ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,784 รายการ

นายจารึก วิไลแก้ว ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมาเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการพัฒนาบุคลากรด้านภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมายวันอังคารที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย จังหวัดนครราชสีมา


ชื่อเรื่อง : จดหมายเหตุเจมส์ โลว์   ผู้แต่ง :  เจมส์  โลว์   ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๙   สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพ ฯ   สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี                 เรื่องจดหมายเหตุเจมส์ โลว์ นี้ร้อยโท เจมส์ โลว์ ได้จดบันทึกเรื่องราวอย่างละเอียดเกี่ยวกับธรรมชาติอันสวยสดงดงามของเมืองชายทะเลภาคใต้ฝั่งตะวันตกของไทย เช่น เมืองไทรบุรี ตรัง สตูล ถลาง และพังงาเป็นต้น รวมทั้งเรื่องการเข้าพบสนทนากับเจ้าเมืองต่างๆ เขาได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับนโยบายการปกครองของไทย คตินิยมและคุณสมบัติพิเศษที่ตัวทูตควรจะมีเพื่อให้การเจราจาราบรื่นไแด้วยดี


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับพระแสงดาบ.  ศิลปวัฒนธรรม.  38 ,(1) :26-27 ; พฤศจิกายน  2559. ภายในเล่ม เป็นเรื่องเกี่ยวกับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงให้ความสนพระทัยโบราณวัตถุเป็นอย่างยิ่ง ได้เสด็จไปทอดพระเนตรบรรดาของที่ขุดได้ ณ กองกำกับการตำรวจภูธร จังหวัดพระนครอยุธยา  เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 ในวันนั้นมี นายธนิต  อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอย่างใกล้ชิด   ท่านได้เล่าถึงเหตุการณ์ในวันดังกล่าวเกี่ยวกับเรื่องที่ชาวบ้านพากันมา เพื่อจะมาดูการทรงถอดพระแสงดาบที่ขุดได้จากวัดราชบูรณะ  พระองค์ทรงรับสั่งว่า สนิมจับอย่างนั้นใครจะถอดออกฯ   ต่อมา เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2510 คราวเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารใหม่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร   พระบาทสมเด็จพระ-เจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ทรงถอดพระแสงดาบโบราณออกจากฝัก และด้วยกระแสพระราชดำรัสในวันนั้น   เอง  กรมศิลปากรได้จัดส่งนักวิทยาศาสตร์ ไปศึกษาวิชาการสงวนรักษาโบราณวัตถุยังต่างประเทศ ก่อให้เกิด  ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในการปฏิบัติงานด้านนี้อย่างดีมาถึงทุกวันนี้







***บรรณานุกรม***     ผดุงถิ่นยุคข่าวเศรษฐกิจ     ปีที่ 17     ฉบับที่ 679    วันที่ 1-15 มิถุนายน 2535


การเสด็จประพาสยุโรป ร.ศ. 116 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นการเสด็จประพาสครั้งที่ 4 








ชื่อเรื่อง                                สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทสนา (เทสนาสังคิณี-มหาปัฎฐาน)สพ.บ.                                  125/4ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           20 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 53 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พระอภิธรรม  บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม  เส้นจาร ฉบับล่องชาด  ได้รับบริจาคมาจากวัดประสพสุข  ต.ทับตีเหล็ก อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี


          ประวัติ : “เขาแบนะ” เป็นเขาหินปูนลูกโดดขนาดเล็ก ตั้งอยู่บริเวณปลายแหลมของหาดฉางหลางในเขตอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ภาพเขียนสีตั้งอยู่บริเวณเพิงผาด้านทิศเหนือของเขา เมื่อน้ำทะเลลดระดับลง เขาแบนะจะมีลักษณะเป็นส่วนหนึ่งของปลายแหลม สามารถเดินเท้าไปชมภาพเขียนสีได้ โดยตัวภาพจะอยู่สูงกว่าระดับพื้นทรายประมาณ ๕ เมตร แต่หากระดับน้ำทะเลขึ้นสูง เขาแบนะจะกลายเป็นเกาะสามารถเดินทางไปชมด้วยเรือ ตัวภาพจะอยู่ในระดับที่สามารถเอื้อมถึง ภาพเขียนสีได้รับการสำรวจโดยโครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคใต้) เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๒ – ๒๕๓๓ สำรวจพบภาพเขียนสีและชิ้นส่วนภาชนะดินเผา           จากลักษณะของพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นเวิ้งอ่าว เหมาะแก่การจอดเรือเพื่อพักระหว่างเดินทางหรือหลบกระแสลม คนโบราณจึงเลือกใช้พื้นบริเวณนี้ สร้างสรรค์ผลงานภาพเขียนสีเพื่อบอกเล่าเรื่องราวหรือเพื่อประกอบพิธีกรรม กำหนดอายุตัวภาพเขียนสีให้อยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ประมาณ ๔,๐๐๐ – ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว ภาพเขียนสีเขาแบนะจึงเป็นตัวแทนแหล่งโบราณคดีที่สำคัญที่แสดงให้เห็นถึงการดำรงอยู่ของชุมชนยุคก่อนประวัติศาสตร์ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน กำหนดอายุอยู่ในช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ ราว ๔,๐๐๐ – ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว           สิ่งสำคัญ ภาพเขียนสีเขาแบนะ เขียนด้วยสีแดง ใช้เทคนิคร่างโครงภายนอกและตกแต่งลวดลายเป็นลายเส้นหรือระบายสีทึบภายใน           ลักษณะภาพ เป็นภาพเขียนสีรูปปลา จำนวน ๒ ตัว คว่ำหัวลง ลักษณะการเขียนภาพเขียนเป็นเส้นโครงร่าง และทำเป็นเส้นลายทางด้านในตัวปลา ส่วนหัวกับส่วนหางระบายสีแดงทึบ ด้านล่างของปลาเป็นภาพเขียนสี มีสภาพค่อนข้างลบเลือน โดยมีการระบายสีด้านในทึบ นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่าอาจเป็นอุปกรณ์จับปลา บางท่านสันนิษฐานว่าเป็นรูปสัตว์คล้ายเสือ ถัดลงไปด้านล่างทางด้านขวามือ (ของผู้ชมภาพ) เป็นภาพเขียนสีมีลักษณะคล้ายสัตว์ระบายสีทึบแต่เนื่องจากภาพมีสภาพค่อนข้างลบเลือนทำให้ไม่สามารถเห็นภาพชัดเจน ---------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : สำนักศิลปากรที่ ๑๑ นครศรีธรรมราชhttps://www.facebook.com/fad11songkhla/posts/1306657213005772?__xts__[0]=68.ARAnhz6KFNp9IYIG4VGzP5zr3fkU6jU3g6KJ0XjLdsazlrm1WKz2M6o7fnIm0LPT2QsJFISqZPNuZQEAjdImiU5aw45vpT22wG1Tv5xDkOTjHgKh9_dHQgGAD4_5ZyAmfViohOpmUJMXp6bn-wP3fDGrl7SNxD_LRir8bYvQ0UjHR33NtKngqToaICXabxC1OlI8IAVG_Amg0eYDxB7psKBSrQUZO9ZN5_4FBMTUch6bGSnyI6qkIRmqGK7gHWvVoEl9VzQyFM8EwYsRsb-BrCV9_vg5WrgvmP6w9SN23Zse4a844ljJbtZ_t0E9CqpVwRm40q4UO79l37mn2I0trTNouw


Messenger