ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,340 รายการ
วัดบ้านนาซาว หรือ วัดสระแก้วนาซาว ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ บ้านนาซาว ตำบลโนนรัง อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี วัดบ้านนาซาวตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๗ โดยคนที่อพยพมาจากอำเภอราศีไศลและอำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ชาวบ้านมาตั้งหมู่บ้านจึงได้สร้างวัดบ้านนาซาวเป็นวัดประจำหมู่บ้าน โดยมีโบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ กุฏิ จำนวนทั้งสิ้น ๒ หลัง
. กุฏิหลังที่ ๑ ตามประวัติระบุว่าสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๑ อิทธิพลภาคกลางผสมพื้นถิ่นอีสาน เป็นอาคาร ๑ ชั้น ก่ออิฐถือปูนบนฐานเอวขัน ในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด ๗ ห้อง วางตัวอาคารในแนวทิศตะวันออก-ทิศตะวันตก โครงสร้างอาคารใช้ผนังรับน้ำหนักหลังคาทรงจั่ว โดยต่อหลังคาปีกนกเฉพาะด้านทิศใต้ ใช้เสาก่ออิฐสี่เหลี่ยมรับน้ำหนักหลังคาปีกนก มุงกระเบื้องดินเผา ประดับช่อฟ้า (โหง่) ใบระกาและหางหงส์ หน้าบันเป็นปูนฉาบเรียบ ตกแต่งลายบัวฟันยักษ์ด้านล่าง ผนังแต่ละด้านมีหน้าต่าง ๓ ช่อง สลับกับการทำช่องแสงรูปกากบาท ยกเว้นผนังด้านทิศใต้เป็นประตูทางเข้ามี ๒ ประตู ภายในแบ่งเป็น ๒ ห้อง ด้วยผนังไม้ที่สร้างขึ้นภายหลัง ด้านทิศเหนือภายในกุฏิมีแท่นฐานยาวตลอดทั้งผนัง
. กุฏิหลังที่ ๒ ตามประวัติระบุว่าสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๓ อิทธิพลภาคกลางผสมพื้นถิ่นอีสาน เป็นอาคาร ๒ ชั้น ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ชั้นบนเป็นไม้ โดยเครื่องไม้ที่ใช้เป็นไม้ตะเคียนทั้งหมด อาคารอยู่ในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด ๓ ห้อง วางตัวอาคารในแนวทิศเหนือ-ทิศใต้ โครงสร้างอาคารใช้เสาไม้กลมและผนังรับน้ำหนักหลังคาทรงจั่ว ต่อหลังคาปีกนกสั้นๆ ด้านทิศตะวันออก-ทิศตะวันตก ในอดีตมุงกระเบื้องดินเผาปัจจุบันมุงด้วยสังกะสี ตกแต่งด้วยป้านลมแบบเรียบ หน้าบันตีไม้ในลักษณะช่องสี่เหลี่ยมเรียงตามแนวนอนซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป ผนังชั้นล่างด้านทิศตะวันออกก่ออิฐเป็นวงโค้ง จำนวน ๓ ช่อง เพื่อเป็นประตู เสากรอบประตูเป็นวงโค้งแต่งบัวหัวเสาและนาค บานประตูเป็นไม้แผ่นแกะสลักรูปดอกไม้บริเวณอกเลา ผนังชั้นบนตีไม้ตามแนวดิ่ง มีหน้าต่างในด้านทิศเหนือ-ทิศใต้ จำนวนด้านละ ๒ ช่อง มีหน้าต่างในด้านทิศตะวันออก ๓ ช่อง ยกเว้นด้านทิศตะวันตกไม่มีหน้าต่าง คันทวยเป็นไม้ค้ำยันจากฐานถึงโครงสร้างหลังคา บันไดทางขึ้นอยู่ด้านในอาคาร
. กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒ ตอนพิเศษ ๑๒๖ ง หน้า ๑๑ วันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๒ ไร่ ๑ งาน ๘ ตารางวา วัดบ้านนาซาวเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองโบราณสถานและมีสำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี ร่วมดูแลรักษา
--------------------------------------------
+++อ้างอิงจาก+++
. กองพุทธศาสนสถาน, กรมการศาสนา. ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๑๔. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา,
๒๕๓๘. หน้า ๑๑๙
. สำนักงานศิลปากรที่ ๑๑ อุบลราชธานี. รายงานการสำรวจขึ้นทะเบียนโบราณสถานวัดบ้านนาซาว ต.โนนรัง
อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี. เอกสารอัดสำเนา, ๒๕๔๔.
. สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี. โบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแล้วในพื้นที่สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี
(เล่ม ๑ : จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดยโสธร จังหวัดมุกดาหาร). อุบลราชธานี : ห้างหุ้นส่วนจำกัด อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์, ๒๕๖๓.
ข้อมูล : กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี
วิสันต์ บัณฑะวงศ์. ฮิตเลอร์จอมเผด็จการ. พระนคร: เสริมวิทย์บรรณาคาร, 2511.
ว่าด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับชีวประวัติบุคคลสำคัญของโลกคือ อด๊อลฟ ฮิตเล่อร์ นักการเมืองเยอรมันเชื้อชาติออสเตรีย หัวหน้าพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมันหรือที่รู้จักกันในชื่อ พรรคนาซี โดยนำเสนอในทุกแง่มุมทั้งด้านความอัจฉริยะ จิตวิทยา การทูต การเศรษฐกิจ รัฐประศาสโนบาย เล่ห์เหลี่ยม การเมือง และระบบเผด็จการ เป็นต้น
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ขอเชิญชมนิทรรศการพิเศษเนื่องในโอกาสวันพิพิธภัณฑ์ไทย พุทธศักราช ๒๕๖๕ เรื่อง “พระพุทธศาสนาในเมืองลำพูน” จัดแสดงระหว่างเดือนกันยายน ๒๕๖๕ - สิงหาคม ๒๕๖๖
นิทรรศการครั้งนี้นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธศาสนาในเมืองลำพูน ซึ่งเป็นเมืองสำคัญของภาคเหนือที่เป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญ ตั้งแต่สมัยหริภุญไชย สืบเนื่องมาในสมัยล้านนาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ผ่านโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุชิ้นเยี่ยม
ขอเชิญชวนผู้สนใจเรียนรู้ประวัติศาสตร์อารยธรรมเมืองลำพูน ชมการจัดแสดงนิทรรศการพิเศษ “พระพุทธศาสนาในเมืองลำพูน” ณ พิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน เปิดทุกวันพุธ - อาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. ปิดวันจันทร์ - อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๕๓๕๑ ๑๑๘๖ หรือติดตามข่าวสารกิจกรรมอื่นๆ ได้ทางเฟสบุ๊ก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ลำพูน
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : ปี้ในบ่อนเบี้ยหัวเมือง -- บ่อนเบี้ย คือสถานที่สำหรับเล่นการพนันชนิดหนึ่งที่เรียกว่าถั่วโป หรือกำถั่ว สันนิษฐานว่าเริ่มเกิดขึ้นในชุมชนที่มีชาวจีนอาศัยอยู่มาก เนื่องจากเป็นการพนันที่ชาวจีนในอดีตนิยมเล่นกัน และมีการเล่นกันมาอย่างน้อยตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว การเล่นถั่วโปนั้นสามารถเล่นได้เฉพาะผู้ที่ทางการอนุญาตแล้วเท่านั้น โดยแต่เดิมมีเฉพาะชาวจีนที่ได้รับอนุญาตให้เล่นถั่วโป ต่อมาจึงอนุญาตให้คนไทยเล่นได้ โดยผู้ที่ได้รับอนุญาตต้องเสียเงินเข้าท้องพระคลัง เรียกว่า “อากรบ่อนเบี้ย” ในสมัยรัชกาลที่ 2 รัฐมีรายได้จากอากรบ่อนเบี้ยมากขึ้น จึงมีการกำหนดพื้นที่ทั้งในกรุงเทพฯ และตามหัวเมืองต่างๆ ให้เป็นแขวงสำหรับทำอากร โดยมีนายอากรบ่อนเบี้ยเป็นผู้ได้รับอนุญาตจากทางการให้ผูกขาดการเก็บอากรบ่อนเบี้ยในแต่ละแขวงหรือหัวเมือง นายอากรบ่อนเบี้ยนี้จะได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่ขุนพัฒนสมบัติ หรือขุนอื่นๆ ที่ขึ้นต้นว่า “พัฒน-” ประชาชนโดยทั่วไปจึงเรียกนายอากรว่า“ขุนพัฒน์” นอกจากการเปิดบ่อนและรับผูกขาดอากรบ่อนเบี้ยแล้ว นายอากรบ่อนเบี้ยยังได้ผลิตปี้ไว้สำหรับใช้แทนคะแนนสำหรับเล่นเบี้ยในบ่อน ปี้ในโรงบ่อนมีทั้งที่ทำจากกระเบื้องและโลหะ ซึ่งปี้ของนายอากรแต่ละคนจะมีลวดลายแตกต่างกัน การใช้ปี้นั้น เมื่อแรกยังคงมีการใช้กันเฉพาะในโรงบ่อน แต่ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เกิดสภาวะเงินปลีกในท้องตลาดขาดแคลน ประชาชนจึงนำปี้ในโรงบ่อนมาใช้จ่ายซื้อขายสินค้าในชีวิตประจำวันแทนเงินปลีก ภายหลังเมื่อทางการสั่งผลิตเหรียญกษาปณ์ทองแดงมาจากต่างประเทศเพื่อแก้ปัญหาเงินปลีกขาดแคลนในปี พ.ศ. 2418 แล้ว ปัญหาเงินปลีกขาดแคลนจึงสงบลง แต่การใช้จ่ายปี้นอกโรงบ่อนยังคงมีอยู่ต่อมา จนกรมสรรพากรต้องออกประกาศข้อบังคับสำหรับนายอากรบ่อนเบี้ย ลงวันที่ 1 ตุลาคม ร.ศ. 110 (พ.ศ. 2434) โดยมีข้อหนึ่งระบุว่า ห้ามมิให้นายอากรบ่อนเบี้ยนำปี้มาให้นักพนันใช้ทั้งในและนอกบ่อน รวมถึงห้ามใช้ปี้ซื้อขายสินค้าต่างๆ ซึ่งแม้ว่าทางการจะมีการออกประกาศมาแล้วก็ตาม แต่ยังคงมีการใช้ปี้โรงบ่อนอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศอยู่ ดังตัวอย่างจากเอกสารจดหมายเหตุชุดกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เรื่อง บ่อนเบี้ยมณฑลฝ่ายเหนือ ความดังนี้ เมื่อเดือนตุลาคม ร.ศ. 111 (พ.ศ. 2435) ขุนศรีสมบัติ เจ้าพนักงานกระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้รายงานว่า ขุนพัฒน์เจ้าของบ่อนเบี้ยตามหัวเมืองต่างๆ ได้แก่เมืองชัยนาท เมืองสวรรคโลก เมืองตาก และเมืองกำแพงเพชรได้ใช้ปี้แทนเงินแพร่หลายออกไป ขุนศรีสมบัติได้รวบรวมปี้ตามหัวเมืองในชนิดราคาต่างๆ ได้จำนวน 27 อัน ซึ่งได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงษ์ รองเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และเนื่องจากเรื่องนี้เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงษ์ จึงทรงขอให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยทำการสอบสวนว่า ผู้ว่าราชการเมืองและกรมการเมืองปล่อยปะละเลยให้เกิดการกระทำผิดหรือไม่ ในเวลาต่อมา กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ได้มีลายพระหัตถ์ลงวันที่ 5 มกราคม ร.ศ. 111 (นับอย่างปฏิทินปัจจุบันคือ พ.ศ. 2436) กราบทูลกรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงษ์ ความว่า ได้ทรงไต่สวนแล้วพบว่า นายอากรบ่อนเบี้ยตามหัวเมืองนั้นใช้ปี้จริง แต่เป็นการใช้แทนเค้า (หมายถึงวัตถุที่ใช้แทนตัวเงิน – ผู้เขียน) ในบ่อน เนื่องจากการใช้เงินปลีกทองแดงแทนเค้านั้น เวลาเล่นเบี้ยนายอากรจะทำการเกี่ยวขอหัวเบี้ยไม่ค่อยสะดวก เพราะเงินปลีกเป็นเหรียญทองแดงที่มีลักษณะแบน การใช้ปี้จะเกี่ยวได้สะดวกกว่า ทั้งนี้เมื่อถึงเวลาเลิกเล่นเบี้ยแล้วก็ให้ผู้เล่นนำปี้มาแลกคืนเป็นเงินปลีกกลับไป ไม่ได้เป็นการตั้งใจใช้ปี้ในการใช้สอยแทนเงินปลีกตามท้องตลาดทั่วไปโดยตรง พระองค์จึงทรงมีพระดำริว่าไม่ควรจะให้เป็นความผิดหนักหนานัก และได้รับสั่งให้เก็บปี้เข้าถุงประทับตรารวมไว้ให้หมด แล้วนำเงินเฟื้องเงินสลึงติดขี้ผึ้งมาใช้แทนปี้ ส่วนตัวผู้ว่าราชการเมืองที่ปล่อยให้นายอากรใช้ปี้นั้น นับว่ามีความผิด โดยทางกระทรวงมหาดไทยจะตัดสินโทษเทียบตามที่กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงษ์ตัดสินโทษของนายอากรต่อไป ซึ่งต่อมากรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงษ์ทรงมีพระดำริว่า กรณีนายอากรบ่อนเบี้ยควรกำหนดภาคทัณฑ์ไว้ครั้งหนึ่งก่อน ต่อไปอย่าคิดใช้ปี้อีก ส่วนผู้ว่าราชการเมืองก็ควรภาคทัณฑ์โทษไว้ให้เอาใจใส่ตรวจตราการกระทำผิดกฎหมายมากกว่านี้เช่นกัน ส่วนเรื่องความลำบากของนายอากรในการเกี่ยวขอหัวเบี้ยนั้น ทางกระทรวงพระคลังมหาสมบัติจะจัดปี้หลวงจำหน่ายให้นายอากรนำไปใช้เป็นเค้าในปี ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) ต่อไปผู้เขียน : นายธัชพงศ์ พัตรสงวน (นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง:1. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ร.5 ค 14.1 ค/2 เรื่อง บ่อนเบี้ยมณฑลฝ่ายเหนือ. [6 พ.ย. – 25 ม.ค. 111].2. “ข้อบังคับสำหรับนายอากรบ่อนเบี้ย.” (ร.ศ. 110). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 8, ตอนที่ 40 (3 มกราคม): 364-368.3. เฉลิม ยงบุญเกิด. (2514). ปี้โรงบ่อน. พระนคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิวพร. (พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายสันต์ รัศมิทัต 1 พฤศจิกายน 2514).4. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (2463). ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 17 ตำนานเรื่องเลิกหวยแลบ่อนเบี้ยในกรุงสยาม. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร. (พิมพ์ในงานศพนางยิ้ม มารดาคุณหญิงอินทรมนตรี ปีวอก พ.ศ. 2463). 5. นวรัตน์ เลขะกุล. (2543). เบี้ย บาท กษาปณ์ แบงก์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สารคดี.6. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน. (2563). ปี้ เบี้ยบ่อน. เข้าถึงเมื่อ 18 กรกฎาคม 2565. เข้าถึงได้จาก https://www.facebook.com/.../pfbid02csKoR9hMnZAbR5j2qUCMW...#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่น จังหวัดตราด. เมืองตราดเพชรแห่งบูรพา. ม.ป.ท.: หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่น จังหวัดตราด, 2541. ๗4 หน้า ภาพประกอบเป็นเรื่องราวของมรดกศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดตราด ที่โรงเรียนสตรีประเสริฐศิลป์ ตระหนักในคุณค่าของการ อนุรักษ์ จึงจัดรวบรวมสาระความรู้ซึ่งประกอบด้วย แหล่งศิลปกรรม บุคคลสำคัญ เหตุการณ์สำคัญ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ประเพณีท้องถิ่น อาหารประจำถิ่น พืชสัตว์ประจำถิ่น สถานที่ท่องเที่ยว เป็นต้นท915.9326ห141ม(ห้องจันทบุรี)
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 62/5ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 80 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อผู้แต่ง -
ชื่อเรื่อง ที่ระลึกพระราชพิธีเปิดพระอนุสาวรีย์พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์พระจันทร์
ปีที่พิมพ์ 2522
จำนวนหน้า 44 หน้า
หมายเหตุ พิมพ์เป็นที่ระลึกพระราชพิธีเปิดพระอนุสาวรีย์ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ณ หาดอรุโณทัย ตำบล ปากตะโก อ.ทุ่งตะโก จ.ชุมพร
รายละเอียด
เนื้อหาสาระประกอบด้วยประวัติการก่อสร้างศาลกรมหลวงชุมพรประประวัติพลเรือเอกพระ
เจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์และพระราชกรณียกิจ
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 152/5 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
โครงการศึกษาเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมเขาสามบาตร ในด้านต่าง ๆ เช่น ความเป็นมาและประวัติศาสตร์พัฒนาการ ขอบเขต คุณลักษณะเด่น สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ สภาพปัจจุบัน ปัญหา และกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
ชื่อผู้แต่ง -
ชื่อเรื่อง รวมประวัติศาสตร์สามพระรัตนธัชมุนี
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์การศาสนา
ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๓
จำนวนหน้า ๙๑ หน้า
หมายเหตุ อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระรัตนธัชมุนี ศรีธรรมราช (แบน คณฺฐาภรณเถร เปรียญ ) วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช ๑๔ กันยายน ๒๕๒๓
หนังสือรวมประวัติศาสตร์สามพระรัตนธัชมุนี เล่มนี้ ได้รวมประวัติพระรัตนธัชมุนี ผู้มีความรู้ ความสามารถ และมีจริยาวัตรอันงดงาม เสียสละและบำเพ็ญประโยชน์ ๓ รูป คือ พระรัตนธัชมุนี ( ม่วง รตนธชเถร เปรียญ ) พระรัตนธัชมุนี ( จู อิสฺสรญาณเถร เปรียญ ) พระรัตนธัชมุนี ( แบน คณฺฐาภรณเถร เปรียญ )