ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,619 รายการ
ชื่อเรื่อง : กาพย์มหาชาติ
ผู้แต่ง : กรมศิลปากร
ครั้งที่พิมพ์ : ๓
ปีที่พิมพ์ : ๒๕๐๗
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : คลังวิทยา
หนังสือกาพย์มหาชาติ อธิบายลักษณะหนังสือที่เรียกว่า มหาชาติ ต่อจากนั้นเป็นเนื้อเรื่องเกี่ยวกับกาพย์มหาชาติโดยลงพิมพ์ในเล่มเพียง ๓ กัณฑ์ คือ กาพย์วนประเวศ กาพย์กุมารบรรพและกาพย์สักรบรรพ ตอนท้ายเรื่องเป็นการอธิบายกาพย์สักรบรรพ พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
บ้านหลวงรับราชทูต ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่อาคารโบราณสถานบ้านหลวงรับราชทูต (บ้านวิชาเยนทร์) ในเขตตำบลท่าหิน อำเภอเมืองฯ จังหวัดลพบุรี ซึ่งมีการจัดแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๓ เขตหลัก ได้แก่บ้านวิชาเยนทร์ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตก บ้านหลวงรับราชทูตตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออก มีโรงสวดหรือโบสถ์ในคริสต์ศาสนา นอเตรอะ ดาม เดอ ลอแรตต์ (Notre-Dame de Laurette) อยู่ตรงกึ่งกลางหมู่อาคาร - หมู่สถาปัตยกรรมที่แสดงถึงความใหญ่โตหรูหราและอำนาจ - บ้านหลวงรับราชทูต (บ้านวิชาเยนทร์) เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จากการศึกษาหลักฐานเอกสารทางประวัติศาสตร์ และการสำรวจรายละเอียดรูปแบบสถาปัตยกรรมในเบื้องต้นพบว่า พัฒนาการของการก่อสร้างบ้านหลวงรับราชทูต (บ้านวิชาเยนทร์) เริ่มขึ้นจากบ้านหลังใหญ่ทางฝั่งตะวันตกที่มีอิทธิพลของรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบ อินโด-เปอร์เซีย ซึ่งมีนักวิชาการ ตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า เดิมเคยเป็นที่พำนักอาศัยของพ่อค้าชาวเปอร์เซียที่มาติดต่อกับกรุงศรีอยุธยามาก่อน พ.ศ. ๒๒๒๖ ในภายหลังบ้านหลังนี้ได้ตกมาเป็นสมบัติของราชสำนัก สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้พระราชทานบ้านหลังนี้ให้แก่ พระยาวิไชเยนทร์ (Constantine Phaulkon)ในช่วงระหว่าง พ.ศ. ๒๒๒๖ – ๒๒๒๘ พระยาวิไชเยนทร์จึงเข้ามาปรับปรุงบ้านหลังใหญ่เพื่อใช้ในการอยู่อาศัยของตนเองและครอบครัว พร้อมกับสร้างโบสถ์นอเตรอะดาม เดอ ลอแรตต์ (Notre-Dame de Laurette) ขึ้น ในช่วงปลายปีพุทธศักราช ๒๒๒๘ ทางราชสำนักกรุงศรีอยุธยาได้ใช้บ้านพระยาวิไชเยนทร์เป็นที่รับรองคณะราชทูตฝรั่งเศส ซึ่งนำโดย เซอวาลิเยร์ เดอ โชมองต์ (Chevalier Alexandre de Chaumont) ราชทูตวิสามัญของฝรั่งเศส ผู้นำพระราชสาสน์มาถวาย และเดินทางขึ้นมาเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่เมืองละโว้ เนื่องจากขณะนั้นบ้านหลวงรับราชทูตอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ จึงมีการต่อเติมบ้านหลังใหญ่ของพระยาวิไชเยนทร์ และก่อสร้างอาคารขึ้นเพิ่มเติมในบริเวณบ้านวิชาเยนทร์อีกหลายหลัง เพื่อให้เพียงพอแก่การรับรองผู้ติดตามคณะราชทูต ในช่วงระยะเวลานั้นโบสถ์นอเตรอะดาม เดอ ลอแรตต์ สร้างแล้วเสร็จ แต่ยังไม่ได้ประดับตกแต่ง รายละเอียดพอใช้งาน ท่านราชทูต เดอ โชมองต์ จึงได้ใช้โบสถ์หลังนี้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาตลอดช่วงระยะเวลาที่คณะทูตฝรั่งเศสพำนักอยู่ที่เมืองละโว้ การก่อสร้างบ้านหลวงรับราชทูตทางฝั่งตะวันออก การตกแต่งโบสถ์ นอเตรอะดาม เดอ ลอแรตต์ การก่อสร้างเขตพัทธสีมา และแท่นมหากางเขนศิลาแล้วเสร็จสมบูรณ์ประมาณ พ.ศ. ๒๒๓๐ อันเป็นช่วงระยะเวลาเดียวกับที่คณะผู้แทนพระองค์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ นำโดย มองซิเออร์ เดอ ลา ลูแบร์ (Simon de La Loubere) เดินทางมาเข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ที่เมืองละโว้ คณะของมองซิเออร์ เดอ ลา ลูแบร์ จึงได้เข้าพักที่บ้านหลวงรับราชทูตทางฝั่งตะวันออก เมื่อสิ้นรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หมู่อาคารบ้านหลวงรับราชทูต (บ้านวิชาเยนทร์) ถูกปล่อยทิ้งร้างให้ชำรุดทรุดโทรมลงตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตามจนถึงในปัจจุบันหมู่อาคารเหล่านี้ยังแสดงให้เห็นถึงความใหญ่โตหรูหรา และอำนาจของผู้ครอบครองได้เป็นอย่างดี กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานบ้านหลวงรับราชทูต (บ้านวิชาเยนทร์) ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๓ หน้า ๙๐๔ วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๔๗๙ - มูลเหตุแห่งการค้นพบห้องลับปริศนาบ้านหลวงรับราชทูต - ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ๒๕๖๓ สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี ทำการขุดตรวจและขุดค้นทางโบราณคดีในพื้นที่โบราณสถานบ้านหลวงรับราชทูต (บ้านวิชาเยนทร์) ตามโครงการอนุรักษ์และพัฒนาบ้านหลวงรับราชทูต (บ้านวิชาเยนทร์) ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองฯ จังหวัดลพบุรี ผลจากการดำเนินงานทางโบราณคดีที่น่าสนใจ คือ บริเวณด้านหน้าอาคารหมายเลข ๕ ของหมู่อาคารบ้านหลวงรับราชทูต ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ การขุดตรวจทางโบราณคดีเบื้องต้น พบว่าเป็นชั้นใต้ดินที่มีห้องขนาดความกว้าง ๕.๑๖ เมตร ความยาว ๑๘.๗๕ เมตร อยู่ลึกจากระดับผิวดินลงไปประมาณ ๒.๐ เมตร พื้นห้องดาดปูนมีบันไดขึ้น-ลง ๒ ด้าน เชื่อมต่อกับอาคารหมายเลข ๕ และอาคารหมายเลข ๖ ห้องที่ตั้งอยู่ในชั้นใต้ดินลักษณะเดียวกันนี้เคยค้นพบในอาคารด้านหน้าบ้านวิชาเยนทร์ ซึ่งนักวิชาการสันนิษฐานว่า อาจเป็นอาคารต้อนรับใช้เป็นที่จัดเลี้ยงอาหารและเครื่องดื่มแก่คณะราชทูต ที่มีชั้นใต้ดินเป็นห้องไว้สำหรับเก็บเครื่องดื่มประเภทไวน์ นอกจากนี้ในระดับต่ำกว่าผิวดินลงไป ๑๐-๑๓๐ เซนติเมตร ในพื้นที่บ้านหลวงรับราชทูต ยังปรากฏหลักฐานร่องรอยของสถาปัตยกรรม พื้น และฐานอาคารต่างๆ ที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของการใช้พื้นที่ในสมัยอยุธยา เช่น อาคารหมายเลข ๑๒ ในบ้านวิชาเยนทร์ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นโรงอาบน้ำแบบเปอร์เซีย (Hammam) บริเวณด้านหลังพบห้องน้ำขนาดเล็ก ความกว้าง ๑.๓๐ เมตร ความยาว ๕.๗๕ เมตร เทพื้นดาดปูนทางด้านทิศตะวันตกปรากฏร่องรอยของหลุมทรงกลม และท่อดินเผาติดอยู่กับผนังโรงอาบน้ำ ส่วนด้านทิศเหนือเชื่อมต่ออยู่กับกำแพงขนาดใหญ่ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นแนวกำแพงบ้านเดิมทางด้านหลัง อาคารหมายเลข ๑๓ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นโรงครัวของมารี กีมา (Marie Guimar) ภรรยาพระยาวิไชเยนทร์ ทางด้านทิศเหนือของอาคารพบพื้นพาไลดาดปูน และบริเวณด้านหน้าของหมู่อาคารบ้านหลวงรับราชทูต พบร่องรอยการปูพื้นด้วยอิฐเป็นแนวตรงไปยังบันไดหลักของหมู่อาคาร แนวท่อน้ำดินเผาบริเวณมุมบันไดทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งน่าจะสัมพันธ์กับแนวท่อน้ำดินเผาที่ต่อออกมาจากถังเก็บน้ำก่ออิฐถือปูนบริเวณด้านข้างอาคารหมายเลข ๗ และแนวฐานกำแพงก่ออิฐซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นแนวกำแพงบ้านเดิมทางด้านหน้า เป็นต้น - การไขปริศนาห้องลับด้วยวิธีการทางโบราณคดี - ห้องขนาดใหญ่ในชั้นใต้ดินของอาคารด้านหน้าบ้านหลวงรับราชทูตนี้ ถูกสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์การใช้งานหรือเหตุผลใด เป็นห้องเก็บเครื่องดื่มประเภทไวน์เพื่อเสริมสร้างความสำราญแก่แขกผู้มาเยือน เป็นห้องเก็บสิ่งของที่คณะทูตนำเข้ามาเพื่อถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หรือเป็นสถานที่ซุกซ่อนสั่งสมศัตราอาวุธต่างๆเพื่อเสริมพลังอำนาจของผู้ที่ต้องการแย่งชิงหรือความเปลี่ยนแปลง ฯลฯ รวมทั้งข้อมูลของอาคารสถาปัตยกรรมองค์ประกอบรายละเอียดในส่วนต่างๆ ของบ้านหลวงรับราชทูต จึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจในการสืบค้นเรื่องราวทางประวัติศาสตร์จากหลักฐานทางโบราณคดีที่ปรากฏอยู่ เพื่อต่อเติมข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของเมืองลพบุรีให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี จึงดำเนินโครงการอนุรักษ์และพัฒนาบ้านหลวงรับราชทูต (บ้านวิชาเยนทร์) ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองฯ จังหวัดลพบุรี ระยะที่ ๒ เพื่อดำเนินการขุดแต่งทางโบราณคดีในเขตบ้านหลวงรับราชทูตทั้งบริเวณ ระหว่างเดือนมิถุนายน ๒๕๖๓ – เดือนมีนาคม ๒๕๖๔ ซึ่งข้อมูลทางวิชาการที่ได้จากการดำเนินงานตามโครงการดังกล่าว สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี จะรายงานให้ทราบในโอกาสต่อไป ภาพ : โบราณสถานบ้านหลวงรับราชทูต (บ้านวิชาเยนทร์) ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองฯ จังหวัดลพบุรี ภาพ : บ้านวิชาเยนทร์ ภาพ : หมู่อาคารบ้านหลวงรับราชทูต ภาพ : ผังแสดงตำแหน่งหลุมขุดตรวจทางโบราณคดีตามโครงการอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานบ้านหลวงรับราชทูต (บ้านวิชาเยนทร์) ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองฯ จังหวัดลพบุรี ปี ๒๕๖๓ ภาพ : การขุดตรวจทางโบราณคดีตามโครงการอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานบ้านหลวงรับราชทูต (บ้านวิชาเยนทร์) ปี ๒๕๖๓ ภาพ : ห้องใต้ดินขนาดใหญ่ บริเวณด้านหน้าอาคารหมายเลข ๕ ของหมู่อาคารบ้านหลวงรับราชทูต ภาพ : ห้องใต้ดินขนาดใหญ่ บริเวณด้านหน้าอาคารหมายเลข ๕ ของหมู่อาคารบ้านหลวงรับราชทูต ภาพ : บริเวณด้านหลังอาคารหมายเลข ๑๒ ในบ้านวิชาเยนทร์ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นโรงอาบน้ำแบบเปอร์เซีย (Hammam) พบห้องขนาดเล็กเทพื้นดาดปูน ทางด้านทิศตะวันตกปรากฏร่องรอยของหลุมทรงกลม และท่อดินเผาติดอยู่กับผนังโรงอาบน้ำ ภาพ : ด้านหน้าของหมู่อาคารบ้านหลวงรับราชทูต พบร่องรอยพื้นทางเดินก่ออิฐเป็นแนวตรงไปยังบันไดหลักของหมู่อาคาร และแนวฐานกำแพงก่ออิฐซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นแนวกำแพงบ้านเดิมทางด้านหน้า ภาพ : ร่องรอยของฐานอาคารในบ้านหลวงรับราชทูต ......................................................................ผู้เรียบเรียงข้อมูล/รายงาน : นายเดชา สุดสวาท นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรีที่มาของข้อมูล : Facebook สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี
ผู้แต่ง : ตรี อมาตยกุล
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2508
หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงวิญญูประเทศ (พอน อยู่สุข)
นำเที่ยวเมืองสุโขทัยเล่มนี้ นำเสนอเรื่องของภูมิประเทศและสภาพทั่วไปของเมืองสุโขทัย ตำนานเมือง โบราณสถานต่าง ๆ ได้แก่ ศาลแม่ย่า กำแพงเมืองสุโขทัยเก่า วัดตระพังทอง เนินปราสาทพระร่วง วัดพระมหาธาตุ วัดตระพังเงิน ศาลหลักเมือง วัดชนะสงคราม วัดสระสี วัดศรีสวาย วัดตะกวน ศาลเทพารักษ์ วัดศรีชุม วัดพระพายหลวง เตาทุเรียง วัดเชตุพน วัดเจดีย์สี่ห้อง วัดช้างล้อม อรัญญิกของพ่อขุนรามคำแหง วัดป่ามะม่วง หอเทวาลัยมหาเกษตรพิมาน วัดเจดีย์งาม วัดเขาพระบาทน้อย วัดสะพานหิน และยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องราวความเป็นมาของโรควัณโรค การบำบัด วัณโรคในสัตว์และการป้องกันรวมอยู่ด้วย
ชื่อเรื่อง ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฐกถถา (พระธัมมปทัตถกถา)สพ.บ. 144/20ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 78 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 57 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธสาวก -- ชีวประวัติ พระธรรมเทศนา พระไตรปิฎก พระสูตร บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดป่าเลไลยก์ ต.รั้วใหญ่ อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง จตุวีก (จตุวีก)สพ.บ. 238/2ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 52 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 56.8 ซ.ม. หัวเรื่อง พระไตรปิฎก
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ภาษาบาลี-ไทยอีสาน ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อผู้แต่ง ประชากิจกรจักร , พระยา (แช่ม บุนนาค)
ชื่อเรื่อง ประวัติศาสนา
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ จำลองศิลป
ปีที่พิมพ์ -
จำนวนหน้า ๒๒๔ หน้า
หมายเหตุ -
หนังสือประวัติศาสนานี้ ว่าด้วยลัทธิศาสนาต่างๆ ก่อนพุทธกาล เมื่อพระพุทธศาสนายังมิได้ปรากฏขึ้นในโลกนั้นลัทธิศานาในโลกนี้มีหลายอย่างต่างๆ เพศตามคตินิยมของหมู่มนุษย์ที่อาศัยความเป็นอยู่ด้วยกรรมอันใดหรือสิ่งหรือบุคคลใด ก็ย่อมยึดถืออันนั้นเป็นสรณะว่าเป็นที่พึ่งของตน
---พระพุทธรูปอีกลุ่มหนึ่งที่จัดอยู่ในศิลปะแบบหริภุญไชยนอกจากพระพิมพ์ซึ่งทำจากจากดินเผาและโลหะเช่น สำริด แล้ว ยังพบการนำเงิน (Silver) ซึ่งเป็นโลหะมีค่าชนิดหนึ่ง นอกจากนำมาทำรูปเคารพแล้ว ยังมีการนำไปทำเครื่องประดับ ภาชนะ หรือใช้ทำเงินตรา เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พระพุทธรูปดุนเงินนี้นอกจากที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชยแล้ว ยังพบในบริเวณอื่น เช่น เวียงท่ากาน อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นเมืองโบราณที่มีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ควบคู่กับเมืองหริภุญไชย นักวิชาการหลายท่านได้ทำกรศึกษาต่างจัดให้พระพุทธรูปดุนเงินเหล่านี้อยู่ในศิลปะหริภุญไชยตอนปลาย ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘
---ดุน จากพจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายว่า เป็นลักษณะงานศิลปกรรมประเภทหนึ่ง ทำโดยวิธีรุนให้ลวดลายหรือภาพนูนสูงขึ้นจากพื้นผิว โดยทั่วไปใช้กับโลหะ เช่น ทอง เงิน ทองแดง นอกจากการดุนแล้ว การที่จะให้เกิดลวดลายบนพื้นผิวมีความคมชัดมากขึ้นจำต้องอาศัยการสลักโดยการทำให้ส่วนพื้นลึกต่ำลงควบคู่กับการดุน จะทำให้ลายที่ดุนมาจากด้านหนึ่งเด่นชัดขึ้นมา เรียกว่าการสลักดุน
---พระพุทธรูปดุนเงินในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย รับมอบจากวัดพระธาตุหริภุญไชย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ ส่วนมากมีสภาพชำรุด พระเศียรและพระวรกายแยกจากกัน มีทั้งที่ครองจีวรและทรงเครื่อง แสดงปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรแบบเห็นฝ่าพระบาทสองข้างชัดเจน ปัจจุบันพระพุทธรูปทั้งหมดจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
หริภุญไชย นิทรรศการถาวร ห้องหริภุญไชย รากฐานล้านนา
---อ้างอิง
---ศักดิ์ชัย สายสิงห์, พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการและความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ : ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556.
---สุรพล ดำริกุล, ประวัติศาสตร์และศิลปะหริภุญไชย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๔๗.
ตำราแก้ฝีหนอง ชบ.ส. ๑๑๙
พระครูวิจิตรธรรมรัตน์ เจ้าอาวาสวัดนามะตูม ต.นามะตูม อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี
มอบให้หอสมุด ๓ มิ.ย. ๒๕๕0
เอกสารโบราณ (สมุดไทย)