ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,665 รายการ
เลขทะเบียน : นพ.บ.283/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.5 x 55.5 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 119 (248-252) ผูก 3 (2565)หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
วัดถัมภาวาส (วัดบางตะโละ)
ตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
วัดแห่งนี้สร้างขึ้นราวพ.ศ.๒๓๙๑ (สมัยรัชกาลที่ ๓) โดยมีพ่อท่านลังกาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก อุโบสถของวัดแห่งนี้มีลักษณะพิเศษคือการเขียนภาพจิตรกรรมบนผนังด้านนอกของอุโบสถ จิตรกรรมเหล่านี้เขียนภาพเรื่องพุทธประวัติเช่นตอนแสดงธรรมโปรดพุทธมารดา ตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรื่องรามเกียรติ์ตอนทศกัณฑ์ลักนางสีดา ตอนพระยาพาลีรบทรพี และเรื่องจันทโครพตอนโจรป่าฆ่าจันทโครพไปจนถึงตอนโจรป่าหนีไป รวมถึงสอดแทรกภาพชาวบ้านไว้ในมุมของภาพต่างๆด้วย
------------------
เรียบเรียง/ภาพถ่าย นายสารัท ชลอสันติสกุล นักโบราณคดีชำนาญการ
ครงการดนตรีสำหรับประชาชน ปีที่ ๖๕วันอาทิตย์ที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ณ สังคีตศาลา บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครเวลา ๑๗.๓๐ – ๑๙.๓๐ น. การบรรเลงขับร้องดนตรีสากลโดย มูลนิธิสุนทราภรณ์ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีบัตรราคา ๒๐ บาท (จำหน่ายบัตรก่อนเข้าชมการแสดง ๑ ชั่วโมง)สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ โทร. ๐๒๒๒๑ ๐๑๗๑การจัดการแสดงอยู่ภายใต้มาตรการป้องกันโรคตามแผนมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัยและมาตรการที่ทางราชการกำหนด
บทความวิชาการจดหมายเหตุเรื่อง ภาพเก่าเล่าอดีต : สืบสานสัมพันธไมตรีไทย-เนเธอร์แลนด์ผู้แต่ง : บุศยารัตน์ คู่เทียม ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจดหมายเหตุ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากรตีพิมพ์ลงนิตยสารศิลปากร ปีที่ ๔๙ ฉบับที่ ๒ (เดือนมีนาคม-เมษายน ๒๕๔๙)หน้า ๖๓-๗๙
“พระพุทธรูปสามฤทธิ์” แห่งเมืองสวรรคโลกหากมีโอกาสเดินทางมาที่อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย นอกจากจะได้ซึมซับบรรยากาศวิถีชีวิตที่เรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยเรื่องราวความเป็นจังหวัดในอดีตแล้ว ผู้คนที่อำเภอสวรรคโลกยังมีความเชื่อความศรัทธาในพระพุทธรูปที่มีนามมงคลที่คนสวรรคโลกส่วนมากเรียกขานว่า “พระพุทธรูปสามฤทธิ์” พระพุทธเรืองฤทธิ์ เป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง (วัดพระปรางค์) กระทั่งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔ พระยาวิชิตภักดี (นก) เจ้าเมืองสวรรคโลกในขณะนั้น อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดสว่างอารมณ์วรวิหาร จวบจนปัจจุบัน ถือเป็นพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่งของเมืองสวรรคโลกที่มีเจ้านายเสด็จฯ มานมัสการหลายพระองค์ เช่น สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๕ พระพุทธลือฤทธิ์ เป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย ที่พระสวรรค์วรนายก อดีตเจ้าอาวาสวัดสวรรคารามและเจ้าคณะจังหวัดสวรรคโลก รวบรวมไว้ เดิมประดิษฐานอยู่ในอุโบสถ วัดสวรรคาราม ซึ่งในช่วงสงกรานต์จะมีประเพณีอัญเชิญออกมาให้ผู้คนสรงน้ำ ภายหลังได้ยกเลิกไปเนื่องจากเกรงว่าการสรงน้ำจะทำให้พระพุทธรูปเสียหาย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ ตึกสวรรค์วรนายก ถือเป็นพระพุทธรูปคู่วัดคู่ชุมชนที่ชาวบ้านมักเรียกกันติดปากว่า “หลวงพ่อบุญลือ” และให้ความเคารพศรัทธากราบไหว้มาตลอดหลวงพ่อสัมฤทธิ์ เป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่อุโบสถ วัดคลองกระจง เป็นที่นับถือของชาวบ้านตำบลคลองกระจงและในอำเภอสวรรคโลก ตามประวัติว่ากันว่ามีพรานป่าชื่อนายนวล ยิ่งสกุล เข้าไปล่าสัตว์แถววัดกรงทอง กระทั่งตกเย็นแว่วเสียงพระสวดมนต์จึงได้ตามเสียงไปและพบเจดีย์เก่าที่มีเศียรพระโผล่ออกมา เลยกลับมาตามชาวบ้านไปช่วยกันขุดเอามาเก็บรักษาไว้ที่วัดคลองกระจง บริเวณฐานขององค์พระปรากฏจารึกว่า “แต่แม่ชีเสน โกนเก้า เข้าบวช บ่เคยถูกต้องมือชาย มาเถิงนึกอันมาดบูชา จึงสร้างพระผู้เป็นเจ้า โสงองค์ ถวายไว้ในพระศาสนาสิ้นปัจจัยหกล้านแล”
เรื่องห้ามไม่ให้เจ้าไปเมืองสุพรรณกับอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ จังหวัดสุพรรณบุรี. พระนคร : กรมศิลปากร, 2491. กล่าวถึงนิทานโบราณคดีเรื่องห้ามไม่ให้เจ้าไปเมืองสุพรรณ พระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ของจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งให้รายละเอียดความรู้เกี่ยวกับชื่อบ้านนามเมือง ภูเขา แม่น้ำ โบราณสถาน และสถานที่สำคัญของจังหวัดสุพรรณบุรี
วัดบูรพาราม อยู่ที่ถนนเขื่อนธานี ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี จากประวัติ วัดบูรพาราม ระบุว่าสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ เดิมเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของพระสงฆ์สายวิปัสสนา ภายหลังกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์ สำเร็จราชการมณฑลอีสาน ได้บริจาคทรัพย์และที่ดินสร้างวัดบูรพาราม เพื่อถวายพระสีทา ชยฺเสโน เจ้าอาวาสลำดับที่ ๑ ต่อมา พ.ศ. ๒๔๕๘ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้เดินทางจากวัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร มาเรียนวิปัสสนาที่วัดบูรพาราม จากประวัติวัดและรูปแบบทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม สร้างขึ้นไม่เก่าไปกว่า พ.ศ. ๒๔๓๖ ในสมัยรัตนโกสินทร์ ภายในวัดมีโบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ อุโบสถ (สิม) และหอไตร วัดบูรพาราม
. อุโบสถ (สิม) เป็นสิมโปร่งแบบพื้นถิ่นอีสาน คือ สิมที่ไม่ก่อผนังปิดมิดชิด ยกเว้นเฉพาะผนังด้านหลังพระประธาน เป็นอาคารขนาด ๓ ห้อง หันหน้าลงทางทิศใต้ ส่วนชุดฐานบัว (เอวขัน) ก่ออิฐถือปูน ผนังเป็นโครงไม้ขึ้นรูปด้วยดินเหนียวผสมฟางข้าวสับละเอียดและแกลบข้าว ฉาบผิวด้วยน้ำปูน มีเสาไม้รองรับเครื่องหลังทรงจั่ว ในอดีตน่าจะมุงด้วยแป้นเกล็ดไม้หรือกระเบื้องดินเผา ด้านหน้ามีพาไลและบันไดทางขึ้น ใน พ.ศ. ๒๕๖๒ กรมศิลปากรร่วมกับวัดบูรพาราม ดำเนินการบูรณะอุโบสถ (สิม) หลังนี้ด้วยการทำหลังคาใหม่ครอบอาคารเดิมไว้ เพื่อประโยชน์การใช้งานตามความต้องการของทางวัดและชุมชน และแล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๕๖๓
. หอไตร สร้างด้วยไม้ยกพื้นสูง ในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า มี ๒ หลัง ตั้งเรียงกัน เดิมมีชานพักเชื่อมอาคารทั้งสองหลัง โครงสร้างหอไตรแต่ละหลังใช้เสาไม้กลม ๘ ต้น รับน้ำหนักหลังคาทรงจั่ว ตีฝาทึบด้วยไม้ระแนงเป็นลายก้างปลา ด้านข้างมีช่องหน้าต่าง ๓ ช่อง เฉพาะด้านที่เคยมีชานพักเชื่อมไม่มีหน้าต่าง ด้านหน้าและหลังมีช่องหน้าต่าง ๑ ช่อง บันไดทางขึ้นอยู่ใต้อาคาร โดยใช้วิธีเปิดบานประตูขึ้นด้านบน หอไตรได้รับการบูรณะครั้งหลังสุดในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ และ พ.ศ. ๒๕๖๓ มีการซ่อมบำรุงในส่วนที่ชำรุดตามสภาพ
. กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดขอบเขตที่ดินโบราณสถานวัดบูรพาราม ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘ ตอนพิเศษ ๑๒๔ง หน้า ๗ วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๔๔ พื้นที่ประมาณ ๒ งาน ๗๖ ตารางวา
------------------------------------------
+++อ้างอิงจาก+++
. กองพุทธศาสนสถาน, กรมการศาสนา. ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๑๔. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา,
๒๕๓๘. หน้า ๒๑๘
. คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุฯ. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์
และภูมิปัญญาจังหวัดอุบลราชธานี. หนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒, ๒๕๔๔.หน้า ๑๓๖-๑๓๗
ข้อมูล : กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี
วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๕ เวลา ๐๗.๐๐ น.
นางปริญญา สุขใหญ่ หัวหน้าพิพิธภ้ณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ เข้าร่วมโครงการเข้าวัดปฏิบัติธรรมวันธรรมสวนะ ประจำปี งบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๕ จังหวัดสุรินทร์ เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาศวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๓ มิถุนายน ๒๕๖๕ ณ วัดหนองบัว ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
สงวน อั้นคง. สิ่งแรกในเมืองไทย ชุดพิเศษ. พระนคร: เฟื้องอักษร, 2505.
เป็นหนังสือรวมเรื่องต่าง ๆ จากหลากหลายสาขาที่เริ่มมีขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย เช่น ประวัติฟุตบอลล์ กำเนิดฟุตบอลล์ เทนนิส เครื่องบูชา กระดาษ บุหรี่ ล็อตเตอรี่ เป็นต้น
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : งานนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์เมื่อร้อยกว่าปีก่อน -- พระแท่นศิลาอาสน์ มีลักษณะเป็นศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้างประมาณ 2.50 เมตร ยาวประมาณ 3 เมตร โดยมีไม้จำหลักลงรักปิดทองประดับกระจกประกอบเข้าตัวพระแท่นเป็นพุทธบัลลังก์ ประดิษฐานในมณฑป ตั้งอยู่ภายในวิหารใหญ่ของวัดพระแท่นศิลาอาสน์ ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ตามตำนานกล่าวว่าพระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์เสด็จมาประทับ ณ พระแท่นศิลาอาสน์นี้หลังจากที่ตรัสรู้แล้ว พระแท่นศิลาอาสน์เป็นสถานที่ที่มีพุทธศาสนิกชนนิยมมาสักการะบูชามาช้านาน จนเกิดประเพณีงานนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ขึ้นทุกช่วงวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 เป็นประจำทุกปี งานนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์เมื่อร้อยกว่าปีก่อนเป็นอย่างไร เราอาจจะหาคำตอบได้จากเอกสารจดหมายเหตุชุดกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง รายงานนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ ระบุว่า เมื่อวันที่ 15 มีนาคม ร.ศ. 113 (นับอย่างปฏิทินปัจจุบันคือปี พ.ศ. 2438) พระบริรักษ์โยธี ปลัดขวาผู้รักษาเมืองพิไชย ได้มีใบบอกถึงพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตรฯ ข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลพิษณุโลกเกี่ยวกับงานนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ประจำปี ร.ศ. 113 ใจความโดยสรุปว่า พระศรีพนมมาศ ผู้ว่าราชการเมืองทุ่งยั้งได้ขอกรมการไปช่วยรักษาความสงบเรียบร้อยในงาน พระบริรักษ์โยธีจึงให้หลวงสุนทรพิทักษ์ กรมการ ขึ้นไปช่วย และส่งกำนันผู้ใหญ่บ้านและเลกข้าพระ (คือไพร่ทาสที่มีหน้าที่รับใช้พระในวัด – ผู้เขียน) ไปเป็นกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย พร้อมทั้งได้ออกข้อบังคับสำหรับรักษาความสงบเรียบร้อยรวม 9 ข้อ เมื่อช่วงงานนมัสการสิ้นสุดลง พระศรีพนมมาศจึงได้รายงานให้พระบริรักษ์โยธีทราบว่า งานนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ดำเนินไปอย่างเรียบร้อย มีผู้ร่วมงานทั้งพระสงฆ์ สามเณรและฆราวาสรวมทั้งสิ้นประมาณ 44,600 คน ได้เงินที่มีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคไว้ในหลุมพระแท่นศิลาอาสน์จำนวน 259 บาท 24 อัฐ ซึ่งทางพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตรฯ ได้ชื่นชมผู้รักษาเมืองและกรมการที่ช่วยกันดูแลรักษาความปลอดภัยในบริเวณที่มีคนจำนวนมากถึง 40,000 กว่าคนโดยไม่มีเหตุร้ายแรงอะไร ทั้งๆ ที่ใช้ข้อบังคับสำหรับรักษาความสงบเรียบร้อยตามแบบของเดิมและมีบางข้อที่รุนแรงไปบ้าง เป็นที่น่าเสียดายว่า เรายังไม่พบภาพงานนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ในสมัยนั้นว่ามีความยิ่งใหญ่เพียงใดถึงมีจำนวนผู้เข้าร่วมงานนมัสการถึง 40,000 กว่าคน ซึ่งนับว่ามากในสมัยนั้น ขนาดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชกระแสว่า “ก็แปลกดีไม่เคยฟัง พึ่งรู้ว่าคนมากเช่นนี้….” ผู้เขียน : นายธัชพงศ์ พัตรสงวน (นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารและข้อมูลอ้างอิง:1. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงศึกษาธิการ ร.5 ศ 13/9 เรื่อง รายงานนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์. [24 – 26 เม.ย. 114].2. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (2498). เที่ยวตามทางรถไฟ. พระนคร: โรงพิมพ์ตีรณสาร. (พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงกำจรนิติสาร (กำจร นิติสาร) 30 เมษายน 2498). 3. ตรี อมาตยกุล. (2511). นำเที่ยวจังหวัดอุตรดิตถ์. พระนคร: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง. (พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพระณรงค์ฤทธี (ชาย ดิฐานนท์) 15 มกราคม 2511).#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ