กรมศิลปากร Fine Arts Department
font-size-a3 font-size-a2 font-size-a1 themes-default themes-black_white themes-black_yellow
ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 41,092 รายการ


ในวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ พลเอกธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้เดินทางมาเพื่อตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของกระทรวงวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ได้เดินทางมายังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ รวมรับฟังการบรรยายสรุปและเยียมชมนิทรรศการถาวรสื่อวีดิทัศน์ภายในพิพิธภัณฑสถานเห่งชาติ เชียงใหม่





ชื่อวัตถุ ลูกปัดแก้วสีส้ม ทะเบียน ๒๗/๑๗/๒๕๕๘ อายุสมัย แรกเริ่มประวัติศาสตร์ วัสดุ(ชนิด) แก้ว แหล่งที่พบ เป็นของกลางตามคดีอาญาเลขที่ ๑๒๒/๒๕๕๗ลงวันที่ ๙เมษายน๒๕๕๗ของสถานีตำรวจภูธรคลองท่อม อ.คลองท่อม จ.คลองท่อมสำนักศิลปากรที่ ๑๕ภูเก็ต มอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง เมื่อวันที่ ๑๑มีนาคม ๒๕๕๘ สถานที่เก็บรักษา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง “ลูกปัดแก้วสีส้ม” ลูกปัดแก้วทรงกระบอกสีส้ม เป็นลูกปัดที่มีขนาดเล็กมากและมีขนาดที่แตกต่างกัน ลูกปัดรูปแบบนี้นิยมเรียนว่า “ลูกปัดแบบอินโด-แปซิฟิค (Indo-Pacific Beads)”หรือ “ลูกปัดลมสินค้า”(Trade winds beads)เนื่องจากได้มีการค้นพบลูกปัดรูปแบบนี้กระจายตัวอยู่ในบริเวณมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิค โดยพบตามเมืองท่าโบราณต่างๆ ทั้งในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลูกปัดแก้วเหล่านี้คงเป็นส่วนหนึ่งของสินค้าที่มากับเรือเดินสมุทรซึ่งต้องอาศัยลมมรสุมในการเดินทาง อันเป็นที่มาของชื่อ “ลูกปัดลมสินค้า” ลูกปัดแก้วสีส้มขนาดเล็กเหล่านี้ทำด้วยวิธีการนำแก้วมาหลอมโดยใช้ความร้อน จากนั้นจึงนำมาดึงยืดเป็นเส้นและตัดที่ละลูกจึงทำให้ลูกปัดมีขนาดที่ต่างกัน ลูกปัดแบบอินโด-แปซิฟิคมีแหล่งกำเนิดและแหล่งผลิตหลักในประเทศอินเดียในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๕ และได้แพร่กระจายไปยังดินแดนต่างๆ ทั้งในเอเชียตะวันตกและเอเชียตะวันออก สำหรับในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบที่ประเทศอินโดนีเซียที่เกาะสุมาตรา มาเลเซีย เวียดนาม สำหรับในประเทศไทยพบในหลายพื้นที่ อาทิ ภาคกลาง และภาคใต้ เป็นต้น ในพื้นที่ภาคใต้พบกระจายตัวอยู่ตามแหล่งโบราณคดีสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๖ – ๙ เช่น แหล่งโบราณคดีคลองท่อม (ควนลูกปัด) จังหวัดกระบี่ ภูเขาทอง จังหวัดระนอง เขาสามแก้ว จังหวัดชุมพร โคกทอง จังหวัดสงขลา และยังได้พบลูกปัดแบบอินโด-แปซิฟิคในแหล่งโบราณคดีซึ่งมีลักษณะที่เป็นเพิงผาและถ้ำต่างๆ เช่นเขาตาหมื่นนี ถ้ำถ้วย จังหวัดชุมพร เพิงผาปาโต๊ะโระ จังหวัดสตูล และที่เพิงผาทวดตาทวดยาย จังหวัดสงขลา โดยได้พบโครงกระดูกซึ่งมีลูกปัดแก้วเม็ดเล็กสีส้มวางบนโครงกระดูก ซึ่งเป็นหลักฐานว่าคนในสมัยก่อนได้นำลูกปัดแบบอินโด-แปซิฟิคมาใช้เป็นเครื่องประดับร่างกาย ลูกปัดแบบอินโด-แปซิฟิคจึงถือเป็นหลักฐานสำคัญที่บ่งบอกถึงการความนิยมการสวมใส่ลูกปัดเป็นเครื่องประดับกายของคนในอดีต การพบลูกปัดรูปแบบนี้ในพื้นที่ที่เป็นถ้ำและเพิงผายังประเด็นที่น่าสนใจซึ่งอาจเป็นหลักฐานการติดต่อระหว่างกลุ่มคนดั้งเดิมที่อยู่อาศัยในพื้นที่ภาคใต้ซึ่งกระจายตัวอยู่ตามถ้ำและเพิงผาต่างๆ และกลุ่มคนที่อยู่ในบริเวณเมืองท่าต่างซึ่งมีการกับต่างแดนและการผลิตลูกปัด ซึ่งเป็นประเด็นที่น่าสนใจและควรศึกษาเพิ่มเติมต่อไป เอกสารอ้างอิง - ผุสดี รอดเจริญ, “การวิเคราะห์ลูกปัดแก้วจากเมืองโบราณสมัยทวารวดี ในภาคกลางของประเทศไทย.” (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๖ - สารัทชลอสันติสกุล และคณะ. รายงานการสำรวจแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ชุมพร. นครศรีธรรมราช : สำนักศิลปากรที่ ๑๔นครศรีธรรมราช กรมศิลปากร, ๒๕๕๗. - พรทิพย์ พันธุโกวิท และคณะ. โครงการเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์และแรกเริ่มประวัติศาสตร์ในเขตพื้นที่จังหวัดสงขลาและสตูล.กรุงเทพฯ : บริษัท บางกอกอินเฮ้าจำกัด, ๒๕๕๗.


ดาวน์โหลดเอกสาร 1ดาวน์โหลดเอกสาร 2




ชื่อวัตถุ :: กล่องข้าว ชื่ออื่น :: ก่องข้าวเลขทะเบียน :: 43/0241/2552   ลักษณะ :: ไม้ไผ่สานทรงกระบอก มีฝาปิด ฐานทำด้วยไม้กากบาท ทำหูสำหรับร้อยเชือกสำหรับสะพาย ใส่ข้าวเหนียว ไปรับประทานเวลาไปทำไร่ ทำนา แหล่งที่มาข้อมูล :: ต.หนองป่าครั่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก   ชื่อวัตถุ :: กระจาด เลขทะเบียน :: 43/0103/2547    ลักษณะ :: ปากทรงกลม ส่วนก้นสอบทรงสี่เหลี่ยม สานด้วยไม้ไผ่ปากและตำตัวใช้หวายยึดให้แข็งแรง แหล่งที่มาข้อมูล :: ต บ้านกลาง อ เมือง จ ปทุมธานีแหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก   ชื่อวัตถุ :: กระบุงเลขทะเบียน :: 43/0105/2552 ลักษณะ :: กระบุงสะพายหลัง เครื่องจักสานด้วยตอกไม้ไผ่ ขึ้นรูปเป็นภาชนะทรงกลม ก้นสี่เหลี่ยม แหล่งที่มาข้อมูล :: ต.หนองป่าครั่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก   ชื่อวัตถุ :: ขันตั้ง ชื่ออื่น :: พานเลขทะเบียน :: 43/0214/2552 ลักษณะ :: ขันตั้ง ภาชนะจักสานจากตอกไม้ไผ่ ทรงสี่เหลี่ยมกลม โดยพับผนังส่วนบนทบลงเป็นผนัง2 ชั้นและให้ส่วนที่มีลายโปร่งพับลงต่ำกว่าส่วนตัวภาชนะเป็นขาตั้งขัน แหล่งที่มาข้อมูล :: ต.หนองป่าครั่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่  แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก   ชื่อวัตถุ :: ข้อง ชื่อวัตถุ :: ตะข้อง เลขทะเบียน :: 43/0674/2552    ลักษณะ :: ข้องคอคอด ทรงแบน คล้ายขวดแบน มีงาสำหรับปิดเปิด ใช้สำหรับใส่กุ้ง ปู ปลา และสัตว์ขนาดเล็ก เช่น กบ เขียดแหล่งที่มาข้อมูล :: ต.หนองป่าครั่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก   ชาติพันธุ์…วันละนิดชื่อวัตถุ :: ตุ้มดักปลา เลขทะเบียน :: 43/0684/2552    ลักษณะ :: ตุ้มทรงคล้ายขวด คอยาวแคบ ถัดจากก้นขึ้นมาเล็กน้อยเจาะช่องไว้สำหรับใส่งาที่ทำด้วยไม้ไผ่เหลาให้กลม ปลายเรียวผูกด้วยห้อยไว้ในช่องงา ใช้สำหรับดักสัตว์น้ำแหล่งที่มาข้อมูล :: ต.หนองป่าครั่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก   ชื่อวัตถุ :: ข้องเป็ด ชื่ออื่น :: ข้องนอน, ข้องลอย เลขทะเบียน :: 43/0681/2552    ลักษณะ :: ข้องสานด้วยไม้ไผ่ รูปร่างคล้ายเป็ด มีคองอนขึ้นเล็กน้อย และงาเป็นฝา สานโปร่งเพื่อให้น้ำไหลได้สะดวก ใช้สำหรับใส่สัตว์น้ำแหล่งที่มาข้อมูล :: ต.หนองป่าครั่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก   ชื่อวัตถุ :: แปมชาวเขาชื่ออื่น :: โปละวี, เอิบ เลขทะเบียน :: 43/0711/2552    ลักษณะ :: ภาชนะทรงสูง ขอบปากกลม ลำตัวป่อง ขาเป็นเชิง มีฝาสำหรับปิด สานด้วยตอกและหวาย สำหรับใส่สิ่งของหรือเสื้อผ้าของชาวเขาบริเวณที่สูงทางเหนือ ขนาดใหญ่ใช้เก็บเสื้อผ้าหรือสิ่งของประจำบ้าน ขนาดเล็กใช้ใส่สิ่งของติดตัวเดินทางแหล่งที่มาข้อมูล :: ต.หนองป่าครั่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก   ชื่อวัตถุ :: ซ้างวงชื่ออื่น :: กะต่างวง, ตระกร้าหูหิ้วเลขทะเบียน :: 43/0607/2552    ลักษณะ :: ตะกร้าทรงกลม ก้นสอบเป็นมุม มีหูสำหรับหิ้ว สำหรับใส่สิ่งของ สานด้วยไม้ไผ่ แหล่งที่มาข้อมูล :: ต.หนองป่าครั่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก   ชื่อวัตถุ :: กล่อง ชื่ออื่น :: แอบเรือเลขทะเบียน :: 43/0072/2552 ลักษณะ :: กล่องทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า สานด้วยตอกเส้นใหญ่ มีฝาครอบปิด ด้านบนฝามีไม้ไผ่เหลาไขว้กากบาท ถักติดด้วยหวายเสริมความแข็งแรง ใช้สำหรับเก็บสิ่งของ หรือเสื้อผ้าแหล่งที่มาข้อมูล :: ต.หนองป่าครั่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก ชื่อวัตถุ :: กระบุงเลขทะเบียน :: 43/0585/2552 ลักษณะ :: ภาชนะทรงกลม ปากบานกลม ก้นสอบเป็นเหลี่ยม มีขอบเสริมมุมและก้นด้วยหวาย มีหูสำหรับสอดเชือกเพื่อคล้องกับคาน หาบเป็นคู่ สำหรับใส่เมล็ดพืช ข้าวเปลือกและข้าวสาร อาจจะใช้หาบเป็นคู่หรือแบกบนบ่า บางท้องถิ่นอาจจะใช้กระบุงในการตวงด้วย แหล่งที่มาข้อมูล :: ต.หนองป่าครั่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก   ชื่อวัตถุ :: เปี๊ยดชื่ออื่น :: บุง, กระบุงเลขทะเบียน :: 43/0015/2552   ลักษณะ :: ทรงกลม ปากกลม ก้นสอบเป็นสี่เหลี่ยม สานด้วยตอก เคลือบด้วยรัก มีหูสองหู สำหรับใช้เชือกร้อยคล้องกับคานหาบ แหล่งที่มาข้อมูล :: ต.หนองป่าครั่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก   ชื่อวัตถุ :: อานจันสานชื่ออื่น :: โสลด เลขทะเบียน :: 43/0650/2552 ลักษณะ :: เครื่องจักสานขึ้นโครงด้วยไม้ไผ่ สานลายละเอียด ใช้สำหรับใส่สิ่งของหรือนั่ง แหล่งที่มาข้อมูล :: ต.หนองป่าครั่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก   ชื่อวัตถุ :: ซองเงินชื่ออื่น :: สมุก  เลขทะเบียน :: 43/0044/2557 ลักษณะ :: ทำมาจากกระจูด กระจูด สานเป็นรูปถุงแบนๆ ขนาดเล็กสองถุงสวมกัน ใช้สำหรับใส่เงินพกติดตัว แหล่งที่มาข้อมูล :: ต.เคร็ง อ.ชะอวด จ. นครศรีธรรมราชแหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก ชื่อวัตถุ :: หมาจากเลขทะเบียน :: 43/0042/2557 ลักษณะ :: ทำมาจากส่วนยอดอ่อนของใบจากที่ยังไม่แตกใบ สอดเรียงกัน โดยสลับโคนกับใบ แล้วม้วนให้กลม รวบปลายทั้งสองด้านเข้าหากัน ใช้ก้านจากมัดเข้าด้วยกันทำเป็นที่จับ ภาชนะสำหรับตักน้ำแหล่งที่มาข้อมูล :: ภาคใต้ของประเทศไทยแหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก  ชื่อวัตถุ :: พัดเลขทะเบียน :: 43/0041/2557 ลักษณะ :: ทำมาจากใบกระพ้อม จักสานเป็นเส้นๆ แล้วสานเป็นทรงใบโพธิ์ ส่วนปลายมัดรวมทำเป็นด้าม มัดด้วยหวาย แหล่งที่มาข้อมูล :: อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก   ชื่อวัตถุ :: สอบหมากเลขทะเบียน :: 43/0038/2557 ลักษณะ :: ภาชนะรูปทรงกระบอก ขอบปากทรงกลมพับสองชั้น มุมก้นเป็นทรงสี่เหลี่ยม สานด้วยกระจูด สำหรับใส่หมากพลู แหล่งที่มาข้อมูล :: อ.ควนขนุน จ.พัทลุงแหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก


      เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2561 นางอัญชิสา เสือเพ็ชร หัวหน้าหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี มอบหมายให้ นางสาววิรากร รสเกษร เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมหลักสูตร "การจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Goverment Procurement)" สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐในส่วนภูมิภาค ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาออมสินอุปถัมภ์ จังหวัดจันทบุรี


ผลการตรวจสอบพระอุโบสถวัดโตนด ตำบลหนองระเวียง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา รายละเอียดดังนี้๑. วัดโตนด ตั้งอยู่ที่ บ้านโตนด หมู่ที่ 11 ตำบลหนองระเวียง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา (แผนที่ทหาร ประเทศไทย ๑ : ๕๐,๐๐๐ WGS๘๔ จังหวัดนครราชสีมา พิมพ์ครั้งที่ ๑–RTSD ลำดับชุด L๗๐๑๘ ระวาง ๕๔๓8 IV, พิกัดยูทีเอ็มที่ โซน 48 P 199660.66 ม. ตะวันออก,1655453.25 ม. เหนือ)๒. พระอุโบสถวัดโตนดหลังเดิมยังไม่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนจากกรมศิลปากร๓. สภาพปัจจุบันพระอุโบสถหลังเดิมวัดโตนดมีสภาพชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมาก เนื่องจากไม่ถูกใช้งานเป็นระยะเวลากว่า ๑ ปีแล้ว โดยจุดที่เสียหายแบ่งเป็น ๑๐ จุด มีรายละเอียดดังนี้ ด้านนอกพระอุโบสถ๓.๑ โครงสร้างหลังคา โดยเครื่องไม้รองรับหลังคามีสภาพชำรุดทรุดโทรม กระเบื้องมุงหลังคาหลุดร่วงหลายจุด แต่โครงสร้างของอาคารยังมีความแข็งแรงดี๓.๒ ฝ้าเพดานบริเวณชายหลังคาหลุดร่วง ๓.๓ หน้าบันพระอุโบสถทั้ง ๒ ด้าน ซึ่งเป็นหน้าบันไม้แกะสลักรูปครุฑยุดนาคและกนกพรรณพฤกษา ปัจจุบันถูกรื้อและนำมาประดับผนังด้านสกัดทั้ง ๒ ด้าน และแทนที่ด้วยหน้าบันปูนปั้น๓.๔ ผนังด้านสกัดทั้งด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันออก จากเดิมเป็นมุขยื่นทั้ง ๒ ด้าน ปัจจุบันมีการรื้อออกทั้ง ๒ ด้าน แต่ยังคงเหลือร่องรอยให้พบเห็นด้านในพระอุโบสถ๓.๕ ฝ้าหลังคาภายในพระอุโบสถชำรุดเกือบทั้งหมดประกอบกับหลังคามุงกระเบื้องที่หลุดร่วงและโครงสร้างไม้รองรับหลังคาอยู่ในสภาพชำรุด ส่งผลให้สภาพภายในพระอุโบสถได้รับความเสียหายจากลม ฝนและพายุเป็นอย่างมาก๓.๖ บริเวณพื้นภายในพระอุโบสถมีมูลนกพิราบทั้งพื้นที่ เนื่องจากนกพิราบเข้ามาทำรังภายในพระอุโบสถเป็นจำนวนมาก



ห้องที่ 13 : สงขลาย้อนยุค จัดแสดงโบราณวัตถุและศิลปวัตถุตามสาระสำคัญ คือ ประมาณ 60-70 ปีที่ผ่านมา สงขลามีย่านธุรกิจการค้าที่เฟื่องฟู บริเวณถนนนครนอก นครใน และถนนนางงาม มีห้องถ่ายรูปที่ทันสมัย มีโรงภาพยนตร์ และสถานเริงรมย์ มีการคมนาคม ทั้งเรือโดยสาร รถไฟ และสนามบินพาณิชย์ สิ่งเหล่านี้ สะท้อนภาพความทันสมัยของสงขลาในเวลานั้นได้เป็นอย่างดี



รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ราชอาณาจักรกัมพูชา   ๑.   ชื่อโครงการ :  การสัมมนาในระดับภูมิภาคขององค์การการท่องเที่ยวโลกด้านการพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ๒.   วัตถุประสงค์ :        ๒.๑ เพื่อเป็นเวทีสำหรับหน่วยงานด้านการท่องเที่ยว  ผู้เชี่ยวชาญ  และผู้ปฏิบัติในการหารือและทบทวนโอกาส  รวมถึงความท้าทายของการท่องเที่ยวอย่างยื่นในสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม  และทางธรรมชาติ        ๒.๒ เพื่อนำเสนอกรณีศึกษาและ  ประสบการณ์ของประเทศไทยในภูมิภาคเอเชียที่ประสบผลสำเร็จในนโยบาย  แนวทางสำหรับการบริหารจัดการอย่างยั่งยื่น  การอนุรักษ์และยุทธศาสตร์สำหรับการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ๓.   กำหนดเวลา : ระหว่างวันที่  ๑ – ๓  พฤศจิกายน  ๒๕๕๖ ๔.   สถานที่ : เมืองเสียมราฐ  ราชอาณาจักรกัมพูชา ๕.  หน่วยงานผู้จัด : องค์การการท่องเที่ยวโลก (The United Nations World  Tourism  Organization:UNWTO)  ร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ๖.  หน่วยงานสนับสนุน : กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ๗.  กิจกรรม : การแลกเปลี่ยนแนวทางการบริหารจัดการมรดกทางศิลปวัฒนธรรมด้านต่างๆ  เช่น  ประวัติศาสตร์  โบราณคดี  สถาปัตยกรรม  และการบริหารจัดการแหล่งมรดกทางธรรมชาติ ๘.  คณะผู้แทนไทย :                    ๘.๑  นางชุติมา  จันทร์เทศ  หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ๙.  สรุปสาระของกิจกรรม :                     การสัมมนาในระดับภูมิภาคขององค์การการท่องเที่ยวโลกด้านการพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม :                    ๑๐.๑ การสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแนวทางในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมแต่ละแหล่งของกลุ่มประเทศสมาชิกต่างๆ  ก่อให้เกิดแนวคิดในการบริหารจัดการและการดำเนินงานอนุรักษ์ในแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่ดูแลรับผิดชอบ  เช่น  การบริหารจัดการและการควบคุมดูแลเมืองโบราณหลวงพระบาง  ซึ่งสามารถพิจารณานำมาปรับประยุกต์ใช้เป็นแนวทางการบริหารจัดการในแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของไทยได้                    ๑๐.๒ การเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการของรัฐบาลกลาง และรัฐบาลท้องถิ่น  ทำให้การบริหารจัดการบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์  และเป้าหมายที่กำหนดได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพโดยการมีมาตรการควบคุมพื้นที่เขตโบราณสถาน  และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ  ตลอดจนการควบคุมรูปแบบสถาปัตยกรรมดั้งเดิมของอาคารสิ่งก่อสร้าง  ทั้งนี้  เพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม  รวมถึงการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีการตักบาตรข้าวเหนียวของชาวเมืองหลวงพระบาง  และการแต่งกายที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ และสืบทอดมาจนทุกวันนี้                    ๑๐.๓  การนำเสนอข้อมูลการบริหารจัดการของกลุ่มประเทศสมาชิกต่างๆ  ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล และองค์ความรู้ในการบริหารจัดการแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมในรูปแบบต่างๆ  และสามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้ได้ในบางส่วน                    ๑๐.๔ จากการเข้าร่วมประชุมสัมมนา  ในระดับภูมิภาคขององค์การการท่องเที่ยวโลกด้านการพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม  และทางธรรมชาติในครั้งนี้  ก่อให้เกิดประโยชน์ทำให้ได้ทราบแนวทางต่างๆ  ในการบริหารจัดการมรดกทางวัฒนธรรม  ซึ่งเป็นผลก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหารจัดการมรดกทางวัฒนธรรมของไทย  เช่น  การบริหารจัดการน้ำ  เพื่อการควบคุมระดับน้ำบริเวณบาราย  ที่อยู่โดยรอบปราสาทนครวัด  เป็นต้น                                                                       นางชุติมา  จันทร์เทศ    หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง                                                                                     ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ


Messenger