ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,340 รายการ

ชื่อเรื่อง                         มหานิปาต(เวสฺสนฺตรชาดก)ชาตกปาลิขุทฺทกนิกาย(คาถาพัน)อย.บ.                            170/1ฆหมวดหมู่                       พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                  66 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง                         มหาเวสสันดรชาดก                                                               บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา


            ตามที่ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 39 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2558 มีหนึ่งในข้อเสนอให้ประเทศไทย กำหนดมาตรการควบคุมสิ่งปลูกสร้างใหม่ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลก นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและพื้นที่โดยรอบ             กรมศิลปากร ในฐานะหน่วยงานที่ดูแลพื้นที่โบราณสถานพระนครศรีอยุธยา จึงดำเนินการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการควบคุมสิ่งปลูกสร้างอาคารภายในเขตโบราณสถานพระนครศรีอยุธยา (เกาะเมือง) โดยเพิ่มเติมเนื้อหาและรายละเอียดให้มากขึ้นกว่าประกาศฉบับเดิม ที่บังคับใช้ตั้งแต่พ.ศ. 2540 โดยผ่านการกลั่นกรองโดยคณะที่ปรึกษาและกรรมการปรับปรุงหลักเกณฑ์ฯ ที่มีการประชุมและปรับปรุงหลักเกณฑ์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2559 เรียบร้อยแล้ว             ปัจจุบัน กรมศิลปากรจึงมีระเบียบฉบับใหม่ ชื่อ "ระเบียบกรมศิลปากร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร หรือดำเนินการใดๆ ในเขตโบราณสถานพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. 2566" ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566             จึงขอแจ้งให้ทุกท่านทราบโดยทั่วกัน  หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อผ่านแชทเพจเฟสบุ๊ก : อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา Ayutthaya Historical Park  หรือ โทร. 035 242 286 ดาวโหลดระเบียบฉบับใหม่  https://drive.google.com/file/d/1Onf1HqIqpFfQFrQzQuiQAcu9PYLhSB6-/view?fbclid=IwAR0NBN6kt-dPeMy7aZuW6z7OxpzqHRu4Xa0ZCQ47dFPSyPBfpvFHw7wy5hw


วัฒนธรรมการฝังศพในบ้านเชียงยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดย นางสาวปิยะธิดา ราชวัตร นักศึกษาฝึกสหกิจ สาขามานุษยวิทยาวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว #มหาวิทยาลัยนครพนม


วิทยาจารย์ ปีที่ 53 มกราคม 2497 ฉบับที่ 1 จัดพิมพ์โดยคุรุสภา เรื่องราวในเล่มประกอบด้วย พระโอวาทและพระพรของสมเด็จพระสังฆราช เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2497, พระราชดำรัสในโอกาสขึ้นปีพุทธศักราช 2497 31 ธันวาคม 2496, คำปราศรัยของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เนื่องในโอกาสเถลิงศก พุทธศักราช 2497, ผู้แทนประเทศไทยลงนามในสัญญาเกี่ยวกับการจัดตั้งศูนย์กลางการศึกษาผู้ใหญ่ที่จังหวัดอุบลราชธานี ณ กรุงปารีส เป็นต้น


ชื่อเรื่อง                    สพ.ส.65 พิธีกรรมประเภทวัสดุ/มีเดีย       สมุดไทยขาวISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  ธรรมคดีลักษณะวัสดุ              29; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง                    พิธีกรรม                    ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   ประวัติวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์  อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 15 ส.ค..2538


         หัวกวาง          แบบศิลปะ : ทวารวดี          ชนิด : หิน          ขนาด : กว้าง 8 เซนติเมตร สูง 22 เซนติเมตร          อายุสมัย : ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 - 14 (หรือราว 1,200 - 1,400 ปีมาแล้ว)          ลักษณะ :ส่วนหัวกวาง มีหู เขาหัก ปากยิ้ม ลักษณะสมจริง ด้านหนึ่งแบนเรียบ แต่เดิมอาจเป็นกวางหมอบที่เคยประกอบอยู่กับธรรมจักร          ประวัติ : พบที่เจดีย์หมายเลข 10.1 อำเภออู่ทอง          สถานที่จัดแสดง :พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี   แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/uthong/360/model/15/   ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/uthong


อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ขอเผยแพร่ องค์ความรู้ประจำเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๗ เรื่อง "ลวดลายปูนปั้น รักร้อยแข้งสิงห์ "     งานปูนปั้นเป็นงานศิลปกรรมประเภทหนึ่งของไทยที่สืบทอดกันมายาวนานตั้งแต่โบราณ ได้รับความนิยมใช้ในงานประดับตกแต่งศาสนาสถาน ซึ่งส่วนใหญ่มักก่อสร้างด้วยอิฐและศิลาแลง จึงจำเป็นต้องใช้ปูนปั้นสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการสร้างสรรค์ผลงาน อยู่ ๒ ประเภท เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแก่ศาสนา และถวายเป็นราชสักการะแด่พระมหากษัตริย์ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ลวดลายปูนปั้นที่ประดับอยู่ตามอาคารต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ของการสร้างที่กล่าวข้างต้นนั้นจะมีลวดลายที่ประณีตบรรจง      เมืองศรีสัชนาลัยได้พบการประดับปูนปั้นลวดลาย “รักร้อยแข้งสิงห์” ในงานสถาปัตยกรรม บริเวณราวลูกกรงช่องแสงของผนังวิหารด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดนางพญา  ลักษณะของลวดลายคล้ายดอกรักร้อยติดกันเป็นสายและมีลายแข้งสิงห์ประดับขอบทั้ง ๒ ฝั่งของลายดอกรัก ที่มาของชื่อลายรักร้อยแข้งสิงห์ปรากฏข้อความในพระราชนิพนธ์หนังสือเที่ยวเมืองพระร่วงของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งเมื่อเสด็จประพาสเมืองศรีสัชนาลัย เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๕๐ ได้กล่าวถึง ลวดลายปูนปั้นวัดนางพญา ความว่า      “...แต่ถ้าเดินตรงต่อไปอีกถึงวัดที่มีของน่าดูอันหนึ่ง นายเทียนเรียกว่าวัดนางพระยา...จึงเห็นว่ามีลายปูนปั้นด้วยปูนเช่นนั้นอีกที่ผนังซึ่งทำเป็นช่องลูกกรง แต่ทั้งต้นไผ่ข้างๆ ทั้งเถาวัลย์เลื้อยพันอยู่กับผนัง ทำให้เห็นลายไม่ถนัด เผอิญมีมีดไปด้วยกันหลายเล่ม จึงลงมือตัดเถาวัลย์และกานกิ่งไผ่กันในทันใดนั้น  และวิหารนั้นตั้งบนลานสูงพ้นดินราว ๓ ศอก จึงได้จัดการต่อเป็นแคร่ขึ้นไป เพื่อดูให้ใกล้ๆ ภายในครึ่งชั่วโมงกว่าๆ ก็พอได้ขึ้นไปพิจารณาลาย ไม่รู้สึกว่าเหนื่อยป่าวเลยที่ลูกกรงปั้นเป็นลายรักร้อยแข้งสิงห์ ประจำยามเป็นดอกจันทร์ที่ผนังทึบ หว่างช่องลูกกรงมีเป็นลายรักร้อยประจำยามเทพประนม...”      ลักษณะของลายรักร้อยแข้งสิงห์นี้ น่าจะรับอิทธิพลจากศิลปะจีนผ่านเครื่องถ้วยจีนที่นำเข้าใช้อย่างแพร่หลายในช่วงที่กรุงศรีอยุธยาเข้าปกครองเมืองศรีสัชนาลัยราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ โดยเฉพาะลายรักร้อยที่มีลักษณะเป็นกรอบสามเหลี่ยมโค้งมน มีที่มาจากลายมงคลในศิลปะจีนที่เรียกกันว่า “หรูอี้”  ส่วนลายแข้งสิงห์นั้น เรียกตามลักษณะของลายที่ประดิษฐ์มาจากขนที่อยู่ตรงขาของสิงห์ นอกจากนี้บริเวณผนังยังปรากฏปูนปั้นอื่น ๆ เช่น ลายพรรณพฤกษา ลายประจำยาม ลายเทพพนม ลายกึ่งมนุษย์กึ่งวานรกำลังวิ่ง ซึ่งลายปูนปั้นเหล่านี้ เป็นแรงบันดาลใจให้ช่างฝีมือท้องถิ่นนำไปพัฒนาเป็นลวดลายเครื่องประดับเงินและทอง ที่รู้จักกันในนาม "ทองโบราณศรีสัชนาลัย”บรรณานุกรมกรมศิลปากร. รายงาน องค์ความรู้ เรื่อง การปั้นปูนในงานสถาปัตยกรรมไทย, กรุงเทพฯ, ๒๕๕๕พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. เที่ยวเมืองพระร่วง, สมุทรปราการ : ทรีโอกราฟฟิคส์แอนด์พริ้นท์,๒๕๕๙ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. นนทบุรี : เรือนแก้วการพิมพ์, ๒๕๖๑.อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย. รายงานการตรวจสอบสภาพโบราณสถานในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ประจำปี ๒๕๕๘, อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย, ๒๕๕๘.


แจ้งการเรียกเก็บค่าเข้าชมหรือค่าบริการโบราณสถานที่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ชอบโดยกฎหมาย



     ในวันที่ 29 กันยายน 2558 นางนงคราญ สุขสม ผู้อำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย พร้อมด้วยนายธาวิษ ถนอมจิตศ์ เลขานุการกองทุนพระองค์เจ้าวิมลฉัตร เดินทางไปมอบรางวัลการประกวดเรียงความ เรื่อง สุโขทัยมรดกโลกในมือเยาวชน ที่โรงเรียนเมืองเชลียง ให้แก่ นางสาวหทัยทัต บัวกล้า ผู้ชนะเลิศการประกวดเรียงความในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และนางสาวสุรีรัตน์ มีสุโข รองชนะเลิศอันดับ 2 โดยมีคณะผู้บริหารของโรงเรียนให้การต้อนรับ สำหรับผู้ชนะเลิศ อันดับ 1 ทั้งในระดับ ม.ต้น และ ม.ปลาย จะเข้ารับพระราชทานโล่รางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี



พระแก้วมมรกตประดิษฐานอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามอัญเชิญมาจากเมืองเวัยงจันทน์ ในสมัยรรัชกาลที่ 1



อยากทราบว่ารับนักศึกษาฝึกงานหรือเปล่าครับ ผมเรียน วัฒนธรรม สาขา ประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณดคี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ครับ 


วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ อธิบดีกรมศิลปากร นายบรเวท รุ่งรุจี ประชุมและติดตามผลการดำเนินงานโครงการ ของสำนักศิลปากรที่ ๘ เชียงใหม่ และหน่วยงานในสังกัด ชมภาพเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/finearts8chiangmai/posts/1676697945914813


Messenger