ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,618 รายการ
ปราสาทบ้านน้อย
ต.ผักขะ อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว
ปราสาทบ้านน้อย เป็นอโรคยาศาลสร้างด้วยศิลาแลงและอิฐ ปัจจุบันเป็นอโรคยาศาลเพียงแห่งเดียวที่สำรวจพบในจังหวัดสระแก้ว สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (ค.ศ. ๑๑๘๑-๑๒๑๘) แผนผังของโบราณสถานประกอบด้วยปราสาทประธานและบรรณาลัยที่ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว มีโคปุระหรือซุ้มประตูทางด้านทิศตะวันออกเพียงด้านเดียวภายในโคปุระแบ่งเป็นห้องทิศเหนือและห้องทิศใต้ ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกำแพงแก้วเป็นที่ตั้งของบารายรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขอบบารายกรุด้วยศิลาแลงเป็นขั้นบันไดลาดลงไปที่ก้นสระ นอกจากนี้ยังพบบารายที่มีคันดินล้อมรอบบริเวณด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกของอโรคยาศาล โดยบารายด้านทิศเหนือกว้างประมาณ ๔๕ เมตร ยาวประมาณ ๖๐ เมตร บารายด้านทิศตะวันออกกว้างประมาณ ๑๑๐ เมตร ยาวประมาณ ๒๒๕ เมตร
กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานปราสาทบ้านน้อย ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๑๕ ตอนพิเศษ ๓๘ ง วันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๔๑ เนื้อที่โบราณสถาน ๔๕ ไร่ ๙๕ ตารางวา
ในปีพุทธศักราช ๒๕๖๓ กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี ได้ดำเนินงานทางโบราณคดีบริเวณปราสาทบ้านน้อย โดยได้ทำการขุดค้น ขุดตรวจและขุดแต่งทั้งภายในและภายนอกกำแพงแก้ว รวมทั้งบารายด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อทำการศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบสถาปัตยกรรมของโบราณสถานสำหรับเป็นข้อมูลประกอบการออกแบบบูรณะเสริมความมั่นคงและปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณโบราณสถานเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ที่สำคัญของจังหวัดสระแก้วในอนาคต
ผู้เขียน : นางเป็นภัสญ์ ศรีสุวิทธานนท์ นักโบราณคดีปฏิบัติการ
กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี
#สำนักศิลปากรที่๕ปราจีนบุรี #กรมศิลปากร #กระทรวงวัฒนธรรม
+2
78คุณ และคนอื่นๆ อีก 77 คน
ความคิดเห็น 2 รายการ
แชร์ 53 ครั้ง
ถูกใจ
แสดงความคิดเห็น
แชร์
ความ
ชื่อเรื่อง นิสัยวิสุทธิมรรค (นิไสวิสุทธิมัก) สพ.บ. 311/11หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทย-อีสานหัวเรื่อง พุทธศาสนา ธรรมะกับชีวิตประจำวัน ไตรสิกขาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 62 หน้า : กว้าง 4 ซม. ยาว 56 ซม. บทคัดย่อเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยดำเนินการขุดค้นขุดแต่งโบราณสถานวัดเกาะไม้แดง เนื่องในโครงการบูรณะและเสริมความมั่นคงโบราณสถานเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ เพื่อเก็บข้อมูลหลักฐานทางโบราณคดีต่างๆ ที่อยู่ใต้ดิน ก่อนที่จะดำเนินการบูรณะเสริมความมั่นคงต่อไปในอนาคต วัดเกาะไม้แดงหรือโบราณสถานร้าง ต.อ.๑๕ ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันออก โดยอยู่ห่างจากประตูกำแพงหักไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร และห่างจากวัดเจดีย์สูงไปทางทิศใต้ประมาณ ๙๐ เมตร หรือสามารถเข้าถึงตำแหน่งที่ตั้งของวัดเกาะไม้แดงได้ตามลิ้งก์นี้ >>>https://goo.gl/maps/ARgstrsDtCFd48NM8 สภาพก่อนการขุดค้นทางโบราณคดี ในหนังสือทำเนียบโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ระบุว่าโบราณสถานแห่งนี้เคยมีการขุดแต่งและบูรณะมาแล้วเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๒ นี้มีคูน้ำล้อมรอบ ๔ ด้าน ภายในประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างหลักเรียงตามแนวแกนทิศตะวันออกไปตะวันตกดังนี้คือ ฐานวิหารก่ออิฐ ขนาด ๕ ห้อง กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๑๖.๓ เมตร เสาทำด้วยศิลาแลง ด้านหลังวิหารหรือด้านทิศตะวันตกของวิหาร มีมณฑปสี่เหลี่ยมก่อด้วยอิฐ ขนาดกว้าง ๗.๕ เมตร ยาว ๙.๗ เมตร ภายในมณฑปเป็นห้องสี่เหลี่ยมใช้สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป ห่างออกมาด้านทิศตะวันตก ๑๕ เมตร ปรากฏมณฑปสี่เหลี่ยมก่ออิฐ ขนาดกว้างยาวประมาณ ๗ เมตร ภายในเป็นห้องสี่เหลี่ยมประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น รอบๆ ฐานมณฑปสี่เหลี่ยมมีการก่อเป็นฐานยื่นออกมาสามด้าน นอกจากนี้ยังมีฐานเจดีย์รายเหลืออยู่ ๒๗ องค์ ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วก่ออิฐ ที่ก่อล้อมมณฑปสี่เหลี่ยมมีฐานสามด้านและเจดีย์รายไว้ ๓ ด้านคือทางด้านทิศเหนือ ทิศตะวันตกและทิศใต้ การดำเนินงานขุดค้นขุดแต่งโบราณสถานวัดเกาะไม้แดง ในขณะนี้ได้ดำเนินการขุดค้นขุดแต่งไปแล้วบางส่วนเท่านั้นคือบริเวณพื้นที่ภายในกำแพงแก้วที่ล้อมรอบมณฑปสี่เหลี่ยมมีฐานสามด้าน และพื้นที่ระหว่างมณฑปทั้ง ๒ หลัง ทำให้ทราบในเบื้องต้นว่าก่อนการสร้างมณฑปสี่เหลี่ยมมีฐานสามด้านที่เห็นในปัจจุบันนั้น มีการใช้งานพื้นที่มาก่อน เนื่องจากพบแนวอิฐที่เป็นกำแพงแก้วรอบล้อมกลุ่มฐานของเจดีย์ราย ฐานเจดีย์ราย นอกจากนี้ยังมีการขุดพบฐานวงกลมก่ออิฐฉาบปูนจำนวน ๒ ฐานซึ่งยังไม่ทราบหน้าที่การใช้งานที่ชัดเจน บริเวณใกล้ๆ กับมณฑปสี่เหลี่ยมมีฐานสามด้านพบแนวอิฐที่ใช้รองรับโครงสร้างอาคารอยู่ในระดับที่ต่ำกว่ามณฑป สันนิษฐานว่าเป็นแนวอิฐของโครงสร้างอาคารหลังเก่าที่มีมาก่อนที่มีมาการก่อสร้างมณฑปสี่เหลี่ยมมีฐานสามด้านซ้อนทับในสมัยหลัง ทั้งนี้การดำเนินงานขุดค้นขุดแต่งยังไม่แล้วเสร็จ หากท่านใดสนใจสามารถเข้าไปเยี่ยมชมการขุดค้นขุดแต่งทางโบราณคดีที่วัดเกาะไม้แดงได้ตามที่ลิ้งก์แผนที่ที่แนบในย่อหน้าที่สองของบทความ และสามารถติดตามคืบหน้าของการศึกษา วิจัย ทางโบราณคดีของโบราณสถานวัดเกาะไม้แดงได้ในรูปแบบรายงานทางวิชาการที่จะเผยแพร่ผ่านทางหน้าเพจอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยต่อไปในอนาคต หรือสามารถสนทนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้ได้ที่ https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=4100167870035690&id=180332008685982&sfnsn=mo --------------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : อุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย
จากเอกสารจดหมายเหตุจังหวัดนครพนม แผนกมหาดไทย เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๘ กรมโลหกิจ (ปัจจุบันคือ กรมทรัพยากรธรณี) ได้มีหนังสือถึง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เรื่อง ขอทราบแหล่งเต๊กไต๊ท์ ตามเนื้อความระบุว่า “เนื่องจากปรากฏในรายงานธรณีวิทยาของต่างประเทศว่าวัตถุชะนิดหนึ่งชื่อเต๊กไต๊ท์ (Tectite) ได้พบแพร่หลายในประเทศออสเตรเลีย, หมู่เกาะฟิลิปปินส์, อินโดจีน และในภาคอีสานของประเทศไทยบางท้องที่ วัตถุนี้มีประโยชน์ในงานธรณีวิทยา และกรมโลหกิจใคร่จะได้ทราบว่ามีปรากฏที่ใดบ้าง จึงได้แนบภาพถ่ายของเต๊กไต๊ท์ที่พบในอินโดจีนมากับหนังสือนี้สองภาพ เพื่อขอความร่วมมือจากท่านช่วยสืบค้นว่ามีผู้พบ หรือมีแหล่งปรากฏที่ใดบ้าง และหากจะได้ตัวอย่างด้วยก็เป็นการดีมาก วัตถุเหล่านี้มักพบปรากฏอยู่ตามผิวดิน ปนกับกรวดทรายในร่องห้วย ตามลาดเนิน ลักษณะคล้ายหินหรือแก้วหรือเหล็กเป็นสนิม ผิวมักจะขรุขระดังผิวลูกมะกรูดหรือเป็นร่อง เป็นแอ่ง เป็นรูเล็ก ๆ มีขนาดต่างกันตั้งแต่ขนาดผลพุดซาไปจนถึงขนาดผลส้มโอขนาดใหญ่ วัตถุเหล่านี้เป็นวัตถุเดียวกับที่ชาวบ้านเรียกว่า คดพระจันทร์ ขวานพระจันทร์ หรือขวานฟ้า” แต่ทั้งนี้จากการตรวจสอบเอกสารจดหมายเหตุที่ได้รับมอบไม่พบเอกสารแนบภาพถ่าย ผู้เรียบเรียงจึงขอยกตัวอย่างแร่เต๊กไต๊ท์ ตามข้อมูลจากเว็บไซต์ของกรมทรัพยากรธรณี ดังนี้ Tektite เป็นหินอุลกมณี หรือหินดาวตกประกอบด้วยแร่ซิลิกา ลักษณะเป็นเนื้อแก้วที่ผิวมีหลุมเล็ก ๆ หรือเป็นร่องยาว มีหลายขนาดและรูปแบบ เช่น ทรงกลมคล้ายผลส้ม กลมและแบนแบบจาน รูปหยดน้ำ รูปดัมเบล และรูปกระสวย ในประเทศไทยพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากข้อมูลเบื้องต้นดังกล่าว ทำให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมมีหนังสือแจ้งไปยังส่วนราชการในอำเภอต่าง ๆ ให้สำรวจและรายงานข้อมูล พบว่า จากการสำรวจของนายไพฑูรย์ เก่งสกุล นายอำเภอนาแก ในบริเวณพื้นที่ตำบลกกตูม อำเภอนาแก มีการพบหินที่สงสัยว่าจะมีแร่ธาตุบางชนิดรวม ๑๔ ชิ้น กรมโลหกิจ จึงส่ง นายเกษตร พิทักษ์ไพรวัน นายช่างธรณีวิทยา และนายวิลเลี่ยม เอ. แคสซิตี้ ให้มาดำเนินการสำรวจเพิ่มเติมและเก็บตัวอย่างหิน ๑๔ ชิ้น กลับมายังกรมโลหกิจ เพื่อดำเนินการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ผลจากการวิเคราะห์ตัวอย่างหิน แบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ ๑. ตัวอย่างหินที่ได้จากภูกะติ๊บ บ.โคกกลาง อ.เมือง จ.สกลนคร เป็นแร่ทองแดง จำนวน ๗ ชิ้น ๒. ตัวอย่างจาก ตำบลกกตูม อำเภอนาแก จ.นครพนม เป็นแร่และวัตถุต่าง ๆ คือ ๒.๑ แร่เหล็ก ชนิดไลโมไน้ท์ จำนวน ๑ ชิ้น ๒.๒ แร่เหล็ก ชนิดไพไร้ท์ จำนวน ๑ ชิ้น ๒.๓ กรวดมีคราบแร่ทองแดง จำนวน ๓ ชิ้น ๒.๔ ซากกระดูกกลายเป็นหิน จำนวน ๒ ชิ้น ภายหลังจากที่มีการวิเคราะห์ผลทางวิทยาศาสตร์ กรมโลหกิจ ได้ให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะในการจัดการหากราษฎรพบหินที่มีลักษณะดังกล่าวไว้ว่า “ตัวอย่างแร่ทองแดงจากภูกระติ๊บ แสดงลักษณะของแร่ซึ่งเคยพบเป็นก้อนในหินทรายในที่อื่น ๆ และมักจะไม่เป็นแหล่งใหญ่ แต่ก็ควรสนใจติดตามให้ทราบแน่นอนว่ามีมากสักเพียงใด ส่วนแร่เหล็กและทองแดงจากตำบลกกตูม ไม่แสดงลักษณะสำคัญควรแก่การสนใจ แต่ทรากกระดูกกลายเป็นหิน ๒ ชิ้น ควรจะได้สืบทราบแหล่งที่มาแน่นอน และถ้ายังมีส่วนใดเหลืออยู่เอาออกจากหินได้ยาก ก็ควรจะได้รับความคุ้มครองจากผู้ปกครองท้องที่มิให้ถูกทำลายไปโดยชาวบ้าน เพื่อจักได้ทำการศึกษาในโอกาสอันควรข้างหน้า เพราะวัตถุเหล่านี้มีค่าในทางการศึกษาวิชาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาตร์”------------------------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวพัชราภรณ์ สุวรรณะ นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ อุบลราชธานี ------------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง- กรมทรัพยากรธรณี. (ม.ป.ท.). ประวัติความเป็นมาของกรมทรัพยากรธรณี. ค้นข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๔ จาก http://www.dmr.go.th/ewtadmin/ewt/dmr_web/n_more_news.php... - กรมทรัพยากรธรณี. (ม.ป.ท.). tektite เกิดได้อย่างไร ส่วนประกอบทางเคมีเป็นอย่างไร ค้นข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๔ จาก http://www.dmr.go.th/fq_more.php?page=8&f_id=19&f_sub_id=21 - หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร อุบลราชธานี. นพ ๑.๒/๓๒ ให้สำรวจทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่จังหวัดนครพนม (๑๘ ม.ค. - ๑๗ ก.ย. ๒๔๙๘) ภาพประกอบ - อุทยานแห่งชาติไม้กลายเป็นหิน จ.ตาก. (ม.ป.ท.). เมื่อไม้กลายเป็นหิน. ค้นข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๔ จาก http://www.dmr.go.th/.../article/article_20171002133400.pdf - https://www.mindat.org/min-10859.html
วันศุกร์ที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๐.๓๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในการประชุมจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจ MOU กับนายธฤต จรุงวัฒน์ เลขาธิการมูลนิธิไทย พร้อมคณะ เพื่อร่วมกันนำเสนอจุดเด่นของความเป็นไทย การส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักในต่างประเทศในด้านต่าง ๆ ณ ห้องประชุม ๑ กรมศิลปากร
พฺรยาสุนนฺทราช (พฺรยาสุนนฺทราช)
ชบ.บ.67/1-1ข
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (หิมพานต์-นครกัณฑ์)
สพ.บ. 415/8ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 34 หน้า กว้าง 4.4 ซม. ยาว 55.9 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา เทศน์มหาชาติ ชาดก
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ-ลานดิบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.286/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 60 หน้า ; 4.5 x 53 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 121 (258-265) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : มาเลยฺยสตฺต(มไลยยโจทนา)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
องค์ความรู้สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่เรื่อง "พระพุทธรูปของสมเด็จพระยาสารผาสุม : หลักฐานร่องรอยราชวงศ์พูคาปกครองเมืองน่าน"เรียบเรียงโดย : นายพลพยุหะ ไชยรส นักโบราณคดีปฏิบัติการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่. ราชวงศ์พูคาเป็นราชวงศ์ชาวกาวที่ปกครองเมืองน่านอย่างน้อยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19 ตามตำนานมีปฐมกษัตรย์คือขุนฟอง ราชวงศ์พูคาเดิมมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองปัว (วรนคร) และมีการย้ายเมืองมายังเวียงพูเพียงแช่แห้งในรัชสมัยพญาครานเมือง (กานเมือง) ราวปี พ.ศ.1908 ต่อมาในสมัยพญาผากองย้ายเมืองน่านจากเวียงพูเพียงแช่แห้งมายังเวียงน่านริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน เมื่อปี พ.ศ.1911 ก่อนจะตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรล้านนาในปี พ.ศ.1992 ตรงกับรัชสมัยพญาผาแสง และสิ้นสุดอำนาจในการปกครองอย่างสิ้นเชิงในปี พ.ศ.2004 หลังจากพญาผาแสงสิ้นพระชนม์ และราชสำนักเชียงใหม่ได้ส่งขุนนางปกครองเมืองน่านแทน. ในช่วงที่ราชวงศ์พูคาปกครองเมืองน่านมีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ่นกับอาณาจักรสุโขทัย โดยรับเอารูปศิลปสถาปัตยกรรมจากศิลปะสุโขทัยมาค่อนข้างมาก เช่น เจดีย์ช้างล้อม วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร หรือ เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์องค์เก่าของวัดสวนตาล เป็นต้น และหนึ่งในงานศิลปกรรมที่สำคัญอีกกลุ่มที่ถือเป็นหลักฐานแสดงการมีอยู่จริงของราชวงศ์พูคาและเป็นงานศิลปะที่ได้รับอิทธิพลศิลปะสุโขทัยอย่างสวยงามประณีตคือ พระพุทธรูปของสมเด็จพระยาสารผาสุม ทั้ง 5 องค์. พระพุทธรูปของสมเด็จพระยาสารผาสุม เป็นกลุ่มพระพุทธรูปที่สมเด็จพระญางั่วฬารผาสุมหรืองั่วฬารผาสุมกษัตริย์นครน่านแห่งราชวงศ์พูคา องค์ที่ 15 ขึ้นครองราชย์ในราวปี พ.ศ. 1969 พระองค์ทรงให้หล่อขึ้นประกอบด้วยพระพุทธรูปยืนปางประทานอภัยทั้งสองพระหัตถ์ (ห้ามสมุทร) จำนวน 1 องค์ และพระพุทธรูปปางลีลาจำนวน 4 พระองค์ โดยส่วนใหญ่แล้วมีลักษณะพุทธศิลป์เหมือนกับพระพุทธรูปสุโขทัยหมวดใหญ่ หากแต่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะบางประการเช่น การแสดงออกของสีหน้าพระพักต์ พระวรกายที่อวบอ้วนมากยิ่งขึ้น หรือชายขอบจีวรซ้อนกันสองเส้น เป็นต้น นอกจากนี้ที่ฐานของพระพุทธรูปทั้ง 5 องค์ มีจารึกที่มีเนื้อความเดียวกันเกี่ยวการสร้างพระพุทธรูปของสมเด็จเจ้าพระญางั่วฬารผาสุม หากแต่ข้อความมีความสมบูรณ์เพียงหนึ่งองค์ ความว่า "สมเด็จพระยาสารผาสุมเสวยราชย์ในนันทปุระ สถาบกสมเด็จพระเป็นเจ้า 5 พระองค์ โพระจะให้คงในศาสนา 5 พันปีนี้ ตั้งเป็นพระเจ้าในปีมะเมีย เพื่อบุญจุลศักราช 788 มหาศักราช 1970 เดือน 6 วันพุธ เดือน 7 ยาม ปราถนาทันพระศรีอาริยไมตรีเจ้า". จากข้อความในจารึกข้างต้นสามารถกำหนดอายุสัมบูรณ์ของพระพุทธรูปทั้ง 5 องค์ ไว้ที่ พ.ศ. 1970 หรือปลายพุทธศตวรรษที่ 20 โดยจะขอยกตัวอย่างพุทธศิลป์ของพระพุทธรุปางห้ามสมุทร 1 องค์ และปางลีลา 1 องค์ ซึ่งเก็บรักษาไว้ภายในพระวิหาร วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ดังนี้ - พระพุทธรูปสำริด ประทับยืน ปางประทานอภัยทั้งสองพระหัตถ์ (ปางห้ามสมุทร) เป็นพระพุทธรูปสำริดประทับยืน พระพักต์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโค้ง งุ่มลงเล็กน้อย พระหนุเป็นปม ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว พระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก ครองจีวรห่มคลุม มีผ้าจีบหน้านาง ประทับยืนตรง แสดงปางประทานอภัยสองพระหัตถ์ เป็นที่น่าสังเกตว่าการแสดงปางประทานอภัยทั้งสองพระหัตถ์และการมีผ้าจีบหน้านางประดับ มักพบในศิลปะอยุธยา อาจกล่าวได้ว่าพระพุทธรูปองค์นี้ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอยุธยาด้วยอีกทางหนึ่ง ลักษณะพระพุทธรูปางห้ามสมุทร เป็นการแสดงอิริยาบถตามเรื่องราวในพุทธประวัติ 2 เรื่อง คือเรื่องแรกเป็นการแสดงปาฏิหารย์ของพระพุทธองค์เพื่อทำลายมิจฉาทิฏฐิของเหล่าพี่น้องตระกูลชฎิล เมืองพาราณสี โดนพระองค์แสดงปาฏิหาริย์หยุดน้ำฝนมิให้ตกหนักในบริเวณริมแม่น้ำเนรัญชรา แขวงอรุเวฬา เมื่อเหล่าพี่น้องตระกูลชฎิลเห็นจึงเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ขอเข้าบรรพชาอุปสมบทพร้อมกับบริวารจำนวน 1,000 คน และพระพุทธองค์ทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตรแก่หมู่พี่น้องตระกูลชฎิลทั้งสามและบริวารจนบรรลุพระอรหันต์ ส่วนเรื่องที่สองคือพระพุทธองค์ทรงห้ามพระประยูรญาติแห่งราชวงศ์ศากยะที่กำลังวิวาทะแย่งน้ำแม่น้ำโรหิณีใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ ขณะที่พระพุทธองค์ทรงประทับอยู่ ณ นิโครธาราม - พระพุทธรูปสำริด ปางลีลา เป็นพระพุทธรูปสำริด ประทับยืน พระพักต์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่ง งุ้มลงเล็กน้อย แย้มพระโอษฐ์เล็กน้อย พระหนุเป็นปม ขวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว พระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก ครองจีวรห่มเฉียง เปิดพระอังสาขวา ชายสังฆาฐิพาดผ่านพระอังสาซ้ายตกลงเสมอพระนาภี ปลายแตกเป็นเขี้ยวตะขาบ แสดงปางลีลา โดยพระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นเสมอพระอุระ ใต้พระกรจีวรมีลักษณะเป็นริ้วพลิ้วไหวตามธรรมชาติ พระหัตถ์ขวาทิ้งลงข้างพระวรกาย พระบาทซ้ายดำเนินเยื้องไปข้างหน้า ส่วนพระบาทขวาอยู่ข้างหลังยกขึ้นเล็กน้อย แสดงออกถึงลักษณะทรงดำเนิน. สำหรับพระพุทธรูปลีลาของนครน่านนั้นได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัยหมวดใหญ่ หากแต่มีลายละเอียดแตกต่างออกไปบ้างเช่นการแสดงออกของสีพระพักตร์ พระวรกายที่อวบอ้วนมากยิ่งขึ้น ชายผ้าจีวรบางองค์ทำเป็นลายเส้นสองเส้นทับซ้อนกันและเว้า ที่สำคัญคือชายจีวรส่วนล่างที่ตกลงและตัดเป็นเส้นทแยงมุมซึ่งไม่ปรากฏในศิลปะสุโขทัย ทั้งนี้การสร้างพระพุทธรูปลีลาช่างสุโขทัยได้รับอิทธิพลและแรงบันดาลใจจากศิลปะพม่าหรือลังกาในพุทธประวัติตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดางดึงส์หลังทรงโปรดพุทธมารดาอีกทอดหนึ่ง และยังมีแรงบันดาลใจจากงานศิลปะภายในดินแดนประเทศไทยโดยเฉพาะศิลปะทวารวดีที่ปรากฏลักษณะของจีวรที่ตกจากพระหัตถ์ที่ยกขึ้น เห็นเป็นริ้วคลื่น เป็นต้น ส่วนเมืองน่านนั้นได้รับการถ่ายทอดลักษะทางศิลปกรรมดังกล่าวจากราชสำนักสุโขทัยผ่านทางความสัมพันธ์ทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจอีกทอดหนึ่ง------------------------------------อ้างอิง-ประเสริฐ ณ นคร, จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 87.สันติ เล็กสุขุม, ศิลปะอยุธยา (กรุงเทพฯ :เมืองโบราณ,2542), 143.วิสันธนี โพธิสุนทรและเมธินี จิระวัฒนา, พระพุทธรูปปางต่างๆ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, 2552), 44.ศักดิ์ชัย สายสิงห์, พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการและความเชื่อของคนไทย (กรุงเทพฯ : ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556), 195.พรชัย พฤติกุล, ประติมานวิทยาของพระพุทธรูปลีลาในศิลปะสุโขทัย (วิทยานิพนธ์ ระดับปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ, 2549), 26-28.สรัสวดี อ๋องสกุล, พื้นเมืองน่าน : ฉบับวัดพระเกิด. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง, 2539.