ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,619 รายการ
สังคโลกกับสถาปัตยกรรม
ในการขุดค้นทางโบราณคดีที่แหล่งเตาเผาสังคโลก แหล่งโบราณคดี หรือโบราณสถานสมัยสุโขทัยหลาย ๆ แห่ง เราจะพบเครื่องสังคโลกประเภทต่าง ๆ อาทิ ภาชนะ ตุ๊กตา และรวมไปถึงเครื่องประกอบสถาปัตยกรรมอันเป็นโบราณวัตถุสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการก่อสร้างสถาปัตยกรรมในสมัยสุโขทัยให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
สังคโลกที่เป็นเครื่องประกอบสถาปัตยกรรมมีหลายรูปแบบซึ่งให้ทั้งความสวยงามและประโยชน์ใช้สอย ได้แก่ โคมไฟ มีการเคลือบสีเขียวอมเทาและฉลุเป็นลายเครือเถาเพื่อให้แสงไฟสามารถลอดผ่านออกมาได้ ราวระเบียง ทำเป็นทรงกระบอกควั่นเป็นปล้อง เจาะช่องสำหรับเสียบกับเสาไม้ซึ่งวางเรียงต่อกันเป็นแนวตามระเบียงอาคาร กระเบื้องมุงหลังคา พบที่เคลือบด้วยน้ำยาเคลือบสีเขียวและไม่เคลือบผิว กระเบื้องเชิงชาย ทำเป็นลายเทพนมและลายพันธุ์ไม้ ใช้ปิดช่องของกระเบื้องกาบกล้วยบริเวณชายหลังคา บราลี เป็นเครื่องประดับหลังคา ลักษณะเป็นยอดขนาดเล็กใช้ปักตามแนวสันหลังคา
นอกจากส่วนประกอบต่าง ๆ ข้างต้นแล้ว ยังพบประติมากรรมสังคโลกที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องประกอบสถาปัตยกรรมด้วย เช่น ยักษ์ ถือกระบอง ทำหน้าที่เป็นทวารบาลดูแลรักษาศาสนสถานนั้น ๆ เทพนม เป็นประติมากรรมรูปเทวดาครึ่งตัวประนมมือ มกร สัตว์ผสมตามความเชื่อของคนในสมัยสุโขทัย มักประดับอยู่ที่มุมหลังคาหรือราวบันได
สังคโลกเหล่านี้ไม่ได้สร้างขึ้นเพียงเพื่อการใช้งานหรือเพื่อการประดับตกแต่งเท่านั้น ทว่ายังแฝงไปด้วยคติความเชื่อต่าง ๆ ทั้งความเชื่อเรื่องทวารบาลและเทวดาที่เป็นผู้พิทักษ์ไม่ให้สิ่งชั่วร้ายหรือภูตผีปีศาจเข้ามารบกวน มกรที่สื่อความหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งนอกจากจะทำให้เราจินตนาการภาพสิ่งก่อสร้างในสมัยสุโขทัยได้ชัดเจนขึ้นแล้ว โบราณวัตถุกลุ่มนี้ยังทำให้เราเข้าใจความเชื่อของผู้คนในสมัยนั้นมากขึ้นด้วยเช่นกัน
องค์ความรู้ เรื่อง กล้องยาสูบดินเผา (Clay Pipe) ตอนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไปเรื่อง กล้องยาสูบดินเผาจากงานโบราณคดี เรียบเรียงข้อมูลโดย นางสาวกุลวดี สมัครไทย นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น
ชื่อเรื่อง นิสัยวิสุทธิมรรค (นิไสวิสุทธิมัก) สพ.บ. 311/10หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทย-อีสานหัวเรื่อง พุทธศาสนา ธรรมะกับชีวิตประจำวัน ไตรสิกขาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 52 หน้า : กว้าง 4 ซม. ยาว 56 ซม. บทคัดย่อเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เมื่อครั้งสิ้นแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันที่ ๒๓ ตุลาคม รัตนโกสินทร์ ศก ๑๒๙ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดการบำเพ็ญพระราชกุศลพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ซึ่งในการพระราชกุศลสัปตมวารพระบรมศพ ครั้งที่ ๒ วันที่ ๕ พฤศจิกายน รัตนโกสินทร์ ศก ๑๒๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้มีการบำเพ็ญพระราชกุศลศราทธพรตร่วมถวายพระบรมศพด้วย โดยภายในการพระราชกุศลตามที่มีการบันทึกไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๒๗ ได้ปรากฏข้อความว่า ราชสำนักได้เชิญราชทูตและผู้แทนรัฐบาลต่างประเทศร่วมวางพวงมาลา ที่หน้าพระบรมศพ และมิสเตอร์ปิล อรรคราชทูตอังกฤษ ได้นำพวงมาลาของพระเจ้ากรุงอังกฤษ มาวางตามกระแสรับสั่ง ที่สำคัญพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดพิมพ์หนังสือ “พระธรรมเทศนาแลธรรมบรรยายศราทธพรต” เพื่อแจกผู้ร่วมในการพระราชกุศลครานั้นด้วย หนังสือ “พระธรรมเทศนาแลธรรมบรรยายศราทธพรต” เล่มนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงแต่งถวายในการพระราชกุศลสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื้อหาภายในเล่มแบ่งออกเป็น ๓ บท คือ บทศราทธพรตเทศนา บทศราทธพรตธรรมบรรยายของพระราชาคณะสงฆ์ และบทคำแปลศราทธพรตธรรมบรรยาย ซึ่งจัดพิมพ์ด้วยกระดาษหนาอย่างดีโดยโรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ เมื่อ ร.ศ. ๑๒๙ (พ.ศ. ๒๔๕๓) หากพิจารณาเนื้อความในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๒๗ หน้า ๑๙๕๙ - ๑๙๖๔ เรื่อง การพระราชกุศล ศราทธพรตแลสัปตมวารครั้งที่ ๒ ถวายที่พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.ศ. ๑๒๙ ทำให้ทราบว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส หรือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงถวายธรรมเทศนาธรรมบรรยายศราทธพรต และ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสถาพรพิริยพรต หรือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงเป็นประธานในการสวด ศราทธพรตธรรมบรรยายในการพระราชกุศลครานั้นด้วย ปัจจุบัน “หนังสือพระธรรมเทศนาแลธรรมบรรยายศราทธพรต” และ “ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๒๗ รัตนโกสินทร์ ศก ๑๒๙” จัดเก็บและให้บริการ ณ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ห้องหนังสือหายาก หอสมุดดำรงราชานุภาพ และห้องหนังสือประเทศเทศไทย ราชกิจจานุเบกษา และหนังสือนานาชาติ หนังสือพระธรรมเทศนาแลธรรมบรรยายศราทธพรต ร.ศ. ๑๒๙ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๗ รัตนโกสินทร์ ศก ๑๒๙----------------------------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวรวิวรรณ พุฒซ้อน บรรณารักษ์ชำนาญการ กลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดแห่งชาติ----------------------------------------------------------------บรรณานุกรม “การพระราชกุศลศราทธพรตแลสัปตมวารครั้งที่ ๒ ถวายที่พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.ศ. ๑๒๙” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๗ (๒๐ พฤศจิกายน ร.ศ ๑๒๙) ๑๙๕๙ - ๑๙๖๔. ราม วชิราวุธ. ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๔๕. วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา. พระธรรมเทศนาแลธรรมบรรยายศราทธพรต. พระนคร: โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ, ร.ศ. ๑๒๙.
เมื่อเอ่ยว่า"ท่าแฉลบ"คนจันทบุรีน้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก เพราะเป็นท่าเทียบเรือเก่า วิวทางทะเลดี แถมอาหารทะเลสดๆขึ้นจากเรือชาวประมงลงกระทะกันเลยทีเดียว ผู้เขียนก็เลยอยากมาชวนเพื่อนๆย้อนไปกับเอกสารจดหมายเหตุว่าในสมัยที่การคมนาคมทางทะเลยังเป็นหัวใจของการเดินทาง ชาวจันทบุรีใช้ท่าเทียบเรือแห่งนี้สำหรับเดินทางไปไหนกันบ้าง พบว่าเมื่อครั้งรัชกาลที่ 7 เสด็จประพาสเมืองจันทบุรีโดยประทับเรือพระที่นั่งมหาจักรี ในวันที่ 21 เมษายน 2470 มีการกล่าวถึง"ท่าแฉลบ"ว่า...เมื่อเรือพระที่นั่งมหาจักรีมาจอดที่ที่จอดแล้ว ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรีลงไปเฝ้าในเรือพระที่นั่ง แล้วรีบกลับมาคอยเฝ้าถวายพระแสงราชาวุธที่ปรำที่ท่าแฉลบ... นอกจากนี้ยังมีเอกสารรายงานการตรวจเรือเมล์เทียบท่าแฉลบ ใน พ.ศ.2478 ว่ามีเรือเมล์ไปและมายังท่าแฉลบแห่งนี้ มีเรืออะไรบ้าง 1.เรือนิภา ไป-กลับ กรุงเทพฯ ฮาเตียน(เวียดนาม) เรือออกเวลา 12.40 น. 2.เรือปากพนัง ไป-กลับ คลองใหญ่(ตราด) กรุงเทพฯ เรือออกเวลา 09.10 น. 3.เรืออ่างหิน ไป-กลับ วันยาว(ขลุง) กรุงเทพฯ เรือ ออกเวลา 09.30 น. 4.เรือรีดัง ไป-กลับ ตราด กรุงเทพฯ เรือออกเวลา 17.30 น. 5.เรือสาบไตย ไป-กลับ ตราด กรุงเทพฯ เรือออกเวลา 24.00 น.และ 04.45 น. 6.เรือภานุรังษี ไป-กลับ กรุงเทพฯ ฮาเตียน(เวียดนาม) เรือออกเวลา 12.00 น. 7.เรือลิ่วทะเล ไป-กลับ จันทบุรี กรุงเทพฯ เรือออกเวลา 12.50 น. 8.เรือตลบล่องคลื่น ไป-กลับ จันทบุรี ตราด เรือออกเวลา 05.30 น. แม้กาลเวลาเปลี่ยนไป จากการคมนาคมทางเรือ มาสู่การใช้ถนนเป็นหลัก แต่ท่าแฉลบแห่งนี้ก็ยังเป็นสถานที่ที่น่าสนใจของเมืองจันทบุรีอีกแห่งหนึ่ง ที่ท่านสามารถมาท่องเที่ยวและชื่นชมกับอาหารทะเลแสนอร่อยได้ตลอดค่ะ---------------------------------------------------------ผู้เขียน : สุมลฑริกาญจณ์ มายะรังสี นักจดหมายเหตุชำนาญการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี ---------------------------------------------------------อ้างอิง หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี. เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดมณฑลจันทบุรี (13)มท 2.6/3 เรื่องเสด็จพระราชดำเนินของเจ้าคุณมานิตย์ (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสมณฑลจันทบุรี เดือน เมษายน 2470 (14 มีนาคม 2469 – 6 กรกฎาคม 2470). หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี. เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดจังหวัดจันทบุรี จบ 1.2.4/50 เรื่องรายงานการตรวจเรือเมล์เทียบท่าแฉลบ (พ.ศ.2478).
พิธีแรกนาขวัญ หรือ"พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ" เป็นพระราชประเพณีสำคัญในการสร้างขวัญและกำลังใจแก่เกษตรกร และเป็นสัญญาณให้เริ่มการทำนา ถือปฏิบัติมาแต่โบราณตั้งแต่ครั้งพุทธกาล นอกจากนี้ปรากฏหลักฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย และได้ถือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง พระมหากษัตริย์ในอดีตทรงเห็นความสำคัญของพิธีนี้ เมื่อถึงเวลาเริ่มการเพาะปลูกพืชผล จึงทรงประกอบพระราชกรณียกิจ โดยเป็นผู้นำในการลงมือไถหว่านพืชพันธุ์ธัญญาหาร
“พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ” ในประเทศไทยแต่เดิมมีเพียงการประกอบพิธีตามลัทธิพราหมณ์ ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิธีสงฆ์เพิ่มขึ้น เป็นพิธีหนึ่งต่างหากเรียกว่า “พระราชพิธีพืชมงคล” โดยประกอบพิธีภายในอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เรียกรวมกันว่า “พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ” เป็นราชประเพณีมีกำหนดสองวัน จัดขึ้นในเดือนหก วันแรกเป็นพิธีสงฆ์ วันที่สองเป็นพิธีพราหมณ์ ประกอบด้วยการจัดริ้วขบวนพระยาแรกนา การบูชาเทวรูป ตลอดจนการเสี่ยงทายผ้านุ่ง และเสี่ยงทายพระโคกินเลี้ยง
ในสมัยรัชกาลที่ ๔ พระราชพิธีพืชมงคลกระทำที่ทุ่งพระเมรุ (สนามหลวงในปัจจุบัน) ส่วนพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญกระทำที่ทุ่งส้มป่อย นอกพระนคร (บริเวณสนามม้าราชตฤณมัย หรือสนามม้านางเลิ้งในปัจจุบัน) โดยพระยาแรกนาขวัญกับเทพีทั้ง ๔ จะเข้าฟังพระสงฆ์สวดในปะรำพิธีพืชมงคลในวันแรกก่อน แล้วจึงไปแรกนาในวันรุ่งขึ้น
ในหนังสือเรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกล่าวว่าในสมัยรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีแรกนาฯของหลวงในหัวเมืองไว้ด้วยดังความว่า
“…ครั้นมาในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรแรกนาที่ทุ่งส้มป่อยครั้งหนึ่ง ภายหลังโปรดให้มีการแรกนาที่กรุงเก่าและที่เพชรบุรี ได้เสด็จพระราชดําเนินทอดพระเนตรพระยาเพชรบุรี (บัว) แรกนาที่เขาเทพนมขวดครั้งหนึ่งหรือสองครั้ง…” และทรงกล่าวถึงภาพบรรยากาศของพระราชพิธีนี้ไว้อย่างน่าสนใจความตอนหนึ่งว่า
“...ในการจรดพระนังคัลเป็นเวลาคนมาประชุมมาก ถึงจะอยู่บ้านไกลๆ ก็มักจะมาด้วยมีประโยชน์ความต้องการเมื่อเวลาโปรยข้าวปลูกลงในนา พอพระยากลับแล้วก็พากันเข้าแย่งเก็บข้าว จนไม่มีเหลืออยู่ในท้องนาเลย เมื่อรัชกาลที่ ๔ ได้โปรดให้ไปชันสูตรหลายครั้งว่ามีข้าวงอกบ้างหรือไม่ ก็ไม่พบเหลืออยู่จนงอกเลย เมื่อทอดพระเนตรแรกนาที่เพชรบุรี พอคนที่เข้ามาแย่งเก็บพรรณข้าวปลูกออกไปหมดแล้ว รับสั่งให้ตํารวจหลายคนออกไปค้นหาเมล็ดข้าวว่าจะเหลืออยู่บ้างหรือไม่ ก็ไม่ได้มาเลยจนสักเมล็ดหนึ่ง พันธุ์ข้าวปลูกซึ่งเก็บไปนั้น ไปใช้เจือในพรรณข้าวปลูกของตัว ให้เป็นสวัสดิมงคลแก่นาบ้าง ไปปนลงไว้ในถุงเงินให้เกิดประโยชน์งอกงามบ้าง การแรกนาจึงเป็นที่นิยมของคนทั้งปวงไม่จืด ยังนับว่าเป็นพระราชพิธีซึ่งเป็นที่ต้องใจคนเป็นอันมาก…”
ภาพ : ภาพท้องสนามหลวง ฝั่งทิศใต้มองเห็นพระบรมมหาราชวัง ด้านนี้คือบริเวณที่ประกอบพิธีแรกนาสมัยต้นรัตนโกสินทร์ โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหนังสือ พระราชพิธีสิบสอง
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (ทสชาติ) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (มหาชนก-วิธูรบัณฑิต)
สพ.บ. 270/ก/2ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 56 หน้า กว้าง4.5 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาดก)ชาตกฎฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (ทสพร-มหาราช)
สพ.บ. 263/3ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 50 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา--การศึกษาและการสอน ชาดก
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี