ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,619 รายการ
ชื่อเรื่อง ชุมนุมพระบรมราชาธิบาย ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาคที่ 3 หมวดราชจารีตโบราณผู้แต่ง จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2347-2411ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ ความรู้ทั่วไปเลขหมู่ 089.95911 จ196ชสถานที่พิมพ์ พระนคร สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากรปีที่พิมพ์ 2474ลักษณะวัสดุ 32 หน้าหัวเรื่อง ความรู้ทั่วไป รวมเรื่องภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกภาคที่ 3 หมวดราชจารีตโบราณ ว่าด้วยเรื่อง อากรค่าน้ำ อากรไม้ปกำใบและน้ำมัน พิกัดเงินตรา การใช้เบี้ย พิกัดทองคำ ตราภูมิคุ้มห้าม ดวงตราที่ใช้ในตราภูมิ สักเลขหมายหมู่ ละคอนผู้หญิงของหลวง และนายบ่อนทดรองเงินให้ผู้เล่นเบี้ย
พฺรยาสุนนฺทราช (พฺรยาสุนนฺทราช)
ชบ.บ.67/1-1ก
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
//ร่องรอยแหล่งตีเหล็กสมัยล้านนา ในแอ่งที่ราบเชียงใหม่-ลำพูน//- เรียบเรียงโดย นายยอดดนัย สุขเกษม นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่.- ช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา สำนักศิลปากรที่ 7เชียงใหม่ ได้ดำเนินการสำรวจแหล่งโลหกรรมโบราณมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีการค้นพบแหล่งถลุงเหล็กโบราณหลายแห่งในแอ่งที่ราบเชียงใหม่-ลำพูน กระจายตัวเกาะกลุ่มตามสายแร่เหล็ก เช่น กลุ่มดอยเหล็ก และกลุ่มแม่โถ เป็นต้น.- หลักฐานที่ปรากฏแหล่งถลุงเหล็กเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ราวช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 - 23 มีความต้องการทรัพยากรเหล็กค่อนข้างมากจนถึงขนาดตั้งถิ่นฐานชุมชนรอบบ่อเหมืองเหล็กโบราณเพื่อผลิตและใช้สอยทรัพยากร.- แต่อย่างไรก็ตาม การสำรวจที่ผ่านมาก็ยังไม่เคยมีการค้นพบแหล่งผลิตเป็นเครื่องมือหรือแหล่งตีเหล็กเลยแม้แต่แหล่งเดียว.- กระทั่งในช่วงต้นปี พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา ทางทีมนักโบราณคดีเริ่มได้ข้อมูลมุขปาฐะพื้นถิ่น เกี่ยวกับชุมชนยุคก่อนสมัยพระเจ้ากาวิละ ทำหน้าที่ผลิตอาวุธเพื่อทำสงคราม ตั้งอยู่พื้นที่ทางด้านทิศตะวันออกของเมืองลำพูน .- ด้วยความร่วมมือในการทำงานระหว่างเจ้าหน้าที่สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ และ เครือข่าย อส.มศ. อำเภอเมืองลำพูน ทำให้มีการค้นพบร่องรอยชุมชนตีเหล็กโบราณ ในพื้นที่ตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน .- การสำรวจทางโบราณคดีบริเวณร่องรอยชุมชนตีเหล็กดังกล่าว พบหลักฐานสำคัญหลายประการ เช่น ตะกรันก้นเตาตีเหล็ก (phano-convex Slag) และหินลับเครื่องมือเหล็กจำนวนมาก กระจายตัวปะปนอยู่กับเครื่องถ้วยจากแหล่งเตาล้านนาและเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิงอย่างหนาแน่น .- หลักฐานข้างต้นแสดงให้เห็นถึงร่องรอยชุมชนช่างตีเหล็กขนาดใหญ่ ที่น่าจะตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณนี้ร่วมสมัยล้านนา ราวช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 - 23 นับเป็นการค้นพบร่องรอยชุมชนช่างตีเหล็กโบราณแหล่งแรก ซึ่งจะต้องมีการศึกษาเชิงลึกกันต่อไปในอนาคต#โบราณโลหะวิทยาดินแดนล้านนา
สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๔ นายอธิยุตชัย ป้องภัย (อายุ ๔๖ ปี) นักจัดรายการวิทยุ ได้สังเกตพบรอยฝ่ามือและภาพเขียนต่างๆบนก้อนหินขนาดใหญ่ จึงได้แจ้งทางอำเภอโพธิ์ไทร และ สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี เพื่อลงพื้นที่ตรวจสอบร่วมกันเมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๔
----- แหล่งภาพเขียนสีแห่งใหม่ตั้งอยู่ที่ บ้านกะลึง หมู่ ๖ ตำบลสารภี อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี ชาวบ้านเรียกบริเวณที่พบภาพเขียนสีนี้ว่า “ลานหินทองคำ ภูถ้ำพระวัดถ้ำไฮ”
----- บริเวณที่พบภาพเขียนสีมีสภาพเป็นเพิงหินขนาดใหญ่ กว้างประมาณ ๑๑.๖ เมตร ยาวประมาณ ๒๑.๕ เมตร สูงประมาณ ๔ เมตร พบภาพเขียนสีทั้งบนผนังและเพดานของเพิงผา ภาพที่พบเขียนด้วยสีแดงแบบน้ำหมาก โดยสามารถแบ่งกลุ่มภาพออกได้สองกลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มภาพทางด้านทิศเหนือของเพิงหิน และ กลุ่มภาพทางด้านทิศใต้ของเพิงหิน สภาพของภาพเขียนสีส่วนใหญ่ลบเลือนไปค่อนข้างมาก บางจุดยากแก่การสังเกตเห็นด้วยตาเปล่า
----- ภาพเขียนสีทั้งหมดที่พบ สามารถจำแนกออกได้ ๓ ประเภทหลักๆ ได้แก่ รอยฝ่ามือ ภาพคน และภาพลายเส้น โดยแหล่งภาพเขียนสีบ้านกะลึงแห่งนี้ พบรอยฝ่ามือทั้งหมดจำนวน ๒๒ มือ แบ่งออกเป็นมือข้างซ้าย จำนวน ๓ มือ มือข้างขวาจำนวน ๑๒ มือ และไม่สามารถระบุข้างได้จำนวน ๗ มือ ในจำนวนนี้แบ่งเป็นมือเด็กข้างขวาจำนวน ๒ มือ และมือเด็กข้างซ้ายจำนวน ๑ มือ พบภาพคนทั้งหมดจำนวน ๙ คน เขียนแบบลักษณะเงาทึบ ให้เห็นแต่ด้านหน้าตรง ไม่เห็นตา จมูก ปาก ส่วนแขนและขากางออกจากลำตัว ยืนทำท่าทางในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ส่วนภาพลายเส้นที่พบเป็นภาพแบบคตินิยม (Idealism) ซึ่งเป็นภาพที่ไม่เป็นธรรมชาติ ยากแก่การแปลความหมาย เช่น ลายเส้นซิกแซก (Zigzag) ลายเส้นคู่ขนานไขว้ตัดกัน ลายเส้นเรขาคณิต ลายจุดไข่ปลา (เส้นประ) และกลุ่มลายเส้นที่ไม่สามารถระบุลวดลายที่แน่ชัดได้ จากลักษณะภาพเขียนสีและบริบทสภาพแวดล้อมที่พบ สันนิษฐานในเบื้องต้นว่าภาพเขียนสีแห่งนี้อยู่ในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย อายุประมาณ ๒,๐๐๐ - ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว
----- ภาพเขียนสีเหล่านี้ นอกจากจะแสดงให้เห็นถึงการมีตัวตนของคนในอดีตแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นถึงสภาพความเป็นอยู่ของคนในสมัยโบราณว่าอยู่กันเป็นกลุ่ม และการแสดงถึงรูปแบบความเชื่อภายในกลุ่มสังคม เช่น การประทับรอยฝ่ามือลงบนหิน นอกจากจะเป็นการแสดงตนเชิงสัญลักษณ์แล้ว อาจมีความเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องโชคลางและสุขภาพ จึงทำให้พบทั้งรอยฝ่ามือเด็กและฝ่ามือผู้ใหญ่ เป็นต้น ดังนั้นภาพเขียนสีจึงเป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่มีความสำคัญอย่างยิ่งอีกประเภทหนึ่ง
ข้อมูล : นางสาวศุภภัสสร หิรัญเตียรณกุล นักโบราณคดีชำนาญการ
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : เสาหลักเมืองจังหวัดพะเยา -- “เสาหลักเมือง” หรือ “สะดือเมือง” คือวัตถุที่เป็นที่จำหมายเป็นสัญลักษณ์ของของการก่อตั้งชุมชน หรือเมือง อันบ่งบอกถึงความภาคภูมิใจความร่มเย็นเป็นสุข เสาหลักเมืองถือเป็นใจของเมือง เป็นที่สถิตของเทพยดาผู้ปกปักพิทักษ์บ้านเมือง มีธรรมเนียมว่าก่อนที่จะสร้างเมืองจะต้องทำพิธียกเสาหลักเมืองในที่ที่เป็นชัยภูมิสำคัญ เพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองที่จะสร้างขึ้น สิ่งที่จะนำมาใช้เป็นเสาหลักเมือง ไม้มงคล คือ ไม้ชัยพฤกษ์ เป็นไม้เนื้อแข็งคงทน ส่วนมากโบราณนิยมใช้ไม้นี้มากกว่าไม้อย่างอื่นเหตุเพราะชื่อเป็นมงคลนาม ไม้ราชพฤกษ์ เป็นไม้ตระกูลเดียวกับไม้ชัยพฤกษ์ เป็นมงคลนาม หมายถึงความเป็นใหญ่ ไม้กัลปพฤกษ์ ไม้สักทอง ไม้พยุง ไม้คันทรง ไม้จันทน์ ใช้หินเป็นแท่ง หินทราย หินแกรนิต เป็นต้น จะต้องสกัดออกมาให้เป็นแท่งตามสโลก (โฉลก) สิ่งปลูกสร้างที่เป็นมงคล ได้แก่ เจดีย์ พระพุทธรูป องค์เสาหลักเมืองของจังหวัดพะเยานั้น ทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ โดยนายสุวิทย์ สุทธิวนา ผู้จัดการโรงเลื่อยจักรพนาชัย เป็นผู้จัดหาจากป่าในเขตอำเภองาว จังหวัดลำปาง ติดต่อกับอำเภอเมืองพะเยา ซึ่งไม้ดังกล่าวมีขนาดวัดโดยรอบลำต้น โดยประมาณ 140-150 เซนติเมตร ขึ้นอยู่ในป่าลึก ใช้ช้างชักลากออกมาสู่ถนนใหญ่ และได้มอบหมายให้นายน้อย หนักตื้อ ชาวอำเภอดอกคำใต้ เป็นช่างกลึงไม้ทำเป็นเสาหลักเมือง โดยใช้เวลากลึงอยู่ 17 วัน ตั้งแต่วันที่ 7 - 23 เมษายน 2530 มีผู้ช่วยช่างเพียง 1 คน คือนายสุรพล หนักตื้อ มีการประกอบพิธีพุทธาภิเษกองค์หลักเมือง เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2530 ซึ่งถือเป็นปีที่ครบรอบ 10 ปี การประกาศจัดตั้งจังหวัดพะเยา (พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดพะเยา พุทธศักราช 2520 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พุทธศักราช 2520) ในวันพุธที่ 27 มกราคม พุทธศักราช 2531 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา และคณะ เฝ้าฯ น้อมเกล้าฯ ถวายเสาสะดือเมือง จังหวัดเชียงราย และองค์เสาหลักเมืองจังหวัดพะเยา เพื่อทรงพระสุหร่ายและทรงเจิม ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน หลังจากนั้น ได้นำยอดเสาหลักเมืองมาพักไว้ที่วิหารวัดศรีโคมคำ ในวันที่ 28 มกราคม พุทธศักราช 2531 จัดพิธีแห่และสมโภชยอดหลักเมือง และสวมยอดองค์หลักเมือง ในวันที่ 28 สิงหาคม ของทุกปี จังหวัดพะเยาจะประกอบพิธีทำบุญเมืองและบวงสรวงศาลหลักเมือง ………………………………ผู้เรียบเรียง: นางสาวอรทัย ปานจันทร์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)........................................ข้อมูลอ้างอิง : 1. หนังสือที่ทำการปกครองจังหวัดพะเยา ที่ พย0016/ว94 ลงวันที่ 24 มกราคม พุทธศักราช 25312. โทรพิมพ์ในราชการกระทรวงมหาดไทย ด่วนมากที่ มท 0201/806 ลงวันที่ 19 มกราคม พุทธศักราช 25313. นที เมืองมา, เอกสารการทำบุญเมือง บวงสรวงวิญาณพระมหากษัตริย์พะเยาและศาลหลักเมือง,ในโอกาสฉลอง 900 ปี ภูกามยาว 20 ปี จังหวัดพะเยา. (พะเยา : นครนิวส์การพิมพ์, 2540), หน้า 34-39.4. ชมรมเสวนาประวัติศาสตร์ไชยนารายณ์, ที่ระลึกพิธีเปิดป้ายชื่อ ประตูเมืองเชียงราย. (เชียงราย : เชียงรายโฆษณาและการพิมพ์, 2530), หน้า 28-33.ภาพถ่าย : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พะเยา. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช. #จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 62/2ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 54 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อผู้แต่ง -
ชื่อเรื่อง ประกาศงลดุลย์แสดงบบัญชีรายนามของคณะส่วนร่วม
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ สงขลา
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์สมบูรณ์-โอสถ
ปีที่พิมพ์ 2479
จำนวนหน้า 66 หน้า
รายละเอียด
เป็นหนังสือบันทึกรายชื่อคณะกรรมการคณะส่งเสริมพระปริยัติธรรม ภาษาบาลี แขวงเมือง
สงขลา จังหวัด สงขลา ประจำปีที่ ๑ พ.ศ.๒๔๗๙ วัดเลียบและรายชื่อผู้บริจาคเงิน ส่งเสริมการเรียนประปริยัติธรรม ภาษาบาลี แขวงเมือง สงขลา พร้อมทั้งสารตอบขอบคุณจากประธานกรรมการ คณะส่งเสริมปริยัติธรรม
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 153/6เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
มงฺคลตฺถทีปนี (มงฺคลตฺถทีปนีเผด็จ) ชบ.บ 181/5เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง : ธรรมาธรรมะสงคราม พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมราชวงศ์ ประสิทธิศักดิ์ สิงหรา ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม 27 สิงหาคม พุทธศักราช 2515ชื่อผู้แต่ง : มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จ ปีที่พิมพ์ : 2515 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ : หจก.ช.ชุมนุมช่าง จำนวนหน้า : 106 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้พิมพ์เป็นระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมราชวงศ์ประสิทธิศักดิ์ สิงหรา เรื่องธรรมา ธรรมมะ สงคราม นี้ เป็นบทพากย์โขน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑ ดำเนินความตามเค้าเรื่องในธรรมชาดก เอกาทสนิบาตกล่าวถึงธรรมเทพบุตรผู้รักษาความเป็นธรรม