ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,423 รายการ
เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการขอทำลายและส่งมอบเอกสารประวัติศาสตร์ โดยมีนายวิเศษ เพรชประดับ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการขอทำลายและส่งมอบเอกสารประวัติศาสตร์ จัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างความรู้ด้านการขอทำลายและส่งมอบเอกสารประวัติศาสตร์ให้แก่เจ้าหน้าที่ในสังกัดกรมศิลปากร โดยเฉพาะสำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรี สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี และสำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา รวมถึงเพื่อกระตุ้นให้หน่วยงานภายในสังกัดกรมศิลปากรสนใจขอทำลายและส่งมอบเอกสารประวัติศาสตร์ ซึ่งการดำเนินโครงการแบ่งเป็นภาคบรรยายในหัวข้อ “กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับงานจดหมายเหตุ” และหัวข้อ “ขั้นตอนการขอทำลายและการส่งมอบเอกสารประวัติศาสตร์” และภาคปฏิบัติทำบัญชีขอทำลายและบัญชีส่งมอบเอกสารประวัติศาสตร์
***บรรณานุกรม***
อุดมสมบัติ
จดหมายหลวงอุดมสมบัติ (ภาค1) พงศาวดารเมืองนครศรีธรรมราช พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางนรคุปต์ พิไสย (เอียด สุธีสร) ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 31 มีนาคม พุทธศักราช 2503
พระนคร
โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม
2503
พระตำหนักทะเลชุบศร ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี สิ่งสำคัญ ๑. พระตำหนักทะเลชุบศร ๒.เขื่อนช่องระบายน้ำ ๓. คันทะเลชุบศร ๔. คลองปากจั่นและประตูระบายน้ำประวัติความสำคัญ : พระตำหนักทะเลชุบศรหรือพระที่นั่งเย็น ตั้งอยู่ห่างจากเมืองเก่าลพบุรีประมาณ ๓ กิโลเมตร สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดฯ ให้สร้างขึ้น ณ กลางเกาะทะเลชุบศร เพื่อใช้เป็นที่ประทับพักผ่อนพระราชอิริยาบถ และในคราวเสด็จประพาสป่าทะเลชุบศรนั้นมีสภาพเป็นที่ลุ่ม มีพื้นที่ติดต่อกับทุ่งพรหมาสตร์ไปทางทิศตะวันออก ในฤดูฝนน้ำจะไหลจากเทือกเขามารวมอยู่ในแอ่งนี้ จนแลดูคล้ายทะเลสาบ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชาธิบายว่า เมื่อ พระนารายณ์อวตารลงมาเป็นพระรามนั้นเมื่อจะแผลงศรผลาญศัตรู จะต้องเอาคม พระแสงชุบในห้วงน้ำเสียก่อน บรรดาห้วงน้ำที่พระรามได้ชุบแสง ต่อมาถือเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ โดยทางสรุปว่าพวกพราหมณ์เป็นผู้ขนานนามทะเลสาบแห่งนี้ รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทะเลชุบศรนี้ตื้นเขินเป็นส่วนใหญ่ จึงได้โปรดฯ ให้ช่างชาวฝรั่งเศสทำการปรับปรุงพื้นที่ใหม่ ช่างได้ถมดินสร้างทำนบก่ออิฐ เพื่อขังน้ำเป็นทะเลสาบและยังทำปากจั่น หรือประตูกั้นน้ำ-ระบายน้ำไว้แล้วไขน้ำให้ล้นไหลลงมายังสระแก้ว และฝังท่อดินทำการประปาจากสระแก้วไปยังตัวเมืองลพบุรี ปัจจุบันทะเลชุบศรตื้นเขินหมดแล้ว ประชาชนเข้าจับจองเป็นที่อยู่อาศัยแต่ก็ยังสามารถเห็นร่องรอยโบราณสถาน ตลอดจนประตูระบายน้ำเรียกกันว่าปากจั่นได้ตามบันทึกของชาวฝรั่งเศส กล่าวว่าเป็นที่เหมาะสมสามารถมองฟ้าได้ทุกด้าน และมีพื้นที่กว้างมากพอสำหรับจะติดตั้งเครื่องมือดาราศาสตร์ ทั้งยังมีภาพการสำรวจจันทรุปราคา ที่พระตำหนักแห่งนี้ ซึ่งชาวฝรั่งเศสวาดไว้เป็นรูปสมเด็จพระนารายณ์ทรงสวมลอมพอกและทรงกล้องส่องยาววางบนขาตั้งทอดพระเนตรจันทร์จากสีหบัญชรพระที่นั่ง ตรงเฉลียงสองข้างนั้น ด้านหนึ่งมีขุนนางหมอบก้มประนมมือ อีกด้านหนึ่งมีนักดาราศาสตร์ชาวยุโรปกำลังส่องกล้องดูอยู่เช่นกัน จึงกล่าวได้ว่า การศึกษาวิชาดาราศาสตร์สมัยใหม่ เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย ณ พระตำหนักทะเลชุบศรนี้ เส้นทางสู่แหล่ง : จากศาลากลางจังหวัดลพบุรี มุ่งหน้าไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อถึงวงเวียนพระนารายณ์ใช้ทางออกที่ ๑ ไปยังถนนหมายเลข ๑ จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ซอยชุบศร ๑ ประมาณ ๖๕๐ เมตร และเลี้ยวขวา พระที่นั่งจะอยู่ทางซ้ายลักษณะรูปแบบศิลปกรรม : สมัยอยุธยาตอนปลาย ลักษณะการใช้งานในปัจจุบัน : เปิดให้นักท่องเที่ยวและประชาชนเข้าชม การขึ้นทะเบียน : ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๓ ตอนที่ ๒๔ วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๔๗๙ ที่มาของข้อมูล : สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี
หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยหัวเรื่อง พุทธศาสนา—บทสวดมนต์ บทสวดมนต์ พระอภิธรรมประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 20 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 55 ซม. บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากพระครูวิมลสังวร วัดแค ต.รั้วใหญ่ อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.34/1ขห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 42 หน้า ; 4.5 x 54 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 20 (205-216) ผูก 3หัวเรื่อง : สตฺตปปกฺรณาธมฺม --เอกสารโบราณ ธัมมสังคิณี --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.59/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 60 หน้า ; 4.8 x 51.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้แกะสลักชื่อชุด : มัดที่ 38 (376-381) ผูก 3หัวเรื่อง : สุชวัณณจักกกุมาร --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
***บรรณานุกรม***
พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ
อนุสรณ์คุณหญิงประภาพรรณ วิจิตรวาทการ 26 ธันวาคม 2536วิจิตรวรรณคดี บทละครอมตะ พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ 25792483
2505
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา สัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยกับประเทศฝรั่งเศสเริ่มมีขึ้นและบรรลถถึงจุดสูงสุดในคริสตศตวรรษที่ 17 อันเป็นรัชสมัยพระนารายณ์มหาราชและพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส
กองบรรณาธิการ.ท่องเที่ยวเชิงเกษตรกับศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านผึ้งและแมลงเศรษฐกิจ.จันท์ยิ้ม.(2):6;ส.ค.-ก.ย.2560
ศูนย์ผึ้งจันทบุรี เป็นหน่วยงานหนึ่งของกรมส่งเสริมการเกษตรมีหน้าที่ให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องผึ้งและแมลงเศรษฐกิจ ผ่านโครงการฝึกอบรมที่จัดขึ้นเป็นระยะ ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขยายพันธุ์ผึ้ง การใช้ผึ้งช่วบผสมเกสร การเลี้ยงชันโรงเพื่อการเกษตร การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผึ้งและชันโรง หรือการเลี้ยงจิ้งหรีด ทั้งนี้ เพื่อให้เกษตรกรได้นำความรู้ไปใช้เพิ่มผลผลิตโดยไม่ต้องขยายพื้นที่การเกษตร ช่วยเสริมรายได้ให้แก่ครัวเรือน สถานที่แห่งนี้ นอกจากจะเป็นศูนย์กลางการเรียนร็ด้านผึ้งและแมลงเศรษฐกิจแล้ว ยังเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีความน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว
วิลเลียม เชกส์เปียร์. เวนิสวานิช เรื่องลครเริงรมย์. พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแปลจากภาษาอังกฤษและทรงประพนธ์เป็นกลอน. ม.ป.ท. : ม.ป.พ., 2459. เวนิสวานิช เรื่องลครเริงรมย์ นี้ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชนิพนธ์เป็นภาษาไทย โดยให้คงรูปเป็นละครเจรจาโต้ตอบกันตามแบบของเชกส์เปียร์เดิม และถ้อยคำผูกเป็นกลอนไทยเพื่อให้รูปคล้ายของเดิมมากที่สุด