โบราณสถานวัดชนะสงคราม
โบราณสถานวัดชนะสงคราม
โบราณสถานวัดชนะสงคราม หรือโบราณสถานร้าง ก.7 ตั้งอยู่ภายในกำแพงเมืองสุโขทัย ห่างจากวัดมหาธาตุไปทางทิศเหนือประมาณ 150 เมตร จัดเป็นหนึ่งในกลุ่มโบราณสถานที่อยู่กลางเมืองสุโขทัย ซึ่งวัดนี้ถือว่าเป็นโบราณสถานขนาดกลาง แผนผังของวัดวางตัวตามแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างภายในวัดคือ
1.เจดีย์ประธานทรงระฆัง ขนาดใหญ่ ก่อด้วยอิฐ ลักษณะของเจดีย์เป็นรูปแบบเฉพาะของเจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัย คือ มีบัวถลา (บัวคว่ำ) 3 ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นบัวปากระฆัง องค์ระฆัง บัลลังก์ ก้านฉัตรและปลียอด ทั้งนี้ ในส่วนของฐานบัวที่มีการทำเป็นฐานบัวลูกแก้วอกไก่สองเส้น ลักษณะเช่นนี้จะพบอยู่ในศิลปะล้านนา
2.ฐานวิหาร ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกหรือทางด้านหน้าของเจดีย์ประธาน ก่อด้วยอิฐ และมีเสาวิหารกลมก่อด้วยศิลาแลง
3.ฐานโบสถ์ อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของเจดีย์ประธาน ก่อด้วยอิฐ เสาศิลาแลง มีเสมาหินล้อมรอบ และอีกหนึ่งฐานอยู่ทางด้านทิศตะวันออกถัดจากวิหาร ซึ่งฐานโบสถ์หลังนี้ตั้งอยู่กลางน้ำ โดยใช้น้ำเป็นอุทกเสมา แสดงเขตศักดิ์สิทธิ์ สันนิษฐานว่าโบสถ์ที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกนั้นตั้งขึ้นภายหลังในช่วงสุโขทัยตอนปลาย เนื่องจากมีฐานที่ค่อนข้างสูง ซึ่งนิยมกันในสมัยอยุธยาและมิได้ตั้งอยู่ตามแนวแกนทิศ ซึ่งเป็นแผนผังการสร้างวัดของสุโขทัย
4.ฐานเจดีย์ราย จำนวน 11 ฐาน ตั้งอยู่รายรอบเจดีย์ประธาน ซึ่งมีเจดีย์รายทรงวิมาน 2 องค์ ตั้งอยู่ทางด้านหน้าของเจดีย์ประธาน ถือว่าเป็นเจดีย์รายรูปแบบพิเศษ เนื่องจากพบเพียงไม่กี่องค์
5.กำแพงแก้ว ล้อมรอบวิหารและเจดีย์ประธาน ในปัจจุบันเหลือเพียงด้านทิศตะวันออกและทิศใต้บางส่วนเท่านั้น
วัดชนะสงครามนี้ไม่ปรากฏหลักฐานชื่อวัดในศิลาจารึก แต่ปรากฏชื่อวัดในพระราชนิพนธ์เที่ยวเมืองพระร่วง ของพระบาททสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกล่าวถึงวัดชนะสงครามว่า “...แต่ทางทิศเหนือวัดมหาธาตุ ริมวัดที่เรียกกันว่าวัดชนะสงครามนั้น...”
.
เอกสารอ้างอิง
1.อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย กรมศิลปากร. ทำเนียบโบราณสถาน อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2561. พิมพ์ครั้งที่ 2. สุโขทัย : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย กรมศิลปากร, 2561.
2.ศ.เกียรติคุณ สุรพล ดำริห์กุล. ประวัติศาสตร์และศิลปะสุโขทัย. นนทบุรี : เมืองโบราณ, 2562.
3.ศ.ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย ประมวลศิลปกรรมโบราณเมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ : มิวเซียมเพรส, 2561.
4.พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, เที่ยวเมืองพระร่วง, กรุงเทพฯ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ มล.ซ้ง สนิทวงศ์, 2520.
โบราณสถานวัดชนะสงคราม หรือโบราณสถานร้าง ก.7 ตั้งอยู่ภายในกำแพงเมืองสุโขทัย ห่างจากวัดมหาธาตุไปทางทิศเหนือประมาณ 150 เมตร จัดเป็นหนึ่งในกลุ่มโบราณสถานที่อยู่กลางเมืองสุโขทัย ซึ่งวัดนี้ถือว่าเป็นโบราณสถานขนาดกลาง แผนผังของวัดวางตัวตามแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างภายในวัดคือ
1.เจดีย์ประธานทรงระฆัง ขนาดใหญ่ ก่อด้วยอิฐ ลักษณะของเจดีย์เป็นรูปแบบเฉพาะของเจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัย คือ มีบัวถลา (บัวคว่ำ) 3 ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นบัวปากระฆัง องค์ระฆัง บัลลังก์ ก้านฉัตรและปลียอด ทั้งนี้ ในส่วนของฐานบัวที่มีการทำเป็นฐานบัวลูกแก้วอกไก่สองเส้น ลักษณะเช่นนี้จะพบอยู่ในศิลปะล้านนา
2.ฐานวิหาร ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกหรือทางด้านหน้าของเจดีย์ประธาน ก่อด้วยอิฐ และมีเสาวิหารกลมก่อด้วยศิลาแลง
3.ฐานโบสถ์ อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของเจดีย์ประธาน ก่อด้วยอิฐ เสาศิลาแลง มีเสมาหินล้อมรอบ และอีกหนึ่งฐานอยู่ทางด้านทิศตะวันออกถัดจากวิหาร ซึ่งฐานโบสถ์หลังนี้ตั้งอยู่กลางน้ำ โดยใช้น้ำเป็นอุทกเสมา แสดงเขตศักดิ์สิทธิ์ สันนิษฐานว่าโบสถ์ที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกนั้นตั้งขึ้นภายหลังในช่วงสุโขทัยตอนปลาย เนื่องจากมีฐานที่ค่อนข้างสูง ซึ่งนิยมกันในสมัยอยุธยาและมิได้ตั้งอยู่ตามแนวแกนทิศ ซึ่งเป็นแผนผังการสร้างวัดของสุโขทัย
4.ฐานเจดีย์ราย จำนวน 11 ฐาน ตั้งอยู่รายรอบเจดีย์ประธาน ซึ่งมีเจดีย์รายทรงวิมาน 2 องค์ ตั้งอยู่ทางด้านหน้าของเจดีย์ประธาน ถือว่าเป็นเจดีย์รายรูปแบบพิเศษ เนื่องจากพบเพียงไม่กี่องค์
5.กำแพงแก้ว ล้อมรอบวิหารและเจดีย์ประธาน ในปัจจุบันเหลือเพียงด้านทิศตะวันออกและทิศใต้บางส่วนเท่านั้น
วัดชนะสงครามนี้ไม่ปรากฏหลักฐานชื่อวัดในศิลาจารึก แต่ปรากฏชื่อวัดในพระราชนิพนธ์เที่ยวเมืองพระร่วง ของพระบาททสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกล่าวถึงวัดชนะสงครามว่า “...แต่ทางทิศเหนือวัดมหาธาตุ ริมวัดที่เรียกกันว่าวัดชนะสงครามนั้น...”
.
เอกสารอ้างอิง
1.อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย กรมศิลปากร. ทำเนียบโบราณสถาน อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2561. พิมพ์ครั้งที่ 2. สุโขทัย : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย กรมศิลปากร, 2561.
2.ศ.เกียรติคุณ สุรพล ดำริห์กุล. ประวัติศาสตร์และศิลปะสุโขทัย. นนทบุรี : เมืองโบราณ, 2562.
3.ศ.ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย ประมวลศิลปกรรมโบราณเมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ : มิวเซียมเพรส, 2561.
4.พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, เที่ยวเมืองพระร่วง, กรุงเทพฯ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ มล.ซ้ง สนิทวงศ์, 2520.
(จำนวนผู้เข้าชม 1303 ครั้ง)