ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,340 รายการ

          วันพฤหัสบดีที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๔.๐๐ น. นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดห้องสมุดในพิพิธภัณฑ์พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน และงานแถลงข่าว”เปิดรับสมัครเข้าประกวดฝีมือช่างอนุรักษ์ระดับชาติ” และกิจกรรมโรงเรียนอนุรักษ์อาคารไม้ พร้อมด้วยนายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร พล.ต.ท.วิชิต ปักษา ประธานมูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ในพระราชอุปถัมภ์ฯ นายภัคพงศ์ ทวิวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี และนายชิเกรุ อาโอยากิ ผู้อำนวยการองค์การยูเนสโก กรุงเทพมหานคร ร่วมการแถลงข่าว โดยมีสื่อมวลชน และผู้มีเกียรติร่วมในพิธี ณ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี หลังจากนั้น ได้นำประธานและสื่อมวลชนเยี่ยมชมห้องสมุดฯ โดยมีกิจกรรม”วิธีสมุดบันทึก” พร้อมเยี่ยมชมอาคารปฏิบัติงานไม้เพื่อการอนุรักษ์ และงานไม้อนุรักษ์ในพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน          นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน นับว่าเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของแผ่นดินที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใช้จัดแสดงนิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ไทย เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และมีความเหมาะสมเป็นแหล่งเรียนรู้ การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการพัฒนาห้องสมุดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ ที่จะสร้างพื้นที่เรียนรู้ให้เกิดประโยชน์ขึ้นในท้องถิ่น และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่อย่างกว้างขวาง ในการค้นคว้าหาข้อมูลประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ขนบธรรมเนียมประเพณี พระราชประวัติและงานศิลปะในสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โครงการนี้จัดขึ้นมีวัตถุประสงค์ให้พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เป็นต้นแบบห้องสมุดในพิพิธภัณฑ์ เป็นแหล่งเรียนรู้ประจำพิพิธภัณฑ์ภายในท้องถิ่น เป็นศูนย์เผยแพร่องค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เกี่ยวกับพระราชนิเวศน์มฤคทายวันและองค์ความรู้อื่น ๆ แก่เด็ก เยาวชน และบุคคลทั่วไป



ผู้แต่ง :  - ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2480 หมายเหตุ : พิมพ์แจกในงานปลงศพ ขุนพินิจทัณฑกิจ (มาลัย  บุรารักษ์)               หนังสือคำกลอนสุภาษิต และทุกกฏะสอนบุตร  มีต้นฉบับเป็นหนังสือสมุดไทย นำเสนอเรื่องราวที่เป็นคติสอนใจแก่ผู้คนโดยทั่วไป และเรื่องราวการอบรมสั่งสอนเลี้ยงดูบุตรให้เป็นคนดีมีความกตัญญู จนประสบความสำเร็จใน




ชื่อเรื่อง                           ธัมมิกบัณฑิตชาดก (ธัมมิกบัณฑิตชาดก)สพ.บ.                             142/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           32 หน้า กว้าง 4 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา--ชาดก                                           ทาน--แง่ศาสนา -- พุทธศาสนา บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด  ได้รับบริจาคมาจากวัดป่าเลไลยก์ ต.รั้วใหญ่ อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                                สตฺตปฺปกรณภิธมฺมเทสนา (เทศนาวิภังค์-มหาปัฏฐาน)สพ.บ.                                  129/6ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           28 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 56.5 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 ธรรมเทศนา บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดประสพสุข ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี




ชื่อผู้แต่ง            ความรู้เกี่ยวกับงานเทศบาลนครกรุงเทพ ชื่อเรื่อง             ความรู้เกี่ยวกับงานเทศบาลนครกรุงเทพ ครั้งที่พิมพ์          - สถานที่พิมพ์        พระนคร สำนักพิมพ์          โรงพิมพ์ท้องถิ่น กรมการปกครอง ปีที่พิมพ์             ๒๕๐๙ จำนวนหน้า         ๑๒๒ หน้า หมายเหตุ           นายชำนาญ  ยุวบูรณ์ นายกเทศมนตรีนครกรุงเทพ จัดพิมพ์เป็นธรรมบรรณาการในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก มังกร  พรหมโยธี ณ เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันพุธที่ ๒๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๐๙                      หนังสือความรู้เกี่ยวกับงานของเทศบาลนครกรุงเทพ มีสาระเกี่ยวกับกฎหมายเกี่ยวกับหน้าที่ของเทศบาล พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. ๒๕๐๘ สำนักทะเบียนท้องถิ่น , บริการส่งเสริมสุขภาพอนามัย , บริการเพื่อเด็กและเยาวชน , ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนเทศบาลกับชุมชน , คำแนะนำสำหรับประชาชนเกี่ยวกับการประถมศึกษา , การจัดย่านอุตสาหกรรม , โครงสร้างสะพานข้ามทางแยกประตูน้ำในแนวถนนเพชรบุรี , การขออนุญาตปลูกสร้างอาคารในเขตเทศบาลกรุงเทพ , ฌาปนกิจสงเคราะห์ของเทศบาลกรุงเทพ



ตำราหมอดูและเวทมนต์คาถา ชบ.ส. ๑๑๕ เจ้าอาวาสวัดเขาคันธมาทน์ ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕ เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.33/1-5 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


องค์ความรู้ เรื่อง "พระอรรธนารีศวร ประติมากรรมชิ้นเด่นที่มีเพียงหนึ่งเดียวในประเทศไทย"จัดทำข้อมูลโดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี


สวัสดีค่ะ #พี่โข่ทัยมีเรื๋องเล๋า วันนี้เรามีเรื่องราวเกี่ยวกับเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ที่เป็นสถาปัตยกรรมในสมัยสุโขทัย และเหลือหลักฐานให้เราพบเห็นในเมืองสรลวงสองแคว หรือ ปัจจุบันคือจังหวัดพิษณุโลกนั้นเองค่ะ ซึ่งในขณะนี้สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย กำลังดำเนินการตามโครงการขุดค้นขุดแต่งวัดเจดีย์ยอดทองอยู่ค่ะ มาค่ะ เรามาล้อมวงฟังเรื่องราวของวัดเจดีย์ยอดทองกันดีกว่าค่ะ ว่าวัดนี้มีความเป็นมาอย่างไรค่ะ -----------------------------------------------------------------------           วัดเจดีย์ยอดทอง หรือวัดยอดทอง ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออก นอกกำแพงเมืองพิษณุโลก ในเขตพื้นที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก โบราณสถานแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 - 20 โดยมีหลักฐานสำคัญ คือ เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หรือเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม อันเป็นเอกลักษณ์ของเจดีย์ในศิลปะสุโขทัย ด้านหน้าเป็นวิหาร และมีคูน้ำล้อมรอบ .           ปัจจุบันวัดเจดีย์ยอดทอง นับว่าเป็นโบราณสถานเพียงแห่งเดียวในจังหวัดพิษณุโลกที่ยังปรากฏหลักฐานรูปแบบศิลปกรรมในสมัยสุโขทัยให้เห็นอย่างชัดเจน แต่ยังไม่ได้รับการขุดค้นขุดแต่งทางโบราณคดีอย่างเป็นระบบ  .           ปัจจุบันคูน้ำบางส่วนได้ถูกถม และวิหารด้านหน้าเจดีย์ประธานเป็นที่จอดรถของผู้มาติดต่อวัด ดังนั้นจึงควรเร่งดำเนินการขุดค้นขุดแต่งทางโบราณคดีอย่างเร่งด่วน ในปีงบประมาณพ.ศ. 2563  สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย จึงได้เสนอโครงการขุดค้นขุดแต่งทางโบราณคดีวัดเจดีย์ยอดทอง เพื่อศึกษาหลักฐานสำคัญในสมัยสุโขทัยของเมืองพิษณุโลก .            กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานครั้งแรก ในพ.ศ. 2479 ในชื่อว่า วัดยอดทอง ต่อมาได้ประกาศขอบเขตที่ดินโบราณสถานวัดยอดทองในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 118 ตอนพิเศษ 124 ง ประกาศ ณ วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2544 รวมเนื้อที่ 8 ไร่ 2 งาน 90 ตารางวา .            วัดเจดีย์ยอดทองได้รับการบูรณะประมาณปี พ.ศ. 2533 – 2534 โดยดำเนินการบูรณะเฉพาะเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ส่วนฐานวิหารด้านทิศตะวันออกอยู่ด้านใต้อาคารไม้ของวัด .           ก่อนหนังสือพิษณุโลกของเราจะได้เขียนถึงวัดเจดีย์ยอดทองนั้น หนังสือนำเที่ยวเมืองสองแควหรือเมืองพิษณุโลก เขียนโดยนายบุญชด แสงต่าย (2477 : 227-228) เขียนถึงวัดเจดีย์ยอดทองเอาไว้ว่า ".....นอกจากวัดนี้ ก็มีวัดเจดีย์ยอดทอง เป็นพระเจดีย์สูงลิ่วคล้ายพระปรางค์ บนยอดที่เสมาทำด้วยทองคำแท้ แต่พวกพะม่าเอาปืนใหญ่ยิงต้องเสมาทองคำหักและเก็บไปเสียแล้วเมื่อครั้งกระโน้น คงเหลือแต่ยอดด้วนให้อยู่ทางฝังรถไฟสายเหนือ ด้านตะวันออกตรงข้ามเยื้องประตูผีออก หรือตอนหลังโรงเรียนผดุงราษฎร์ออกไปเล็กน้อย ส่วนตัววิหารโบสถ์ทรุดโทรมหมดเหลือแต่ฐานและทรากป่าหญ้าขึ้นรกร้าง...." .          ต่อมา หนังสือ “พิษณุโลกของเรา” เขียนโดยนายหวน พินธุพันธ์ (2514 : 97-98) กล่าวถึงวัดเจดีย์ยอดทองไว้ว่า “วัดเจดีย์ยอดทองนี้ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลในเมือง ใกล้กับถนนพญาเสือ ซึ่งเป็นถนนที่แยกจากถนนเอกาทศรถ ทางขวามือตรงเหนือวัดพระศรีรัตนมหาธาตุขึ้นไปไม่มากนัก และถนนพญาเสือนี้เป็นถนนที่ไปถึงวัดอรัญญิกนั่นเอง ก่อนจะถึงวัดอรัญญิก (เลยโรงเรียนผดุงราษฎร์ไปไม่มากนัก) จะมีถนนเล็กๆ ทางขวามือซึ่งรถยนต์แล่นเข้าถึงตัววัดเจดีย์ยอดทองได้ จะสังเกตเห็นเจดีย์แบบสุโขทัยแท้หรือแบบดอกบัวตูมสูงตระหง่านอยู่ .          โบราณสถานที่น่าสนใจของวัดนี้ก็คือ เจดีย์แบบสุโขทัยแท้ หรือแบบดอกบัวตูม ซึ่งมีอยู่องค์เดียวที่หาดูได้ยากในจังหวัดพิษณุโลก คือเป็นเจดีย์ที่มีองค์เจดีย์หรือองค์สถูป มีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม ส่วนยอดแหลมและฐานซ้อนกัน 3 ชั้น เป็นทรงสี่เหลี่ยม สำหรับองค์เจดีย์ใช้อิฐก่อโดยใช้ดินสอรอยต่อของอิสระก้อน มิใช่ใช้ปูนสอ ซึ่งยังสังเกตเห็นได้ชัด เจดีย์แบบนี้สันนิษฐานกันว่าสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยนั้น และคงมิได้นำแบบอย่างมาจากที่ใด ช่างในสมัยนั้นคิดแบบขึ้นเองจึงเรียกกันว่าแบบสุโขทัยแท้ จะพบเจดีย์แบบนี้ได้มากที่สุโขทัยและศรีสัชนาลัย ที่จังหวัดอื่นๆ ก็มีที่ตาก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก สำหรับที่พิษณุโลกนี้ก็มีเพียงแห่งเดียวเท่านั้น คือที่วัดเจดีย์ยอดทองนี่เอง ดังนั้นชาวพิษณุโลกควรจะภาคภูมิใจอย่างยิ่ง และควรช่วยกันรักษาไว้แต่น่าเสียดายที่ปรักหักพังไปเสียมาก ซ้ำยังมีคนร้ายไปลักขุดหาของมีค่าจนองค์เจดีย์ และฐานของเจดีย์เป็นโพรงลึก เกรงว่าในไม่ช้าอาจจะพังลงมาได้ ถ้าหากทางกรมศิลปากรไม่รีบซ่อมแซมเสียแต่บัดนี้และถ้าหากเจดีย์องค์นี้พังลงมาก็นับว่าน่าเสียดายอย่างยิ่ง เพราะเราจะหาดูเจดีย์แบบนี้ได้ไม่มากนักในเมืองไทย .        นอกจากองค์เจดีย์แล้วยังมีเนินดินอยู่หลายเนินด้วยกัน เข้าใจว่าเป็นฐานโบสถ์หรือวิหาร หรือฐานเจดีย์องค์เล็กๆ ก็ได้ และยังมีสระน้ำอีกหลายสระ บางสระก็ถูกชาวบ้านเอาดินถมเสียแล้ว จึงน่าเชื่อได้อย่างหนึ่งว่าวัดนี้คงจะสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย และที่ชื่อว่าวัดเจดีย์ยอดทองนั้น ที่ยอดของเจดีย์อาจจะเป็นทองหรือหุ้มทองมาก่อนก็ได้ ดังที่คุณบุญชด แสงต่าย เขียนไว้ตอนหนึ่งว่า “...วัดเจดีย์ยอดทองเป็นพระเจดีย์สูงลิ่วคล้ายพระปรางค์ บนยอดที่เสมาทำด้วยทองคำแท้ แต่พวกพม่าเอาปืนใหญ่ยิงต้องเสมาทองคำหักและเก็บไปเสียแล้วเมื่อครั้งกระโน้น คงเหลือแต่ยอดด้วนให้อยู่ทางฝั่งทางรถไฟสายเหนือ ด้านตะวันออกตรงข้าม เยื้องประตูผีออกหรือตอนหลังโรงเรียนผดุงราษฎร์ออกไปเล็กน้อย ส่วนตัววิหารโบสถ์ทรุดโทรมหมด เหลือแต่ฐานและซาก”  . สิ่งสำคัญภายในวัด             ข้อมูลจากการสำรวจขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ในปีพุทธศักราช 2544 ปรากฏหลักฐานภายในวัด ดังนี้            1.  เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างด้านละ 12.25 เมตร สูง 22.70 เมตร มีแนวกำแพงล้อมรอบขนาดกว้าง 14.50 เมตร ยาว 14.50 เมตร ฐานกำแพงกว้าง 50 ซม. ก่ออิฐถือปูน มีทางเข้าทางทิศเหนือและทิศใต้ ขนาดกว้าง 1 เมตร ปรากฏซุ้มจระนำทั้งสี่ทิศ ซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นประทับยืน ส่วนพระเศียร พระวรกายและพระกรหักหายไป            2.  วิหาร พบฐานอาคารก่อด้วยอิฐ ขนาดยาว 25 เมตร กว้าง 10 เมตร ฐานสูงประมาณ 30 ซม. แนวฐานส่วนใหญ่อยู่ใต้อาคารมุงสังกะสีของวัด          3.  คูน้ำรอบวัด กว้างประมาณ 90 เมตร ยาว 100 เมตร บริเวณด้านทิศเหนือค่อนข้างตื้นเขิน เพราะไม่ได้ดำเนินการขุดลอกชั้น ทิศใต้ถูกปรับเพื่อเป็นบ่อเลี้ยงปลาของวัด ส่วนทิศตะวันออกและทิศตะวันตกถูกถมไประหว่างการปรับปรุงสภาพวัด . การดำเนินงานทางโบราณคดี           สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีพุทธศักราช 2564 จำนวนเงิน 2,000,000.- บาท (สองล้านบาทถ้วน) ถึงแม้ว่าเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ในปัจจุบันจะได้รับการบูรณะแล้ว แต่ยังไม่เคยมีการขุดค้นทางโบราณคดี อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาจากแผนผังที่ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานวัดเจดีย์ยอดทอง จะพบว่า มีคูน้ำอยู่ทางด้านทิศเหนือและทิศใต้ของโบราณสถาน ซึ่งสันนิษฐานว่า เป็นคูน้ำโบราณที่ล้อมรอบวัดตามแบบแผนผังวัดในสมัยสุโขทัย (ปัจจุบันคูน้ำด้านทิศเหนือถูกถมเพื่อก่อสร้างอาคารไปแล้ว) ดังนั้น พื้นที่ด้านหน้าเจดีย์ประธานจึงควรเป็นพื้นที่ของวิหาร แม้ว่าในปัจจุบันวิหารด้านหน้าไม่ปรากฏสภาพให้เห็นบนพื้นผิวดิน แต่สันนิษฐานว่า ใต้ดินยังมีหลักฐานของวิหารเหลืออยู่ ซึ่งปัจจุบันพื้นที่ส่วนที่เป็นวิหารพบว่า เป็นลานจอดรถของผู้มาติดต่อที่วัด และมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานดังนี้          1. เพื่อศึกษาข้อมูลทางด้านโบราณคดีอันจะนำไปสู่แผนการบูรณะและปรับภูมิทัศน์วัดเจดีย์ยอดทอง         2. เพื่ออนุรักษ์และพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของชาติ         3. เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีสู่สาธารณชน .         จากการศึกษาและฐานข้อมูลของกรมศิลปากร พบเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ที่มีการสร้างซุ้มจระนำทั้ง 4 ทิศคล้ายกับวัดเจดีย์ยอดทอง 2 แห่ง คือ วัดตระพังเงินและวัดอ้อมรอบซึ่งตั้งอยู่ภายในเขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย 




Messenger