ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,784 รายการ

แนะนำ หนังสือ E-book หายาก จำนวน 3 เล่ม 1.จาริกอินเดีย ภาคสอง พระเทพกวี (ประยูร สนฺตงฺกุโร). จาริกอินเดีย ภาคสอง. พระนคร: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย, 2509. 2.พระประวัติลูกเล่า ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา. พระประวัติลูกเล่า. พระนคร: โรงพิมพ์พระจันทร์, 2505. 3.เรื่องเที่ยวประเทศตะวันออก สิบพันพารเสนอ โสณกุล, หม่อมเจ้า. เรื่องเที่ยวประเทศตะวันออก. พระนคร: โรงพิมพ์กรมวิชชาธิการ, 2475.


ชื่อผู้แต่ง            ดำรงราชานุภาพ , กรมพระยา ชื่อเรื่อง              ตำนานคณะสงฆ์ และตำนานพระปวิตร ครั้งที่พิมพ์          พิมพ์ครั้งที่เจ็ด , พิมพ์ครั้งที่แปด สถานที่พิมพ์        พระนคร สำนักพิมพ์          โรงพิมพ์วิทยากร ปีที่พิมพ์              ๒๕๑๗ จำนวนหน้า          ๖๑  หน้า                          นางอนงค์  อนัมบุตร ผู้เป็นบุตรบุญธรรม ได้มีความประสงค์ขออนุญาตจัดพิมพ์เพื่อแจกเป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเลื่อน  ปิ่นทอง บ.ช. ณ เมรุวัดฉัตรแก้วจงกลณี หนังสือตำนานคณะสงฆ์ เป็นหนังสือที่ว่าด้วยการปกครองคณะสงฆ์ตั้งแต่สมัยเริ่มแรกที่พุทธศาสนาประดิษฐานอยู่ในประเทศอินเดีย จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ หนังสือเรื่อง ตำนานพระปวิตร เป็นคำอธิบายมูลเหตุที่จะเกิดมีการปวิตร และลักษณะการสวดพระปวิตร และเจ้าภาพได้เรียบเรียงประวัติ นายเลื่อน  ปิ่นทอง ผู้วายชนม์ให้พิมพ์ไว้ด้วย


ชื่อผู้แต่ง         - ชื่อเรื่อง           อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพคุณยี่สุ่น  สนิทวงศ์ ณ  อยุธยา  ครั้งที่พิมพ์      - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       อมรินทร์การพิมพ์ ปีที่พิมพ์          ๒๕๒๙ จำนวนหน้า      ๑๒๙  หน้า หมายเหตุ        อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพคุณยี่สุ่น สนิทวงศ์  ณ  อยุธยา รายละเอียด                          หนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ คุณยี่สุ่น สนิทวงศ์ ณ อยุธยา  เนื้อหาประกอบด้วยเรื่องตำราอาหารของยี่สุ่นจาหนังสือตำรับสายเยาวภา คนไทยคนแรกที่จบวิชาแพทย์จากอังกฤษ  กุหลาบ-ราชินี แห่งบุปผชาติและเข้าของประเทศสยามทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ


เลขทะเบียน : นพ.บ.436/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 14 หน้า ; 4.5 x 58 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 157  (141-148) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : ปัญญาบารมี--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.583/1                            ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ                                                                                หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 36 หน้า ; 5 x 52 ซ.ม. : ลานดิบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 188  (365-371) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : แทนน้ำนมแม่--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : ตามรอยบันทึก : เมื่อข้าราชการต้องย้ายที่ (ตอนที่ 2) -- ความเดิมจากตอนที่แล้ว พระเจดีย์รัฐธำรง ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปรับตำแหน่งปลัดจังหวัดหล่มศักดิ์ และเริ่มออกจากเดินทางจากจังหวัดพิษณุโลก พักตามศาลาที่พักหลายแห่งจนถึงอำเภอป่าหมากและพักแรมที่นั่น ต่อไปนี้คือการเดินทางของคุณพระและคณะในช่วงต่อไป- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - คนเก่าเล่าตำนาน ก่อนที่จะเดินทางต่อไปนั้น คุณพระจำเป็นต้องหาคนหาบหามชุดใหม่ ได้ขอความช่วยเหลือจากหลวงพำนักนิกรราษฎร์ นายอำเภอป่าหมาก แต่โชคไม่ดีที่นายอำเภอหาคนจ้างไม่ได้ในวันนั้น จึงต้องอยู่ที่อำเภอป่าหมากอีกวัน ระหว่างรอเดินทางได้เดินดูตลาดในเมือง และเช่นเคย คุณพระได้บันทึกสภาพการค้าขายที่ตลาดอำเภอป่าหมาก พบว่าต้องอาศัยเรือสินค้าที่ล่องไปตามลำน้ำวังทองเป็นหลัก ขาไปเอาข้าวเปลือกซึ่งเป็นสินค้าพื้นเมืองไปขายกรุงเทพฯ ขากลับซื้อสินค้าจากกรุงเทพฯ เข้ามาขาย ช่วงระหว่างที่พักอยู่ที่อำเภอป่าหมากนั้น คุณพระได้ฟังเรื่องเล่าตำนานเขาสมอแครง (สะกดตามต้นฉบับ) จากนายถนอม ครูโรงเรียนวัดป่าหมาก สรุปความได้ว่า สองสามีภรรยาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บึงราชนก มีลูกสาวสวยอยู่คนหนึ่ง เป็นที่รักใคร่ของวานรที่อาศัยอยู่บนเขาฟ้า วันหนึ่งเกิดฝนตกหนัก มีปลาหมอยักษ์มาอยู่ที่บันไดเรือน สองสามีภรรยาจึงปลาหมอมาต้มกินและแจกจ่ายให้คนอื่นกินด้วย ต่อมาเกิดเหตุน้ำท่วมมีผู้คนตาย วานรทราบข่าวจึงหักหินที่ยอดเขาฟ้าจะมาทดน้ำหวังช่วยหญิงสาวที่รักให้รอด แต่สุดท้ายก็ไม่ทันกาล วานรจึงทิ้งหินก้อนนั้นที่ทุ่งนาบ้านหนองกระทอน และกลายเป็นเขาสมอแครงในที่สุด- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - เดินทางเข้าป่า วันที่ 25 ธันวาคม 2468 เมื่อได้คนหาบหามแล้ว คุณพระและคณะจึงออกเดินทางเลียบลำน้ำวังทองไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ การเดินทางในช่วงนี้ถือเป็นช่วงที่เริ่มเข้าสู่ป่าอย่างแท้จริง โดยคุณพระได้บันทึกไว้ว่าระหว่างทางต้องผ่านทั้งป่าไม้สักและป่าไม้เต็งรัง รวมถึงต้องฝ่าภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสูง เช่น เขาวัวหัก เขาฟอง และเขาปลาตะเพียร มีข้อสังเกตประการหนึ่งคือ จุดพักระหว่างการเดินทางไม่ใช่ศาลาอย่างที่เคยเป็น หากแต่เป็นลำห้วยต่างๆ ที่มีน้ำพอใช้อุปโภคบริโภค เช่น ห้วยฟอง ห้วยสพานหิน ห้วยม่วง คณะได้เดินทางออกจากป่ามาถึงศาลาห้วยหนองปรือที่เป็นทุ่งนาเมื่อเวลา 18.30 น. จึงพักค้างคืนที่นั่น- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - ฝ่าด่าน 33 ห้วย วันรุ่งขึ้น คุณพระและคณะออกเดินทางจากบ้านหนองปรือตั้งแต่ 6 โมงเช้า ไปตามเส้นทางที่บุกป่าฝ่าดงอีกครั้ง รวมถึงต้องขึ้นเขากระยางซึ่งคุณพระบรรยายว่า “สูงเป็นชั้น 5 กระพัก [ไหล่เขาที่เป็นขั้นๆ พอพักได้] ถึงยอดเขาระยะ 100 เส้น [4 กิโลเมตร]” ซึ่งถึงแม้จะเป็นยอดเขาสูง แต่คุณพระก็ยังได้พบเห็นชาวบ้านไล่ต้อนกระบือลงจากเขาถึง 120 ตัว เพื่อนำไปขายทางใต้ ชาวบ้านบอกว่าได้กำไรดีแต่เสียค่าโสหุ้ยมาก นอกจากเขากระยางแล้ว คุณพระยังต้องขึ้นลงเนินเขาจำนวนมาก และต้องขึ้นลงห้วยอีก 33 แห่ง รวมระยะทางในการเดินทางตลอดทั้งวัน 700 เส้น (28 กิโลเมตร) กว่าจะถึงจุดหมายที่พักที่ศาลาวัดบ้านหนองกระเท้าก็เป็นเวลาสี่ทุ่มแล้ว การเดินทางอันแสนทรหดของคุณพระเจดีย์รัฐธำรงยังไม่จบแค่นี้ ในตอนต่อไปจะเล่าเรื่องราวการเดินทางช่วงสุดท้ายจนถึงจังหวัดหล่มศักดิ์และชะตากรรมของคุณพระหลังจากไปรับตำแหน่งใหม่แล้วผู้เขียน: นายธัชพงศ์ พัตรสงวน (นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง: สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารส่วนพระองค์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สบ 2.42/25 เรื่อง รายงานเดินทางของพระเจดีย์รัฐธำรงไปเมืองหล่มศักดิ์ [ 6 ม.ค. 2468 ].#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ



เทวดาปูนปั้นวัดเจ็ดยอด ประติมากรรมปูนปั้นรูปเทวดาถูกประดับอยู่ที่บริเวณผนังของวิหารวัดมหาโพธาราม หรือ วัดเจ็ดยอด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งสร้างขึ้นใน พ.ศ. 1998 สมัยพระเจ้าติโลกมหาราช โดยโปรดให้ช่างถ่ายแบบมาจากวิหารมหาโพธิ์ ตำบลพุทธคยา ประเทศอินเดีย โดยย่อส่วนให้เหลือประมาณ 1 ใน 3 ส่วนเท่านั้น ส่วนลวดลายปูนปั้นที่ผนังนอกวิหารใช้การประดับเป็นรูปเทวดาแทนตำแหน่งพระพุทธรูป ซึ่งแตกต่างจากต้นแบบ .ลักษณะของเทวดาที่ประดับเรียงรายอยู่ในแต่ละช่องที่คั่นด้วยเสามี 2 ชั้น แบ่งได้ 2 กลุ่มคือ  1. เทวดานั่งพนมมือ ท่าทางเหมือนลอยหรือเหาะอยู่กลางอากาศ ประดับที่ผนังด้านทิศเหนือและทิศใต้ 2. เทวดายืนพนมมือ อยู่บนฐานบัว ประดับที่มุมจากการยกเก็จด้านหลังของวิหารพื้นหลังของเทวดาตกแต่งโปรยปรายด้วยลายดอกไม้ร่วง จากลักษณะดังกล่าวนี้เอง การประดับเทวดาในที่นี้น่าจะหมายถึง เหล่าเทวดาลงมาชุมนุม ร่วมแสดงความยินดีในคราวที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ท่ามกลางดอกไม้สวรรค์ เนื่องจากเหล่าเทวดามีหันพระพักตร์ไปทางด้านหลังของวิหารวัดเจ็ดยอด ซึ่งมีต้นโพธิ์อันเป็นสัญลักษณ์การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าอยู่ด้วย ภาพเหล่าเทวดาหรือเทพชุมนุมเช่นนี้มักพบอยู่ในงานจิตรกรรมฝาผนังสมัยอยุธยาตอนปลายหรือรัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่ที่วัดเจ็ดยอดนี้เป็นงานปูนปั้นด้านนอกของวิหาร.รูปแบบของเทวดาทั้งกลุ่มนั่งและยืน มีพระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระเนตรมองตรง แย้มพระโอษฐ์ พระวรกายเพรียวบาง บั้นพระองค์เล็ก เครื่องประดับ ทรงสวมมงกุฎกรวยสูง (กรัณฑมงกุฎ) กุณฑล กรองศอ สายอุทรพันธะ พาหุรัด ข้อพระกร ข้อพระบาท การแต่งกาย ทรงสวมผ้านุ่งยาวและชักชายผ้าออกมาโดยทำให้มีลักษณะพลิ้วไหวปลายสะบัดขึ้น ทำให้เหมือนว่าเทวดากำลังล่องลอยอยู่กลางอากาศพื้นหลังมีลายดอกไม้ร่วง โดยทำเป็นลายดอกโบตั๋น ผสมใบและลายกนกก้านขด ลายก้อนเมฆ ลายจำปาดะที่คล้ายดอกจำปีหรือจำปา แต่มีขนาดใหญ่กว่า.เทวดาปูนปั้นวัดเจ็ดยอดถือได้ว่าเป็นต้นแบบในการกำหนดอายุงานศิลปกรรมในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 21 ของล้านนาได้ จากรูปแบบข้างต้นได้สะท้อนให้เห็นถึงการได้รับแรงบันดาลใจจากงานศิลปะหลายแหล่งที่เป็นนิยมในช่วงนั้น เช่น การทำพระพักตร์รูปไข่ พระเนตรมองตรง พระวรกายบาง แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย ซึ่งลักษณะเหล่านี้ได้ปรากฏในกลุ่มพระพุทธรูปด้วย การสวมเครื่องประดับ เช่น กรัณฑมงกุฎ การนุ่งผ้า และลายดอกจำปาดะ ก็แสดงให้เห็นถึงกระแสศิลปะลังกา ที่ในสมัยพระเจ้าติโลกมหาราช มีกลุ่มพระภิกษุนิกายวัดป่าแดงได้ไปศึกษาศาสนาที่ลังกาและอาจนำกลับมาก็เป็นได้ ส่วนลายดอกโบตั๋น แสดงให้เห็นถึงความนิยมในลวดลายประดับแบบศิลปะจีนที่พบเจอทั้งในงานประติมากรรม งานจิตรกรรม และเครื่องถ้วยในสมัยนี้-------------------------------------------อ้างอิง- สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะภาคเหนือ : หริภุญชัย – ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2555. หน้า 121 - 123.- ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะล้านนา. กรุงเทพฯ : มติชน, 2556. หน้า 323 – 325.- ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย. นนทบุรี : เมืองโบราณ, 2565. หน้า .ที่มารูปภาพ- ภาพถ่ายเก่าวัดเจ็ดยอด จาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่


พระสาทิสลักษณ์ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อมฺพรมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกเทคนิค : สีน้ำมันบนผ้าใบขนาด : ๗๐ X ๖๐ เซนติเมตรปีที่สร้าง : พ.ศ.๒๕๖๖ผู้สร้างสรรค์ : นายลาภ อำไพรัตน์กลุ่มจิตรกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากรในโอกาสเปิดนิทรรศการพิเศษ เรื่อง "พระพุทธรูปสำคัญในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ" และนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๖ โดยมี นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วยนายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ผู้บริหารสำนักช่างสิบหมู่ และจิตรกรผู้สร้างสรรค์ผลงาน ถวายพระสาทิสลักษณ์ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อมฺพรมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โดยมีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เลขานุการสมเด็จพระสังฆราชเป็นผู้แทนรับมอบขอขอบพระคุณข้อมูลจาก นายลาภ อำไพรัตน์ กลุ่มจิตรกรรม สำนักช่างสิบหมู่


           วันที่ 10 สิงหาคม 2566 นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในการจัดกิจกรรมสำหรับสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศที่เป็นคณะกรรมการมรดกโลก เพื่อประเมินและเปรียบเทียบแหล่งประวัติศาสตร์ในประเทศไทยที่เป็นมรดกโลก และที่อยู่ระหว่างการขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแห่งใหม่ โดยมีนางยุถิกา อิศรางกูร ณ อยุธยา รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร คณะทูตานุทูตและผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศที่เป็นคณะกรรมการมรดกโลกจาก   7 ประเทศ และสื่อมวลชนเข้าร่วม ณ ห้องประชุมดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร              รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า การเสนอเมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์เพื่อพิจารณาขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก จากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก เป็นไปได้ด้วยดี เอกสารได้รับการประเมินและผ่านการตรวจสอบความครบถ้วนสำหรับการอนุมัติ  ขั้นสุดท้ายในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 45 ซึ่งจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 10 ถึง 25 กันยายน 2566 ณ กรุงริยาด ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) จึงได้มอบหมายให้กรมศิลปากรจัดกิจกรรมนำคณะทูตานุทูตและผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศที่เป็นคณะกรรมการมรดกโลกสัมผัสกับสถานที่ โบราณวัตถุ และกิจกรรมที่แสดงถึงเรื่องราวและผู้คนในอดีตและปัจจุบันอย่างแท้จริง โดยเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ระหว่างวันที่ 10 – 11 สิงหาคม 2566 เพื่อประเมินและเปรียบเทียบแหล่งประวัติศาสตร์ในประเทศไทยที่เป็นมรดกโลกและที่อยู่ระหว่างการขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแห่งใหม่ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของแหล่งเพื่อการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกได้อย่างครบถ้วน ซึ่งจะมีส่วนช่วยสนับสนุนการขึ้นทะเบียนเมืองโบราณศรีเทพให้เป็นมรดกโลกแห่งใหม่ของประเทศไทย           นายอิทธิพล กล่าวต่อไปว่า สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้ มีคณะทูตานุทูตและผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศที่เป็นคณะกรรมการมรดกโลกจาก 7 ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนติน่า เบลเยี่ยม อียิปต์ อินเดีย อิตาลี เม็กซิโก และไนจีเรีย เข้าร่วม โดยมีวิทยากรให้ความรู้เน้นเนื้อหาวิชาการเกี่ยวกับข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ให้เกิดความเชื่อมโยงกับแหล่งประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ในประเทศไทย พร้อมทั้งนำชมแหล่งเรียนรู้ ได้แก่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร อาคารจัดแสดงเครื่องทองอยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โบราณสถานวัดราชบูรณะ และโบราณสถานวัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการศิลปะในดินแดนไทย อันจะเป็นประโยชน์ต่อการขึ้นทะเบียนเมืองโบราณศรีเทพให้เป็นมรดกโลก และยังเป็นการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวต่างประเทศ              ทั้งนี้ ปัจจุบันแหล่งมรดกโลกในไทยที่คัดเลือกโดยองค์การยูเนสโก (UNESCO) มีทั้งสิ้น 5 แห่ง เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 3 แห่ง คือ เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร จังหวัดสุโขทัย (ปี 2534) นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร (ปี 2534) แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี (ปี 2535) ส่วนมรดกโลกทางธรรมชาติมี 2 แห่งคือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง ครอบคลุมจังหวัดอุทัยธานี ตาก และกาญจนบุรี ทางตะวันตกของประเทศชายแดนประเทศพม่า (ปี 2534) และป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ครอบคลุม 6 จังหวัดคือ นครราชสีมา สระบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้วและบุรีรัมย์ นอกจากนี้ยังมีขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) เพื่อพิจารณาขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกในอนาคต ทั้งสิ้น 7 แห่ง และหนึ่งในนั้นคือ เมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยรัฐบาลได้ลงนามในเอกสารที่ใช้ยื่นต่อคณะกรรมการมรดกโลกที่ประเทศฝรั่งเศส เพื่อประกอบการพิจารณาใน พ.ศ. 2565 มีการนำเสนอ 3 แหล่งในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ได้แก่ โบราณสถานเขาคลังนอก โบราณสถานเขาถมอรัตน์ และเมืองโบราณศรีเทพ รวมพื้นที่ 8.6 ตารางกิโลเมตร


           กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน เปิดบ้าน “หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่” คลังปัญญาแห่งเมืองเหนือ วิทยากร นางสาวปุณณภา สุขสาคร ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่, นางวรรณภา ปะวิโน บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ และผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๓๐ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร


            พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี เชิญชมนิทรรศการหมุนเวียน "Object of the Month" วัตถุจากคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี ประจำเดือน "ธันวาคม" เชิญพบกับ "โถพร้อมฝา" (CELADON)              โบราณวัตถุที่นำมาจัดแสดงในนิทรรศการครั้งนี้ ได้แก่ "โถพร้อมฝา" (CELADON) โถดินเผาเคลือบ ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๒๑ จากแหล่งเตาบ้านเกาะน้อย เมืองศรีสัชนาลัย มีลักษณะเป็นโถปากกว้าง ตัวกลมป่อง ก้นมน มีขอบก้น ใต้ก้นแบนเรียบ ฝาทรงโค้ง มีจุกฝาเป็นเม็ดทรงดอกบัวตูม ผิวภาชนะตกแต่งลายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เคลือบสีเขียวไข่กา ภายในบรรจุกระดูกมนุษย์เผาไฟ พบจากการขุดแต่งโบราณสถานวัดเขาใหญ่ ต.รั้วใหญ่ อ.เมืองสุพรรณบุรี จ.สุพรรณบุรี เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๑             ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการ "โถพร้อมฝา" (CELADON) ได้ในเดือนธันวาคม ๒๕๖๖ เปิดวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ปิดวันจันทร์ - วันอังคาร  ณ ห้องโถงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๕๕๓ ๕๓๓๐ หรือเฟสบุ๊ก: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี


หมวดหมู่                        พุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    44 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.อักษร                            ขอมฉบับ                              ล่องชาดได้รับบริจาคจากวัดท่าแค


องค์ความรู้ : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่  เรื่อง รายการ สยามศิลปิน ปีที่ ๒ : สารคดีอัตชีวประวัติศิลปินไทย     รายการ สยามศิลปิน ปีที่ ๒ เป็นรายการสารคดีอัตชีวประวัติศิลปินไทย ซึ่งผลิตขึ้นในนาม สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ  และมูลนิธิศิลปินแห่งชาติ ในปีนี้ทางรายการได้จัดทำไว้เป็น ๑๒ ตอน ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พระปฐมบรมกษัตริย์แห่งจักรีวงศ์), สุนทรภู่ (กวีแก้วแห่งกรุงรัตนโกสินทร์), มนตรี ตราโมท (ปรมาจารย์ดุริยางคศาสตร์ไทย), เฟื้อ หริพิทักษ์ (ครูใหญ่ในวงการศิลปะ), เจริญใจ สุนทรวาทิน (ครูดนตรีไทยสี่แผ่นดิน), หวังดี นิมา หวังเต๊ะ (ไม้ใหญ่แห่งวงการศิลปะพื้นบ้านไทย), สวัสดิ์ ตันติสุข (ศิลปินอาวุโสผู้ไม่เคยหยุดการศึกษาและสร้างสรรค์), อังคาร กัลยาณพงศ์ (ปณิธานแห่งกวี), พินิจ สุวรรณะบุณย์ (ผู้ฝากผลงานไว้ในแผ่นดิน), อาจินต์ ปัญจพรรค์ (ร่ายยาวแห่งชีวิต), เรืออากาศตรีศาสตราจารย์พิเศษ ดร.แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ (ดุริยางคศิลปินแผ่นดินสยาม) และดร.ประเวศ ลิมปรังษี (ผู้สืบสานงานสถาปัตยกรรมไทยแห่งสยาม)นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จากสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (รวบรวมและเรียบเรียง) :     ๑. นางสาว ณัฐธิดา สถาอุ่น     ๒. นาย ตนุภัทร กิจชัยเจริญพร     ๓. นาย ภิญณกาญจ์ ปินตามาผู้ควบคุมนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ :      นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย      นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ     หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่      สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่แหล่งอ้างอิง :สยามศิลปิน The Greatest Thai Artists.       รายการ สยามศิลปิน ปีที่ ๒ [ออนไลน์].      สืบค้นเมื่อ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๕, จาก:       https://www.youtube.com/watch?v=z1Z5DtZnTaE...,      ๒๕๕๘.


เทศบาลตำบลมาบข่าพัฒนา (เวลา 09.30 น.) จำนวน 51 คนวันอังคารที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๓๐ น. คณะจากเทศบาลตำบลมาบข่าพัฒนา อ.นิคมพัฒนา จ.ระยอง ตามโครงการพัฒนาศักยภาพสภาเด็กและเยาวชน จำนวน ๕๑ คน เข้าศึกษาดูงาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกขลพัฒน์ โดยมีว่าที่ร้อยตรีรุ่งเรือง ชื่นชม ตำแหน่งพนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ เป็นวิทยากรนำชมในครั้งนี้


Messenger