ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,575 รายการ

‘เรือโบราณพนมสุรินทร์’ ร่องรอยประวัติศาสตร์การค้าทางทะเล อุษาคเนย์-อาหรับ . ซากเรือโบราณพนมสุรินทร์ถูกค้นพบบริเวณนากุ้ง ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ในช่วงเดือนกันยายน ปี 2556 หลังจากสองสามีภรรยาเจ้าของที่ดินเดิมได้ขุดเจอโครงสร้างไม้ประหลาดเข้าโดยบังเอิญ จึงเรียกชาวบ้านละแวกนั้นให้มาช่วยกันนำไม้ขึ้นมา ก่อนจะกลายเป็นข่าวใหญ่ระดับประเทศ เมื่อนักโบราณคดียืนยันว่าเป็นชิ้นส่วนของเรือโบราณอายุนับพันปี . ณภัทร ภิรมย์รักษ์ ผู้ช่วยนักโบราณคดี ประจำกองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร เผยว่า สำนักศิลปากรที่ 1 ร่วมกับกองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร ได้เริ่มสำรวจ-ขุดค้นพื้นที่ที่พบซากเรือโบราณมาตั้งแต่ปี 2556 จวบจนปัจจุบัน รวมระยะเวลากว่า 8 ปีแล้ว จากการดำเนินงานพบว่าเรือลำนี้ใช้เทคนิคการต่อเรือแบบอาหรับ ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในแถบทะเลอาหรับ เทคนิคนี้เริ่มด้วยการขึ้นโครงสร้างเปลือกเรือก่อน โดยมีเอกลักษณ์ที่การนำแผนไม้กระดานมาประกบกันแล้วจึงเจาะรูและเย็บติดกันด้วยเชือกในลักษณะกากบาท ส่วนรอยต่อเรือมีการตอกหมันและชันยาเรือ ซากเรือแบบนี้เคยพบแค่แห่งเดียวในประเทศเพื่อนบ้าน คือบริเวณเกาะเบลิตุง ประเทศอินโดนีเซีย . จากการค้นพบสิ่งของบนเรือและส่งตัวอย่างทางวิทยาศาสตร์ไปประเมินพบว่า เรือลำนี้มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-14 หรือประมาณ พ.ศ. 1300-1400 ร่วมสมัยกับยุคทวารวดี โดยโบราณวัตถุที่พบเจอในซากเรือนั้นมาจากหลายพื้นที่ เช่น ภาชนะดินเผาแบบตอร์ปิโด พบมากแถบตะวันออกกลาง ภาชนะดินเผาแบบเปอร์เซีย ภาชนะดินเผาพื้นเมืองแบบทวารวดี และเครื่องถ้วยจากจีน คาดการณ์ว่าเรือลำนี้อาจเป็นเรือเดินสมุทรที่ติดต่อค้าขายกันระหว่างดินแดนแถบคาบสมุทรอาระเบีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงจีน แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางการค้าของดินแดนในแถบนี้กับภูมิภาคตะวันออกกลางและจีน . นอกจากภาชนะดินเผา สิ่งสำคัญที่พบเจอคือหมาก ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยุคนั้น คาดว่าเรือลำนี้กำลังเดินทางออกจากดินแดนอุษาคเนย์ โดยนำเอาภาชนะถ้วยชามรามไห พืชพรรณธัญญาหาร และข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ในดินแดนแถบนี้กลับไปด้วย . สาเหตุที่ตั้งชื่อเรือว่า ‘เรือพนมสุรินทร์’ มาจาก นางพนมและนายสุรินทร์ ศรีงามดี สองสามีภรรยาเจ้าของที่ดินผู้ขุดค้นเจอและบริจาคที่ดินให้กรมศิลปากรเพื่อการศึกษาวิจัย จึงตั้งชื่อให้เป็นเกียรติแก่พวกเขา . แหล่งข้อมูล: กองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร . เรื่องและภาพ: วิศรุต วีระโสภณ


กำเนิดคริสตจักรโปรเตสแตนต์ในประเทศไทย           คริสตจักรโปรเตสแตนต์ในประเทศไทย มีประวัติศาสตร์ย้อนไปตั้งแต่ในปี พ.ศ.๒๓๗๑ เมื่อศาสนาจารย์จาคอบ ทอมลิน จากสมาคมมิชชันนารีลอนดอน และศาสนาจารย์นายแพทย์คาร์ล กุตสลาฟ จากสมาคมมิชชันนารีฮอลันดา เข้ามาเผยแผ่คริสตศาสนานิกายโปรเตสแตนต์เป็นครั้งแรกในประเทศสยาม ต่อมาจึงมีคณะมิชชันนารีเดินทางเข้ามาเผยแผ่คริสตศาสนาอีกหลายคณะ รวมทั้งมิชชันนารีคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียนด้วยมิชชันนารีคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียน           ในปี พ.ศ.๒๓๘๐ มิชชันนารีคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียนเข้ามาในประเทศไทยเป็นครั้งแรก และเมื่อถึงพ.ศ.๒๓๙๒ ศาสนาจารย์สตีเฟน แมตตูน แหม่มแมตตูน(ภรรยา) ศาสนาจารย์นายแพทย์แซมมูเอล เรโนลด์ เฮาส์ ศาสนาจารย์สตีเฟน บุช และภรรยา ได้ดำเนินการประชุมเพื่อสถาปนาคริสตจักรอเมริกันเพรสไบทีเรียนในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ตั้งที่ทำการของมิชชันอยู่ที่บริเวณชุมชนกุฎีจีน กรุงเทพมหานคร และต่อมาย้ายไปยังย่าน สำเหร่ทั้งหมดในพ.ศ.๒๔๐๐           สำเหร่จึงกลายมาเป็นศูนย์กลางการทำงานของคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียน เป็นที่ตั้งของโบสถ์คริสตจักรที่ ๑ มีบ้านพักมิชชันนารี โรงเรียน โรงพิมพ์ ครบครัน มิชชันนารีที่เพิ่งเดินทางมาใหม่สามารถเข้ามาอาศัยเพื่อเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมไทย ก่อนที่จะเดินทางออกไปเผยแผ่ศาสนาและจัดตั้งศูนย์มิชชันนารีในเมืองต่างๆ สำหรับในภาคใต้ได้มีการจัดตั้งศูนย์มิชชันนารีที่นครศรีธรรมราชเมื่อพ.ศ.๒๔๔๓ และจัดตั้งศูนย์มิชชันนารีที่ตรังในพ.ศ.๒๔๕๓แรกเริ่มศาสนาคริสต์ในตรัง           ราว ๒๔๔๘(ค.ศ.๑๙๐๕) ศาสนาจารย์จอห์น แคริงตัน(Rev.John Carrington) แห่งสมาคมพระคริสตธรรมอเมริกันเดินทางมาเผยแพร่คริสต์ศาสนาที่จังหวัดตรัง ในครั้งนั้นท่านได้มอบหนังสือเล่มหนึ่งแก่หลวงเพชรสงคราม (นายบุญนารถ ไชยสอน) ซึ่งทำให้หลวงเพชรสงครามหันมานับถือคริสต์ศาสนาในเวลาต่อมา แต่เนื่องจากเมืองตรังในขณะนั้นไม่มีหมอสอนศาสนาประจำอยู่ จึงทำให้ยังไม่มีโอกาสเข้าพิธีรับบัพติศมา(พิธีรับศีลล้างบาป) จนกระทั่งศาสนาจารย์ ดร.ยูจีน เพรสลี ดันแลป (Rev.Dr. Eugene Pressly Dunlap) เดินทางมายังจังหวัดตรังจึงได้เข้ารับบัพติศมา และถือว่าหลวงเพชรสงครามเป็นคริสเตียนคนแรกของจังหวัดตรังกำเนิดคริสตจักรตรัง           คริสตจักรตรัง เป็นส่วนหนึ่งของคณะเพรสไบทีเรียนสยาม(คริสตศาสนานิกายโปรแตสแตนท์) ปัจจุบันสังกัดคริสตจักรภาคที่ ๑๗ คริสตจักรตรังกำเนิดขึ้นในพ.ศ.๒๔๔๘(ค.ศ.๑๙๐๕) เมื่อพระยารัษฎานุปะดิษฐ์(คอซิมบี้ ณ ระนอง) มอบเงิน ๓,๐๐๐ ดอลลาร์ ให้ศาสนาจารย์ ดร.ยูจีน เพรสลี ดันแลป (Rev.Dr. Eugene Pressly Dunlap) เพื่อดำเนินการสร้างโรงพยาบาลทับเที่ยงขึ้นที่จังหวัดตรัง และอนุญาตให้ดำเนินการเผยแผ่คริสตศาสนาได้โดยเสรี แต่ก็ยังไม่นับเป็นวันเริ่มต้นของคริสตจักรตรังอย่างเป็นทางการสถานีประกาศทับเที่ยง           วันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๔๕๓ (ค.ศ.๑๙๑๐) ศาสนาจารย์ ดร.ยูจีน เพรสลี ดันแลป ได้เลือกที่ดินในบริเวณตลาดทับเที่ยงเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลทับเที่ยงและเป็นที่ตั้งของสถานีมิชชั่น(Station)หรือสถานีประกาศ ซึ่งหมายถึงฐานหรือสถานีปฏิบัติงานของคณะ จึงนับเป็นวันเริ่มต้นของคริสตจักรตรังอย่างเป็นทางการ โดยผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการดำเนินงานในระยะเริ่มแรกนี้ได้แก่ ศาสนาจารย์ ดร.ยูจีน เพรสลี ดันแลป (Rev.Dr. Eugene Pressly Dunlap) นางอีเมไลน์ วิลสัน คริสส์(Mrs.Emaline Wilson Criss) ภรรยาของท่าน นายแพทย์ลูเชียส คอนสแตนท์ บัลค์ลีย์ (Dr.Lucius Constant Bulkley) นางเอ็ดน่า บูรเนอร์ บัลค์ลีย์ (Mrs.Ednah Bruner Bulkley) ครูตุ้น(ชาวจีน) และนายจวง จันทรดึกผู้ช่วยด้านการแพทย์ชาวไทย ทั้งนี้ได้เริ่มให้มีการถือศีลระลึกถึงความมรณาของพระเยซู และมีการให้บัพติศมา ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๕ (ค.ศ.๑๙๑๒)โรงสวดทับเที่ยง           ต่อมาในพ.ศ.๒๔๕๖ (ค.ศ.๑๙๑๓) คริสตจักรตรังได้รับอนุญาตให้ซื้อที่สำหรับสร้างสุสานและโบสถ์ ทั้งนี้ในวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๔๕๖ มีสมาชิกคริสตจักรตรัง ๗๐ คน มาช่วยกันปรับที่ดิน และสร้างโบสถ์ทำด้วยไม้ไผ่ หลังคามุงจาก บนดินที่ได้ช่วยกันปรับพูนขึ้น รวมทั้งสร้างม้านั่ง และประดับประดาจนเสร็จสิ้นภายใน ๑ วัน เรียกกันว่า “โรงสวดทับเที่ยง” ใช้เป็นสถานที่นมัสการแทนสถานที่เดิมคือห้องประชุมของโรงพยาบาลทับเที่ยงวิหารทับเที่ยง           ต่อมาใน พ.ศ.๒๔๕๘ (ค.ศ.๑๙๑๕) ได้สร้างโบสถ์หลังใหม่ก่อด้วยอิฐฉาบปูนเรียกชื่อว่า “วิหารทับเที่ยง” ซึ่งยังคงปรากฏมาถึงปัจจุบัน โดยในวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๘ ได้มีการประกอบพิธีถวายอาคารหลังนี้ และทำการการฉลองเป็นเวลา ๓ วันในระหว่างวันที่ ๒๘-๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๕๘ วิหารแห่งนี้สามารถรองรับผู้คนซึ่งเดินทางมานมัสการได้ราว ๒๐๐ คนลักษณะทางสถาปัตยกรรม           “วิหารทับเที่ยง” มีลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียว ก่ออิฐถือปูน ขนาดกว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๑๙ เมตร มีหน้าต่างด้านละ ๗ บาน ประตูด้านหน้า ๑ ประตู ด้านหลัง ๒ ประตู หน้าต่างและประตู มีกรอบวงกบรูปวงโค้ง มีคิ้วปูนอยู่เหนือกรอบวงกบ ภายในแบ่งเป็นห้องโถงเล็กด้านหน้าประตู และห้องโถงใหญ่ภายใน โดยที่ผนังเหนือซุ้มหน้าห้องโถงเล็กมีอักษรจารึกว่า “วิหารคริศศาสนาสร้างค.ศ.๑๙๑๕” ส่วนหลังคามุงด้วยกระเบื้องซีเมนต์แบบเก่า ด้านข้างของอาคารมีหอระฆัง โดยส่วนหลังคาของหอระฆังเมื่อแรกสร้างนั้นมีลักษณะเป็นดาดฟ้า รูปทรงคล้ายป้อมทหารโบราณ โดยในเวลาต่อมาได้ทำการต่อเติมหอระฆังและย้ายระฆังจากชั้นที่ ๒ ไปไว้ชั้นที่ ๓ รวมทั้งเปลี่ยนรูปทรงหลังคาของหอระฆังด้วยการบูรณะ พ.ศ.๒๕๒๘ (ค.ศ.๑๙๘๕)           ดำเนินการระหว่างเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม การบูรณะในครั้งนี้ได้เปลี่ยนวัสดุมุงหลังคาจากกระเบื้องซีเมนต์แบบเก่า มาเป็นกระเบื้องใยสังเคราะห์ ปรับปรุงเพดานด้วยการบุกระเบื้องยิปซัม เปลี่ยนพื้นจากพื้นปูนหยาบเป็นปูพื้นด้วยกระเบื้องเซรามิกส์สีขาวครีม ทาสีผนังทั้งภายนอกและภายใน และทำเวทีใหม่ให้ลดความสูงลง การบูรณะ พ.ศ.๒๕๕๐(ค.ศ.๒๐๐๗) พ.ศ.๒๕๕๐ คณะกรรมการบริหารคริสตจักรตรังเห็นสมควรให้มีการบูรณะวิหารทับเที่ยงที่ชำรุดทรุดโทรมลง จึงมีคำสั่งลงวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๐ แต่งตั้งนายเทิดศักดิ์ ตรีรัตนพันธ์ เป็นผู้ควบคุมดูแลการบูรณะ ให้นายสนิท พานิช เป็นวิศวกรที่ปรึกษา โดยใช้งบประมาณจากการถวายของสมาชิกคริสตจักรตรังในการดำเนินการ การบูรณะในครั้งนี้ได้เปลี่ยนกลับมาใช้กระเบื้องว่าวตามแบบโบราณ ซ่อมแซมผนังส่วนที่แตกร้าวโดยใช้กรรมวิธีแบบโบราณ เสริมกระจกใสบริเวณหน้าต่าง ออกแบบตู้ไม้สำหรับติดตั้งเครื่องปรับอากาศ เปลี่ยนวัสดุปูพื้นจากเซรามิกส์เป็นแผ่นหินอ่อนจากสระบุรี ปรับปรุงระบบไฟฟ้าทั้งหมด ทั้งนี้การบูรณะได้ดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๑รางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่น          พ.ศ.๒๕๕๒ วิหารคริสตจักรตรัง ได้รับการคัดเลือกจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้ได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ประเภทปูชนียสถานและวัดวาอารามโบราณสถานวิหารคริสตจักรตรัง           พ.ศ.๒๕๔๕ กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนวิหารคริสตจักรตรัง เป็นโบราณสถานของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙ ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๕------------------------------------------------------ เรียบเรียงโดย นายสารัท ชลอสันติสกุล นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา



ชื่อเรื่อง                                มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาดก)ชาตกฎฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (ทสพร-มหาราช) สพ.บ.                                  263/4ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           44 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา--การศึกษาและการสอน                                           ชาดก บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องรัก  ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


พฺรยาสุนนฺทราช (พฺรยาสุนนฺทราช)  ชบ.บ.67/1-1ค  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง                                มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (หิมพานต์-นครกัณฑ์) สพ.บ.                                  415/9ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           34 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 56.5 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           เทศน์มหาชาติ                                           ชาดก บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ-ลานดิบ-ล่องชาด  ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.287/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 62 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 121  (258-265) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : มาลัยแสน(มไลแสน)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อเรื่อง                     ตำนานท้องถิ่นสุพรรณผู้แต่ง                       ศิวกานท์ ปทุมสูติผู้แต่งเพิ่ม                  สุนันทา สุนทรประเสริฐ และอรอนงค์ โชคสกุลประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือท้องถิ่นหมวดหมู่                   ประวัติศาสตร์ไทยเลขหมู่                      959.375 ศ541ตสถานที่พิมพ์               สุพรรณบุรี  สำนักพิมพ์                 สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรีปีที่พิมพ์                    2534ลักษณะวัสดุ               157 หน้า         หัวเรื่อง                     สุพรรณบุรี—นิทานพื้นบ้าน                              อำเภอ--สุพรรณบุรี--ประวัติ  ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                           ตำนานท้องถิ่นสุพรรณบุรี มีเนื้อหาเกี่ยวกับตำนาน เรื่องเล่าสืบทอดความเป็นมาของชื่อหมู่บ้าน สถานที่ต่างๆ ทั่วทุกอำเภอ ในจังหวัดสุพรรณบุรี หนังสือเล่มนี้มุ่งเน้นให้มีนิสัยรักการอ่าน เกิดความเพลินเพลินและได้ความรู้



ชื่อผู้แต่ง        สำนักโมกขพลาราม ชื่อเรื่อง         ปัจเวกขณปาฐะ (แปล) และธัมมจักกัปปวัตตนสุตตปาฐะ(แปล) ครั้งที่พิมพ์     พิมพ์ครั้งที่ 7   สถานที่พิมพ์   พระนคร สำนักพิมพ์     หจก.การพิมพ์พระนคร ปีที่พิมพ์        2511 จำนวนหน้า    23 หน้า   รายละเอียด              หนังสือที่ระลึกสำหรับแจกภิกษุและสามเณรที่เยือนสวนโมกขพลาราม ในเทศกาลวันเข้าพรรษาเนื้อหาเป็นเรื่องปัจเวกขุณปาฐะและธัมมจักกัปปวัตตนสุตตปาฐะแปลวรรคต่อวรรค



ชื่อผู้แต่ง          ศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรม ชื่อเรื่อง           ก่อนไปวัด : ระเบียบปฏิบัติเบื้องต้นของชาวพุทธ ครั้งที่พิมพ์        -  สถานที่พิมพ์      ปทุมธานี สำนักพิมพ์        ศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรม ปีที่พิมพ์          ม.ป.ป. จำนวนหน้า      ๗๖  หน้า              วัดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของชาวพุทธทุกคน ฉะนั้นเมื่ออยู่ในวัดจึงต้องเคารพสถานที่โดยการ สำรวมกาย วาจาและใจตลอดเวลา ศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรมจัดพิมพ์หนังสือ ก่อนไปวัด : ระเบียบปฏิบัติ เบื้องต้นของชาวพุทธขึ้น เพื่อเป็นคู่มือการปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง


ความเป็นมาของการสร้างอนุสาวรีย์พระประทุมวรราชสุริยวงษ์ (เจ้าคำผง) ความคิดเรื่องการสร้างอนุสาวรีย์ผู้ตั้งเมืองอุบลราชธานี เริ่มมาตั้งแต่สมัยนายเลียง ไชยกาล เป็นรัฐมนตรีช่วยกระทรวงมหาดไทย สมัยนี้ได้มีการโฆษณาเปิดรับบริจาคเงินจากประชาชน และรวบรวมเงินได้เจ็ดหมื่นกว่าบาท เพื่อใช้เป็นทุนในการก่อสร้างอนุสาวรีย์เจ้าพระวอเจ้าพระตาขึ้นทีเมืองอุบลราชธานี นายเลียง ไชยกาล จึงนำเรื่องเข้าสู่สภาจังหวัดเพื่อพิจารณาได้มีการถกเถียงโต้แย้งกันอย่างรุนแรง จากสมาชิกสภาผู้รู้ประวัติศาสตร์ จากผู้อาวุโสรุ่นเก่าชาวเมืองอุบลราชธานี และจากทางฝ่ายสงฆ์ มีการถกเถียงโต้แย้งว่าเจ้าพระตาเจ้าพระวอ (วรราชภักดี) ไม่ใช่ผู้มาสร้างเมืองอุบลราชธานี แต่ผู้สร้างเมืองที่แท้จริงนั้นคือ “เจ้าคำผง” ผู้เป็นโอรสของเจ้าพระตาจึงทำให้โครงการดำริสร้างอนุสาวรีย์เจ้าพระตาเจ้าพระวอ ในสมัยนั้นต้องระงับไป แต่เนื่องจากเงินที่ได้รับบริจาคไว้นั้นนับว่าเป็นเงินก้อนใหญ่ นายเลียง ไชยกาล จึงได้นำเงินไปมอบให้ทางโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ โรงพยาบาลประจำจังหวัดอุบลราชธานี สร้างตึกคนไข้ขึ้น ชื่อว่า “ตึกพระวอพระตา” มาจนกระทั่งบัดนี้ อนุสาวรีย์ผู้สร้างเมืองอุบลราชธานี ดำเนินการต่อไปใน พ.ศ.2524 เริ่มคิดสร้างอนุสาวรีย์ครั้งใหม่ สมัยนั้นผู้นำทางฝ่ายสงฆ์ที่เอาใจใส่ในเรื่องอนุสาวรีย์ คือท่านเจ้าพระคุณพระโพธิญาณมุนี (สุทธี ภัทริโย) เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี วัดเลียบ มีผู้นำทางฝ่ายฆราวาสคือ นายหมุน โสมฐิติ นายเคลือบ รอนยุทธ นายเชย จันสุตะ นายบำเพ็ญ ณ อุบล ได้เริ่มประชุมปรึกษาหารือกันดำริจะพากันสร้างอนุสาวรีย์ “เจ้าคำผง” ผู้สร้างเมืองอุบลราชธานีขึ้นให้ได้ จึงตกลงประกาศในวงการคณะธรรมสวนะสามัคคี ขอความร่วมมือช่วยกันบริจาคโลหะเงิน ทองเหลือง ทองแดง นาก เพื่อรวบรวมหล่อรูปเจ้าคำผงตั้งขึ้นเป็นอนุสาวรีย์ เกิดศรัทธาทั่วไปต่างก็บริจาคโลหะเป็นจำนวนมาก ในจำนวนโลหะนี้มีเงินมากมายจึงคัดเอาเฉพาะเงินหล่อพระพุทธรูปเงินขึ้นองค์หนึ่ง ตกลงก็ได้ทำพิธีหล่อพระพุทธรูปเงินและพิธีพุทธาภิเษกขึ้นที่วัดศรีอุบลรัตนาราม ถวายพระนามว่า “พระพุทธเจ้าจอมเมือง” ต่อมาจึงได้มอบพระพุทธเจ้าจอมเมืองให้แก่ทางจังหวัด ในปีพ.ศ.2526 คณะธรรมสวนะสามัคคีมอบให้นายเชย จันสุตะ นายบำเพ็ญ ณ อุบล นายณรงค์จำปีศรี จัดทำโครงการยื่นขออนุมัติต่อจังหวัด นายบุญช่วย ศรีสารคาม เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ได้มอบให้นายประจวบ ศรีธัญญรัตน์ นายกเทศมนตรีเมืองอุบลราชธานีในขณะนั้นนำเรื่องไปติดต่อประสานงานกับกระทรวงมหาดไทย ได้ความว่าอนุสาวรีย์พระประทุมวรราชสุริยวงษ์ให้รอไว้ก่อน คณะธรรมสวนะจึงเกิดความคิดจะทำรูปปั้นอนุสาวรีย์ขึ้นเอง โดยความร่วมมือเจ้าของโรงหล่อนิรันดร์อุบล ยินดีจะหล่อรูปปั้นให้ฟรี นายมนัส สุขสาย ก็รับอาสาปั้นหุ่นขี้ผึ้งให้ ให้ขนาดใหญ่เท่าคนธรรมดา แต่เมื่อเกิดปัญหาว่าการสร้างอนุสาวรีย์ต้องเกิดจากการเห็นชอบของทุกฝ่ายทั่วทั้งจังหวัด เพราะจำเป็นต้องจัดตั้งไว้เป็นสง่าในที่เปิดเผย รวมทั้งโครงการอนุมัติจะต้องถูกต้องตามระเบียบการก่อสร้างอนุสาวรีย์แห่งชาติ จึงจำเป็นต้องพักเรื่องอนุสาวรีย์ไว้อีกครั้ง ต่อมาในปีพ.ศ.2528 คณะธรรมสวนะไม่สิ้นความพยายาม จึงมอบหมายหน้าที่ให้นายมนัส สุขสาย กับนายเรียมชัย โมราชาติ เป็นผู้นำโครงการไปติดต่อกรมศิลปากร โดยนำหนังสือจดหมายส่วนตัวจากนายวสันต์ ธุลีจันทร์ ศึกษาธิการจังหวัดไปถึงผู้อำนวยการกองหัตถศิลป์ ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี และได้รับคำแนะนำว่า “หุ่นขี้ผึ้งต้องหารูปใบหน้าของบุคคลเก่าแก่ของตระกูลเจ้าคำผง เป็นแบบอย่างเทียบเคียง ทั้งเครื่องแต่งกาย อาวุธประจำกายของแม่ทัพโบราณทางอีสานด้วย ต้องมีแบบแปลนและหุ่นจำลองจริงๆประกอบโครงการ” โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องยื่นผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดและได้รับอนุมัติจากจังหวัดแล้ว จึงจะไปถึงกรมศิลปากรเพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป ในปลายปีพ.ศ.2527 เรือตรีดนัย เกตุศิริ ย้ายมาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี คณะธรรมสวนะจึงได้มอบโครงการจัดตั้งอนุสาวรีย์ให้จังหวัดดำเนินการรับเป็นเจ้าของโครงการ เพราะเหตุผลที่ว่า “การสร้างอนุสาวรีย์ระดับเจ้าผู้ครองเมืองจะใช้เพียงความคิดเห็นของคนเพียงกลุ่มธรรมสวนะสามัคคีกลุ่มเดียวคงไม่ได้ เรื่องนี้สมควรเป็นงานระดับจังหวัดโดยความร่วมมือจากทุกสถาบันจากชาวอุบลราชธานีทั่วทั้งจังหวัด ทุกอำเภอ ทุกตำบล หมู่บ้านจึงจะสัมฤทธิ์ผลได้” จึงมีการทำหนังสือโอนมอบโครงการให้ทางจังหวัดตามหนังสือลงวันที่ 25 มิถุนายน 2529 โดยมีนายเชย จันสุตะ เป็นประธานผู้ลงนาม ประมาณเดือนสิงหาคม พ.ศ.2532 ก็มีข่าวออกมาทางวิทยุและทางหนังสือแจ้งว่ากรมศิลปากรจะให้นำรูปที่หล่อแล้วนั้นมาส่งทางจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อทำพิธีบวงสรวงและพุทธาภิเษก ที่วัดสุปัฏนารามวรวิหาร ในเช้าวันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม 2532 เมืองอุบลราชธานีจึงมีอนุสาวรีย์สมดังปรารถนา การไปรับพระรูปในครั้งนี้จากคำกล่าวของคุณพ่อบำเพ็ญ ณ อุบล ผู้เป็นลูกเป็นหลาน เครือญาติเจ้านายเมืองอุบลราชธานีแสดงถึงความภาคภูมิใจในเชื้อสายบรรพบุรุษ “ข้าพเจ้านายบำเพ็ญ ณ อุบล พร้อมท่านอาจารย์มหาเชย จันสุตะ และคุณสุวิช คูณผล เป็นผู้ได้รับมอบหน้าที่ให้ไปรับเอาพระรูปทั้งสามองค์ โดยไปค้างแรมที่โรงแรมจำชื่อไม่ได้อยู่ที่ซอยหน้าวัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ รุ่งเช้าวันที่ 28 สิงหาคม 2532 จึงได้ไปที่โรงหล่อของกรมศิลปกร ที่อยู่นอกกรุงเทพฯ ใกล้กับพุทธมณฑล ข้าพเจ้าเห็นรูปของยาพ่อเฒ่า เจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงษ์ (คำผง) ตั้งยืนสง่าอยู่ข้าพเจ้าไปใกล้พระรูปแล้วกราบลง 3 ครั้ง จึงกล่าวว่า “ยาพ่อเฒ่าเอยการที่หลานคิดสร้างพระรูปได้สำเร็จลงแล้ว กว่า 200 ปีแล้วจึงได้มีพระรูปของญาพ่อเฒ่ากลับไปบ้านเมือง ของเราปกปักษ์รักษาลูกหลานบ้านเมืองญาพ่อเฒ่าสืบไป แล้วเอาพวงมาลัยคล้องพระกรแล้วก้มกราบลง ขณะนั้นข้าพเจ้าดีใจว่าความคิดสำเร็จแล้ว ได้รูปญาพ่อเฒ่าขึ้นมาเป็นรูปร่างอย่างสง่างาม ดีใจและปลื้มใจเป็นอย่างที่สุดที่จะกล่าวออกมาได้แต่นั่งสะอึกสะอื้นน้ำตาไหลซึมและก้มลงกราบหมอบร้องไห้อยู่คนเดียวตั้งนานแม้ทุกวันนี้ นึกถึงตอนนั้นก็ยังอดที่จะร้องไห้ไม่ได้” (นายบำเพ็ญ ณ อุบล,2551 : สัมภาษณ์) ในที่สุดปี พ.ศ.2532 จังหวัดอุบลราชธานีก็ได้มีอนุสาวรีย์พระประทุมวรราชสุริยวงษ์ หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “เจ้าคำผง” ช่วงวันที่ 9-10 พฤศจิกายน ของทุกๆปี จะมี “พิธีบวงสรวงและสดุดีวีรกรรมพระประทุมวรราชสุริยวงษ์ (เจ้าคำผง)” หน่วยงานต่างๆ ในจังหวัดอุบลราชธานี ทั้งภาครัฐและเอกชนจะร่วมมือร่วมใจกันจัดงานขึ้นเพื่อรำลึกถึงเกียรติคุณและวีรกรรมของวีรบุรุษผู้สร้างเมือง โดยงานพิธีสดุดีอดีตเจ้าเมืองอุบลราชธานีนี้เริ่มจัดครั้งแรกในปีพ.ศ.2539 และต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีจนถึงปัจจุบัน ข้อมูลอ้างอิง : ปวีณา ป้องกัน. “การเมืองเรื่องพื้นที่และการสร้างตัวตน ของสายตระกูลอดีตเจ้านายเมืองอุบลราชธานี”, วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์และการพัฒนา : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2552. ที่มาของภาพ : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดอุบลราชธานี