ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,619 รายการ

วันอังคารที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๓ นางชุติมา จันทร์เทศ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา พร้อมด้วยนายชำนาญ กฤษณสุวรรณ ผู้อำนวยการกลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน ลงพื้นที่ตรวจสอบความคืบหน้าโครงการอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานสะพานขอม ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ รับผิดชอบโครงการโดยอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา



เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๑ นายสุพจน์ พรหมมาโนช ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ เข้าตรวจการจ้างงานบูรณะอาคารศรีวิทยา(แบคแทลล์)โรงเรียนเชียงรายวิทยาคม ณ โรงเรียนเชียงรายวิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่


เว็ปไซต์หอจดหมายเหตุแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา : www.finearts.go.th/songkhlaarchives      หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ สงขลา เป้นศูนย์กลางการให้บริการเอกสารจดหมายเหตุ ที่มีการให้บริการ จัดการและดำเนินงานที่ได้มาตรฐาน ทันสมัย และเชื่อมโยงข้อมูลการให้ บริการด้านจดหมายเหตุกับหอจดหมายเหตุอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ        หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ สงขลา มีภารกิจหลักในการรับมอบ แสวงหา ประเมินคุณค่าเพื่อการจัดเก็บ การพัฒนา การอนุรักษ์ การเผยแพร่ และการให้บริการเอกสารจดหมายเหตุ ประเภทต่าง ๆ การบันทึกเหตุการณ์สำคัญของชาติเป็นศูนย์ข้อมูลและศูนย์ประสานงานจดหมายเหตุและปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย


เครื่องดนตรีกันตรึม กันตรึม “กันตรึม” เป็นเพลงพื้นบ้านนิยมกันมากในจังหวัดสุรินทร์ เนื้อเพลงกันตรึมใช้ภาษาเขมรขับร้อง กันตรึมถือเป็นแม่บทของเพลงพื้นบ้าน และการละเล่นพื้นบ้านอื่นๆ ของจังหวัดสุรินทร์ ประวัติความเป็นมา ประวัติการเล่นกันตรึมไม่มีผู้ใดทราบแน่ชัดว่ามีมาตั้งแต่เมื่อใด ลักษณะของเพลงกันตรึมเป็นเพลงปฏิพากย์คล้ายๆ เพลงฉ่อย เพลงเรือ หรือลำตัด จะแตกต่างที่เนื้อร้องกันตรึมเป็นภาษาเขมร ดนตรีบรรเลงประกอบ คือ กลองโทน(สก็วล) และซอ(สุกัญญา สุจฉายา ๒๕๒๕ : ๘) เหมือนกับประเทศกัมพูชา วงดนตรีกันตรึมมีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของชาวสุรินทร์มาแต่อดีต ไม่ว่าจะเป็นงานพิธีแบบใดๆ เช่น งานแต่งงาน งานศพ งานพิธีกรรมต่างๆ หรือใช้บรรเลงในพิธีเซ่นสรวงบูชา ทรงเจ้าเข้าผี เป็นต้น งานพิธีต่างๆ ของกลุ่มชาวไทยเขมรส่วนมากมักจะใช้วงกันตรึมบรรเลงยืนพื้นตลอดงาน ปัจจุบันกันตรึมใช้เป็นการละเล่นเพื่อความบันเทิงโดยทั่วไป มีการสืบทอดตามแบบการละเล่นพื้นบ้านแบบรุ่นสู่รุ่น คือ เมื่อผู้เล่นกันตรึมคณะเดิมชราภาพ หรือย้ายถิ่นที่อยู่ ก็จะถ่ายทอดให้แก่ผู้สนใจเพื่อสานต่อ(สงบ บุญคล้อย ๒๕๒๒ : ๘) วิวัฒนาการของเพลงกันตรึม ๑. ได้รับอิทธิพลมาจากเพลงปฏิพากย์ของเขมร ในประเทศกัมพูชา ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับเพลงปฏิพากย์ภาคกลางของประเทศไทยทั้งโครงสร้างของเพลง วิธีการแสดง และเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบ ได้แก่ กลองโทน ซอ และใช้การปรบมือเข้าจังหวะ เพลงปฏิพากย์ที่เล่นกันในประเทศกัมพูชาจะมีเพลงปรบเกอย เพลงอายัย เพลงอมตูก และเจรียงต่างๆ เป็นต้น (สุกัญญา สุจฉายา ๒๕๒๕ : ๘) ๒. วิวัฒนาการจากการใช้กลอง(สก็วล) ซึ่งเสียงตีกลองจะดัง “โจ๊ะกันตรึม ตรึม” จึงได้นำเสียงที่ดังนั้นมาตั้งเป็นชื่อวงดนตรี เรียกว่า “กันตรึม” การเล่นกันตรึมจะมีผู้ร้องทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ผู้แสดงจะร้อง และรำไปด้วย เป็นการรำให้เข้ากับจังหวะดนตรี ท่ารำไม่มีแบบแผนตายตัว ปัจจุบันคณะกันตรึมบางคณะที่ยังเล่นอยู่ก็มีแบบการรำที่ไม่แน่นอน เนื่องจากกันตรึมไม่เน้นทางด้านการรำ แต่จะเน้นที่ความไพเราะของเสียงร้อง และความสนุกสนานของท่วงทำนองเพลงกันตรึมที่มีหลากหลายมากกว่า เครื่องดนตรี เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการเล่นกันตรึม ประกอบด้วย กลองกันตรึม(สก็วล) ๒ ลูก ซอ(ตรัว) ๑ คัน ปี่อ้อ ๑ เลา ขลุ่ย ๑ เลา ฉิ่ง กรับ และฉาบ อย่างละ ๑ คู่ แต่ถ้ามีเครื่องดนตรีไม่ครบก็อาจจะอนุโลมใช้เครื่องดนตรีเพียง ๔ อย่าง คือ กลองกันตรึม ๑ ลูก ซอ ๑ คัน ฉิ่ง และฉาบ อย่างละ ๑ คู่ ในปัจจุบัน วงกันตรึมบางคณะได้นำเอาเครื่องดนตรีสากลมาใช้ เช่น กลองชุด กีตาร์ และไวโอลิน เพื่อปรับให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงและเปลี่ยนไปตามความนิยมของผู้ชม การแต่งกาย การแต่งกายทั้งของนักดนตรีและนักร้องชายหญิงไม่มีแบบแผนกฎเกณฑ์ที่แน่นอน จะแตกต่างตามความสะดวกสบาย ทันสมัยและถูกใจผู้ชม เช่น หญิงนุ่งผ้าไหมพื้นเมือง เสื้อแขนกระบอก ห่มสไบเฉียง ชายนุ่งโจงกระเบน เสื้อคอกลมแขนสั้น ผ้าไหมคาดเอว และมีผ้าขาวม้าไหมพาดไหล่ทั้งสองข้าง โดยชายผ้าทั้งสองจะห้อยอยู่ทางด้านหลัง ผู้เล่นและโอกาสที่ใช้เล่น การเล่นกันตรึม ใช้ผู้เล่นประมาณ ๖ – ๘ คน ผู้ร้องเป็นชายและหญิง อาจจะมี ๑ – ๒ คู่ หรือชาย ๑ คน หญิง ๒ – ๓ คน แต่โดยทั่วไปนิยมให้มีชาย ๒ คน หญิง ๒ คน การเล่นกันตรึมจะเล่นในโอกาสต่างๆ ทั้งในโอกาสเฉลิมฉลอง งานมงคล เช่น งานแต่งงาน งานโกนจุก งานบวชนาค เทศกาลปีใหม่ สงกรานต์ และลอยกระทง เป็นต้น หรืองานอวมงคล นอกจากนี้ยังใช้เล่นในพิธีกรรมเกี่ยวกับความเชื่อพื้นบ้าน วิธีเล่นกันตรึม วงกันตรึมจะเล่นที่ไหน ก่อนเริ่มการแสดงจะต้องมีพิธีไหว้ครูเพื่อเป็นสิริมงคล ทั้งผู้ดูและผู้เล่น เมื่อไหว้ครูเสร็จก็จะเริ่มบรรเลงเพลง เป็นการโหมโรงเพื่อปลุกใจให้ผู้ดูรู้สึกตื่นเต้น และผู้แสดงก็จะได้เตรียมตัว จากนั้นจะเริ่มแสดง โดยเริ่มบทไหว้ครูตามธรรมเนียมโบราณดั้งเดิม วิธีการร้องจะขับร้องโต้ตอบกันระหว่างชาย หญิง มีการรำประกอบการร้อง ไม่ต้องใช้ลูกคู่ช่วยร้องรับบทเพลง บทเพลงกันตรึม บทเพลงกันตรึมไม่มีเนื้อร้องเป็นการเฉพาะ แต่มักคิดคำกลอนให้เหมาะสมกับงานที่เล่น หรือใช้บทร้องเก่าๆ ที่จดจำกันมามีประมาณ ๒๒๘ ทำนองเพลง ไม่มีใครสามารถจดจำได้ทั้งหมด เพราะไม่มีการจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร มีเพียงการจดจำต่อๆ กันมาเท่านั้น การแบ่งประเภทบทเพลงกันตรึม ๑. บทเพลงชั้นสูงหรือเพลงครู เป็นบทที่มีความไพเราะ สูงศักดิ์ ทำนองเพลงอ่อนหวานกินใจ แสดงให้เห็นถึงความศักดิ์สิทธิ์ เช่น เพลงสวายจุมเวื้อด ร่ำเป็อย – จองได มโหรี และเพลงเซร้ยสะเดิง เป็นต้น ๒. บทเพลงสำหรับขบวนแห่ มีทำนองครึกครื้นสนุกสนาน มีการฟ้อนรำประกอบการขับร้อง มีหลายทำนอง เช่น รำพาย ซมโปง ตร็อบตุม และเกาะเบอรมแบง เป็นต้น ๓. บทเพลงเบ็ดเตล็ดต่างๆ เป็นบทเพลงที่มีทำนองรวดเร็ว เร่งเร้า ให้ความสนุกสนาน ใช้เป็นบทขับร้องในโอกาสทั่วๆ ไป เช่น เกี้ยวพาราสี สั่งสอน สู่ขวัญ และรำพึงรำพัน เป็นต้น ทำนองเพลงจะมีหลายทำนอง เช่น อมตูก กัจปกาซาปาดาน กันเตรยโมเวยงูดตึก กะโน้ปติงต้อง และมลบโดง เป็นต้น ๔. บทเพลงประยุกต์ เป็นบทเพลงที่ใช้ทำนองเพลงลูกทุ่งเข้ามาประยุกต์เป็นทำนองเพลงกันตรึม เช่น ดิสโก้กันตรึม สัญญาประยุกต์ และเตียแขมประยุกต์ เป็นต้น



ดาวน์โหลดเอกสาร




ชื่อวัตถุ::ระหัดวิดน้ำเลขทะเบียน::43/0005/2547 ลักษณะ::ไม้ทรงกลมมีใบพัดรอบ สำหรับใส่ใบพัดใบพัดรอบจำนวน 8 ใบเขินจักรด้านหน้าสำหรับใส่ใบระหัดวิดน้ำกลุ่มชาติพันธุ์:: ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาข้อมูล::อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี แหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)   ชื่อวัตถุ::ระหัดวิดน้ำเลขทะเบียน::43/0006/2547 ลักษณะ:: ไม้ทรงกลมมีใบพัดรอบ สำหรับใส่ใบพัดจำนวน 6 ใบจักรด้านหลังสำหรับใส่ใบระหัดวิดน้ำกลุ่มชาติพันธุ์:: ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาข้อมูล::อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี แหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)   ชื่อวัตถุ::ถังฉีดยาฆ่าแมลง 2 ชิ้นเลขทะเบียน::43/0007/2547 ลักษณะ::ยี่ห้อ Hudson Sprayer ทำจากถังอลูมิเนียม ทรงกระบอกรี มีช่องสำหรับเติมและมีสายสำหรับพ่น และมีเชือกสีฟ้าสำหรับสะพายกลุ่มชาติพันธุ์:: ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาข้อมูล::อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี แหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)   ชื่อวัตถุ::พระพุทธรูปไม้ปางมารวิชัยเลขทะเบียน::43/0019/2547 ลักษณะ::ประทับบนฐานสูง พระพักตร์รูปไข่ พระเมาลีสูง ยอดรัศมีคล้ายดอกบัว ห่มจีวรเฉียงกลุ่มชาติพันธุ์:: ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาข้อมูล::อ.หนองโดน จ.สระบุรีแหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)   ชื่อวัตถุ::เต้าปูนเลขทะเบียน::43/0020/2547 ลักษณะ::เต้าปูนลำตัวกลมเรียบ ฐานเป็นเชิง ส่วนฝาเป็นทรงกรวยช้อนกัน ยอดดอกบัว สำหรับใส่ปูนแดงเพื่อกินหมากกลุ่มชาติพันธุ์:: ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาข้อมูล::อ.บ้านหมอ จ. สระบุรี แหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)   ชื่อวัตถุ:: แป้นชักลวดเลขทะเบียน::43/0239/2558 ลักษณะ::แป้นเหล็กรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเจาะช่องทะลุรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสตั้งแต่ช่องขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ แต่ละช่องมีลักษณะปากกว้างปลายแคบ มี 3 แถว สำหรับชักลวดโลหะกลุ่มชาติพันธุ์:: จีน-ทิเบตแหล่งที่มาข้อมูล::เขตบางซื่อ จ.กรุงเทพมหานครแหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)   ชื่อวัตถุ:: แป้นชักลวดเลขทะเบียน::43/0240/2558 ลักษณะ::แป้นเหล็กรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเจาะช่องทะลุรูปวงกลมตั้งแต่ช่องขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ แต่ละช่องมีลักษณะปากกว้างปลายแคบมีหมายเลขกำกับ เริ่มตั้งแต่หมายเลข 1 - 40 มี 3 แถว ใช้สำหรับชักลวดโลหะกลุ่มชาติพันธุ์:: จีน-ทิเบตแหล่งที่มาข้อมูล::เขตบางซื่อ จ.กรุงเทพมหานครแหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)   ชื่อวัตถุ:: แป้นชักลวดเลขทะเบียน::43/0241/2558 ลักษณะ::แป้นเหล็กรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าดัดแปลงมาจากตะไบเหล็ก เจาะช่องทะลุรูปวงกลม แต่ละช่องมีขนาดใกล้เคียงกัน มีลักษณะปากกว้างปลายแคบ มี 3 แถว สำหรับชักลวดโลหะกลุ่มชาติพันธุ์:: จีน-ทิเบตแหล่งที่มาข้อมูล::เขตบางซื่อ จ.กรุงเทพมหานครแหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)   ชื่อวัตถุ::วงเวียนเหล็กเลขทะเบียน::43/0256/2558 ลักษณะ::วงเวียนทำด้วยเหล็ก มีแป้นสำหรับปรับรัศมี ความกว้างกลุ่มชาติพันธุ์:: จีน-ทิเบตแหล่งที่มาข้อมูล::เขตบางซื่อ จ.กรุงเทพมหานครแหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)   ชื่อวัตถุ::แผ่นเหล็กตีทองเลขทะเบียน::43/0257/2558 ลักษณะ::แผ่นเหล็กรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากลุ่มชาติพันธุ์:: จีน-ทิเบตแหล่งที่มาข้อมูล::เขตบางซื่อ จ.กรุงเทพมหานครแหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)   ชื่อวัตถุ::ปากกามือจับเลขทะเบียน::43/0271/2558 ลักษณะ::เครื่องมือเหล็ก ปากแบบคีมจับ มีแกนเหล็กใส่ น๊อตหางปลา สำหรับขันปรับความแน่น กลุ่มชาติพันธุ์:: จีน-ทิเบตแหล่งที่มาข้อมูล::เขตบางซื่อ จ.กรุงเทพมหานครแหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)   ชื่อวัตถุ:: ขันหย่อง(พาข้าวหย่อง)เลขทะเบียน::43/0194/2558 ลักษณะ::ภาชนะทรงกระบอก ฐานสอบเข้าเป็นเชิงกลม ส่วนบนมีขนาดใหญ่กว่าส่วนฐาน ปากผายออก ด้านในสานเป็นตะแกรงทรงสี่เหลี่ยม ใช้สำหรับวางของในงานพิธีกรรมกลุ่มชาติพันธุ์::ไทลาวแหล่งที่มาข้อมูล::ต.บ้านธาตุ จ.อุดรธานี แหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)   ชื่อวัตถุ:: ขันหย่อง(พาข้าวหย่อง)เลขทะเบียน::43/0195/2558 ลักษณะ::ภาชนะทรงกระบอก ฐานสอบเข้าเป็นเชิงกลม ส่วนบนมีขนาดใหญ่กว่าส่วนฐาน ปากผายออก ด้านในสานเป็นตะแกรงทรงสี่เหลี่ยม ใช้สำหรับวางของในงานพิธีกรรมกลุ่มชาติพันธุ์::ไทลาวแหล่งที่มาข้อมูล::ต.บ้านธาตุ จ.อุดรธานี แหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)   ชื่อวัตถุ:: ตะแกรงเลขทะเบียน::43/0196/2558 ลักษณะ::ตัวแกรง ทรงมะนาวตัดครึ่งซีก สานลายขัดแบบห่าง มีรูขนาดเล็ก ให้ของเหลวลอดผ่านได้ เสริมความแข็งแรงของลำตัวและขอบปากด้วยเส้นไม้ไผ่ไขว้ และขดเป็นวงกลุ่มชาติพันธุ์::ญวนแหล่งที่มาข้อมูล::ต.บ้านธาตุ จ.อุดรธานี แหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)   ชื่อวัตถุ:: ตะกร้า,กระซ้า,กะต่าเลขทะเบียน::43/0197/2558 ลักษณะ::ตะกร้าสานลายขัดหนึ่ง ก้นตัดเป็นสี่เหลี่ยม ปากกลม มีหูสำหรับร้อยเชือก สำหรับหาบหรือสะพายกลุ่มชาติพันธุ์::ไทลาวแหล่งที่มาข้อมูล::ต.บ้านธาตุ จ.อุดรธานีแหล่งที่มาข้อมูล::พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)


       เมื่อวันอังคาร ที่ 6 พฤศจิกายน 2561 เวลา 09.00 น.นางอัญชิสา เสือเพ็ชร หัวหน้าหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี มอบหมายให้นางสาวเมษา ครุปิติ บรรณารักษ์ชำนาญการ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมงานสดุดีวีรกรรม "วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกู้ชาติ" ครั้งที่ 14 ณ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ค่ายตากสิน อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี   โดยพลเรือตรี บำรุงรัก สรัคคานนท์ รองผู้บัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด พร้อมด้วย นายพงษ์พัฒน์ วงศ์ตระกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ได้นำหน่วยงานราชการ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่จังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราด ร่วมวางพานพุ่มเพื่อถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เนื่องในพิธีสดุดีวีรกรรม "วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกู้ชาติ" ครั้งที่ 14 เพื่อน้อมรำลึก สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณถึงวีรกรรมการกู้ชาติของพระองค์ รวมทั้งนักรบกู้ชาติของพระองค์ ทั้งนี้ วันที่ 6 พฤศจิกายน ของทุกปี นับเป็นวันครบรอบวันที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชให้แก่ประเทศไทย พระองค์มอบเอกราช อิสรภาพให้แก่คนไทย รักษาแผ่นดินนี้ให้เป็นไทยสืบมา “250 ปี ตามรอยกองเรือยกพลขึ้นบกสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จากจันทบุรีสู่อยุธยา” โอกาสนี้กองทหารเกียรติยศได้ยิงสลุตจำนวน 21 นัด เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติฯ


โครงการค้นคว้าเอกสารประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเขตแดนสยาม – อังกฤษ ๑.     ชื่อโครงการ โครงการค้นคว้าเอกสารประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเขตแดนสยาม-อังกฤษ ณ  สหราชอาณาจักร   ๒.     วัตถุประสงค์ ๒.๑ เพื่อเป็นการสนับสนุนกระทรวงการต่างประเทศในการกำหนดท่าทีของฝ่ายไทยในการเจรจาปัญหาเขตแดนระหว่างไทยกับเมียนมาร์ ๒.๒ เพื่อศึกษาดูงานด้านจดหมายเหตุของหอจดหมายเหตุแห่งชาติอังกฤษ           ๓.  กำหนดเวลา                    วันที่ ๖ – ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖        ๔.  สถานที่                สถานที่ในการดำเนินโครงการค้นคว้าเอกสารประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเขตแดนสยาม-อังกฤษ ณ สหราชอาณาจักร ประกอบไปด้วย -      National Archives -      British Library      ๕.  หน่วยงานผู้จัด                    กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ      ๖.  หน่วยงานสนับสนุน                    สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร                    กลุ่มแผนงาน โครงการและวิเทศสัมพันธ์ สำนักบริหารกลาง กรมศิลปากร      ๗.  กิจกรรม             สำหรับกิจกรรมในการดำเนินโครงการค้นคว้าเอกสารประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเขตแดนสยาม-อังกฤษ ณ สหราชอาณาจักร ประกอบไปด้วย             ๗.๑ คณะผู้แทนไทย ได้เข้าศึกษาและค้นคว้าข้อมูลเอกสารประวัติศาสตร์ ณ British Library โดยขั้นตอนการเข้าค้นคว้าต้องกรอกแบบฟอร์มการขอเข้าใช้เอกสารเพื่อทำบัตรประจำตัว (Reader Pass) ซึ่งได้กำหนดอายุการใช้งานของบัตรประจำตัว  ๓  ปี             ๗.๒ คณะผู้แทนไทย ได้เข้าศึกษาและค้นคว้าเอกสารจดหมายเหตุ ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ (National Archives) ซึ่งมีขั้นตอนการกรอกแบบฟอร์มการขอเข้าใช้เอกสารจดหมายเหตุ และขอมีบัตรประจำตัว  ซึ่งมีกำหนดการอายุใช้งาน  ๓  ปี   ๘.  คณะผู้แทนไทย             โครงการค้นคว้าเอกสารประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเขตแดนสยาม-อังกฤษ ณ สหราชอาณาจักร ประกอบไปด้วยคณะผู้แทนจากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ และกระทรวงการต่างประเทศ จำนวน ๕ คน ดังนี้             ๘.๑ นางสาวนัยนา แย้มสาขา      ผู้อำนวยการสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ             ๘.๒ นางสาวกรพินธุ์ ทวีตา         นักจดหมายเหตุ ชำนาญการพิเศษ             ๘.๓ นายนิรันดร์  บุญจิต            เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ             ๘.๔ นายอัครพงศ์  เฉลิมนนท์     เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ             ๘.๕ นายณธวัช  วรรณโกวิท       เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ   ๙. สรุปสาระของกิจกรรม             คณะผู้แทนไทย ได้เดินทางไปค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการปักปันเขตเดนสยามกับเมียนมาร์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และศึกษาดูงานเกี่ยวกับจดหมายเหตุ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้             ๙.๑ การศึกษาค้นคว้าข้อมูล                      การเข้าศึกษาและค้นคว้าข้อมูลใน British Library และ National Archives โดยเน้นข้อมูลที่เกี่ยวกับการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับเมียนมาร์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เอกสารที่เก็บรักษาและให้บริการ ณ หน่วยงานทั้งสองแห่ง เป็นเอกสารที่มีความคล้ายคลึงกัน และเชื่อมโยงกันในรูปแบบเอกสารจดหมายเหตุประเภทลายลักษณ์และแผนที่ เอกสารลายลักษณ์ ได้แก่ จดหมายโต้ตอบระหว่างกงสุลอังกฤษในกรุงเทพกับรัฐบาลสยาม กงสุลอังกฤษในกรุงเทพฯกับรัฐบาลอังกฤษ รายงานการทูตของกงสุลอังกฤษที่กรุงเทพฯ และเมืองเชียงใหม่ เช่น รายงานบันทึกการสำรวจของข้าหลวงอังกฤษและเจ้าหน้าที่อังกฤษเกี่ยวกับการปักปันเขตแดนสยาม – พม่า, หนังสือโต้ตอบระหว่างสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์กับข้าหลวงใหญ่อังกฤษที่ประเทศอินเดีย, เอกสารประเภทแผนที่แสดงการปักปัน, หนังสือมีไปมาระหว่างข้าราชการไทยกับข้าราชการอังกฤษ เกี่ยวกับการทูต การค้า ระเบียบข้อบังคับของสยาม สนธิสัญญาระหว่างประเทศทั้งสอง, เรื่องเขตแดนสยาม – มาเลเซีย, ทางรถไฟสาย  Singora – Kedah, เส้นทางรถไฟสายกรุงเทพฯ – โคราช, ความสัมพันธ์ระหว่าง Mr. Knox และรัฐบาลสยาม, การเจรจาในเรื่องต่างๆ ระหว่างรัฐบาลสยามกับรัฐบาลอังกฤษ เป็นต้น                           ๙.๒ การศึกษาดูงาน                      นางสาวนัยนา แย้มสาขา ผู้อำนวยการสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ และนางสาวกรพินธุ์ ทวีตา นักจดหมายเหตุชำนาญการพิเศษ ได้ศึกษาดูงาน Digitization ของหอจดหมายเหตุแห่งชาติอังกฤษ อาทิเช่น การสแกนไมโครฟิล์มลงซีดี เพื่อเป็นฐานข้อมูลและสามารถให้บริการด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เนื่องจากในปัจจุบันครุภัณฑ์ไมโครฟิล์มมีการผลิตน้อยลง และให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์และให้บริการเอกสารจดหมายเหตุด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจดหมายเหตุเพิ่มมากขึ้น เพราะมีความสะดวก และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว การบริหารจัดการเรื่องการสแกนเอกสารจดหมายเหตุโดยใช้ระบบการการจ้างบริษัทให้เข้ามาดำเนินการสแกนเอกสารจดหมายเหตุตามคำร้องขอของสำนักพิมพ์ต่างๆ ที่มีความประสงค์จะจัดพิมพ์เอกสารจดหมายเหตุออกจำหน่ายเพื่อเผยแพร่ ทั้งนี้บริษัทต้องเข้ามาดำเนินการในหอจดหมายเหตุแห่งชาติภายใต้การควบคุม ดูแล ของเจ้าหน้าที่ของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รวมทั้งบริษัทที่เข้ามาดำเนินการอนุรักษ์ ซ่อมแซมต้นฉบับที่ชำรุด โดยใช้บุคลากรที่เชี่ยวชาญการอนุรักษ์ดำเนินการซ่อมแซมเอกสารก่อนการสแกน ปัจจุบันมีบริษัทเข้ามาดำเนินการ ๗ บริษัท ตามความต้องการจัดพิมพ์เอกสารจดหมายเหตุของ ๕ หน่วยงาน ทั้งนี้นโยบายการจัดลำดับเอกสารจดหมายเหตุที่จะดำเนินการสแกนขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ค้นคว้าและผู้ร้องขอ เอกสารชุดสำคัญที่มีผู้สนใจ เพื่อศึกษาค้นคว้า และเพื่อจัดพิมพ์ เช่น เอกสารเกี่ยวกับตระกูล เอกสารด้านการทหาร   ๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม             จากการเดินทางไปค้นคว้าเอกสารจดหมายเหตุที่เกี่ยวกับประเทศไทย ใน British Library และ National Archives ร่วมกับคณะเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ พบว่า เอกสารสำคัญที่เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายด้านต่างๆ ของประเทศ การบริหารบ้านเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เก็บรักษาอยู่ในหน่วยงานดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ดังนั้นหากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติจะได้ดำเนินโครงการรวบรวม จัดทำรายการ และจัดทำสำเนาเอกสารจดหมายเหตุเหล่านั้น มาเก็บและให้บริการจะช่วยเติมเต็มข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่ขาดหายไป และการได้เข้ามาศึกษาดูงาน ณ  หอจดหมายเหตุแห่งชาติอังกฤษ ทำให้ได้เรียนรู้และได้ประสบการณ์ โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการเอกสารจดหมายเหตุ และการให้บริการเอกสารจดหมายเหตุ อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ค้นคว้าสามารถเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก รวดเร็ว     นางสาวกรพินธุ์ ทวีตา ผู้สรุปรายงานการเดินทางไปราชการ


  ***บรรณานุกรม***  พระยาสีหราชฤทธิไกร (ทองคำ สีหอุไร (พระสุวรรณรัศมี)  นิทานเทียนสุภาษิต (ทองคำ สีหอุไร) (พระสุวรรณรัศมี) ภาคที่ 8 พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายบุญชัยตัณฑ์วิไล ณ เมรุวัดศรีบุรีรัตนาราม อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี วันที่ 2 เมษายน พุทธศักราช 2509  พระนคร  โรงพิมพ์พ.พิทยาคาร 2509


วัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฏร์ที่สำคัญและมีชื่อเสียงมาแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เดิมเรียกว่า วัดยายศรีจันทร์ หรือ วัดยายสีจันทร์


หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง                          ทาน                                    แง่ศาสนา                                    พุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    28 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58.5 ซม. บทคัดย่อ                      เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม  ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534