คูเมืองโบราณกำแพงเพชร
#องค์ความรู้อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
คูเมืองโบราณกำแพงเพชร
..
เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองโบราณที่ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ผังเมืองมีลักษณะคล้ายรูปสี่เหลี่ยมคางหมู วางตัวยาวขนานไปกับแม่น้ำปิง มีคูเมืองและกำแพงที่สร้างด้วยศิลาแลงล้อมรอบเมืองทั้ง 4 ด้าน มีระบบการนำน้ำจากแม่น้ำปิงเข้ามาหล่อเลี้ยงคูเมือง มีทางระบายน้ำออกบริเวณมุมท้ายเมืองทิศตะวันออกเฉียงเหนือ แนวกำแพงเมืองชั้นในก่อด้วยศิลาแลง ประกอบด้วย แนวกำแพงเมืองที่มีเชิงเทินและใบเสมา ปัจจุบันปรากฏประตูเมืองจำนวน 9 ประตู และป้อมปราการจำนวน 11 ป้อม ซึ่งสันนิษฐานว่ามีการก่อสร้างในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21-22
.
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานกำแพงเมือง-คูเมืองกำแพงเพชร ในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 85 ตอนที่ 41 วันที่ 7 พฤษภาคม 2511 บริเวณที่ 3 เนื้อที่ประมาณ 503 ไร่
.
คูเมืองกำแพงเพชรมีลักษณะเป็นร่องน้ำหรือทางน้ำที่ขุดขึ้นขนานกับแนวกำแพงเมืองล้อมรอบเมืองกำแพงเพชร คูเมืองปัจจุบันกว้างประมาณ 11-33 เมตร ลึกประมาณ 4.20 เมตร และมีความยาวรวม 5,466 เมตร โดยคูเมืองด้านทิศเหนือยาวประมาณ 2,563 เมตร ด้านทิศใต้ยาวประมาณ 2,041 เมตร ด้านทิศตะวันออกยาวประมาณ 632 เมตร และด้านทิศตะวันตกยาวประมาณ 230 เมตร
..
เมื่อ พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชร และทรงพระราชนิพนธ์ เรื่อง “เสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2” มีเนื้อความกล่าวถึงคูเมืองกำแพงเพชรดังนี้
.
“...น่าประตูนี้เป็นทางลึกลงไปจากฝั่งจนถึงท้องคูแล้วจึงขึ้นเมือง ๆ ตั้งอยู่ในที่ดอนน้ำไม่ท่วม เลียบไปตามทางริมกำแพงซึ่งเขาว่าได้ตัดแล้วรอบ เมืองนี้ไม่ได้ทำเป็นเหลี่ยม โอนรูปไปตามแม่น้ำ ประมาณว่าด้านเหนือด้านใต้ 50 เส้น ด้านสกัดทิศใต้ 12 เส้น สกัดข้างเหนือ 6 เส้นรูปสอบ ใช้พูนดินเปนเชิงเทิน คิดทั้งท้องคูข้างนอกสูงมาก กำแพงก่อด้วยแลง ใบเสมาเป็นรูปเสมาหยักแต่ใหญ่ คออ้วนเหลืออยู่น้อย ตามประตูน่าจะเป็นป้อมทุกแห่ง แต่ที่ได้เห็น 3 ประตู คือประตูน้ำอ้อย ประตูบ้านโนน ประตูดั้น ประตูหลังยังคงมีป้อมก่อด้วยแลงปรากฏป้อมนั้นเป็นลับแลอยู่ปากคูข้างนอก...”
.
เมื่อ พ.ศ. 2450 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชร และทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ เรื่อง “เที่ยวเมืองพระร่วง” มีเนื้อความกล่าวถึงคูเมือง-กำแพงเมืองกำแพงเพชรดังนี้
.
“...กำแพงเชิงเทินทำแน่นหนาก่อด้วยแลง มีใบเสมาก่อเป็นแผ่นตรงขึ้นไปสักศอกหนึ่งแล้วจึงก่อเป็นรูปหลังเจียดขึ้นไปอีกศอกหนึ่ง บนกำแพงมีทางเดินได้รอบกว้างพอคนเดินหลีกกันได้สบาย นอกกำแพงมีคูลึก เดี๋ยวนี้น้ำยังขังอยู่บ้างเป็นแห่ง ๆ มีทางน้ำไหลเข้ามาจากลำแควน้อยได้ สังเกตว่าเปนเมืองที่แขงแรงมั่นคง น่าจะรักษาไว้ให้มั่นได้นาน ๆ..”
.
การศึกษาดำเนินงานทางโบราณคดีเมืองกำแพงเพชรโดยกรมศิลปากร เริ่มต้นเมื่อ พ.ศ. 2507-2512 หลังจากนั้นได้มีการดำเนินงานต่าง ๆ ทั้งการสำรวจ ขุดค้น ขุดแต่ง บูรณะ รวมทั้งปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์โบราณสถานทั้งบริเวณเขตอรัญญิก เขตในกำแพงเมือง และบริเวณนอกเมือง สำหรับการดำเนินงานทางโบราณคดีบริเวณคูเมืองกำแพงเพชร มีสาระโดยสังเขปดังต่อไปนี้
.
เมื่อ พ.ศ. 2528 โครงการอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรดำเนินการขุดลอกคูเมืองกำแพงเพชร เป็นความยาวประมาณ 3,735 เมตร เพื่ออนุรักษ์คูเมืองให้มั่นคงตามร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดี ทำให้พบร่องรอยเดิมของคูเมืองกำแพงเพชร ซึ่งมีความกว้าง 15-40 เมตร ลึกประมาณ 0.50-1.50 เมตร
.
เมื่อ พ.ศ. 2539-2541 อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ดำเนินโครงการปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์คูเมืองกำแพงเพชร โดยมีการดำเนินงาน 2 ส่วน ประกอบด้วย งานขุดลอกคูเมือง และงานบูรณะแนวกำแพงเมือง สำหรับงานขุดลอกคูเมืองนั้นมีการปรับแต่งขอบคูเมืองด้านนอกคูเมืองด้านทิศเหนือ ด้านทิศตะวันตก และด้านทิศใต้ตั้งแต่ป้อมมุมเมืองทิศตะวันตกเฉียงใต้ถึงป้อมเจ้าจันทร์ โดยเน้นการอนุรักษ์สภาพพื้นที่เดิม
.
เมื่อ พ.ศ. 2548 อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ดำเนินการทางโบราณคดีภายใต้โครงการพัฒนาอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรเพื่อการอนุรักษ์และเสริมสร้างศักยภาพการท่องเที่ยว โดยดำเนินการขุดแต่งคูเมือง กำแพงเมือง และป้อมปราการ จากการขุดแต่งคูเมืองพบว่า ส่วนคันดินชั้นกลาง คูเมืองชั้นกลาง และคูเมืองชั้นนอก ด้านทิศเหนือ มีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างจากคูเมืองชั้นใน เนื่องจากระดับก้นคูตื้นกว่าคูเมืองชั้นในประมาณ 2-3 เมตร อีกทั้งก้นคูเมืองยังเป็นดินทรายที่ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ จึงสันนิษฐานว่า คูเมืองและคันดินชั้นกลางและชั้นนอกทางด้านทิศเหนือ ไม่น่าจะใช้ประโยชน์ในการกักเก็บน้ำ แต่น่าจะมีวัตถุประสงค์ในการป้องกันข้าศึกศัตรูมากกว่า ส่วนคูเมืองทางด้านทิศใต้ ใช้ประโยชน์ในการกักเก็บน้ำและใช้ในการป้องกันข้าศึกศัตรูด้วย
.
การดำเนินการทางโบราณคดีครั้งนี้ พบตัวอย่างหลักฐานทางโบราณคดีที่สามารถกำหนดอายุเชิงเทียบ (relative dating) ได้ เช่น ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งตกแต่งด้วยลายขูดขีดและลายกดประทับจากแหล่งเตาบ้านบางปูน กำหนดอายุได้พุทธศตวรรษที่ 18-21 ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งเคลือบสีเขียว ชิ้นส่วนตุ๊กตาดินเผาเคลือบสีเขียว จากแหล่งเตาเมืองศรีสัชนาลัย กำหนดอายุได้พุทธศตวรรษที่ 20-21 ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งเคลือบสีขาวนวลเขียนลวดลาย จากแหล่งเตาเมืองสุโขทัย กำหนดอายุได้พุทธศตวรรษที่ 19-21 ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งตกแต่งด้วยลวดลายตัวอุ ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งเคลือบสีน้ำตาลดำ จากแหล่งเตาแม่น้ำน้อย กำหนดอายุได้พุทธศตวรรษที่ 20-23 ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนเขียนสีน้ำเงินใต้เคลือบ สมัยราชวงศ์หมิง กำหนดอายุได้พุทธศตวรรษที่ 20-22 ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนเขียนสีน้ำเงินใต้เคลือบ สมัยราชวงศ์ชิง กำหนดอายุได้พุทธศตวรรษที่ 22-23 เป็นต้น
..
เอกสารอ้างอิง
กฤษฎา พิณศรี, ปริวรรต ธรรมาปรีชากร และอุษา ง้วนเพียรภาค, เครื่องถ้วยสุโขทัย พัฒนาการของเครื่องถ้วยไทย (กรุงเทพฯ:
โอสถสภา, 2535.
กรมศิลปากร, เตาแม่น้ำน้อย, (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร), 2531.
ธงชัย สาโค, สังคโลกเตาทุเรียงเมืองสุโขทัย: ข้อมูลใหม่จากหลักฐานโบราณคดี (กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร กระทรวง
วัฒนธรรม, 2564.
นารีรัตน์ ปรีชาพีชคุปต์, ธาดา สังข์ทอง และอนันต์ ชูโชติ ; ผู้แปลภาษาอังกฤษ, นันทนา ตันติเวสสะ และ สุรพล นาถะพินธุ.
นำชมอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร (Guide to Sukhothai Si Satchanalai and Kamphaeng Phet historical parks). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ,2542.
ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน, (2511, 7 พฤษภาคม), ราชกิจจานุเบกษา, (เล่ม 85, ตอนที่ 41),
1340.
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. เที่ยวเมืองพระร่วง. กรุงเทพฯ : มูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัยใน
พระบรมราชูปถัมภ์, 2519.
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. ครบ ๑๐๐ ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสต้น
เมืองกำแพงเพชร วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2549. กรุงเทพฯ : จังหวัดกำแพงเพชร, 2549.
สายันต์ ไพรชาญจิตร์, โบราณคดีเครื่องถ้วยในสยาม แหล่งเตาล้านนาและสุพรรณบุรี, (กรุงเทพฯ : โครงการศิลปากรพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร), 2554.
ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามเพชร, รายงานผลการขุดค้น ขุดตรวจ ขุดแต่งพื้นที่สนามด้านหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองกำแพงเพชร (ฝั่งตะวันตก) คูเมืองและคันดินชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ด้านทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ป้อมด้านหน้าประตูวัดช้าง ป้อมด้านหน้าประตูเตาอิฐ ป้อมมุมเมืองตะวันออกเฉียงเหนือ, (กำแพงเพชร : โครงการพัฒนาอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรเพื่อการอนุรักษ์และเสริมสร้างศักยภาพการท่องเที่ยว), ไม่ระบุปีที่พิมพ์.
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร, รายงานการขุดลอกคูเมือง เมืองกำแพงเพชร, (กำแพงเพชร : โครงการอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร), ไม่ระบุปีที่พิมพ์.
คูเมืองโบราณกำแพงเพชร
..
เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองโบราณที่ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ผังเมืองมีลักษณะคล้ายรูปสี่เหลี่ยมคางหมู วางตัวยาวขนานไปกับแม่น้ำปิง มีคูเมืองและกำแพงที่สร้างด้วยศิลาแลงล้อมรอบเมืองทั้ง 4 ด้าน มีระบบการนำน้ำจากแม่น้ำปิงเข้ามาหล่อเลี้ยงคูเมือง มีทางระบายน้ำออกบริเวณมุมท้ายเมืองทิศตะวันออกเฉียงเหนือ แนวกำแพงเมืองชั้นในก่อด้วยศิลาแลง ประกอบด้วย แนวกำแพงเมืองที่มีเชิงเทินและใบเสมา ปัจจุบันปรากฏประตูเมืองจำนวน 9 ประตู และป้อมปราการจำนวน 11 ป้อม ซึ่งสันนิษฐานว่ามีการก่อสร้างในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21-22
.
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานกำแพงเมือง-คูเมืองกำแพงเพชร ในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 85 ตอนที่ 41 วันที่ 7 พฤษภาคม 2511 บริเวณที่ 3 เนื้อที่ประมาณ 503 ไร่
.
คูเมืองกำแพงเพชรมีลักษณะเป็นร่องน้ำหรือทางน้ำที่ขุดขึ้นขนานกับแนวกำแพงเมืองล้อมรอบเมืองกำแพงเพชร คูเมืองปัจจุบันกว้างประมาณ 11-33 เมตร ลึกประมาณ 4.20 เมตร และมีความยาวรวม 5,466 เมตร โดยคูเมืองด้านทิศเหนือยาวประมาณ 2,563 เมตร ด้านทิศใต้ยาวประมาณ 2,041 เมตร ด้านทิศตะวันออกยาวประมาณ 632 เมตร และด้านทิศตะวันตกยาวประมาณ 230 เมตร
..
เมื่อ พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชร และทรงพระราชนิพนธ์ เรื่อง “เสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2” มีเนื้อความกล่าวถึงคูเมืองกำแพงเพชรดังนี้
.
“...น่าประตูนี้เป็นทางลึกลงไปจากฝั่งจนถึงท้องคูแล้วจึงขึ้นเมือง ๆ ตั้งอยู่ในที่ดอนน้ำไม่ท่วม เลียบไปตามทางริมกำแพงซึ่งเขาว่าได้ตัดแล้วรอบ เมืองนี้ไม่ได้ทำเป็นเหลี่ยม โอนรูปไปตามแม่น้ำ ประมาณว่าด้านเหนือด้านใต้ 50 เส้น ด้านสกัดทิศใต้ 12 เส้น สกัดข้างเหนือ 6 เส้นรูปสอบ ใช้พูนดินเปนเชิงเทิน คิดทั้งท้องคูข้างนอกสูงมาก กำแพงก่อด้วยแลง ใบเสมาเป็นรูปเสมาหยักแต่ใหญ่ คออ้วนเหลืออยู่น้อย ตามประตูน่าจะเป็นป้อมทุกแห่ง แต่ที่ได้เห็น 3 ประตู คือประตูน้ำอ้อย ประตูบ้านโนน ประตูดั้น ประตูหลังยังคงมีป้อมก่อด้วยแลงปรากฏป้อมนั้นเป็นลับแลอยู่ปากคูข้างนอก...”
.
เมื่อ พ.ศ. 2450 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชร และทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ เรื่อง “เที่ยวเมืองพระร่วง” มีเนื้อความกล่าวถึงคูเมือง-กำแพงเมืองกำแพงเพชรดังนี้
.
“...กำแพงเชิงเทินทำแน่นหนาก่อด้วยแลง มีใบเสมาก่อเป็นแผ่นตรงขึ้นไปสักศอกหนึ่งแล้วจึงก่อเป็นรูปหลังเจียดขึ้นไปอีกศอกหนึ่ง บนกำแพงมีทางเดินได้รอบกว้างพอคนเดินหลีกกันได้สบาย นอกกำแพงมีคูลึก เดี๋ยวนี้น้ำยังขังอยู่บ้างเป็นแห่ง ๆ มีทางน้ำไหลเข้ามาจากลำแควน้อยได้ สังเกตว่าเปนเมืองที่แขงแรงมั่นคง น่าจะรักษาไว้ให้มั่นได้นาน ๆ..”
.
การศึกษาดำเนินงานทางโบราณคดีเมืองกำแพงเพชรโดยกรมศิลปากร เริ่มต้นเมื่อ พ.ศ. 2507-2512 หลังจากนั้นได้มีการดำเนินงานต่าง ๆ ทั้งการสำรวจ ขุดค้น ขุดแต่ง บูรณะ รวมทั้งปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์โบราณสถานทั้งบริเวณเขตอรัญญิก เขตในกำแพงเมือง และบริเวณนอกเมือง สำหรับการดำเนินงานทางโบราณคดีบริเวณคูเมืองกำแพงเพชร มีสาระโดยสังเขปดังต่อไปนี้
.
เมื่อ พ.ศ. 2528 โครงการอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรดำเนินการขุดลอกคูเมืองกำแพงเพชร เป็นความยาวประมาณ 3,735 เมตร เพื่ออนุรักษ์คูเมืองให้มั่นคงตามร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดี ทำให้พบร่องรอยเดิมของคูเมืองกำแพงเพชร ซึ่งมีความกว้าง 15-40 เมตร ลึกประมาณ 0.50-1.50 เมตร
.
เมื่อ พ.ศ. 2539-2541 อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ดำเนินโครงการปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์คูเมืองกำแพงเพชร โดยมีการดำเนินงาน 2 ส่วน ประกอบด้วย งานขุดลอกคูเมือง และงานบูรณะแนวกำแพงเมือง สำหรับงานขุดลอกคูเมืองนั้นมีการปรับแต่งขอบคูเมืองด้านนอกคูเมืองด้านทิศเหนือ ด้านทิศตะวันตก และด้านทิศใต้ตั้งแต่ป้อมมุมเมืองทิศตะวันตกเฉียงใต้ถึงป้อมเจ้าจันทร์ โดยเน้นการอนุรักษ์สภาพพื้นที่เดิม
.
เมื่อ พ.ศ. 2548 อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ดำเนินการทางโบราณคดีภายใต้โครงการพัฒนาอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรเพื่อการอนุรักษ์และเสริมสร้างศักยภาพการท่องเที่ยว โดยดำเนินการขุดแต่งคูเมือง กำแพงเมือง และป้อมปราการ จากการขุดแต่งคูเมืองพบว่า ส่วนคันดินชั้นกลาง คูเมืองชั้นกลาง และคูเมืองชั้นนอก ด้านทิศเหนือ มีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างจากคูเมืองชั้นใน เนื่องจากระดับก้นคูตื้นกว่าคูเมืองชั้นในประมาณ 2-3 เมตร อีกทั้งก้นคูเมืองยังเป็นดินทรายที่ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ จึงสันนิษฐานว่า คูเมืองและคันดินชั้นกลางและชั้นนอกทางด้านทิศเหนือ ไม่น่าจะใช้ประโยชน์ในการกักเก็บน้ำ แต่น่าจะมีวัตถุประสงค์ในการป้องกันข้าศึกศัตรูมากกว่า ส่วนคูเมืองทางด้านทิศใต้ ใช้ประโยชน์ในการกักเก็บน้ำและใช้ในการป้องกันข้าศึกศัตรูด้วย
.
การดำเนินการทางโบราณคดีครั้งนี้ พบตัวอย่างหลักฐานทางโบราณคดีที่สามารถกำหนดอายุเชิงเทียบ (relative dating) ได้ เช่น ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งตกแต่งด้วยลายขูดขีดและลายกดประทับจากแหล่งเตาบ้านบางปูน กำหนดอายุได้พุทธศตวรรษที่ 18-21 ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งเคลือบสีเขียว ชิ้นส่วนตุ๊กตาดินเผาเคลือบสีเขียว จากแหล่งเตาเมืองศรีสัชนาลัย กำหนดอายุได้พุทธศตวรรษที่ 20-21 ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งเคลือบสีขาวนวลเขียนลวดลาย จากแหล่งเตาเมืองสุโขทัย กำหนดอายุได้พุทธศตวรรษที่ 19-21 ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งตกแต่งด้วยลวดลายตัวอุ ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งเคลือบสีน้ำตาลดำ จากแหล่งเตาแม่น้ำน้อย กำหนดอายุได้พุทธศตวรรษที่ 20-23 ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนเขียนสีน้ำเงินใต้เคลือบ สมัยราชวงศ์หมิง กำหนดอายุได้พุทธศตวรรษที่ 20-22 ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนเขียนสีน้ำเงินใต้เคลือบ สมัยราชวงศ์ชิง กำหนดอายุได้พุทธศตวรรษที่ 22-23 เป็นต้น
..
เอกสารอ้างอิง
กฤษฎา พิณศรี, ปริวรรต ธรรมาปรีชากร และอุษา ง้วนเพียรภาค, เครื่องถ้วยสุโขทัย พัฒนาการของเครื่องถ้วยไทย (กรุงเทพฯ:
โอสถสภา, 2535.
กรมศิลปากร, เตาแม่น้ำน้อย, (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร), 2531.
ธงชัย สาโค, สังคโลกเตาทุเรียงเมืองสุโขทัย: ข้อมูลใหม่จากหลักฐานโบราณคดี (กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร กระทรวง
วัฒนธรรม, 2564.
นารีรัตน์ ปรีชาพีชคุปต์, ธาดา สังข์ทอง และอนันต์ ชูโชติ ; ผู้แปลภาษาอังกฤษ, นันทนา ตันติเวสสะ และ สุรพล นาถะพินธุ.
นำชมอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร (Guide to Sukhothai Si Satchanalai and Kamphaeng Phet historical parks). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ,2542.
ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน, (2511, 7 พฤษภาคม), ราชกิจจานุเบกษา, (เล่ม 85, ตอนที่ 41),
1340.
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. เที่ยวเมืองพระร่วง. กรุงเทพฯ : มูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัยใน
พระบรมราชูปถัมภ์, 2519.
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. ครบ ๑๐๐ ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสต้น
เมืองกำแพงเพชร วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2549. กรุงเทพฯ : จังหวัดกำแพงเพชร, 2549.
สายันต์ ไพรชาญจิตร์, โบราณคดีเครื่องถ้วยในสยาม แหล่งเตาล้านนาและสุพรรณบุรี, (กรุงเทพฯ : โครงการศิลปากรพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร), 2554.
ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามเพชร, รายงานผลการขุดค้น ขุดตรวจ ขุดแต่งพื้นที่สนามด้านหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองกำแพงเพชร (ฝั่งตะวันตก) คูเมืองและคันดินชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ด้านทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ป้อมด้านหน้าประตูวัดช้าง ป้อมด้านหน้าประตูเตาอิฐ ป้อมมุมเมืองตะวันออกเฉียงเหนือ, (กำแพงเพชร : โครงการพัฒนาอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรเพื่อการอนุรักษ์และเสริมสร้างศักยภาพการท่องเที่ยว), ไม่ระบุปีที่พิมพ์.
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร, รายงานการขุดลอกคูเมือง เมืองกำแพงเพชร, (กำแพงเพชร : โครงการอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร), ไม่ระบุปีที่พิมพ์.
(จำนวนผู้เข้าชม 832 ครั้ง)