ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,784 รายการ

         พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านนา จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง          พระพุทธรูปปางมารวิชัย หรือพระพุทธรูปปางชนะมาร หล่อด้วยสำริด พระรัศมีเป็นเปลว พระศกขมวดเล็ก มีเส้นขอบไรพระศก พระพักตร์กลม พระหนุเป็นปม พระขนงโก่ง พระเนตรเรียว พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์ยิ้มเล็กน้อย พระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก ครองจีวรห่มเฉียง ชายผ้าสังฆาฏิแผ่นเล็กปลายตัดยาวจรดพระนาภี ประทับขัดสมาธิราบเหนือฐานบัวคว่ำ-บัวหงายที่ประดับด้วยลวดลายเกสรบัว รองรับด้วยฐานหกเหลี่ยมยกสูงตกแต่งด้วยช่องสี่เหลี่ยม            จากรูปแบบศิลปกรรมของพระพุทธรูปองค์นี้อยู่ในศิลปะล้านนา กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ เนื่องจากพบพระพุทธรูปกลุ่มที่ประทับบนฐานบัวคว่ำ-บัวหงาย มีเกสรและฐานยืดสูงเจาะเป็นช่อง ที่เรียกว่า “ช่องกระจก” ส่วนใหญ่มักพบจารึกที่บริเวณฐานช่องกระจกระบุว่าสร้างในพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ช่วงรัชกาลพระเจ้าติโลกราชถึงพระเมืองแก้ว ตัวอย่างสำคัญได้แก่ พระพุทธรูปปางมารวิชัยมีจารึกที่ฐานในพระวิหารวัดเจดีย์หลวง เชียงใหม่         พระพุทธรูปกลุ่มนี้ได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัยและอยุธยา แต่มีลักษณะเฉพาะของศิลปะล้านนาผสมผสานจนเกิดเป็นเอกลักษณ์ กล่าวคือ ขมวดพระเกศาเล็ก รัศมีเป็นเปลว พระอังสาใหญ่และขัดสมาธิราบแบบพระพุทธรูปสุโขทัย มีชายสังฆาฏิปลายตัด ยาวจรดพระนาภีแบบศิลปะอยุธยาตอนต้น ในขณะเดียวกันมีลักษณะที่แสดงรูปแบบของพระพุทธรูปศิลปะล้านนา คือ มีพระพักตร์กลม พระหนุเป็นปม และประทับบนฐานบัวคว่ำ-บัวหงาย มีเกสรแบบพระพุทธรูปล้านนา การปรากฏรูปแบบพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยและอยุธยา ในพระพุทธรูปสมัยล้านนาองค์นี้ เป็นหลักฐานสำคัญว่าช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ดินแดนล้านนามีความสัมพันธ์กับสุโขทัยและอยุธยา          คติการสร้างพระพุทธรูปปางมารวิชัย คือการแสดงพุทธประวัติเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าทรงสามารถชนะพระยามารที่ยกพลมาผจญพระองค์ และได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งแสดงสัญลักษณ์โดยวางพระหัตถ์ขวาเหนือพระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงสู่พระธรณีเป็นกิริยาเรียกพระแม่ธรณีขึ้นมาเป็นพยานในพระบารมีที่ทรงบำเพ็ญมา พระแม่ธรณีจึงปรากฏกายขึ้นและบีบน้ำที่ทรงรดสรงในการบำเพ็ญทานในอดีตชาติ อันนับประมาณมิได้ จนท่วมทัพของพรยามารพ่ายแพ้ไป การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าถือเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ เหนือกว่าชัยชนะทั้งปวงของพระองค์  โดยนัยการบูชาพระพุทธรูปองค์นี้ จึงบูชาเพื่อชัยชนะทั้งทางโลกและทางธรรมในทางโลกคือชัยชนะเหนือศัตรู ทางธรรมคือชัยชนะเหนือกิเลสทั้งปวง   เอกสารอ้างอิง ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พระพุทธรูปสำคัญและพุทธศิลป์ในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๕๔. สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะภาคเหนือ : หริภุญชัย-ล้านนา. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๕๕. สุรพล ดำริห์กุล. ประวัติศาสตร์และศิลปะล้านนา. นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๖๑.


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           17/3ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                24 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อผู้แต่ง         กระทรวงศึกษาธิการ  กรมสามัญศึกษา ชื่อเรื่อง           ที่ระลึกในงานพระกฐินพระราชทาน  กรมสามัญศึกษา  ณ  วัดมหาธาตุวรวิหาร ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       หจก.จงเจริญการพิมพ์ ปีที่พิมพ์          2523 จำนวนหน้า      50 หน้า หมายเหตุ        พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระกฐินพระราชทาน  กรมสามัญศึกษา  ณ  วัดมหาธาตุวรวิหาร อ.เมืองเพชรบุรี รายละเอียด      หนังสือที่ระลึกของกรมสามัญศึกษาเล่มนี้  นำเนื้อหาเรื่องรางต่างๆประกอบด้วย  ประวัติวัดมหาธาตุวรวิหาร จ.เพชรบุรี  เรื่องการศึกษาของตนพิการ  โครงการโรงเรียนมัธยมเพื่อพัฒนาชนบท (มพธ) และงานของกรมสามัญศึกษาที่สนองนโยบายรัฐบาลปัจจุบัน


แนะนำ หนังสือ E-book หายาก จำนวน 5 เล่ม 1.ประวัติครู คุรุสภา จัดพิมพ์ในวันครู 16 มกราคม 2503 คุรุสภา. ประวัติครู คุรุสภาจัดพิมพ์ในวันครู 16 มกราคม 2503. พระนคร: โรงพิมพ์คุรุสภา, 2503. 2.วินสตัน เชอร์ชิลล์ ผู้กู้อังกฤษจากสงคราม เสฐียร พันธรังษี. วินสตัน เชอร์ชิลล์ ผู้กู้อังกฤษจากสงครามล่มจม. พระนคร: โรงพิมพ์วิบูลกิจ, 2494. 3.ความทรงจำ ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา. ความทรงจำ. พระนคร: เจริญธรรม, 2494. 4.เที่ยวนครวัด นครธม อนุศาสน์จิตรกร, พระยา. เที่ยวนครวัด นครธม. พระนคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2493. 5.ไปแคนาดาเยี่ยมชาวพุทธในตะวันตก พูนพิสมัย ดิศกุล, หม่อมเจ้าหญิง. ไปแคนาดา เยี่ยมชาวพุทธในตะวันตก. พระนคร: ชุมนุมช่าง, 2511.


ชื่อผู้แต่ง           พระธรรมโกศาจารย์ ราชบัณฑิต ชื่อเรื่อง             ตำนานพระอรหันต์แปดทิศ ครั้งที่พิมพ์          - สถานที่พิมพ์       กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์         บริษัท ประยูรวงศ์ จำกัด ปีที่พิมพ์             ๒๕๒๘ จำนวนหน้า         ๑๓๐  หน้า                         ยุวพุทธิกสมาคมชลบุรีในพระสังฆราชูปถัมภ์ พิมพ์เป็นธรรมบรรณษการงานพระราชทานเพลิงศพ พระครูอุดมวิชาการ (เหมือน  อินทโชตเถร)  ตำนานพระอรหันต์ในสมัยพุทธกาลแต่ละองค์เรียบเรียงจำแนกเป็นองค์ๆ ไป ด้วยสำนานภาษาไทยแบบชาวบ้านที่อ่านง่าย เข้าใจดี เป็นตำนานพระอรหันต์ร่วมร้อยองค์ มีทั้งพระมหาเถระ พระมหาเถรี มหาอุบาศก มหาอุบาสิกา ตำนานพระอรหันต์แปดทิศ อาชานิพนธ์พิเศษของพระเดชพระคุณพระธรรมโกศาจารย์ ราชบัญฑิต ยังผลเพิ่มพูลความรู้ในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก เพราะท่านปรีชาสามารถปรุงเรื่องที่ยากให้อ่านเข้าใจง่าย


เลขทะเบียน : นพ.บ.583/1ก                            ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ                                                                                หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 32 หน้า ; 5 x 59 ซ.ม. : ลานดิบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 188  (365-371) ผูก 1ก (2566)หัวเรื่อง : แทนน้ำนมแม่--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ตราสัญลักษณ์ ๑๑๒ ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากรตราสัญลักษณ์ ๑๑๒ ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร ประกอบด้วย ตราประจำกรมศิลปากรอยู่ตรงกลาง ล้อมรอบด้วยแพรแถบพื้นเขียวขลิบทอง บนแพรแถบซ้าย - ขวา มีตัวเลขปีพุทธศักราช ๒๔๕๔ และ ๒๕๖๖ เป็นปีแรกเริ่มการสถาปนาจวบจนถึงปีปัจจุบัน ด้านล่างมีข้อความ "กรมศิลปากร" ด้านบนมีตัวเลข ๑๑๒ อยู่ภายในกรอบ หมายถึง การครบรอบ ๑๑๒ ปีแห่งการสถาปนากรมศิลปากร ออกแบบโดย นายปัญญา โพธิ์ดี นักวิชาการช่างศิลป์ชำนาญการ สังกัดกลุ่มศิลปประยุกต์และเครื่องเคลือบดินเผา สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรมอนึ่ง พระพิฆเนศวร ดวงตราสัญลักษณ์ของกรมศิลปากรสัญนิษฐานว่าพลตรีหลวงวิจิตรวาทการ อธิบดีกรมศิลปากร (พุทธศักราช ๒๔๗๗ – ๒๔๘๕) เป็นผู้ริเริ่มให้นำรูปพระพิฆเนศวรมาเป็นดวงตราประจำกรมศิลปากร ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๘๐ โดยมอบหมายให้คุณพระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์) ออกแบบ และนายปลิว จั่นแก้ว เป็นผู้ลงเส้นหมึก และขอพระราชทานบรมราชานุญาตใช้พระพิฆเนศวร เป็นดวงตราประจำกรมศิลปากร ดวงตรากรมศิลปากรดวงแรก เป็นรูปพระพิฆเนศวรสี่กรล้อมรอบด้วยวงกลม มีลวดลายเป็นดวงแก้วเจ็ดดวง หมายถึง ศิลปวิทยาเจ็ดแขนงที่เป็นลักษณะงานของ กรมศิลปากร ได้แก่ ช่างปั้น จิตรกรรม ดุริยางคศิลป์ นาฏศิลป์ วาทศิลป์ สถาปัตยกรรม และอักษรศาสตร์ พระพิฆเนศวรทรงนาคยัชโญปวีต ถืองาหัก ตรีศูล เชือก บ่วง (บ่วงบาศ) และถ้วยใส่ปยาสะ ทรงสวมสนับเพลาที่มีลวดลายไทย ตกแต่งองค์ด้วยลายไทย ลายพื้นหลังเป็นลายกระหนกลักษณะคล้ายเมฆ#วันสถาปนากรมศิลปากร#๑๑๒ปีแห่งการสถาปนากรมศิลปากรภาพ : กรมศิลปากร www.finearts.go.th อ้างอิง : ๑. กรมศิลปากร. "ตราสัญลักษณ์ ๑๑๒ ปีแห่งการสถาปนากรมศิลปากร"(Online). www.finearts.go.th๒. กรมศิลปากร. "พระพิฆเนศวร ดวงตราสัญลักษณ์ของกรมศิลปากร"(Online). www.finearts.go.th




ไม้มงคลเรียกทรัพย์ เสริมดวง เรียบเรียง : นางสาวกาญจนา ศรีเหรา ( บรรณารักษ์)        ไม้มงคล 9 ชนิดเป็นไม้ที่นิยมใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนหรือก่อฐานประดิษฐานถาวร วัตถุต่างๆ  พิธีก่อฤกษ์หรือวางศิลาฤกษ์ ส่วนมากจะนิยมปลูกบริเวณรอบๆ บ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคล ไม้มงคลทั้ง 9 ชนิด มีความหมายดังนี้


#คนโทบรรจุน้ำศักดิ์สิทธิ์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวกรมศิลปากร โดยสำนักช่างสิบหมู่ ดำเนินออกแบบ จัดทำหุ่นต้นแบบ กระทรวงมหาดไทย จัดหาโรงงานในการผลิตชิ้นงาน โรงงานรัตนโกสินทร์ จ.ราชบุรี ดำเนินการผลิต และสำนักช่างสิบหมู่กำกับควบคุมการผลิต เพื่อให้ได้ชิ้นงานที่มีความสวยงามสมพระเกียรติผลงานศิลปกรรมออกแบบโดย สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร)#พระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นพระราชพิธีสำคัญสูงสุดสำหรับผู้ที่จะขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์ สันนิษฐานว่าการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับอิทธิพลบางประการมาจากรูปแบบพิธีกรรมในคัมภีร์สันสกฤต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “พิธีราชสูยะ” ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติยศแห่งพระราชาธิบดีที่ได้แผ่พระบรมเดชานุภาพเหนือบรรดาพระราชาทั้งปวง อย่างไรก็ตาม เมื่อคติความเชื่อดังกล่าวเผยแพร่เข้ามาในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มีการผสมผสานคติความเชื่อและพิธีกรรมทั้งของศาสนาพราหมณ์ ศาสนาพุทธ และความเชื่อในประเพณีดั้งเดิมผ่านกระบวนการทำให้เป็นท้องถิ่นซึ่งมีรายละเอียดขั้นตอนการพระราชพิธีเป็นลักษณะเฉพาะของตนเองนักวิชาการสันนิษฐานว่า พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของไทยน่าจะรับรูปแบบพิธีกรรมจากอินเดียผ่านจากพวก มอญ ชวา และเขมร จากหลักฐานต่าง ๆ กล่าวได้ว่า พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของไทยได้มีพัฒนาการอย่างน้อยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จนกระทั่งปรากฏเด่นชัดในสมัยอยุธยาและสืบเนื่องมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์#การเตรียมพระราชพิธีมีการทำพิธีตักน้ำสำหรับถวายเป็นน้ำสรงพระมุรธาภิเษกและน้ำอภิเษก การจารึกพระสุพรรณบัฏพระปรมาภิไธย ดวงพระบรมราชสมภพ และแกะพระราชลัญจกร การเตรียมตั้งแต่งเครื่องบรมราชาภิเษก และเตรียมสถานที่จัดพระราชพิธีการเตรียมน้ำสรงพระมุรธาภิเษก และน้ำอภิเษกการสรงพระมุรธาภิเษกและทรงรับน้ำอภิเษกนับเป็นขั้นตอนสำคัญในการพระราชพิธี บรมราชาภิเษก น้ำสรงพระมุรธาภิเษกและน้ำอภิเษกตามคติพราหมณ์จะต้องใช้น้ำจากแม่น้ำสำคัญ ๕ สายในชมพูทวีป คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมนา แม่น้ำมหิ แม่น้ำอจิรวดี และแม่น้ำสรภู เรียกว่า “ปัญจมหานที” ด้วยเชื่อว่าแม่น้ำเหล่านี้มีต้นกำเนิดมาจากเขาไกรลาสอันเป็นที่สถิตของพระอิศวร อย่างไรก็ตาม ไม่ปรากฏหลักฐานว่าพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของไทยได้ใช้น้ำปัญจมหานทีหรือไม่ พบแต่เพียงการใช้น้ำจากสระแก้ว สระคา สระยมนา สระเกษ ในแขวงเมืองสุพรรณบุรีเป็นสำคัญครั้นถึงพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้กำหนดให้มีพิธีพลีกรรมตักน้ำอภิเษกจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ ๑๐๘ แห่งทั่วทุกจังหวัด และตั้งพิธีเสกน้ำในพระอารามจังหวัดนั้น ๆ ก่อนเชิญมาทำพิธีเสกรวมอีกครั้งหนึ่ง ณ วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร


          ตุงและคันตุง           เลขทะเบียน                 ๙๐ / ๒๕๔๑           แบบศิลปะ / สมัย         ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่             วัสดุ (ชนิด)                 ชินชุบทอง           ขนาด                 สูงพร้อมฐาน ๓๖ เซนติเมตร           ประวัติความเป็นมา ได้จากวัดเจดีย์สูง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่           ความสำคัญ ลักษณะและสภาพของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ            ตุงและคันตุงนี้มีรูปแบบทางศิลปกรรมใกล้เคียงกับเครื่องราชูปโภคจำลอง ทะเบียน ๓๙๔/ ๒๕๑๖ น่าจะถูกสร้างขึ้นเป็นชุดเดียวกัน เห็นได้จากที่แขวนตุงทำเป็นรูปนาคเกี้ยวเช่นเดียวกับพนักบัลลังก์ คันตุงตั้งอยู่บนแท่นแก้ว (บัลลังก์) ที่มีการฉลุลวดลายโปร่ง และประดับด้วยกระจังสามเหลี่ยมที่มุมทั้งสี่ของบัลลังก์ด้านบน คันตุงถูกขนาบข้างด้วยเสากลมสี่เสาสั้น ๆ ส่วนยอดเสาแหลม ยอดสุดของคันตุงแยกออกเป็นสองแฉก มีลายนาคเกี้ยวด้านบนสุดแขวนตุงสองอัน ตุงทำส่วนปลายแหลมทั้งหัวและท้าย ตุงอันหนึ่งสลักลายขูดขีด เป็นลายบัวคอเสื้อที่คอตุง ส่วนตัวตุงเป็นลายเมฆแบบศิลปะจีน ทิ้งช่องไฟห่าง ๆ กัน  


ศาลหลักเมืองกำแพงเพชรเป็นสถานที่สำคัญของจังหวัดกำแพงเพชรที่ประชาชนให้ความเคารพสักการะตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ตั้งอยู่ในเมืองโบราณกำแพงเพชรทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัดพระแก้ว ริมถนนหมายเลข 101 (สุโขทัย – กำแพงเพชร)    ศาลหลักเมืองกำแพงเพชรปรากฏในพระราชนิพนธ์ครั้งเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 และ รัชกาลที่ 6 เสด็จประพาสหัวเมืองเหนือในปี พ.ศ. 2449 และ พ.ศ. 2450 ตามลำดับ ดังนี้   เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสหัวเมืองเหนือ ได้พระราชนิพนธ์ถึงศาลหลักเมืองในเสด็จประพาสต้น ความว่า   “...ชื่อวัดนี้ไม่ปรากฏ ถ้าเรียกตามลพบุรีก็เป็นวัดหน้าพระธาตุ ถ้าจะเรียกตามกรุงเก่าก็เป็นวัดพระศรีสรรเพชญ ซึ่งยอมรับว่าจะเรียกวัดพระแก้วก็ได้นั้น เพราเหตุที่มีตำนานว่า พระแก้วได้เคยมาอยู่เมืองนี้ ถ้าหากว่าได้มาอยู่คงจะไม่ได้อยู่วัดอื่น คงอยู่วัดนี้เป็นแน่ ออกจากวัดไปที่หลักเมือง ซึ่งอยู่มุมท้ายวัดอยู่ในระหว่างวัดกับวัง...”   เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จประพาสหัวเมืองเหนือ ได้พระราชนิพนธ์ถึงศาลหลักเมืองในเที่ยวเมืองพระร่วง ความว่า   “...ในกำแพงเพชรเมืองนี้ ที่ซึ่งจำเป็นต้องไปก่อนคือ หลักเมือง ซึ่งได้ไปบวงสรวงตามธรรมเนียม แต่ผู้ที่ไปดูอย่าได้คิดหาหลักเลย เพราะไม่มีหลักศิลา และรูปยักษ์ที่ตั้งไว้เป็นเครื่องหมายเดี๋ยวนี้ เชื่อว่าไม่ใช่ของที่ตั้งอยู่เดิม...”   จากการดำเนินงานขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณพื้นที่ทางทิศใต้ของศาลหลักเมืองในปีงบประมาณ 2549 พบหลักฐานทางโบราณคดี ดังนี้ - ชิ้นส่วนกระเบื้องดินเผามุงหลังคาประเภทดินขอ - ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาจากแหล่งเตาแม่น้ำน้อย แหล่งเตาบ้านบางปูน แหล่งเตาบ้านเกาะน้อย/ป่ายาง เมืองศรีสัชนาลัย และชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิง กำหนดอายุอยู่ในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 21 – 22   ศาลหลักเมืองกำแพงเพชรได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นศาลเจ้าตามกฎเสนาบดีว่าด้วยที่กุศลสถานชนิดศาลเจ้า พ.ศ. 2463 เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2528 และอยู่ในความดูแลของเทศบาลเมืองกำแพงเพชร   ศาลหลักเมืองกำแพงเพชรมีการบูรณะปรับปรุงอาคารหลายครั้งเท่าที่ปรากฏหลักฐานมีดังนี้ - พ.ศ. 2472 หลวงมนตรีราช ได้สร้างอาคารศาลหลักเมืองขึ้นเป็นศาลาทรงไทยทำด้วยไม้ - พ.ศ. 2484 หลวงปริวรรต วรวิจิตร (จันทร์ เจริญชัย) ข้าหลวงประจำจังหวัดกำแพงเพชร มอบหมายให้นายฉกาจ กุลสุ ปั้นเศียรเทพารักษ์ขึ้นใหม่ - พ.ศ. 2526 นายเชาว์วัศ สุดลาภา ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ได้ปรับปรุงอาคารบริเวณสถานที่ตามรูปแบบที่ปรากฏในปัจจุบัน  - วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2527 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณสยามมกุฎราชกุมารได้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ประกอบพิธีเจิมเสาหลักเมือง ทรงเจิมเสาหลักเมืองเสาใหม่ - วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 ทำพิธีเชิญเสาหลักเมือง และเศียรเทพารักษ์ขึ้นศาล - วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2550 สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ได้สำรวจความเสียหาย และทำการบูรณะอนุรักษ์เสาหลักเมืองเดิม พร้อมจัดทำเสาหลักเมืองจำลองใหม่จากไม้สักทองขนาดความสูง 2.29 เมตร ความกว้างฐาน 64 เซนติเมตร โดยอัญเชิญเสาหลักเมืองจำลองมาวางไว้ ณ ศาลารายชื่อผู้จัดสร้างศาลหลักเมือง  -----------------------------------------------------   เอกสารอ้างอิง : คณะกรรมการปรับปรุงศาลหลักเมือง. (2527). ที่ระลึกงานเฉลิมฉลองศาลหลักเมืองจังหวัดกำแพงเพชร. นครสวรรค์:  สยามศิลป์.  เทศบาลเมืองกำแพงเพชร. (ม.ป.ป.). ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร 2563. เอกสารประกอบการประเมินผล ศาลเจ้าบริหารงาน ดีเด่น ประจำปี 2563 ของศาล(เจ้า)หลักเมืองกำแพงเพชร. ม.ป.ท.: ม.ป.พ. มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2564). เที่ยวเมืองพระร่วง. นนทบุรี: ศรีปัญญา. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2549). ครบ 100 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสต้นเมือง กำแพงเพชร วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2549. กรุงเทพฯ: จังหวัดกำแพงเพชร. ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามเพชร. (2550). การดำเนินงานขุดค้น ขุดแต่ง ขุดตรวจทางโบราณคดี พื้นที่บริเวณวัดพระแก้ว  วัดพระธาตุ และศาลหลักเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร งบกลาง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549. กำแพงเพชร: อุทยานประวัติศาสตร์ กำแพงเพชร. ------------------------------------------------------   ที่มาของข้อมูล : Facebook Page อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร : Kamphaeng Phet Historical Park https://www.facebook.com/kpppark2534/posts/pfbid0A7nVnifdYnT9CVKmfeWoVxcqxQMFuE9gjpsWh41zRhNRWKACmsfcsnDa7vUW


           กรมศิลปากร โดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ เอาใจเหล่าทาสแมวทั้งหลาย ที่ไม่สะดวกหรือไม่สามารถเดินทางมาชมนิทรรศการ เรื่อง "วิฬาร์วิลาส: การเดินทางของแมวในวิถีไทย" ณ ห้องวชิรญาณ 2 - 3 สำนักหอสมุดแห่งชาติ จึงได้จัดทำนิทรรศการในรูปแบบออนไลน์ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยนิทรรศการมีเนื้อหาเกี่ยวกับความเป็นมาของแมว แมวในอารยธรรมต่าง ๆ แมวในประเทศไทย ความเชื่อ วัฒนธรรม ประเพณีไทยที่เกี่ยวกับแมว แมวในราชสำนัก แมวมงคลของไทย เอกสารโบราณว่าด้วยตำราแมว และวันสำคัญที่เกี่ยวกับแมว            ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าชมนิทรรศการออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ของสำนักหอสมุดแห่งชาติ https://www.nlt.go.th/service/1938



Messenger