ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณภิธมฺมเทสนา (เทศนาวิภังค์-มหาปัฏฐาน)สพ.บ. 129/3ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 26 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 57 ซ.ม. หัวเรื่อง ธรรมเทศนา
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดประสพสุข ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
ตังขะณิกะปัจจเวกขะณวิธี ชบ.ส. ๑๑๒
เจ้าอาวาสวัดเขาคันธมาทน์ ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕
เอกสารโบราณ (สมุดไทย)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.33/1-3 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
สวัสดีค่ะ สัปดาห์นี้ #พี่โข๋ทัยมีเรื๋องเล๋า ก็กลับมาพบกับทุกคนอีกครั้ง สำหรับวันนี้ขอนำเสนอข้อมูลหลักฐานทางโบราณคดีในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของจังหวัดพิจิตรค่ะ
.
พัฒนาการทางวัฒนธรรมก่อนสมัยสุโขทัยในพื้นที่จังหวัดพิจิตร โดยกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย
.
จากการศึกษาพัฒนาการทางวัฒนธรรมก่อนสมัยสุโขทัยในพื้นที่จังหวัดพิจิตร แสดงให้เห็นว่า พื้นที่บริเวณจังหวัดพิจิตร โดยเฉพาะด้านตะวันออกของจังหวัดเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการตั้งหลักแหล่งอยู่อาศัย พบหลักฐานทางโบราณคดีทีแสดงความสัมพันธ์เชื่อมโยงไปยังชุมชนอื่น ๆ ในบริเวณใกล้เคียง จากรายงานการสำรวจของสำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย พบหลักฐานในยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยทวารวดี ดังนี้
๑. แหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์
พบหลักฐานทางโบราณคดีที่บริเวณบ้านดงป่าคำ อำเภอเมืองพิจิตรเป็นโครงกระดูกมนุษย์ จำนวน ๓ โครง ขวานหิน ๑ ชิ้น ภาชนะดินเผา และเศษภาชนะดินเผาลายขูดขีด สันนิษฐานว่าเป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย กำหนดอายุประมาณ ๓,๐๐๐ -๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว นอกจากนี้ได้มีการสำรวจพบภาชนะดินเผาในยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่วัดบึงบ่าง อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตรด้วย ภาชนะดินเผาที่วัดบึงบ่างมีลักษณะคล้ายกับภาชนะดินเผาในสมัยโลหะ ซึ่งพบในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ ลพบุรี และนครสวรรค์ สันนิษฐานว่าน่าจะมีอายุประมาณ ๓,๐๐๐ – ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว
.
๒. แหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดี
บริเวณที่พบชุมชนโบราณที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ปรากฏทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่านในเขตอำเภอทับคล้อและอำเภอตะพานหิน บริเวณนี้เป็นที่ราบลุ่มที่ต่อเนื่องมาจากพื้นที่สูงทางตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด พบแหล่งโบราณคดีที่สำคัญ ๒ แหล่ง คือ แหล่งโบราณคดีบ้านวังแดง และแหล่งโบราณคดีเมืองบ่าง
.
๒.๑ แหล่งโบราณคดีบ้านวังแดง ตั้งอยู่ที่บ้านวังแดง หมู่ ๒ ตำบลเขาทราย อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย (กลุ่มวิชาการโบราณคดี สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๕ สุโขทัย ในขณะนั้น) สำรวจครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๔๓ ต่อมาได้ร่วมสำรวจอีกครั้งกับรศ.ดร.ผาสุข อินทราวุธ จากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อ เดือนกรกฎาคม ๒๕๔๔ ต่อมา อาจารย์วินัย ผู้นำพล แจ้งว่า มีผู้นำหลักฐานข้อมูลมาแจ้งให้อาจารย์ทราบว่า พบฐานอิฐสมัยโบราณ พบตราประทับและวงล้อเสมาธรรมจักรมากพอควรและเป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านเตรียมสร้างอุโบสถใหม่ จึงเข้าสำรวจพื้นที่ภายในวัดวังแดงอีกครั้ง เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๔๙
.
จากการสำรวจพบเนินโบราณสถานหลายแห่ง แต่ส่วนใหญ่ถูกไถทำลายเหลือเพียงเศษอิฐ มีบางแห่งที่ยังมีร่องรอยส่วนฐานของเจดีย์ อิฐที่ใช้ก่อสร้างเป็นอิฐขนาดใหญ่สมัยทวารวดี ขนาด ๑๗ x ๓๐ x ๗ เซนติเมตร มีร่องรอยของแกลบข้าวปะปนในก้อนอิฐ นอกจากนี้ ยังมีโบราณวัตถุที่นายเล็ก มณีเรือง ราษฎร หมู่ ๒ บ้านวังแดงเก็บรักษาไว้ เช่น เหรียญเงินรูปพระอาทิตย์และศรีวัตสะ จำนวน ๓ เหรียญ ขุดพบระหว่างการสร้างถนนสายวังทอง – เขาทราย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗ โดยพบบรรจุอยู่ในไหร่วมกับเหรียญเงินประเภทเดียวกันจำนวนทั้งสิ้น ๓๐๐ เหรียญ และพบไหบรรจุกระดูกวางอยู่ด้วยกัน แต่ไม่พบฐานเจดีย์หรือโบราณสถานอื่น ชิ้นส่วนโลหะเงิน เครื่องมือเหล็ก เป็นต้น และเจ้าอาวาสวัดวังแดงได้เก็บรักษาโบราณวัตถุไว้จำนวนหนึ่ง เช่น แท่นหินบด หินบด เศษภาชนะดินเผาเนื้อไม่แกร่ง (earthern ware) ลวดลายต่าง ๆ เป็นต้น หลักฐานทางโบราณคดีที่พบกำหนดอายุเบื้องต้นในสมัยทวารวดีหรืออายุประมาณ ๑,๕๐๐ – ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว
.
๒.๒ แหล่งโบราณคดีวัดบึงบ่าง ตั้งอยู่ที่บ้านบึงบ่าง หมู่ ๗ ตำบลทุ่งโพธิ์ อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย ดำเนินการสำรวจเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๖ จากการสำรวจพบว่า แหล่งโบราณคดีตั้งอยู่ในเมืองบ่าง สภาพปัจจุบันเป็นเมืองที่มีคูน้ำคันดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยรอบเป็นพื้นที่เกษตรกรรม วัดบึงบ่างมีการเก็บรักษาโบราณวัตถุ เช่น แท่งดินเผารูปสี่เหลี่ยมทำเป็นลายตาราง ชิ้นส่วนหินดุดินเผา ๔ ชิ้น แวดินเผา ตุ๊กตาดินเผา ภาชนะดินเผาเนื้อไม่แกร่ง (earthern ware) ตกแต่งด้วยลายกดประทับ ภาชนะดินเผามีเชิง เนื้อไม่แกร่ง (earthern ware) ไม่มีการตกแต่งลวดลาย ชิ้นส่วนกระดูกสัตว์ขนาดใหญ่ สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นกระดูกวัวหรือกระดูกควาย กำหนดอายุในเบื้องต้นราว ๒,๕๐๐ – ๑,๐๐๐ ปีมาแล้ว
.
ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจทางโบราณคดีนี้ แสดงให้เห็นว่า พื้นที่บริเวณจังหวัดพิจิตร โดยเฉพาะด้านตะวันออกของจังหวัด เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการตั้งหลักแหล่งอยู่อาศัย แหล่งโบราณคดีบ้านวังแดงในเขตอำเภอทับคล้อ ซึ่งพบโบราณวัตถุสมัยทวารวดี อาจเชื่อมโยงถึงผู้คนในบริเวณบ้านชมภู อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ที่มีการพบหลักฐานเหรียญเงินรูปพระอาทิตย์และศรีวัตสะ เช่นเดียวกัน ถัดจากบ้านวังแดงลงไปทางทิศใต้ ที่แหล่งโบราณคดีวัดบึงบ่างซึ่งตั้งอยู่ภายในเมืองบ่าง ซึ่งเป็นเมืองรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ได้พบหลักฐานการอยู่อาศัยตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ที่น่าสนใจคือภาชนะดินเผาในยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่วัดบึงบ่าง มีลักษณะคล้ายกับภาชนะดินเผาที่พบในแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์สมัยโลหะ ในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ นครสวรรค์ นอกจากนี้ยังมีโบราณวัตถุจำนวนหนึ่งที่แสดงให้เห็นร่องรอยของชุมชนสมัยทวารวดี ซึ่งอาจสัมพันธ์กับชุมชนโบราณที่บ้านวังแดงที่อยู่ไม่ห่างกันนัก
-------------------------------------------------------------------
บรรณานุกรม
คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดพิจิตร. กรุงเทพ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๔๒.
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, ธรณีสัณฐานประเทศไทยจากห้วงอวกาศ. กรุงเทพฯ : บริษัท ด่าน สุทธาการพิมพ์ จำกัด, ๒๕๓๘.
ศรีศักร วัลลิโภดม. เมืองโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. กรุงเทพ ฯ : สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์, ๒๕๓๒.
องความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย
เรื่อง ตุงไส้หมู ตุง ๑๒ ราศี เนื่องในเทศกาลสงกรานต์
เทศกาลสงกรานต์ ชาวภาคเหนือจะเรียกเทศกาลปีใหม่
หากเราไปตามวัดในภาคเหนือขณะนี้จะพบการนำธงสีที่ทำจากกระดาษตัดเป็นรูปทรงต่างๆกันไปปักตามกองทรายที่มาพูนขึ้นเป็นเจดีย์
ธงสีหรือตุงที่ประดับอยู่นั้นเชื่อว่าเมื่อนำไปถวายแล้ว มีความเชื่อว่าสามรถช่วยดวงวิญญาณให้หลุดพ้นจากขุมนรกได้ และยังส่งผลให้ไปเกิดในภพภูมิที่ดี เพียบพร้อมไปด้วยสมบัติบริวาร ซึ่งตุงที่พบเห็นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ได้แก่
๑.ตุงไส้หมู หรือ ตุงไส้ช้าง
ตุงไส้หมูหรือตุงไส้ช้าง ลักษณะคือทำจากกระดาษว่าวที่มีสีสันสดใสพับและตัดจะได้รูปทรงนำไปแขวนกับไม้ไผ่ใช้ปักลงบนเจดีย์ทรายเนื่องในวันพญาวัน เมื่อปักแล้วจะทิ้งชายลงมาคล้ายกับรูปทรงของเจดีย์ บางแห่งเรียกตุงไส้ช้าง บางแห่งเรียอกช่อพญายอ ภาคกลางเรียกพวงมโหตร ใช้สำหรับปักเพื่อบูชาพระเจดีย์ พระธาตุประจำปีเกิด ควบคู่กับตุง ๑๒ ราศี
๒. ตุง ๑๒ ราศี
ตุง ๑๒ ราศี เป็นตุงที่ทำจากระดาษ ยาวประมาณ ๑ เมตร กว้างราว ๕-๖ นิ้ว ติดรูปปีนักษัตรทั้ง ๑๒ ราศี เริ่มจากปีใจ้หรือปีชวด (หนู) เรื่อยไปจนถึงปีใค้หรือปีกุน ซึ่งก็คือปีหมู ต่อมาเปลี่ยนเป็นช้างแทน ตามความเชื่อเรื่องปีนักษัตรหรือปีเปิ้งคประจำตัวแต่ละคน จึงเรียกตุงชนิดนี้อีกชื่อหนึ่งว่าตุงเปิ้ง ใช้ปักประดับตามเจดีย์ทราย ซึ่งตัวเปิ้งหรือตัวนักษัตรนั้นคือตัวแทนของผู้ถวายตุง มีความเชื่อว่าจะช่วยให้พ้นเคราะห์ได้ ใช้ปักควบคู่กับตุงไส้หมู
นอกจากการถวายตุงแล้วยังมีการถวายไม้ค้ำโพธิ์หรือไม้ค้ำสะหลี ซึ่งคำว่า สะหลี หมายถึงต้นโพธิ์ ซึ่งมีความเชื่อว่าหากถวายไม้ต้ำโพธิ์เป็นการช่วยค้ำชูพระพุทธศาสนาสืบไป
อ้างอิง
มณี พยอมยงค์ และศิริรัตน์ อาศนะ. เครื่องสักการะล้านนาไทย. เชียงใหม่:ส.ทรัพย์การพิมพ์, ๒๕๓๘.
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.(๒๕๖๔).ตุงตั๋วเปิ้ง.
สืบค้นเมื่อ ๑๔ เมษายน๒๕๖๔, จากhttps://art-culture.cmu.ac.th/Lanna/articleDetail/1276
ปราสาทเขาโล้น ๒/๔ : โบราณวัตถุชิ้นเด่นและการกำหนดอายุ
การดำเนินงานโบราณคดีที่ปราสาทเขาโล้น นอกจากจะทำให้พบโบราณสถานที่ถูกดินทับถมไว้แล้ว ยังทำให้พบชิ้นส่วนประกอบสถาปัตยกรรมทำจากหินทราย เช่น
บริเวณปราสาท ๓ หลังบนฐานไพที พบยอดปราสาททรงกลม ใช้ประดับบนชั้นซ้อนชั้นสุดท้ายของปราสาทเพื่อรองรับนภศูล แถวกลีบบัวเหนือทับหลัง เป็นแถวกลีบบัวที่เคยประดับเหนือทับหลังบริเวณซุ้มประตูด้านทิศตะวันออกของปราสาทประธาน ปราสาทจำลองและบรรพแถลง ใช้วางประดับบริเวณกึ่งกลางและบริเวณมุมของชั้นซ้อนแต่ละชั้น
บริเวณบรรณาลัยและโคปุระทั้งสามด้าน พบชิ้นส่วนประกอบสถาปัตยกรรม เช่น ปลายกรอบหน้าบัน สลักลวดลายเป็นรูปมกรอ้าปากชูงวงประกอบลายกระหนก แถวกลีบบัวประดับบริเวณเชิงชายของหลังคา เสาลูกมะหวดทรงกลม ใช้ประดับบริเวณกรอบหน้าต่าง บราลีลักษณะทรงกรวยแหลม ใช้ประดับบริเวณสันหลังคา
ส่วนภาชนะดินเผาพบภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งเคลือบสีเขียวและสีน้ำตาลที่ผลิตจากแหล่งเตาในจังหวัดบุรีรัมย์ และเครื่องถ้วยจีนเนื้อกระเบื้องเคลือบสีขาว สมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ
จากการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบทางสถาปัตยกรรม โบราณวัตถุ รูปแบบของทับหลัง เสาประดับกรอบประตูจากภาพถ่ายเก่า และการกำหนดอายุตัวอย่างอิฐ ด้วยวิธีเรืองแสงความร้อน (Thermoluminescence dating : TL) ล้วนให้ข้อมูลที่สอดคล้องกันทำให้สันนิษฐานว่าปราสาทเขาโล้นน่าจะสร้างขึ้นราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๖ เป็นปราสาทในศิลปะเขมรแบบบาปวนตอนต้น สอดคล้องกับการพบจารึกบริเวณกรอบประตูที่ระบุศักราชตรงกับพุทธศักราช ๑๕๕๐ และ ๑๕๕๙
ผู้เขียน : นายสิขรินทร์ ศรีสุวิทธานนท์ (นักโบราณคดีชำนาญการ)
กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี
#สำนักศิลปากรที่๕ปราจีนบุรี #กรมศิลปากร #กระทรวงวัฒนธรรม
#แชทชมแชร์_โบราณคดีปราจีนภาค
ปราสาทเขาโล้น ๑/๔ : การดำเนินงานโบราณคดี
https://www.facebook.com/2360532577517366/posts/2770145389889414/
ชื่อเรื่อง มิลินฺทปณฺหาสงฺเขป (พระมิลินทปัญหา) สพ.บ. 308/1หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยหัวเรื่อง พุทธศาสนา--คำถามคำตอบ พระวินัย พระธรรมประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 46 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม. บทคัดย่อเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า อาคารประติมากรรมขุนหลวงพะงั่วและประวัติศาสตร์สุพรรณบุรี ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้แห่งใหม่ทางด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ของจังหวัดสุพรรณบุรีและของประเทศไทย พร้อมเปิดให้บริการแล้วในวันนี้ (วันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๔) แต่เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ และการประกาศปิดแหล่งเรียนรู้ของกรมศิลปากร เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ ๓ - ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๔ กรมศิลปากรจึงเปิดให้บริการแบบออนไลน์ โดยสามารถเข้าชมการจัดแสดงอาคารประติมากรรมขุนหลวงพะงั่วและประวัติศาสตร์สุพรรณบุรี ผ่านระบบ smartmuseum ของกรมศิลปากร https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/home อาคารประติมากรรมขุนหลวงพะงั่วและประวัติศาสตร์สุพรรณบุรี ตั้งอยู่ที่ตำบลสนามชัย อำเภอ เมือง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดงประติมากรรมสำริดที่มีความยาวมากที่สุดในประเทศไทย เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ หรือขุนหลวงพะงั่ว ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ และประวัติศาสตร์เมืองสุพรรณบุรี จัดตั้งขึ้นตามดำริของ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีคนที่ ๒๑ เริ่มก่อสร้างเมื่อพุทธศักราช ๒๕๕๓ โดยได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วนในการสนับสนุนงบประมาณ ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี มูลนิธิบรรหาร-แจ่มใส ศิลปอาชา กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กรมการท่องเที่ยว โดยกรมศิลปากรเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดแสดงพระราชประวัติของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ หรือ ขุนหลวงพะงั่ว เจ้าเมืองสุพรรณบุรี ผู้ซึ่งต่อมาเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ พระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๓ ของกรุงศรีอยุธยา และทรงเป็นองค์ปฐมแห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ นอกจากนี้ยังบอกเล่าเรื่องราวของจังหวัดสุพรรณบุรีตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยสังคมเกษตรกรรม ยุคประวัติศาสตร์แรกเริ่มเรื่อยมาจนถึงยุคประวัติศาสตร์ สมัยรัตนโกสินทร์ อีกทั้งเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช พระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงมีพระมหากรุณา ธิคุณต่อพสกนิกรชาวจังหวัดสุพรรณบุรีและชาวไทย การจัดแสดงได้นำเสนอเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับเมืองสุพรรณบุรี จำนวน ๙ ตอน ผ่านงานประติมากรรมนูนสูง และนูนต่ำ หล่อด้วยโลหะสำริด ความยาว ๘๘ เมตร สูง ๔.๒๐ เมตร ซึ่งนับว่าเป็นประติมากรรมสำริดที่มีความยาวมากที่สุดในประเทศไทย แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๙ ตอน ประกอบด้วยตอนที่ ๑ สุพรรณบุรี : ชุมชนแรกเริ่ม ตอนที่ ๒ สุพรรณบุรี : อู่ทอง...เครือข่ายการค้าข้ามภูมิภาค ตอนที่ ๓ สุพรรณบุรีในวัฒนธรรมศาสนา : อู่ทองเมืองศูนย์กลางศาสนารุ่นแรก ตอนที่ ๔ สุพรรณบุรี : เนินทางพระ...ร่องรอยพุทธศาสนามหายาน ตอนที่ ๕ สุพรรณบุรี : ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา ตอนที่ ๖ สุพรรณบุรี : เมืองลูกหลวงของราชธานีศรีอยุธยา ตอนที่ ๗ สุพรรณบุรี : สมรภูมิยุทธหัตถี ตอนที่ ๘ สุพรรณบุรี : หัวเมืองแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และตอนที่ ๙ ปัจจุบัน...สุพรรณบุรีโดยผู้เข้าชมจะได้รับความรู้และความเพลิดเพลินผ่านระบบการบรรยายนำชมที่ทันสมัยทั้งในรูปแบบออนไลน์ ออฟไลน์ และอุปกรณ์ Audio guide จำนวน ๓ ภาษา คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน พร้อมใช้เทคโนโลยีแสง เสียง ประกอบการจัดแสดง ทั้งนี้ ผู้สนใจยังสามารถใช้บริการผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งกรมศิลปากรได้พัฒนาระบบเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้ง่าย สะดวก โดยสามารถเข้าชมอาคารประติมากรรมขุนหลวงพะงั่วและประวัติศาสตร์สุพรรณบุรีในรูปแบบ SMART MUSEUM ผ่านทาง https://smartmuseum.finearts.go.th กดเลือกนิทรรศการพิเศษอาคารประติมากรรมขุนหลวงพะงั่วและประวัติศาสตร์สุพรรณบุรี และบนระบบ Application “SMART MUSEUM” รวมถึงสามารถรับชมวีดิทัศน์เนื้อหาภายในอาคารประติมากรรมฯ ผ่านช่องทาง YouTube กรมศิลปากร ตลอดจนองค์ความรู้ผ่านช่องทางเฟสบุ๊ก แฟนเพจ ของกรมศิลปากร อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวอีกว่า แหล่งเรียนรู้แห่งนี้จะอำนวยประโยชน์สูงสุดในการศึกษาด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ของจังหวัดสุพรรณบุรีและของชาติ ให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชน อันจะก่อให้เกิดความรัก ความภาคภูมิใจ และนำไปสู่การร่วมกันอนุรักษ์ ปกป้อง คุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติให้ยั่งยืนสืบไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี โทร.๐ ๓๕๕๓ ๕๓๓๐ หรือ facebook fanpage พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี