ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,340 รายการ
บทความจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่านเรื่อง "สิ่งปลูกสร้างในบริเวณโดยรอบ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน"ในจุลสารแป้นเกล็ดจุลสารเรื่องราวอาคารเก่า สาระความรู้ ศิลปกรรม สถาปัตยกรรมคณะกรรมการกองทุนเพื่อการอนุรักษ์อาคารเก่าเมืองน่าน แป้นเกล็ด ฉบับที่ ๗ มีนาคม-พฤษภาคม ๒๕๖๑อ่านเนื้อหา บทความอื่นๆ ได้ที่ https://www.facebook.com/.../pfbid02wTv2mWsT4ADYy1A3UyGgL....
เลขทะเบียน : นพ.บ.415/12ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 56 หน้า ; 4.5 x 57 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 147 (71-80) ผูก 12 (2566)หัวเรื่อง : เอกนิปาต--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.548/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 54 หน้า ; 4 x 50 ซ.ม. : ลานดิบ-ล่องรัก-รักทึบ-ล่องชาด ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 181 (303-310) ผูก 4 (2566)หัวเรื่อง : ลำพระอภิธัมมา 7 คัมภีร์--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง : พระบรมราโชวาทในรัชกาลที่ 5 พระราชทานพระเจ้าลูกยาเธอ เสด็จประพาสจันทบุรี พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระนครเมื่อ 100 ปี ชื่อผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวปีที่พิมพ์ : 2512สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : อรุณการพิมพ์ จำนวนหน้า : 156 สาระสังเขป : พระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเล่มนี้ แบ่งออกเป็น 2 ภาค ดังนี้ ภาคแรก พระบรมราโชวาทพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฏราชกุมาร 2 ฉบับ และพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฏราชกุมาร ขณะประทับศึกษาอยู่ ณ ต่างประเทศ เมื่อพุทธศักราช 2437 อีก 1 ฉบับ ภาคที่สองเป็นพระบรมราโชวาทพระราชทานพระเจ้าลูกยาเธอ 4 พระองค์ คือ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ กรมหลวงปราจิณกิติบดี และกรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช เนื่องในโอกาสเสด็จออกไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ เมื่อพุทธศักราช 2428 ส่วนเรื่องเสด็จประพาสจันทบุรี ทรงพระนิพนธ์ขึ้นเมื่อ เสด็จประพาสจันทบุรี ในปีพุทธศักราช 2419
พระอิศวรทรงสร้างจากเทพธิดา ๑๕ นาง บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีขาวนวล พรมด้วยน้ำอมฤตได้บุรุษรูปงาม มีสีผิวกายขาวนวล ทรงอาชา (ม้า) เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันออก เป็นเทพนพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ มีอารมณ์อ่อนโยน เพ้อฝัน รวนเร และอาจมีเล่ห์เหลี่ยมมาก พระจันทร์เป็นมิตรกับพระพุธ และเป็นศัตรูกับพระพฤหัสบดี สัญลักษณ์เลข ๒ มีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๕
ชิต สุนทโรทยาน. ปีศาจนิยาย. พิมพ์ครั้งที่ 1. ธนบุรี: บำรุงสาส์น, 2508.
เป็นเรื่องสั้นที่เกี่ยวกับปีศาจวิญญาณซึ่งมีททั้งสิ้น 14 เรื่อง ได้แก่ หุ่นเพชฌฆาต วิญญาณคืนร่าง คฤหาสน์ผีสิ่ง ลางมรณะ ปีศาจสานน้ำ ห้องผีสิง ปีศาจขนนก เรื่องของหลวงพ่อแม๊คเกิ้ลส์ฟีลด์ วิญญาณหมาหอน วิญญาณสารภาพ ทาษชีวิต มือผี คงสนุ่น ปีศาจตึกแดง
ชื่อเรื่อง ธมฺมบทวณฺณนา ธมฺมบทฏฺฐกถา (ขุทฺทกนิกายฏฺฐกถา)
อย.บ. 327/15
หมวดหมู่ พุทธศาสนา
ลักษณะวัสดุ 54 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 53 ซม.
หัวเรื่อง พระธรรมเทศนา
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด ไม้ประกับธรรมดา
#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ พระเจ้าแข้งคม วัดศรีเกิด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่รูปแบบ : ศิลปะล้านนา (อิทธิพลศิลปะอยุธยา) พุทธศตวรรษที่ 21วัสดุ : สำริด ลงรักปิดทองประวัติ : ตามชินกาลมาลีปกรณ์ กล่าวว่า พระเจ้าติโลกราชทรงมอบให้สีหโคดเสนาบดีและอาณกิจจาธิบดีมหาอำมาตย์ หล่อพระพุทธรูปทองสำริดองค์ใหญ่ ให้มีลักษณะเหมือนพระพุทธรูปแบบลวปุระ โดยหล่อขึ้นที่วัดป่าตาลมหาวิหาร ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองเชียงใหม่ ส่วนในพงศาวดารโยนก กล่าวว่า พระเจ้าติโลกราชทรงหล่อพระพุทธรูปทองสำริดและขนานพระนามว่า พระป่าตาลน้อย ประดิษฐานไว้ ณ ตาลวันมหาวิหาร อยู่ทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) ของเมืองต่อมาในสมัยเจ้ากาวิละได้อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ วัดศรีเกิด ในเมืองเชียงใหม่ สถานที่ : ปัจจุบันประดิษฐานภายในวิหารวัดศรีเกิด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ลักษณะ : พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระพักตร์สี่เหลี่ยม พระเนตรเปิดกว้าง พระโอษฐ์แบะกว้าง มีขอบไรพระศก ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลวสูง ชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภีปลายเป็นริ้วพับซ้อนกัน พระชงฆ์เป็นสัน ----------------------------------------------------------คำว่า พระเจ้าแข้งคม เรียกชื่อตามลักษณะของพระชงฆ์ (หน้าแข้ง) ที่ทำเป็นสันเส้นตรงขึ้นมา ในจารึกวัดศรีเกิดมีปรากฏกล่าวเรียกพระแข้งคมนี้อยู่เช่นกัน ความว่า “...ทั้งศิษย์โยมเจ้าชู่ตน มาเล็งหัน ยังพระพุทธโบราณพิมพ์รูปเจ้าตนชื่อแข้งคมตั้ง อยู่วัดป่าตาลน้อยนอกแอ่งกระเรืองเถ้า รอน้อยนรหนานเถ้าเช่น พระติโลกราชเจ้าหนักทอง ๓๓๐๐๐๐๐ จึ่งชักเชิญเอาศรัทธาหน...”.พระเจ้าแข้งคมที่วัดศรีเกิดนี้ เป็นพระพุทธรูปศิลปะล้านนาในกลุ่มที่แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลแบบอู่ทองรุ่นที่ 2 (ในสมัยอยุธยาตอนต้น) ซึ่งมีอิทธิพลศิลปะเขมรแบบบายน เห็นได้จากการทำพระพักตร์สี่เหลี่ยม พระเนตรเปิดกว้าง มีขอบไรพระศก ขมวดพระเกศาเล็ก รัศมีเป็นเปลวสูง ชายสังฆาฏิแผ่นใหญ่ และการทำพระชงฆ์เป็นสัน หรือแข้งคม ต่างจากแบบแผนศิลปะล้านนา โดยเป็นการรับแบบอย่างมาจากพระละโว้ตามพระราชประสงค์ของพระเจ้าติโลกมหาราช สะท้อนให้เห็นถึงพระราชนิยมแบบใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้.นอกจากนี้ยังมีลักษณะเฉพาะที่เป็นข้อสังเกตในพระพุทธรูปกลุ่มนี้คือ พระอังคุฐ (นิ้วหัวแม่มือ) จะกางแยกห่างจากนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่เล็กน้อย.พระพุทธรูปแบบแข้งคมพบในศิลปะล้านนาจำนวนไม่มากนัก คาดว่านิยมสร้างเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่ง ส่วนใหญ่พบที่เชียงใหม่และลำพูน ตัวอย่างเช่น พระพุทธรูปแข้งคมที่พิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน มีลักษณะเหมือนกับพระเจ้าแข้งคมที่วัดศรีเกิดทุกประการแต่มีขนาดเล็กกว่า พระพุทธรูปปางมารวิชัยที่ประดิษฐานบนฐานชุกชี ในวิหารวัดเจดีย์หลวง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น---------------------------------อ้างอิง- พระรัตนปัญญาเถระ, แสง มนวิทูร, แปล. ชินกาลมาลีปกรณ์. พระนคร : กรมศิลปากร, 2501. หน้า 119.- ประชากิจกรจักร, พระยา (แช่ม บุนนาค). พงศาวดารโยนก. กรุงเทพฯ : บุรินทร์การพิมพ์, 2516. หน้า 352.- ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะล้านนา. กรุงเทพฯ : มติชน, 2556. หน้า 263-266.- ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย. นนทบุรี : เมืองโบราณ, 2565. หน้า 555-556, 640.- จารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). “จารึกวัดศรีเกิด (เชียงใหม่)”. เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2566 จาก https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/1435
กรมศิลปากร ได้พัฒนาและขับเคลื่อนภารกิจงานด้านมรดกวัฒนธรรมของชาติ ไม่ว่าจะเป็นงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ งานด้านภาษา เอกสารและหนังสือ งานนาฏศิลป์และดนตรี งานสถาปัตยกรรม ศิลปกรรมและช่างศิลป์ไทย ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในเรื่องเศรษฐกิจวัฒนธรรมสร้างสรรค์บนพื้นฐานของทุนทางวัฒนธรรม รวมถึงนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการทำงาน ทั้งการให้บริการและการเผยแพร่ผลงานของกรมศิลปากรในทุกด้าน ซึ่งปัจจุบันกรมศิลปากรมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ทางวิชาการผ่านแพลทฟอร์มออนไลน์ เช่น เฟสบุ๊ก ยูทูบ อินสตราแกรม รวมทั้งยังได้จัดทำ LINE OFFICIAL ของกรมศิลปากร เพื่อเพิ่มช่องทางให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้มรดกศิลปวัฒนธรรม และการบริการของกรมศิลปากรได้ง่ายยิ่งขึ้น
ขอเชิญติดตามข้อมูลข่าวสารกรมศิลปากรผ่านทาง LINE OFFICIAL เพียงเพิ่มเพื่อน โดยสแกน QR CODE หรือ ค้นหา ID : @finearts หรือพิมพ์คำว่า กรมศิลปากร ในช่องค้นหาบัญชีทางการ เมื่อเพิ่มเพื่อนแล้ว จะมี “น้องรักษา” พาทุกท่านไปติดตามข้อมูลข่าวสาร และความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมทุกที่ ทุกเวลา
ชื่อเรื่อง มหานิปาต(เวสฺสนฺตรชาดก)ชาตกปาลิขุทฺทกนิกาย(คาถาพัน)อย.บ. 170/1งหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 66 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง มหาเวสสันดรชาดก
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา
วันนี้ (วันศุกร์ที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๖) เวลา ๐๘.๓๐ น. นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นำคณะผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม วางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องใน "วันนวมินทรมหาราช" ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๖ โดยมีนายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ผู้บริหาร และข้าราชการกระทรวงวัฒนธรรม เข้าร่วม ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เขตดุสิต กรุงเทพฯ
วัดบางขนุน บ้านตากแดด ตำบลบางขนุน อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
มีศิลปะกรรมทรงคุณค่ามากมาย และพระอุโบสถที่ยังหลงเหลือฐานแอ่นโค้งทรงสำเภาแบบศิลปกรรมสมัยอยุธยา วัดบางขนุนเป็นวัดเล็กๆ ที่ซ่อนตัวอยู่ในสวนหลีกหลบสังคมมหานครเมืองใหญ่ที่ค่อยๆลุกล้ำเข้ามา ยังโชคดีที่พระท่านช่วยกันอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังได้มีโอกาสเข้าไปศึกษาเรียนรู้
ถ้าไม่สนทนาธรรมกับพระท่านในวัดก็จะแทบไม่ทราบเลยว่ามีงานศิลปะที่เก่าแก่มากที่เก็บรักษาไว้บางชิ้นอาจเก่าไปได้ถึงช่วงอยุธยากลางถึงตอยปลายเลย นั้นหมายถึงอายุของวัดอาจมีมาก่อนประวัติที่บันทึกไว้เสียอีก
เช่น หอไตรกลางน้ำเป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา ภายในมีจิตรกรรมและบานประตูหน้าต่าง มีตู้พระธรรมลายรดน้ำบางใบเขียนเรื่องรามเกียรติ์ที่มีความงดงาม
วัดยังมีธรรมาสน์ไม้อาจมีอายุเก่าถึงสมัยอยุธยาตอนกลาง-ปลาย และธรรมมาสงามอีกสามหลัง
ภายในอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังพุทธประวัติ เหลือภาพพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์ และมารผจญ มีเทพชุมนุม บานประตูเขียนเป็นภาพเสี้ยวกางเครดิต : Thawatchai Ramanatta กลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม กองโบราณคดี กรมศิลปากร