างแพร่หลาย คือ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ได้นำการเกล้าผมแบบญี่ปุ่นมาใช้ เมื่อคราวเสด็จกลับเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๔๕๗ รูปแบบการทำผมทรงนี้คือ เกล้ามวยผมขึ้นสูงเหนือท้ายทอย บริเวณท้ายทอยอาจดึงให้ตึงหรือโป่งตามความพอใจ ส่วนด้านหน้าของทรงผมใช้หมอนหนุนให้มองดูสูงแล้วปักปิ่นตรงมวยด้านใดด้านหนึ่งแล้วเหน็บหวีควาย หากเป็นสาวชาวบ้านจะเน้นปักผมด้วยดอกเอื้อง (ดอกกล้วยไม้) ดอกหอมนวล (ลำดวน) ดอกมะลิ ดอกสลิด (ดอกขจร) สลับเวียนกันไป การตกแต่งด้วยดอกไม้นี้ ถือเป็นการบูชาขวัญแห่งตน ซึ่งดอกไม้ที่ใช้มักมีสีอ่อน กลิ่นหอม และมีความหมายดี
ปัจจุบันการเกล้าผมในชาวล้านนานั้นยังพอพบเห็นได้บ้าง นอกจากนี้ยังมีการอนุรักษ์การแต่งกายแบบชาวล้านนา การเกล้ามวยผมแบบแม่หญิงล้านนาจึงสามารถพบเห็นได้ในโอกาสพิเศษ หรือการแต่งกายเพื่อการรำฟ้อน หรือตามประเพณีต่าง ๆ ที่จัดขึ้นทางภาคเหนือ
ผู้เรียบเรียง : นางสาวอริสรา คงประเสริฐ นักจดหมายเหตุ
ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่.
ภาพส่วนบุคคลชุดนายบุญเสริม สาตราภัย.
อ้างอิง :
๑. รัตนา พรหมพิชัย. "เกล้าผม (การแต่งกาย)." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, ๒๕๔๒: ๔๓๔ - ๔๓๖.
๒. ชมรมฮักตั๋วเมือง สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ๒๕๖๑. "วิธีการดูแลเส้นผมของคนล้านนาโบราณ ที่บางคนไม่ยอมตัดไว้ยาวถึงพื้นก็มี" ใน คอลัมภ์ล้านนาคำเมือง (Online). https://www.matichonweekly.com/column/article_138323, ๒๖ เมษายน ๒๕๖๕.
ในอดีตอาณาจักรล้านนา เป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่และมีวัฒนธรรมเฉพาะ ทั้งทางด้านภาษา ด้านอาหารการกิน รวมไปถึงการใช้ชีวิตที่เรียบง่ายและการแต่งกายที่งดงาม โดยเฉพาะแม่หญิงชาวล้านนาที่มีการแต่งกายเป็นเอกลักษณ์ที่สามารถบ่งบอกถึงแหล่งที่อยู่อาศัย
การเกล้าผมมวย เป็นลักษณะหนึ่งในการแต่งกายแบบแม่หญิงชาวล้านนา โดยตั้งแต่วัยเด็ก จนถึงวัยผู้ใหญ่ ผู้หญิงชาวล้านนามักไว้ผมยาวจนถึงปลายซิ่น และเกล้าผมมวยให้อยู่ด้านหลังของศีรษะ หรืออยู่ประมาณสูงกว่าท้ายทอยของศีรษะ รูปแบบการเกล้าผมมวยของชาวล้านนานั้น โดยทั่วไปนิยมใช้หวีสับกวาดเส้นผมจากหน้าผากให้เรียบ แล้วใช้หวีสับไว้ใกล้มวยผม ส่วนตรงผมมวยอาจจะเหน็บปิ่นรั้งเอาไว้เพื่อไม่ให้มวยผมหลุด บ้างหาดอกไม้สดเสียบเพิ่มความสวยงาม หากมีฐานะมักจะตกแต่งผมด้วยดอกไม้ไหวที่ทำขึ้นจากทองเหลือง
นอกจากทรงผมเกล้ามวยแบบที่กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีการเกล้าผมแบบอื่นด้วย เช่น
การเกล้าผมมวยแบบชักหงีบ คือ ดึงผมด้านหน้าตรงกลางให้เรียบ แล้วใช้นิ้วสอดสองข้างตรงขมับ ให้ผมโป่งออกมาเล็กน้อย
การเกล้าผมวิดหว้อง คือ การเกล้าผมบริเวณกลางศีรษะ โดยมีการดึงผมออกมา เรียกว่า ว้อง เพื่อเป็นห่วงกลางมวยผม
การเกล้าผมแบบอั่วซ้อง คือ การเกล้าผมโดยนำเอาผมเป็นช่อ เรียก ช้อง (จ๊อง) นำมามัดกับเศษผมทาชันโรงและนำผมบางส่วนไปเสริมบนศีรษะก่อนมวยเพื่อให้มวยผมมีขนาดโตขึ้นและประดับตกแต่งด้วยดอกไม้
ในสมัยต่อมา ทรงผมที่นิยมคือ ทรงผมแบบอี่ปุ่น (ญี่ปุ่น) ซึ่งผู้ทำให้ผมทรงนี้จนเกิดความนิยมกันอย่างแพร่หลาย คือ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ได้นำการเกล้าผมแบบญี่ปุ่นมาใช้ เมื่อคราวเสด็จกลับเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๔๕๗ รูปแบบการทำผมทรงนี้คือ เกล้ามวยผมขึ้นสูงเหนือท้ายทอย บริเวณท้ายทอยอาจดึงให้ตึงหรือโป่งตามความพอใจ ส่วนด้านหน้าของทรงผมใช้หมอนหนุนให้มองดูสูงแล้วปักปิ่นตรงมวยด้านใดด้านหนึ่งแล้วเหน็บหวีควาย หากเป็นสาวชาวบ้านจะเน้นปักผมด้วยดอกเอื้อง (ดอกกล้วยไม้) ดอกหอมนวล (ลำดวน) ดอกมะลิ ดอกสลิด (ดอกขจร) สลับเวียนกันไป การตกแต่งด้วยดอกไม้นี้ ถือเป็นการบูชาขวัญแห่งตน ซึ่งดอกไม้ที่ใช้มักมีสีอ่อน กลิ่นหอม และมีความหมายดี
ปัจจุบันการเกล้าผมในชาวล้านนานั้นยังพอพบเห็นได้บ้าง นอกจากนี้ยังมีการอนุรักษ์การแต่งกายแบบชาวล้านนา การเกล้ามวยผมแบบแม่หญิงล้านนาจึงสามารถพบเห็นได้ในโอกาสพิเศษ หรือการแต่งกายเพื่อการรำฟ้อน หรือตามประเพณีต่าง ๆ ที่จัดขึ้นทางภาคเหนือ
ผู้เรียบเรียง : นางสาวอริสรา คงประเสริฐ นักจดหมายเหตุ
ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่.
ภาพส่วนบุคคลชุดนายบุญเสริม สาตราภัย.
อ้างอิง :
๑. รัตนา พรหมพิชัย. "เกล้าผม (การแต่งกาย)." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, ๒๕๔๒: ๔๓๔ - ๔๓๖.
๒. ชมรมฮักตั๋วเมือง สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ๒๕๖๑. "วิธีการดูแลเส้นผมของคนล้านนาโบราณ ที่บางคนไม่ยอมตัดไว้ยาวถึงพื้นก็มี" ใน คอลัมภ์ล้านนาคำเมือง (Online). https://www.matichonweekly.com/column/article_138323, ๒๖ เมษายน ๒๕๖๕.
(จำนวนผู้เข้าชม 4503 ครั้ง)