กรมศิลปากร Fine Arts Department
font-size-a3 font-size-a2 font-size-a1 themes-default themes-black_white themes-black_yellow
ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 41,092 รายการ

องค์ความรู้ : กลุ่มประวัติศาตร์ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ เรื่อง ถนนแบรสต์: ถนนสายสัมพันธ์ไทย - ฝรั่งเศส จัดทำข้อมูลโดย นางสาวอาทิพร ผาจันดา นักอักษรศาสตร์ชำนาญการ กลุ่มประวัติศาสตร์ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์






ชื่อเรื่อง                                มหานิปาตวณฺณนา (ทสชาติ) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (มหาชนก-วิธูรบัณฑิต) สพ.บ.                                  270/ข/6ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           30 หน้า กว้าง4.5 ซ.ม. ยาว 55.5 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก                                           เทศน์มหาชาติ                                           คาถาพัน บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                                บทภาวนา (ความภาวนา) สพ.บ.                                  262/1กประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           18 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 30 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา--บทภาวนา                                           พุทธศาสนา--คำสอน                                           บทสวดมนต์ บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.182/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า ; 4 x 55 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 104 (101-109) ผูก 2 (2565)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันธ์ขันธ์ --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


พาลุกานิสํสกถา (พาลุกานิสํสกถา)  ชบ.บ.65/1-2  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง                                ธรรมสามไตร (ธัมมสามไต) สพ.บ.                                  324/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           42 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 57.5 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.284/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 54 หน้า ; 4 x 53 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 120  (253-257) ผูก 6 (2565)หัวเรื่อง : เอกนิปาต--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


องค์ความรู้ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ในหัวข้อเรื่อง พระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิเพชรแห่งเจดีย์สิงห์ล้อมพระพุทธรูป คือ รูปที่ใช้แทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นพระบรมศาสดาในพระพุทธศาสนา  โดยคติการสร้างพระพุทธรูปนั้น  เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธองค์และเป็นพุทธานุสติให้เหล่าศาสนิกชนได้ระลึกถึงพระพุทธองค์  ซึ่งมีองค์ประกอบคือ ๑. อิริยาบถ ที่แสดงท่าทางการประทับนั่ง,      ยืน, นอน (ไสยาสน์) และเดิน (ลีลา) ๒. มุทรา หรือปาง คือการแสดงถึงเหตุการณ์ในพระพุทธประวัติ ในส่วนของอิริยาบถที่แสดงท่าทางการประทับนั่งของพระพุทธรูป สามารถแบ่งได้ ๓ รูปแบบ ได้แก่๑. ขัดสมาธิราบ (วีราสนะ หรือสัตตวปรยังคะ)      คือ การประทับนั่งขัดสมาธิ ให้ขาขวาทับขาซ้าย ๒. ห้อยพระบาท (ปรลัมพปทาสนะ)      คือ การประทับนั่งห้อยพระบาทลงไปที่พื้น๓. ขัดสมาธิเพชร (วัชรปรยังกะ หรือวัชราสนะ)      คือ การประทับนั่งขัดสมาธิ ให้ขาทั้ง ๒ ข้างไขว้กัน“ขัดสมาธิเพชร” ความหมายตามพจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรม อักษร ก-ฮ ฉบับราชบัณฑิตสถาน พุทธศักราช ๒๕๕๐ หมายถึง ท่าประทับของพระพุทธรูปแบบหนึ่ง นั่งให้พระชงฆ์ (แข้ง) ไขว้กันอย่างมั่นคง และหงายฝ่าพระบาทขึ้นทั้งสองข้าง บางทีเรียกว่าขัดสมาธิสองชั้น หรือวัชรปรยังกะ (Vajraparyanka)แสดงถึงความหนักแน่น มั่นคง ไม่เคลื่อนไหวต่อทุกสิ่งที่เข้ามากระทบกับสมาธิ ถือเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของท่าปฏิบัตินั่งโยคะอาสนะ (asana) เพื่อฝึกฝนจิตใจในการทำสมาธิ พระพุทธรูปในประเทศไทยที่ปรากฏในอิริยาบถประทับนั่งแบบขัดสมาธิเพชร ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปในศิลปะสมัยล้านนา (ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐) ที่ได้รับอิทธิพลทางศิลปะแบบปาละ-เสนะ ของอินเดีย ผ่านทางเมืองพุกามของเมียนมา มีลักษณะที่โดดเด่น คือ ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร พระชงฆ์ไขว้เห็นฝ่าพระบาทหงายทั้งสองข้างพระพักตร์มีลักษณะกลมและอมยิ้ม พระเกตุมาลาเป็นรูปดอกบัวตูม ขมวดพระเกศาใหญ่ พระขนงโก่ง พระหนุเป็นปม พระอุระนูน พระวรกายอวบ พระโอษฐ์เล็ก ส่วนของชายสังฆาฏิสั้นและอยู่เหนือพระถัน ปลายเป็นเขี้ยวตะขาบ เมืองกำแพงเพชรได้ปรากฏพบพระพุทธรูปในอิริยาบถประทับนั่งแบบขัดสมาธิเพชร ณ วัดพระแก้วเป็นวัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเขตกำแพงเมืองกำแพงเพชรตั้งอยู่บริเวณกลางเมือง ผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ของวัดใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง มีเจดีย์สิงห์ล้อมเป็นเจดีย์ประธานของวัด ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงกลม หรือทรงระฆังขนาดใหญ่บนฐานสี่เหลี่ยม โดยรอบฐานมีประติมากรรมปูนปั้นรูปสิงห์รายรอบจำนวน ๓๒ ซุ้ม สามารถศึกษาเปรียบเทียบทางศิลปะเทียบเคียงได้กับเจดีย์ประธานสิงห์ล้อม ที่วัดธรรมิกราชและวัดแม่นางปลื้ม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สันนิษฐานได้ว่าเจดีย์สิงห์ล้อม มีอายุสมัยในราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๑ถัดจากฐานสิงห์ล้อมขึ้นมา เป็นซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นจำนวน ๑๖ ซุ้ม คล้ายกับรูปแบบของเจดีย์ประธาน ที่วัดช้างล้อม เมืองศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย  เหนือซุ้มขึ้นไปเป็นชุดบัวถลาลดหลั่นกันสามชั้นรองรับองค์ระฆัง ถัดขึ้นไปเป็นบัลลังก์ที่มีซุ้มจระนำออกมาทั้ง ๔ ด้าน ต่อด้วยส่วนของก้านฉัตร ปล้องไฉนและปลียอดบริเวณซุ้มที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นจำนวน ๑๖ ซุ้ม นั้น ที่ซุ้มด้านทิศใต้ได้ปรากฏร่องรอยของพระพุทธรูปในอิริยาบถประทับนั่งแบบขัดสมาธิเพชร จำนวน ๑ องค์ ประดิษฐานอยู่บนฐานอิฐส่วนของพระพุทธรูปคงเหลือเฉพาะพระวรกาย ส่วนของพระเศียรและพระกรข้างขวาหักหาย แสดงการห่มผ้าจีวรถึงข้อพระหัตถ์และข้อพระบาท ขนาดหน้าตักกว้าง ๐.๗๗ เมตร สูง ๐.๖๐ เมตร กำหนดอายุสมัยได้ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๑การเสด็จประพาสต้นครั้งที่ ๒ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๔๙พระองค์ได้เสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชร ระหว่างวันที่ ๒๓ – ๒๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๙ โดยในวันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๙ เสด็จประพาสตัวเมืองกำแพงเพชรเก่า ได้แก่ กำแพงเมือง ป้อมและประตูเมือง วัดพระแก้ว หลักเมือง และสระมน รวมทั้งทรงได้พระราชนิพนธ์บรรยายเกี่ยวกับพระพุทธรูปภายในซุ้มของเจดีย์สิงห์ล้อม วัดพระแก้ว ไว้ดังนี้ “…พระเจดีย์กลมลอมฟาง อยู่หลังวิหารอีกหน่อยหนึ่ง หย่อมนี้เห็นจะเป็นชั้นลังกา แต่พระเจดีย์นั้นทำงามมาก ชั้นล่างเป็นซุ้มคูหารอบ มีสิงห์ยืนในคูหา ถัดขึ้นไปอีกชั้น ๑ เป็นคูหาไว้พระพุทธรูปขนาดเดียวกับพระโบโรบุโด ซึ่งเชิญมาไว้ในวัดพระแก้ว แต่คะเนยังไม่ได้ว่าจะเป็นท่าต่าง ๆ ฤๅไม่ถัดขึ้นไปจึงถึงองค์พระเจดีย์บัวคว่ำบัวหงายที่รับปากระฆังเป็นบัวหลังเบี้ยสลับ กลีบกันงามเข้าทีมาก บัลลังก์มีซุ้มยื่นออกมา ๔ ทิศ ไว้พระ ๔ ปาง ไม่เห็นมีเสารับยอด ซึ่งกรมหลวงนริศสงสัยว่าจะเป็นทวย ถัดขึ้นไปปล้องไฉนแต่ยอดด้วน ประมาณว่าจะสูง ราว ๑๕ วา…”เอกสารอ้างอิงกรมศิลปากร. นำชมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร.      กรุงเทพฯ: บริษัทบางกอกอินเฮ้าส์จำกัด, ๒๕๖๑.กรมศิลปากร. พระพุทธรูปปางต่าง ๆ. นครปฐม: บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์      (๑๙๗๗) จำกัด, ๒๕๕๘.กรมศิลปากร. รายงานการบูรณะโบราณสถานวัดพระแก้ว      จังหวัดกำแพงเพชร .  กำแพงเพชร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามเพชร,      ๒๕๔๓.พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จกรมพระยาดำรง     ราชานุภาพ. เสด็จประพาสต้นในรัชกาลที่ ๕. พิมพ์ครั้งที่ ๒๖.      กรุงเทพฯ : ไทยร่มเกล้า, ๒๕๒๙.พุทธรักษ์ ปราบนอก. (๒๕๕๙,กันยายน – ธันวาคม).  “พุทธปรัชญา     ในพุทธปฏิมา”, มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ๓๓ (๓): ๒๔๑ – ๒๖๓.ศักดิ์ชัย  สายสิงห์. เจดีย์ในประเทศไทย รูปแบบ พัฒนาการ และพลัง     ศรัทธา. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์, ๒๕๖๐.ศักดิ์ชัย  สายสิงห์. ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. กรุงเทพฯ:      สำนักพิมพ์มิวเซียมเพรส, ๒๕๖๑.ศักดิ์ชัย  สายสิงห์. ศิลปะล้านนา. นนทบุรี: โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด, ๒๕๕๖.หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล. ศิลปะในประเทศไทย. กรุงเทพฯ:      อมรินทร์การพิมพ์, ๒๕๒๘.



การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของกรมศิลปากร ประจำปี ๒๕๖๕ (integrity and Transparency Assessment : ITA) O๑ โครงสร้าง O๒ ข้อมูลผู้บริหาร O๓ อำนาจหน้าที่ O๔ แผนยุทธศาสตร์หรือแผนพัฒนาหน่วยงาน O๕ ข้อมูลการติดต่อ O๖ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง O๗ ข่าวประชาสัมพันธ์ O๘ Q&A O๙ Social Network O๑๐ แผนดำเนินงานประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ ส่วนที่ ๑O๑๐ แผนดำเนินงานประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ ส่วนที่ ๒ O๑๑ รายงานการกำกับติดตามการดำเนินงาน รอบ ๖ เดือน ในปี พ.ศ. ๒๕๖๕ O๑๒ รายงานผลการดำเนินงานประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๔ O๑๓ คู่มือหรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน O๑๔ คู่มือหรือมาตรฐานการให้บริการ O๑๕ ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ ๖ เดือนแรก ของปี พ.ศ. ๒๕๖๕ O๑๖ รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจการให้บริการ ปี พ.ศ. ๒๕๖๔ O๑๗ E-Service O๑๘ แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ ส่วนที่ ๑O๑๘ แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ ส่วนที่ ๒ O๑๙ รายงานการกำกับติดตามการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี รอบ ๖ เดือน ของปี พ.ศ. ๒๕๖๕ O๒๐ รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๔ O๒๑ แผนการจัดซื้อจัดจ้างหรือแผนการจัดหาพัสดุ ปี พ.ศ. ๒๕๖๕ ส่วนที่ ๑O๒๑ แผนการจัดซื้อจัดจ้างหรือแผนการจัดหาพัสดุ ปี พ.ศ. ๒๕๖๕ ส่วนที่ ๒ O๒๒ ประกาศต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ ปี พ.ศ. ๒๕๖๕ O๒๓ สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุรายเดือน (๖ เดือนแรก) ของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ O๒๔ รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๔ O๒๕ นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล ปี พ.ศ. ๒๕๖๕ O๒๖ การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล ปี พ.ศ. ๒๕๖๕ O๒๗ หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ปี พ.ศ. ๒๕๖๕         O๒๗-๑ หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล                    ข้อ ๑ การสรรหาและคัดเลืออกบุคลากร และ                    ข้อ ๒ การบรรจุและแต่งตั้งบุคลากร         O๒๗-๒ หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล                    ข้อ ๓ การพัฒนาบุคลากร          O๒๗-๓ หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล                    ข้อ ๔ การประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากร         O๒๗-๔ หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล                    ข้อ ๕ การให้คุณให้โทษและการสร้างขวัญ กำลังใจ O๒๘ รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๔ O๒๙ แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ O๓๐ ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบO๓๑ ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ (๖ เดือนแรก) ของปี พ.ศ. ๒๕๖๕ O๓๑ ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบปี ๒๕๖๔ รอบ ๖ เดือนO๓๒ ช่องทางการรับฟังความคิดเห็น O๓๓ การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม ปี พ.ศ. ๒๕๖๕ O๓๔ นโยบายไม่รับของขวัญ (No Gift Policy) ปี พ.ศ. ๒๕๖๕ O๓๕ การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร ปี พ.ศ. ๒๕๖๕ O๓๖ การประเมินความเสี่ยงการทุจริตประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ O๓๗ การดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริต ปี พ.ศ. ๒๕๖๕ O๓๘ การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรตามมาตรฐานทางจริยธรรม ปี พ.ศ. ๒๕๖๕ O๓๙ แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต ปี พ.ศ. ๒๕๖๕ O๔๐ รายงานการกำกับติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริต รอบ ๖ เดือน ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ O๔๑ รายงานผลการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๔ ส่วนที่ ๑O๔๑ รายงานผลการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๔ ส่วนที่ ๒ O๔๒ มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน O๔๓ การดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน ปี พ.ศ. ๒๕๖๕ .........................................................



วัดบ้านตำแย ตั้งอยู่ บ้านตำแย หมู่ที่ ๑ ตำบลไร่น้อย อำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานวัดบ้านตำแย ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔ ตอนพิเศษ ๘๐ ง วันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๔๐ พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๑ ไร่ ๑ งาน ๖๙.๒๘ ตารางวา โดยมีสิ่งสำคัญ คือ สิม (อุโบสถ) วัดบ้านตำแย --- สิม (อุโบสถ) วัดบ้านตำแย ตามประวัติได้เริ่มสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๗ โดยมีจารึกปรากฏอยู่ทางเข้าประตูเป็นภาษาไทน้อย ระบุได้ใจความว่า “...ญาครูทา (พระเจ้าอาวาส-ชื่อทา) สมเด็จชาต ภิกษุ สามเณร อุปาสก และอุบาสิกา ได้ร่วมกันสร้างขึ้น...” --- สิม (อุโบสถ) สร้างหันหน้าทางทิศตะวันออก ก่ออิฐถือปูน ตั้งอยู่บนฐานเอวขันในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด ๓ ห้อง ด้านหน้าเป็นมุขโถงมีราวระเบียงทึบล้อมรอบ โครงสร้างอาคารใช้เสาและผนังรับน้ำหนัก หน้ามุขโถงมีเสา ๒ ต้น รองรับส่วนหลังคาทรงจั่วมุงกระเบื้องดินเผา มีบันไดทางขึ้นด้านหน้าเพียงด้านเดียว ตรงกับประตูทางเข้า ผนังด้านข้างมีหน้าต่างด้านละ ๑ ช่อง ผนังห้องด้านหลังก่อทึบ ประดับตกแต่งหลังคาด้วยชุดไม้แกะสลัก ประกอบด้วย โหง่ (ช่อฟ้า) ใบระกา และ หางหงส์ หน้าบันเป็นลายไม้ตั้ง มีคันทวยไม้แกะสลักที่ผนังด้านข้างคั่นระหว่างห้อง ด้านในประดิษฐานพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน ปางมารวิชัยในซุ้มเรือนแก้ว สิม (อุโบสถ) วัดบ้านตำแย ได้รับการบูรณะเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕ และ พ.ศ. ๒๕๖๓ ------------------------------------------------ ++ อ้างอิง ++ --- พรรณธิพา สุวรรณี. สิมพื้นบ้านภาคอีสานในเขตเมืองอุบลราชธานี. สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร บัณฑิต (ประวัติศาสตร์ศิลปะ) คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๖. --- สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี. โบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแล้วในพื้นที่สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี (เล่ม ๑ : จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดยโสธร จังหวัดมุกดาหาร). อุบลราชธานี : ห้างหุ้นส่วนจำกัด อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์, ๒๕๖๓. ข้อมูล : กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี


Messenger