ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,619 รายการ
วันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ ตรงกับวันที่ 21 ตุลาคม ของทุกปี
ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่ทรงมีพระปณิธานอย่างแรงกล้าที่จะฟื้นฟูความสมดุลของ ธรรมชาติ โดยทรงปลูกและบำรุงรักษาต้นไม้ด้วยพระองค์มาตลอดพระชนม์ชีพ
ในการนี้พระองค์ทรงให้ความสําคัญของการบํารุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกว่ามีความสําคัญ และน่าเป็นห่วงมากกว่าการปลูก และเพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่ทรงงานพัฒนาชนบทของประเทศไทย โดยเฉพาะการฟื้นฟูสมดุล ของธรรมชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เสนอคณะรัฐมนตรีกําหนดให้วันคล้ายวัน พระราชสมภพของพระองค์ คือ วันที่ 21 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันบํารุงรักษาต้นไม้ประจําปีของชาติ
คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2533 อนุมัติในหลักการให้วันที่ 21 ตุลาคม เป็นวันบำรุงรักษาต้นไม้ประจำปีของชาติ และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปดําเนินการระดมความเห็นจากบุคคลทั่วไปเพื่อกําหนดชื่อที่เหมาะสมสําหรับวันดังกล่าว ปรากฏว่าชื่อที่เหมาะสม คือ “วันรักต้นไม้ประจําปีของชาติ” ได้เสนอให้คณะรัฐมนตรีรับทราบแล้ว จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ" เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2533
ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้มีโอกาสแสดงความเสียสละ แรงกาย แรงใจ ความสามัคคี น้อมเกล้าฯถวายเป็นราชสักการะแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ด้วยการบำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกไว้ตามสถานที่ต่างๆ อันเป็นช่วงปลายฤดูฝนของทุกปี มีจุดมุ่งหมาย คือ
1. เพื่อบํารุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกไว้ตามโครงการและสถานที่ต่างๆ รวมทั้งการปลูกซ่อม ต้นที่ตายให้สามารถเจริญเติบโตขึ้นปกคลุมพื้นที่โดยเร็ว
2. เพื่อชี้นําให้ประชาชนร่วมมือร่วมใจกันบํารุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น การให้ปุ๋ย พรวนดิน ถากถางวัชพืขที่โคนต้นไม้ หรืออื่นๆโดยพร้อมเพรียงกัน
3. เพื่อให้ประชาชนเห็นความสําคัญของการบํารุงต้นไม้ที่ปลูกไว้ อันจะบรรลุวัตถุประสงค์ ของการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียว
4. เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทิตาถวายเป็นราชสักการะแด่สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี โดยเข้าร่วมกิจกรรมในวันสําคัญดังกล่าว ซึ่งกรมป่าไม้ได้จัดให้มีการบํารุงรักษาต้นไม้ทุกปี
การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุด "มารทะนงสงคราม" วันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม 2566
วันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม 2566 เวลา 14.00 น. สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ได้จัดการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุด "มารทะนงสงคราม" เนื่องในโครงการจัดการแสดงนาฏศิลป์และดนตรีสัญจร ณ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี
กำกับการแสดงโดย ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ นาฏศิลปิน (ด้านอำนวยการแสดง)
อำนวยการแสดงโดย ลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต
#องค์ความรู้อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรเทคนิคการประดับตกแต่งอาคารด้วยหินชนวนในเมืองกำแพงเพชร..โบราณสถานวัดกรุสี่ห้อง ตั้งอยู่ในเขตอรัญญิกของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มีการแบ่งพื้นที่การใช้งานเป็นเขตพุทธาวาสและเขตสังฆาวาส ประกอบด้วยโบราณสถานสำคัญ ได้แก่ วิหาร เจดีย์ กุฏิ ศาลา วัจจกุฎีหรือห้องส้วม บ่อน้ำ และแหล่งตัดศิลาแลง .ลักษณะพิเศษของวัดกรุสี่ห้องที่ปรากฏเพียงแห่งเดียวของเมืองกำแพงเพชรคือ การใช้หินชนวนปูพื้นวิหารและอาสน์สงฆ์ในลักษณะวางเรียงต่อกันจนเต็มพื้นที่ โดยแผ่นหินชนวนชิ้นสมบูรณ์ที่พบจากการดำเนินการทางโบราณคดีปีงบประมาณ 2542 มีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหนาประมาณ 4 เซนติเมตร ขนาดกว้าง 45 เซนติเมตร ยาว 60-78 เซนติเมตร และลักษณะแผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดกว้างด้านละ 45 เซนติเมตร ด้านหน้าของแผ่นหินชนวนมีลักษณะขัดเรียบ ด้านหลังของหินชนวนแต่ละแผ่นปรากฏรอยสกัดเป็นร่องกว้างขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร เป็นจำนวนมาก จากร่องรอยที่พบคาดว่าเกิดจากการใช้เครื่องมือโลหะประเภทสิ่ว ใช้สำหรับเพิ่มการยึดเกาะปูนที่เป็นตัวประสาน..หินชนวน (Slate) หินแปรประเภทหนึ่ง เกิดจากการแปรสภาพของหินดินดานในความร้อนและความกดดันภายในโลก และอาจแปรมาจากหินอัคนี มีลักษณะเนื้อละเอียด มักแยกออกเป็นแผ่น ๆ โดยมีผิวรอยแยกเรียบ ส่วนใหญ่ประกอบด้วย แร่ควอร์ต แร่ไมกา และแร่คลอไรต์ พบหินชนวนในประเทศไทย เช่น จังหวัดสุโขทัย กาญจนบุรี ชลบุรี นครราชสีมา ระยอง นครศรีธรรมราช และนราธิวาส คนในสมัยโบราณใช้หินชนวนทำศิลาจารึก กระดานชนวน และปูพื้น.โบราณสถานวัฒนธรรมสุโขทัยปรากฏร่องรอยการนำหินชนวนมาใช้ประกอบสถาปัตยกรรมอย่างหลากหลาย โดยในเมืองสุโขทัยพบการปูพื้นด้วยหินชนวนทั้งในลักษณะปูพื้นวิหาร เช่น วัดศรีสวาย (พุทธศตวรรษที่ 18) วัดเจดีย์งาม (พุทธศตวรรษที่ 19-20) วัดเขาพระบาทน้อย (พุทธศตวรรษที่ 19-22) ปูพื้นอุโบสถ เช่น วัดโบสถ์ (พุทธศตวรรษที่ 19-20) วัดมังกร (พุทธศตวรรษที่ 20-21) วัดพระยืน (พุทธศตวรรษที่ 20-21) นอกจากนี้ที่วัดเชตุพน (พุทธศตวรรษที่ 19-22) ยังพบการนำหินชนวนมาใช้ปูพื้นและเป็นวัสดุก่อสร้างกำแพงล้อมรอบมณฑปประธาน สร้างช่องประตูทางเข้าด้วยหินชนวนแท่งใหญ่ รวมถึงนำมาปูพื้นโดยรอบวิหาร และเขาพระบาทใหญ่ (พุทธศตวรรษที่ 20-22) พบการปูพื้นด้วยหินชนวนบนวิหารและพื้นที่โดยรอบ.โบราณสถานวัดกรุสี่ห้องสามารถกำหนดอายุด้วยวิธีการศึกษาเปรียบเทียบ (Comparative Dating) ได้ราวพุทธศตวรรษที่ 20-22 จากการพบโบราณวัตถุสำคัญ ได้แก่ กระปุกทรงคอขวดมีหูเคลือบสีน้ำตาล แหล่งเตาเมืองศรีสัชนาลัย อายุพุทธศตวรรษที่ 20–21 ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิง อายุพุทธศตวรรษที่ 20-22 เครื่องประกอบสถาปัตยกรรมจากแหล่งเตาเมืองสุโขทัย เช่น ชิ้นส่วนมกรและปั้นลมลายเทพนม อายุพุทธศตวรรษที่ 20-21 พระพุทธรูปสำริดอิริยาบถเดิน ศิลปะสุโขทัย อายุพุทธศตวรรษที่ 20 อันเป็นพุทธศิลป์ที่นิยมในวัฒนธรรมสุโขทัย เช่น ภาพปูนปั้นที่มณฑปวัดตระพังทองหลาง เมืองสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 20) รวมถึงภาพจารด้านหนึ่งบนศิลาจารึกวัดสรศักดิ์ (พ.ศ. 1960).จากการกำหนดอายุด้วยวิธีการศึกษาเปรียบเทียบดังกล่าว สันนิษฐานว่าวัดกรุสี่ห้องสร้างในวัฒนธรรมสุโขทัย จึงมีความเป็นไปได้ว่าการประดับตกแต่งด้วยการปูพื้นวิหารด้วยแผ่นหินชนวนของวัดกรุสี่ห้องอาจเป็นลักษณะการรับอิทธิพลประการหนึ่งจากศูนย์กลางการปกครองในขณะนั้น..เอกสารอ้างอิงกรมศิลปากร. (2557). นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร. กรมศิลปากร.กฤษฎา พิณศรี, ปริวรรต ธรรมาปรีชากร และอุษา ง้วนเพียรภาค. (2535). เครื่องถ้วยสุโขทัย พัฒนาการของเครื่องถ้วยไทย. โอสถสภา. อ้างถึงใน อนันต์ ชูโชติ, ธาดา สังข์ทอง และนารีรัตน์ ปรีชาพีชคุปต์. (2561). นำชมอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย.กฤษฎา พิณศรี, ปริวรรต ธรรมาปรีชากร และอุษา ง้วนเพียรภาค. (2535). เครื่องถ้วยสุโขทัย พัฒนาการของเครื่องถ้วยไทย. โอสถสภา.จิราภรณ์ อรัณยนาค. (2549). เทคนิคการตรวจพิสูจน์โบราณวัตถุและศิลปวัตถุประเภทประติมากรรมหิน. ใน สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ, ความรู้ด้านการตรวจพิสูจน์โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ประเภทประติมากรรมหิน (หน้า 1-10). กรมศิลปากร. ปริวรรต ธรรมาปรีชากร, สว่าง เลิศฤทธิ์, และกฤษฎา พิณศรี. (2539). ศิลปะเครื่องถ้วยในประเทศไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). โอสถสภา.สุรศักดิ์ก่อสร้าง. (2542). การขุดแต่งวัดกรุสี่ห้องในเขตอรัญญิก เมืองกำแพงเพชร. โครงการบูรณะและปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์แหล่งโบราณสถานจังหวัดกำแพงเพชรแผนงานเงินกู้เพื่อการท่องเที่ยวและส่งเสริมการสร้างงานภายใต้โครงการ SIP พ.ศ. 2542.สำนักหอสมุดแห่งชาติ. (2548). ประชุมจารึก ภาคที่ 8 จารึกสุโขทัย. กรมศิลปากร.อนันต์ ชูโชติ, ธาดา สังข์ทอง และนารีรัตน์ ปรีชาพีชคุปต์. (2561). นำชมอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย.อรกุล โภคากรวิจารณ์, จุมพล คืนตัก, อารยะ นาคะนาท, ธีรวัชร อินทรสูต, งามพิศ แย้มนิยม, เดชนา ชุตินารา และผาณิต กุลชล. (2526). ทรัพย์ในดิน กำแพงเพชร (เอกสารทรัพยากรธรณี เล่มที่ 2). กรมทรัพยากรธรณี.อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. (2561). การศึกษาทางโบราณคดีเพื่อจัดลำดับอายุสมัยของแหล่งศิลปกรรมเมืองสุโขทัย ปีงบประมาณ 2561. โครงการการศึกษาทางโบราณคดีเพื่อจัดลำดับอายุสมัยของแหล่งศิลปกรรมเมืองสุโขทัย.อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. (2561). ทำเนียบโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย กรมศิลปากร.อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. (2563). รายงานการดำเนินงานทางโบราณคดี โครงการขุดแต่งทางโบราณคดี เพื่อออกแบบบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์กลุ่มโบราณสถานเขาพระบาทใหญ่ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ปีงบประมาณ พุทธศักราช 2563. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย กรมศิลปากร.
16 มกราคม วันครูแห่งชาติ
เพื่อให้นักเรียนได้ระลึกถึงพระคุณของครูบาอาจารย์ แม่พิมพ์ พ่อพิมพ์ของชาติที่ได้อบรมสั่งสอนเรามาตั้งแต่เล็ก ทำให้เราเป็นคนดีรู้วิชา เพราะฉะนั้นครูจึงเป็นบุคคลที่สำคัญอย่างมากในวงการ การศึกษา ทั้งในด้านวิชาการ และประสบการณ์ รวมทั้งเป็นอาชีพที่ถือว่ามีความเสียสละเพื่อส่วนรวมอย่างมา
พระโพธิสัตว์ปัทมปาณิ (ปัทม : ดอกบัว/ปาณิ : ผู้ถือ)
แบบศิลปะ : ศรีวิชัย
ชนิด : สำริด
ขนาด : กว้าง 6 เซนติเมตร สูง 23.5 เซนติเมตร
อายุสมัย : ประมาณพุทธศตวรรษที่ 14 - 15 (หรือราว 1,100 - 1,200 ปีมาแล้ว)
ลักษณะ : ประติมากรรมสำริดหล่อเป็นรูปพระโพธิสัตว์ปัทมปาณิหรือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งเป็น พระโพธิสัตว์องค์สำคัญในศาสนาพุทธนิกายมหายานประจำยุคปัจจุบัน ประทับยืนบนฐานบัว พระเกศาเกล้าเป็นมวยสูง มีรูปพระอมิตาภะปางสมาธิอยู่ที่หน้ามวยผม พระหัตถ์ขวาถือลูกประคำ พระหัตถ์ซ้ายถือก้านดอกบัวและคนโทน้ำ มีสายธุรำ (ยัชโญปวีต) พาดคล้องที่พระอังสาซ้าย
ประวัติ : ม.ร.ว. ทันพงษ์ กฤษดากร อธิบดีกรมสรรพสามิต มอบให้กรมศิลปากร เมื่อ 7 กันยายน 2507
สถานที่จัดแสดง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/uthong/360/model/25/
ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/uthong
วันที่ 5 เมษายน 2567 เวลา 11.00 น. พลเรือเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีส่งมอบการซ่อมทำเรือพระที่นั่งและเรือรูปสัตว์ ให้แก่กรมศิลปากร โดยมีนายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นผู้รับมอบ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ
นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า กองทัพเรือและกรมศิลปากรได้หล่อหลอมดวงใจเป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อถวายพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทยทุกคน เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 การพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร โดยดำเนินการซ่อมเรือพระราชพิธีให้มีความสวยงาม สมพระเกียรติ แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนคือ กองทัพเรือซ่อมบำรุงโครงสร้าง กรมศิลปากรดูแลงานศิลปกรรมประดับตกแต่งเรือ ขณะนี้กองทัพเรือได้ดำเนินการซ่อมบำรุงโครงสร้างเสร็จแล้ว จึงทำการส่งมอบให้กรมศิลปากรเพื่อดำเนินการประดับตกแต่งตัวเรือ ซึ่งเรือพระราชพิธีแต่ละลำมีความวิจิตรบรรจงจากการลงรักปิดทอง ประดับกระจกเกรียบกระจกสี เป็นงานที่อาศัยทักษะชั้นสูงและวิทยาศาสตร์ผสมผสานกัน การดำเนินงานของกรมศิลปากรจะเน้นรูปแบบศิลปะที่คงความเป็นของแท้ดั้งเดิม โดยมอบหมาย 2 หน่วยงานหลัก ได้แก่ สำนักช่างสิบหมู่ จะนำช่างแกะ ช่างเขียน ช่างประณีตศิลป์ เข้าทำงาน ส่วนสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจะนำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์มาดูการเตรียมผิวรองรับการประดับตกแต่ง เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนเมษายน 2567 คาดว่าจะเสร็จสิ้นภายใน 30 มิถุนายน 2567 เชื่อว่าความงดงามของกระบวนเรือพระราชพิธีจะตราตรึงชาวไทยและชาวต่างชาติทั่วโลก นอกจากนี้ ระหว่างการดำเนินการซ่อมเรือพระราชพิธี สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติจะบันทึกเหตุการณ์ขั้นตอนการดำเนินการครั้งประวัติศาสตร์นี้ด้วย
อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ ได้ดำเนินการ สำรวจ และซ่อมทำเรือพระที่นั่งและเรือรูปสัตว์ ตั้งแต่ธันวาคม 2566 ด้วยวิธีศิลปะภูมิปัญญาประมงพื้นบ้าน การตอกหมันเรือ ซึ่งนำด้ายดิบมาตอกเข้าไปบริเวณร่องระหว่างไม้กระดานเรือให้แน่นเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำซึมเข้าเรือ จากนั้นจึงชันยาเรือผสมกับน้ำมันยางยาแนวในร่องและทาทั่วทั้งบริเวณนอกลำเรือเพื่อป้องกันเพรียงกินไม้ที่จะทำให้เรือผุเร็ว ซึ่งได้ดำเนินการแล้วเสร็จ จึงทำการส่งมอบให้กรมศิลปากร เพื่อดำเนินการประดับตกแต่งตัวเรือ ประกอบด้วย เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งเอนกชาติภุชงค์ และเรือรูปสัตว์ ประกอบด้วย เรือเอกชัยเหินหาว เรือเอกชัยหลาวทอง เรือกระบี่ปราบเมืองมาร เรือกระบี่ราญรอนราพณ์ เรือพาลีล้างทวีป เรือสุครีพครองเมือง เรือครุฑเหินเห็จ เรือครุฑเตร็จไตรจักร เรืออสุรวายุภักษ์ เรืออสุรปักษี
ภาพปูนปั้นเล่าเรื่องเวสสันตระชาดก (วิศวนตร – อวทาน)
- ทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔)
- ปูนปั้น
- เดิมประดับที่ฐานลานประทักษิณ ของเจดีย์จุลประโทน อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดี เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๑
ภาพเล่าเรื่องบุรุษกำลังยืนพูดอยู่กับบุรุษและสตรีคู่หนึ่ง บุรุษและสตรีนั้นแสดงความสนิทสนมซึ่งอาจเป็นสามีภรรยากัน โดยตีความว่าเป็นภาพตอนพระเวสสันดร กำลังประทานพระมัทรีแก่ท้าวสักราช (พระอินทร์) ซึ่งจำแลงเป็นพราหมณ์มาทูลขอ
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=40149
ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th
ปริวารปาลิ (ปริวารปาลิ)อย.บ. 298/10หมวดหมู่ พุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 52 หน้า : กว้าง 4.7 ซม. ยาว 53.4 ซม. บทคัดย่อ เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคจากวัดประดู่ทรงธรรม อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ปรากฏการณ์ พระอาทิตย์ทรงกลด ณ ปราสาทพิมาย ในวันที่ 8 เดือน 8 พุทธศักราช 2567
ชื่อเรื่อง ย้อนร้อยประวัติศาสตร์เมืองเก่าสุพรรณบุรี และพระเพทราชาราชวงศ์บ้านพลูหลวงผู้แต่ง วราพร พรหมใจรักษ์ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือท้องถิ่นหมวดหมู่ ประวัติศาสตร์เอเชีย โลกตะวันออกเลขหมู่ 959.338ย178สถานที่พิมพ์ สุพรรณบุรีสำนักพิมพ์ ม.ป.พ.ปีที่พิมพ์ 2561ลักษณะวัสดุ 54 หน้า หัวเรื่อง พระเพทราชาภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกรวบรวมเรื่องเกี่ยวกับการศึกษาประวัติศาสตร์เมือสุพรรณบุรี
สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ โดยกลุ่มภาษาและวรรณกรรม ขอเชิญผู้สนใจร่วมรับฟังการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง "แมวโบราณครั้งกรุงศรีอยุธยา" ในโครงการท่องเที่ยวโบราณสถานยามค่ำคืน 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ "วัดไชยวัฒนาราม วัดราชบูรณะ วัดมหาธาตุ วัดพระราม และพระราชวังจันทรเกษม" ของกรมศิลปากร ในวันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.30 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมอาคารเครื่องทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สามารถสมัครเข้าร่วมรับฟังเสวนาทางวิชาการ ผ่านคิวอาร์โค้ด ฟรี! ไม่เสียค่าใช้จ่าย สอบถามเพิ่มเติม โทร.0 3524 1587
การดำเนินงานด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์
ภายในพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)
วัตถุประสงค์
๑.สำรวจ รวบรวม ศึกษาข้อมูลทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)
- การสำรวจเชิงเอกสาร
- การสำรวจระยะไกล
๒. นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษา สรุปเป็นเรื่องราวของพระราชวังบวรสถานมงคลและกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทั้ง
ทางด้านประวัติความเป็นมา พัฒนาการของพื้นที่ และจัดทำเป็นรูปแบบสันนิษฐาน
๓. จัดทำให้เป็นแหล่งเรียนรู้ สำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ในรูปแบบของนิทรรศการชั่วคราวใน
แหล่ง รวมถึงการมีส่วนร่วมขณะปฏิบัติงานทางโบราณคดี
๔. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เรื่องราวของพระราชวังบวรสถานมงคลและกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ตลอดการ
ดำเนินโครงการเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง ในรูปแบบต่างๆ เช่น หนังสือ รายงาน เอกสารเผยแพร่
๕. นำข้อมูลที่ได้รับมาสังเคราะห์เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลสนับสนุนการจัดทำพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) ให้เป็น
แหล่งเรียนรู้ตามอัธยาศัย และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม
๖. นำเสนอโบราณสถานพระราชวังบวรสถานมงคลทั้งบริเวณ ในรูปแบบต่างๆ ตามความเหมาะสม
๗. เป็นโครงการที่มุ่งนำวิทยาการแผนใหม่มาประยุกต์ใช้เพื่อการศึกษา ภายใต้กรอบแนวคิดในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการ
พลิกฟื้นอดีตด้วยรูปแบบ และวิธีการนำเสนอที่เหมาะสม
การเข้าไม้แบบโบราณ
พระที่นั่งบุษบกเกริน (จาลอง)กลุ่มวิชาการด้านช่างศิลปะไทย สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ๒๕๕๓