ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,784 รายการ

           สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงสนพระทัยในศิลปวิทยาการหลายแขนง โดยเฉพาะในทางศิลปะ ดนตรี ประวัติศาสตร์และโบราณคดี ในรัชกาลที่ ๕ ทรงรับราชการสนองพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมเชษฐาธิราชในหลายด้าน ถึงปลายรัชกาลจึงกราบถวายบังคมลาออกจากราชการด้วยเหตุที่พระสุขภาพทรุดโทรม ไม่อาจทำราชการได้ทันตามพระราชประสงค์ เมื่อทรงว่างจากราชการประจำแล้ว ทรงมีเวลาว่างมากขึ้น จึงได้ทรงสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะเรื่อยมา ขณะเดียวกัน ในช่วงเวลานี้ ทรงมีลายพระหัตถ์ไปยังสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระเชษฐาซึ่งทรงรอบรู้ในสรรพวิทยาโดยเฉพาะทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ลายพระหัตถ์ของทั้งสองพระองค์ มีมากขึ้นเมื่อทั้งสองพระองค์ทรงพ้นจากราชการทั้งหลายแล้ว และมีเนื้อหาที่เต็มไปด้วยความรู้ ไม่เฉพาะสิ่งที่ทั้งสองพระองค์สนพระทัยเท่านั้น หากยังมีเรื่องราวที่สะท้อนภาพของสังคม วัฒนธรรมในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี ลายพระหัตถ์ของทั้งสองพระองค์ ในเวลาต่อมาทายาทได้รวบรวมจัดพิมพ์ และรู้จักกันในชื่อหนังสือเรื่อง “สาส์นสมเด็จ”            ในลายพระหัตถ์ “สาส์นสมเด็จ” ที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมีไปถึงสมเด็จฯเจ้าฟ้านริศรานุวัดติวงศ์ เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๔๘๔ มีเนื้อความเกี่ยวข้องกับ “พัดวไลย” ดังนี้    บ้านซินนามอน ปีนัง วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ทูล สมเด็จกรมพระนริศฯ ... หม่อมฉันได้รับหนังสือแจกงานพระศพทูลกระหม่อมหญิงวลัย ชุด ๑ เห็นใบปกสมุดเล่ม ๑ มีรูปพระสถูปเป็นประธาน แต่แรกเข้าใจว่าเป็นเครื่องหมายพระธรรมปริยายที่พิมพ์ในสมุดเล่มนั้น พิจารณาไปเห็นรูปกำไลก้านบัว ๒ วงกับดอกประจำยามอยู่ข้างใต้ ได้เค้าว่าหมายว่า “วลัยกับอลงกร” แลกลับขึ้นไปดูรูปพระสถูปเห็นมีช่องคูอยู่ที่ฐานก็รู้ได้ว่าเขาหมายจะทำรูป “พระธาตุจอมเพชร์” บนยอดเขามหาสวรรค์ที่เมืองเพชร์บุรีเป็นเครื่องหมายนามกรมหลวงเพชรบุรี ก็ต้องชมว่าเขาช่างคิดเลือกจะหารูปสิ่งอื่นหมายให้เหมาะกว่าเห็นจะไม่มี... ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด ดำรงราชานุภาพ             ลายพระหัตถ์ดังกล่าวข้างต้น ทำให้ทราบว่า ผลงานออกแบบของสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ นอกจากที่ใช้เป็นแบบของพัดรองที่ระลึก เนื่องในงานพระเมรุพระราชเพลิงพระศพแล้ว ยังใช้เป็นภาพปกของหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานพระเมรุครั้งนั้นด้วย โดยหนังสือดังกล่าว คือหนังสือเรื่อง “ประชุมโอวาท คณะครูโรงเรียนราชินี พิมพ์น้อมเกล้าสนองพระเดชพระคุณ สมเด็จพระราชปิตุจฉาเจ้า เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพ็ชรบุรีราชสิรินธร งานพระเมรุท้องสนามหลวง พ.ศ.๒๔๘๔” สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงมีลายพระหัตถ์ “สนองลายพระหัตถ์” สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ความว่า    ตำหนักปลายเนิน คลองเตย วันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๔๘๔ กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทราบฝ่าพระบาท ...สนองลายพระหัตถ์ (ฉบับหลัง) ...พระตราทูลกระหม่อมหญิงเพชรบุรี ซึ่งมีพระธาตุจอมเพชรอยู่ด้วยนั้นเป็นของเกล้ากระหม่อมคิดขึ้นเอง สมเด็จพระพันวัสสาตรัสสั่่งมาให้เขียนพัด เมื่อเขียนถวายไปแล้วโรงเรียนราชินีเขาก็ถ่ายทำเป็นใบปกหนังสือไปอีกต่อหนึ่ง ในการที่เกล้ากระหม่อมทำนั้นคิดหลบสิ่งที่เป็นของพระบรมราชาฯ เหตุด้วยมีกฎหมายบังคับ ว่าถ้าทำแล้วให้ขอพระบรมราชานุญาตก่อน เห็นว่าขอพระบรมราชานุญาตนั้นลำบาก จึงไปฉวยเอาพระธาตุจอมเพชรมาทำ ฝ่าพระบาทก็เก่งทายาดที่ทรงทราบได้ว่าพระธาตุจอมเพชร ภายใต้นั้นตั้งใจจะทำเป็นกลุ่มใบตาล เป็นเขาเป็นดงตาลเสร็จไปในตัว แต่ตาไม่เห็นลำบากในการเขียน ต้องหาคนช่วย ต่อลงสีแล้ว จึงเห็นว่ามันบางกะหรอนไปจนเกือบจะไม่เห็นว่าเป็นกลุ่มใบตาล เพราะสีทำให้จะแจ้งขึ้น จะแก้ก็ไม่ทราบว่างานจะช้า กลัวจะไม่ทันการ จึ่งปล่อยไปเลยตามเลย ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด นริศ             จากลายพระหัตถ์ของทั้งสองพระองค์ข้างต้น เป็นเครื่องยืนยันได้เป็นอย่างดี ถึงข้อสันนิษฐาน ที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงมีเมื่อได้เห็นภาพปกหนังสือดังกล่าวว่าเป็นพระธาตุจอมเพชร บนพระนครคีรี และต่อมาสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ก็ทรงอธิบายถึงที่มาของแนวคิดในการออกแบบพัดรองที่ระลึก เนื่องในงานพระเมรุ สมเด็จพระราชปิตุจฉาเจ้า เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพ็ชรบุรีราชสิรินธร ว่า ทรงเลี่ยงการใช้สิ่งซึ่งต้องพระราชทานพระบรมราชานุญาต ด้วยเหตุดังกล่าว จึงทรงเลือกใช้ภาพพระธาตุจอมเพชร พระนครคีรี จังหวัดเพชรบุรีมาเป็นภาพหลักในพัดรองดังกล่าว เพราะมีความสอดคล้องกับพระนาม “กรมหลวงเพ็ชรบุรีราชสิรินธร” นั่นเอง นอกจจากนี้ ยังทรงแทรกภาพของภูเขา และใบตาล อันหมายถึงเขามหาสวรรค์ และต้นตาล ต้นไม้ที่มีอยู่มากในท้องที่จังหวัดเพชรบุรีอีกด้วย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมีลายพระหัตถ์ตรัสถึงเรื่อง “พัดวไลย” โดยทรงยกย่องในความคิดเรื่องการออกแบบพัดรอง ดังความว่า     บ้านซินนามอน ปีนัง วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๔ ทูล สมเด็จกรมพระนริศฯ ...ตราพัดรองงานพระศพทูลกระหม่อมหญิงกรมหลวงเพชรบุรีนั้น หญิงพิลัยเธอตีความที่หม่อมฉันยังคิดไม่เห็นออกอีกอย่าง ๑ ที่มีวงจักร์ต่อกำไลก้านบัวหมายเป็นอักษร ว ข้าง ๑ เป็นอักษร อ ข้าง ๑ ที่หม่อมฉันทูลชมตรานั้นนับได้ว่าชมอย่างบริสุทธิ์ เพราะเมื่อชมไม่รู้ว่าใครคิด ถ้ารู้ก่อนว่าเป็นพระดำริของท่าน คำชมก็ระคนด้วยความนับถือส่วนพระองค์ท่านหาบริสุทธิ์ปลอดบัลลัยทีเดียวไม่... ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด ดำรงราชานุภาพ            หนังสือ “สาส์นสมเด็จ” นอกจากจะเป็นลายพระหัตถ์ที่เจ้านายทั้งสองพระองค์ทรงแลกเปลี่ยนความรู้ในด้านต่างๆ ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี วรรณคดี ศิลปะแขนงต่างๆ แล้ว ยังมีเรื่องราวของเหตุการณ์บ้านเมือง ตลอดจนสภาพสังคมเมื่อเกือบหนึ่งร้อยปีมาแล้วที่น่าสนใจอย่างยิ่ง “สมเด็จ” ทั้งสองพระองค์ได้ทรงมีลายพระหัตถ์ต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี ๒๔๕๗ จนกระทั่งปี ๒๔๘๖ ที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพสิ้นพระชนม์จึงเป็นอันสิ้นสุด และทรงมีลายพระหัตถ์สุดท้าย ประทานแก่หม่อมเจ้าหญิงจงจิตรถนอม  ดิศกุล ความว่า    ตำหนักปลายเนิน คลองเตย ๒๒ ธันวาคม ๒๔๘๖ หญิงจง ที่ให้ลายพระหัตถ์เด็จพ่อนั้นดีเต็มที ในเรื่องเรือนคนทำตามประเทศนั้นดีมาก ถ้าหาไม่ก็จะเขียนหนังสือกราบทูลถวาย เสียดายเต็มทีที่สิ้นพระชนม์เสีย จะกราบทูลอะไรไม่ได้ทั้งนั้น นริศ   อ้างอิง  สาส์นสมเด็จ พุทธศักราช ๒๔๘๔. โครงการห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๔,  จาก: https://vajirayana.org/สาส์นสมเด็จ-พุทธศักราช-๒๔๘๔ สาส์นสมเด็จ พุทธศักราช ๒๔๘๖. โครงการห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๔,  จาก: https://vajirayana.org/สาส์นสมเด็จ-พุทธศักราช-๒๔๘๖/ธันวาคม   ราชินี, โรงเรียน. ประชุมโอวาท.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยเขษม, ๒๔๘๔. (คณะครูโรงเรียนราชินี พิมพ์น้อมเกล้าฯ  ถวายสนองพระเดชพระคุณ สมเด็จพระราชปิตุจฉาเจ้า เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพ็ชรบุรีราช       สิรินธร งานพระเมรุท้องสนามหลวง พ.ศ. ๒๔๘๔) ภาพประกอบ  ภาพปกหนังสือ “ประชุมโอวาท” ซึ่งโรงเรียนราชินี จัดพิมพ์สนองพระเดชพระคุณ ในงานพระเมรุ สมเด็จพระราชปิตุจฉาเจ้า เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพ็ชรบุรีสิรินธร พุทธศักราช ๒๔๘๔



ชื่อเรื่อง                                เวสฺสนฺตรชาตกานิสํสกถา (อานิสงส์เวสสันดร) สพ.บ.                                  242/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           28 หน้า กว้าง 4.5 ซ.ม. ยาว 58 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก                                           เทศน์มหาชาติ                                           คาถาพัน บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                                สตฺตปฺปกรณาภธมฺม (สังคิณี-ยมก) สพ.บ.                                  375/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           98 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                 ธรรมเทศนา บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.157/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  66 หน้า ; 4.5 x 54.5 ซ.ม. : ชาดทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 94 (17-21) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทศนา (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.37/1-6  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


นิพฺพานสุตฺต (นิพฺพานสูตร)  ชบ.บ.75/1-1ธ  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.203/11ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  56 หน้า ; 5.5 x 57 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 109 (141-147) ผูก 11 (2565)หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา(เวสสันดรชาดก) ชาตกฎฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฐกถา(พระมหาเวสสันดรชาดก มหาราช)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.313/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 70 หน้า ; 5 x 56.5 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องชาด ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 128  (317-320) ผูก 5 (2565)หัวเรื่อง : สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม(สงฺคิณี - กถาวตฺถุ)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


      โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุชิ้นสำคัญของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรีที่จะนำเสนอในครั้งนี้ ก็คือ โต๊ะสี่เหลี่ยมมีฉากผนัง ๘ ขา ลักษณะเด่นและเป็นที่น่าสนใจของโบราณวัตถุชิ้นนี้ คือ การประดับลวดลายรูปนก นกยูง ดอกโบตั๋น และทิวทัศน์จากเครื่องมุกของญี่ปุ่นบริเวณผนังของโต๊ะ มีการเขียนเส้นสีทองและลายดอกไม้หลายบริเวณแต่หลุดล่อนหายไป ชำรุดตามรอยต่อของไม้ยาวตลอดแนว ขนาดสูง ๖๙ เซนติเมตร กว้าง ๙๗ เซนติเมตร วัสดุทำมาจากไม้ เป็นของที่เก็บรักษาอยู่ที่พระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์มาแต่เดิม ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่ห้องทรงพระสำราญ (พระที่นั่งปราโมทย์มไหสวรรย์)



ชื่อเรื่อง : ซวยงัก เล่ม ๒ชื่อผู้แต่ง : ซวยงัก ปีที่พิมพ์ : 2513สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : องค์การค้าของคุรุสภา จำนวนหน้า : 248 หน้า สาระสังเขป : นิยายอิงพงศาวดารจีนสมัยราชวงศ์ซ้อง ตัวเอกของเรื่องชื่อว่างักฮุยมีฉายานามว่าผงกื้อเกิดในตระกูลที่ยากจนมีความกตัญญู ใฝ่การศึกษาได้เป็นทหารและไปปราบกบฏหลีเซ้งจนพระเจ้าซ้องเกาจงทรงมีพระราชหัตถเลขา 4 อักขระความว่ารักงักฮุย ผู้ซื่อสัตย์จงรักภักดีเป็นธงพระราชทานภายหลังงักฮุยถูกใส่ร้ายและถูกฆ่าเมื่ออายุ 39 ปีจาก จากวีรกรรมของงักฮุยได้รับการยกย่องทางอักษรศาตร์และยุทธศาสตร์ยากจะหาใครเสมอเหมือนพงษาวดารเรื่องนี้จะให้ความบันเทิงสนุกสนานสาระอันประเทืองปัญญาให้งอกงาม


การสำรวจภาพลายเส้นใบเสมาบ้านกุดโง้ง ใบเสมาบ้านกุดโง้ง ตั้งอยู่ที่บ้านกุดโง้ง หมู่ที่ ๔ ตำบลบุ่งคล้า อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ หลักฐานที่พบบริเวณบ้านกุดโง้ง ได้แก่ กลุ่มใบเสมาจำนวนมากที่ปักอยู่ตามบริเวณเนินดินรอบหมู่บ้าน บางส่วนถูกนำมาเก็บรวบรวมไว้ที่วัดศรีปทุมคงคาราม เนื่องจากมีคนเข้ามาลักลอบขุดนำออกไปจากหมู่บ้าน จนกระทั่งพุทธศักราช ๒๕๓๘ กรมศิลปากร โดยสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๙ นครราชสีมา (ขณะนั้น) จึงได้จัดสร้างอาคารไว้ภายในวัดศรีปทุมคงคาราม เพื่อเก็บรักษาและจัดแสดงใบเสมาเหล่านี้ ใบเสมาที่สำคัญที่บ้านกุดโง้ง ซึ่งอยู่ในกลุ่มของใบเสมาที่มีการสลักลวดลายประดับเป็นภาพพระพุทธเจ้า ได้แก่ ภาพพระพุทธเจ้าหรือพระศรีศากยมุนี ภาพพระศรีอริยเมตไตย และภาพเล่าเรื่องราวชาดกตอนต่างๆ ในพุทธศาสนา ได้แก่ พรหมนารทชาดก เตมียชาดก ภูริฑัตชาดก มโหสถชาดก อัมพชาดก ปัญจาวุธชาดก วิฑูรบัณฑิตชาดก ปี พุทธศักราช ๒๕๖๓ กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ได้ดำเนินการสำรวจเก็บข้อมูลภาพสลักใบเสมาบ้านกุดโง้ง เชิงวิเคราะห์ เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลงานด้านศิลปกรรมที่ทรงคุณค่าให้คงอยู่ต่อไป ขั้นตอนการดำเนินงาน ๑. ดำเนินการสำรวจเก็บข้อมูลภาพลายเส้นตามร่องรอยที่หลงเหลืออยู่จริง ๒. ดำเนินการวิเคราะห์ลายเส้นใบเสมา ร่วมกับนักโบราณคดี เพื่อเติมเต็มภาพลายเส้นให้สมบูรณ์ ๓. ดำเนินการเติมภาพลายเส้นให้สมบูรณ์ ที่ได้ข้อมูลจากการวิเคราะห์ ๔. ดำเนินการจัดทำเสกลหน้างานจากแหล่งใบเสมา เพื่อให้ได้ความแม่นยำของระยะของลวดลาย ๕. ดำเนินการวาดภาพลายเส้นใบเสมาให้สมบูรณ์ตามแนวทางการวิเคราะห์ร่วมกับนักโบราณคดี ๖. ภาพผลงานการวาดลายเส้นลวดลายใบเสมาที่เติมเต็มให้สมบูรณ์ บนกระดาษกราฟที่เข้าเสกลตามสัดส่วนจริง ๗. นำภาพผลงานการวาดลายเส้นลวดลายใบเสมาที่เติมเต็มให้สมบูรณ์ มาดำเนินการวาดเส้นในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Illustrator เพื่อให้สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายต่อไป ผู้เรียบเรียงนำเสนอโดย นางสาวนิตยา สาระรัตน์ นายช่างศิลปกรรมอาวุโส



องค์ความรู้เรื่อง "๒ เมษายน วันอนุรักษ์มรดกไทย"   ในปี ๒๕๒๘ รัฐบาลได้กำหนดให้วันที่ ๒ เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็น “วันอนุรักษ์มรดกไทย” เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงมีต่องานด้านศิลปวัฒนธรรม และทรงเป็นแบบอย่างในการอนุรักษ์และสืบสานมรดกศิลปวัฒนธรรมอันเป็นมรดกของชาติ   กรมศิลปากร ในฐานะหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบงานด้านมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ จึงได้กำหนดจัดกิจกรรมเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทยเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นแนวทางในการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ อันเนื่องด้วยการอนุรักษ์มรดกไทยให้แพร่หลายกว้างขวาง และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตื่นตัวในการร่วมกันดูแลรักษาศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ     หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตรัง สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา กรมศิลปากร ได้กำหนดจัดกิจกรรมวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี ๒๕๖๕ โดยมีกิจกรรมรณรงค์การดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมในวันศุกร์ที่ ๘ เมษายน ๒๕๖๕ ณ แหล่งโบราณสถานวัดจอมไตร หมู่ที่ ๗ บ้านเจาะ ตำบลนาโยงเหนือ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง  บรรณานุกรม กรมศิลปากร.  ๒ เมษายน วันอนุรักษ์มรดกไทย.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๕, https://www.finearts.go.th/main/view/24746 กรมศิลปากร.  กรมศิลปากรเปิดงานสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๔. [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๕, https://www.finearts.go.th/promotion/view/24752 สมบัติ  จำปาเงิน.  วันสำคัญของเรา.  กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์, ๒๕๔๗.


Messenger