ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,340 รายการ
วันอังคารที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๓ สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา โดยอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จัดโครงการบรรยายทางวิชาการ ประจำปี ๒๕๖๓ "กลุ่มเทวสถานปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำ และปราสาทปลายบัด สู่มรดกโลก"วิทยากรโดย ดร.อมรา ศรีสุชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านโบราณคดี และนายธราพงศ์ ศรีสุชาติ อดีตผู้อำนวยการกองโบราณคดี ณ ศาลาวนัมรุง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ทั้งนี้ นางชุติมา จันทร์เทศ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา พร้อมด้วย หัวหน้าหน่วยงาน กลุ่ม/ฝ่าย และเจ้าหน้าที่ในสังกัด เข้าร่วมฟังบรรยายทางวิชาการในครั้งนี้ด้วย
วันที่ 11 กันยายน 2558 เวลา 14.00 น. นางสุนิสา จิตรพันธ์ รองอธิบดีกรมศิลปากร เดินทางมาให้นโยบายและแนวทางในการจัดทำเวปไซต์ของสำนักงานและหน่วยงานในสังกัดสำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ ณ ห้องประชุมหอสมุดแห่งชาติ เฉลิมรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
กิจกรรมนิทรรศการเคลื่อนที่อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ครั้งที่ ๔/๒๕๕๖ วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๖ ณ โรงเรียนน้ำโสมพิทยาคม อำเภอน้ำโสม
จังหวัดอุดรธานี
ชื่อวัตถุ :: พัดเลขทะเบียน :: 43/0034/2557
ลักษณะ :: พัดทรงใบโพธิ์ มีด้ามสำหรับจับ สานด้วยย่านลิเพา/หวาย ใช้โบกคลายความร้อน
แหล่งที่มาข้อมูล :: ต.ท่าเรือ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชื่อวัตถุ :: เชี่ยนหมากชื่ออื่น :: แอบหมากเลขทะเบียน :: 43/0195/2552
ลักษณะ :: ประกอบด้วยสามส่วน คือ ลำตัว ถาดรองใน และฝาครอบปิด ขึ้นโครงสานและเป็นกล่องทรงกระบอกกลม สำหรับใส่อุปกรณ์กินหมาก
แหล่งที่มาข้อมูล :: ต.หนองป่าครั่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชื่อวัตถุ :: กล่อง ชื่ออื่น :: แอบเรือ เลขทะเบียน :: 43/0068/2552
ลักษณะ :: ภาชนะจักสานด้วยตอกไม้ไผ่ รูปทรงรี มีส่วนตัวและฝา ลงรักทั้งใบ
แหล่งที่มาข้อมูล :: ต.หนองป่าครั่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชื่อวัตถุ :: กะพาเลขทะเบียน :: 43/0088/2551
ลักษณะ :: ภาชนะทรงสี่เหลี่ยม ปากผายออกก้นสอบเข้า ด้านข้างมีรูสำหรับร้อยสายสะพาย เมื่อเวลาใช้จะนำสายสะพายแขวนไว้บริเวณศรีษะ สำหรับใส่เมล็ดพืช เสื้อผ้าหรือพืชผลทางการเกษตรอื่นๆแหล่งที่มาข้อมูล :: แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กทม แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชื่อวัตถุ :: ชามข้าว เลขทะเบียน :: 43/0217/2552
ลักษณะ :: สานขึ้นรูปด้วยตอกไผ่เป็นรูปชามปากผาย เย็บขอบด้วยหวายยาผิวภาชนะด้วยรัก ใช้ใส่อาหารหรือใช้ในพิธีกรรมแหล่งที่มาข้อมูล :: ต.หนองป่าครั่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชื่อวัตถุ :: กระด้ง ชื่ออื่น :: ด้ง เลขทะเบียน :: 43/0182/2552
ลักษณะ :: เครื่องจักสานทรงกลม แบนกว้าง มีไม้ไผ่ทำเป็นขอบถักด้วยหวายเพื่อเสริมความแข็งแรง ส่วนตัวกระด้งใช้ตอกเส้นเล็กสานลายขัด ใช้สำหรับฝัดข้าวหรือเมล็ดพืช เพื่อแยกสิ่งสกปรกหรือแปลกปลอมออก และใช้ตากสิ่งของต่างๆด้วยแหล่งที่มาข้อมูล :: ต.หนองป่าครั่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชื่อวัตถุ :: เอิบ ชื่ออื่น :: ตะกร้าใส่ผ้าเลขทะเบียน :: 43/0057/2552
ลักษณะ :: ภาชนะจักสานด้วยตอกไม้ไผ่ รูปทรงสี่เหลี่ยม ช่วงกลางลำตัวป่อง ประกอบด้วย 2ส่วน ฝาและตัว ก้นต่อขา 4 ขาด้วยไม้ไผ่สับสำหรับตั้งพื้น ใช้สำหรับใส่ของเสื้อผ้าในการเดินทาง
แหล่งที่มาข้อมูล :: ต.หนองป่าครั่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชื่อวัตถุ :: เสียมล้อมรั้ว เลขทะเบียน :: 43/0004/2550
ลักษณะ :: สานด้วยไม้ไผ่ เป็นแผ่นจักสานทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าสานลายขัดพื้นฐานตลอดทั้งผืน ใช้สำหรับล้อมข้าวเปลือกหลังจากการเก็บเกี่ยว
แหล่งที่มาข้อมูล :: ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมานีแหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชื่อวัตถุ :: กล่องข้าวชื่ออื่น :: ก่องข้าวเลขทะเบียน :: 43/0238/2552
ลักษณะ :: ไม้ไผ่สานทรงกระบอก มีฝาปิด ฐานทำด้วยไม้กากบาท ทำหูสำหรับร้อยเชือกสำหรับสะพาย ใส่ข้าวเหนียว ไปรับประทานเวลาไปทำไร่ ทำนา
แหล่งที่มาข้อมูล :: ต.หนองป่าครั่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่
แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชื่อวัตถุ :: แอบเรือ ชื่ออื่น :: กล่องเลขทะเบียน :: 43/0060/2552
ลักษณะ :: ภาชนะด้วยตอกไม้ไผ่ เป็นรูปทรงรี มีส่วนตัวและฝา ใช้เส้นตอกรมดำแหล่งที่มาข้อมูล :: ต.หนองป่าครั่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชื่อวัตถุ :: มวย (ถิ่น อีสาน) ชื่ออื่น :: หวด (ถิ่น กลาง) เลขทะเบียน :: 43/0122/2550
ลักษณะ :: ภาชนะทรงคล้ายกรวย ก้นตัด ตัวสานทึบ ปากมีขอบ ปิดก้นด้วยตอกสานเป็นตาถี่ เพื่อกันไม่ให้เมล็ดข้าวไหลออก ภาชนะสำหรับนึ่งข้าวเหนียว
แหล่งที่มาข้อมูล :: ต.บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานีแหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชื่อวัตถุ :: กระบุง เลขทะเบียน :: 43/0511/2552
ลักษณะ :: กระบุงสะพายหลัง เครื่องจักสานด้วยตอกไม้ไผ่ ขึ้นรูปเป็นภาชนะทรงกลมปากบาน ก้นสอบ สี่เหลี่ยมแหล่งที่มาข้อมูล :: ต.หนองป่าครั่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชื่อวัตถุ :: เสื่อหวาย เลขทะเบียน :: 43/0007/2558
ลักษณะ :: เสื่อทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า สานด้วยหงาย เป็นสิ่งที่ใช้สำหรับปูนอน โดยจะนำหวายที่หาได้นำมาฉีกเปลือกออกเป็นเส้นๆ แล้วนำไปแช่น้ำประมาณ 3-4 วัน เพื่อให้เส้นหวายมีความอ่อนตัวจึงนำมาสาน
แหล่งที่มาข้อมูล :: ต.ภูฟ้า อ.บ่อเกลือ จ.น่านแหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชื่อวัตถุ :: บุ้งกี๋ ชื่ออื่น :: ปุ้งกี๋ เลขทะเบียน :: 43/0642/2552
ลักษณะ :: ไม้ไผ่สานลายห่าง ค่อนข้างหยาบ รูปร่างคล้ายเปลือกหอย มีหูสำหรับจับสองข้าง ใช้สำหรับโกยหรือตักหิน ดินหรือวัตถุที่มีลักษณะเป็นก้อนขนาดค่อนข้างใหญ่ น้ำหนักไม่มากนัก
แหล่งที่มาข้อมูล :: ต.หนองป่าครั่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชื่อวัตถุ :: ปิ่นโตเลขทะเบียน :: 43/0341/2552
ลักษณะ :: ภาชนะจักสานด้วยตอกไม้ไผ่รูปเป็นทรงกระบอกรีเป็นกล่องซ้อนกัน 3 ชั้น พร้อมฝารวม 4 ชิ้น ฐานไม้ มีหูร้อยเชือกเชื่อมเถาปิ่นโตแต่ละชั้น 2 ด้าน ใช้ใส่อาหารสำหรับการเดินทางของชาวเขา
แหล่งที่มาข้อมูล :: ต.หนองป่าครั่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชื่อวัตถุ :: ปลอกมีด ชื่อวัตถุ :: แปมพร้า, แปมผ้า เลขทะเบียน :: 43/0184/2552
ลักษณะ :: สานด้วยผิวกาบไม้ไผ่พับครึ่งทบ ใช้เป็นที่สอดมีด ปลายไม้ที่เหลือทำเป็นส่วนปากผายออก สานด้วยไม้ไผ่ทำเป็นขอบปาก ถักขอบลำตัวด้วยหวาย มีหูร้อยสำหรับสะพาย สำหรับใส่มีดหรือพร้า พกติดตัวไปทำไร่นาหรือเข้าป่าแหล่งที่มาข้อมูล :: ต.หนองป่าครั่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชื่อวัตถุ :: ตะกร้าชื่อวัตถุ :: โปละวี, เอิบเลขทะเบียน :: 43/0712/2552
ลักษณะ :: ภาชนะทรงสูง ขอบปากกลม ลำตัวป่อง ขาเป็นเชิง มีฝาสำหรับปิด สานด้วยตอกและหวาย สำหรับใส่สิ่งของหรือเสื้อผ้าของชาวเขาบริเวณที่สูงทางเหนือ ขนาดใหญ่ใช้เก็บเสื้อผ้าหรือสิ่งของประจำบ้าน ขนาดเล็กใช้ใส่สิ่งของติดตัวเดินทางแหล่งที่มาข้อมูล :: ต.หนองป่าครั่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชื่อวัตถุ :: ฐานพระพุทธรูป
เลขทะเบียน :: 43/0001/2557
ลักษณะ :: ฐานพระพุทธรูปลดชั้นทำเป็นฐานสิงห์ลดหลั่นกัน3ชั้น ชั้นฐานแต่ละชั้นประดับขอบด้วยลายกระจัง ด้านหน้าทำเป็นแผ่นผ้าทิพย์ประดับลวดลาย ฐานหน้ากระดานล่างสุดลายดอกไม้ก้านต่อดอก ด้านหลังมีห่วงเหล็กสำหรับปักฉัตรแหล่งที่มาข้อมูล :: ต.บ้านกลาง อ.เมือง จ.ปทุมธานี แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
มื่อวันพุธที่ 10 ตุลาคม 2561 นางอัญชิสา เสือเพ็ชร หัวหน้าหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องทิศทางการดำเนินงานของกรมศิลปากร ในปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพฯ โดยนายอนันต์ ชูโชติ เป็นประธานเปิดการประชุม
การดำเนินการตรวจโบราณสถานที่ดำเนินการจ้างเหมากำจัดวัชพืชและสิ่งกีดขวางที่ทำลายโบราณสถานและบำรุงรักษาภูมิทัศน์ จำนวน ๑๖ แหล่ง (งวดที่๓) ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา
ผลการประเมินตนเองตามการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของกรมศิลปากรประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 นางสาวธารทิพย์ ภิรมย์อนุกูล หัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี ให้คำแนะนำแนวทางการขอทำลายเอกสารราชการ แก่เจ้าหน้าที่ศาลจังหวัดสุพรรณบุรี ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี ทั้งนี้ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี ยินดีให้คำปรึกษาในเรื่องการทำลายและการส่งมอบเอกสารราชการ เอกสารประวัติศาสตร์ และเอกสารสำคัญต่างๆ แก่หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และประชาชนทั่วไป ผ่านช่องทางดังนี้
โทรศัพท์ 035 535 501 - 2 Email : suphan_archives@hotmail.com Facebook : https://www.facebook.com/SupanburiNationalArchive Website : http://www.finearts.go.th/suphanburiarchives
รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ประเทศญี่ปุ่น
๑. ชื่อโครงการ โครงการอนุรักษ์บานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น บานประตูหน้าต่างพระวิหารหลวงวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
๒. วัตถุประสงค์ เพื่อการอนุรักษ์ลายประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นที่ประดับอยู่ด้านหลังบานประตูและหน้าต่างพระวิหารหลวงวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กทม. ประกอบด้วยบานประตูจำนวน ๓ คู่ บานหน้าต่างจำนวน ๑๖ คู่ ให้อยู่ในสภาพถาวรงดงามสืบไป
๓. กำหนดเวลา คณะเดินทางมีกำหนดการเดินทางตั้งแต่วันที่ ๖ – ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๖ แต่เนื่องจากจำนวนผู้โดยสารที่สั่งจองที่นั่งของสายการบิน Japan Airlines เที่ยวที่ JL 707 ในวันที่ ๑๒ เต็ม ทางคณะตัวแทนวัดราชประดิษฐ์ ฯ จึงจัดให้นายอำพล สัมมาวุฒธิ เดินทางกลับประเทศไทยก่อนด้วยสายการบิน Japan Airlines เที่ยวที่ JL 707 ในวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๖
๔. สถานที่ สถาบันวิจัยมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
๕. หน่วยงานผู้จัด วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
๖. หน่วยงานผู้สนับสนุน สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
๗. กิจกรรม เพื่อนำชิ้นงานประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น และงานรักลายนูนบนหน้าต่างจำนวน ๒ ชิ้นของวิหารหลวงวัดราชประดิษฐ์ฯ นำไปทำการวิจัยและซ่อมแซม ตลอดจนมอบหนังสือสัญญาข้อตกลงทางการวิจัยกับทางสถาบันวิจัยมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องเป็นระยะเวลา ๒ ปี ศึกษาดูงานการเรียนเครื่องรักญี่ปุ่น ณ มหาวิทยาลัยแห่งกรุงโตเกียว และศึกษารูปแบบศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกรุงโตเกียวและวัดสำคัญที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง
๘. คณะผู้แทนไทยประกอบด้วย
- พระครูวินัยธร อารยพงศ์ เช็งเจริญ เลขานุการเจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม เป็นหัวหน้าคณะเดินทาง
Phrakruwinaithorn Arayapong Chengcharoen
- พระครูธรรมทอน วิวัติ พงษ์เกิด คณะผู้แทนวัดราชประดิษฐ์ ฯ
Phrakhruthammathon Wiwat Purangkerd
- พระครูธรรมาทอน อภิชาต สินทรัพย์เพิ่ม คณะผู้แทนวัดราชประดิษฐ์ ฯ
Phrakhruthammathon Apichart Sinsubperm
- พระครูสมุดเดโช สำเริง คณะผู้แทนวัดราชประดิษฐ์ ฯ
Phrakhrusamu Decho Samreaj
- พระมหาอนุรักษ์ ประภาวดี คณะผู้แทนวัดราชประดิษฐ์ ฯ
Phramaha Anulak Prapavadee
- นายอำพล สัมมาวุฒธิ นักวิชาการช่างศิลป์เชี่ยวชาญ(เชี่ยวชาญเฉพาะด้านศิลปกรรม(วิจัยและพัฒนาศิลปกรรม)) คณะผู้แทนจากกรมศิลปากร
Mr.Ampol Summavuti
- นางนิชาภัทร์ จันทร์ส่องแสง ผู้ร่วมประสานงาน
Ms.Nichapat Junsongsang
- นายสุทธิพงษ์ ทองแสง ผู้ร่วมประสานงาน
Mr.Sutipong Tongsaeng
- นางสุวิวรรณ อยู่สุขโข ล่ามผู้แปลภาษาไทย – ญี่ปุ่น
Ms.Suwiwan Euasookkul
๙. สรุปสาระของกิจกรรม
วันอาทิตย์ที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๖
เวลา ๒๓.๓๐ น. คณะผู้แทนของทางวัดราชประดิษฐฯผู้นำชิ้นงานประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น และงานรักลายนูนบนหน้าต่างจำนวน ๒ ชิ้นของวิหารหลวงวัดราชประดิษฐ์ฯ เพื่อนำชิ้นงานไปทำการวิจัยและซ่อมแซม ตลอดจนมอบหนังสือสัญญาข้อตกลงทางการวิจัยกับทางสถาบันวิจัยมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วยพระครูวินัยธร อารยพงศ์ เช็งเจริญ เลขานุการเจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม เป็นหัวหน้าคณะเดินทาง พระสงฆ์ร่วมคณะจำนวน ๔ รูป ตัวแทนกรมศิลปากร ๑ คน (นายอำพล สัมมาวุฒธิ) ผู้ร่วมประสานงานและล่ามแปลภาษา จำนวน ๓ คนรวม พระสงฆ์ ๕ รูป ฆราวาส ๔ คน ออกเดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิ ด้วยสายการบิน Japan airline เที่ยวที่ [JL 718]
วันจันทร์ที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๖
เวลา ๐๗.๓๕ น. คณะผู้แทนของทางวัดราชประดิษฐฯเดินทางโดยเครื่องบิน Japan airline เที่ยวที่ [JL 718] ถึงยังสนามบินนาริตะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ดำเนินการขั้นตอนการนำเข้าศิลปวัตถุสู่ประเทศญี่ปุ่นโดยมอบเอกสารให้กับบริษัท นิปปอน เอ็กเพรส จำกัด ดำเนินการต่อด้านขั้นตอนพิธีการนำเข้าบานไม้หน้าต่างประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น เพื่อนำไปเตรียมไว้ที่สถาบันวิจัยมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติ ณ กรุงโตเกียว คุณโยโกะ [Yoko Futagami] และคุณฟูไค [Hiromu Fukai] เจ้าหน้าที่ของสถาบันมาต้อนรับและนำคณะเดินทางไปที่พักเพื่อเก็บสัมภาระโดยการนั่งรถไฟฟ้าไคเซน เวลา ๐๙.๒๗ น. เดินทางจากสนามบินนาริตะถึงเมือง Ueno (ยูเอโน่) และเดินจากสถานีเพื่อนำของเข้าพักที่ Hotel Parkside โรงแรมพาร์คไซค์
เวลา ๑๓.๓๐ น. คณะผู้แทนของทางวัดราชประดิษฐฯเดินทางมายัง สถาบันวิจัยมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติฯ เพื่อร่วมเปิด กล่องชิ้นงานทั้งสองร่วมกับเจ้าหน้าที่ของทางสถาบันฯ คุณโยโกะ และคุณยามาชิตะ [Yoshihiko Yamashita] และเจ้าหน้าที่บริษัท ประกันภัยจากไทยที่มาพร้อมกับคณะเดินทาง เพื่อตรวจดูความเรียบร้อยก่อนพิธีการในวันรุ่งขึ้น ผลปรากฏว่าชิ้นงานอยู่ใสภาพเรียบ ร้อยก่อนการเดินทางทุกประการ หลังจากนั้นได้หาลือถึงขั้นตอนในการดำเนินการในวันรุ่งขึ้นเพื่อความพร้อม
เวลา ๑๕.๕๔ น. เดินทางกลับที่พัก
วันอังคารที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๖
เวลา ๐๙.๒๐ น. รถยนต์จากสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศญี่ปุ่นมารับเพื่อนำคณะสงฆ์ซึ่งเป็นคณะผู้แทนเจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามไปฉันท์ภัตตาหารเพลที่ทำเนียบเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศญี่ปุ่น ณ กรุงโตเกียว ตามคำนิมนต์ของท่านเอกอัครราชทูตฯ ธนาธิป อุปัติศฤงค์ พร้อมทั้งคณะที่ร่วมเดินทาง ตลอดจนคุณโยโกะ เจ้าหน้าที่จากสถาบันวิจัยทางวัฒนธรรมแห่งชาติ ณ กรุงโตเกียว ได้รับเชิญไปรับประทานอาหารด้วย ในการไปเยือนทำเนียบเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียวครั้งนี้ เพื่อพบปะและปรึกษาเกี่ยวกับการมอบบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น เพื่อการวิจัยและซ่อมแซม เมื่อเสร็จเดินทางกลับที่พัก
เวลา ๑๔.๓๐ น. คณะผู้แทนเจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม และสถาบันวิจัยมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติ ณ กรุงโตเกียว ได้มีพิธีมอบหนังสือสัญญาข้อตกลงด้านการวิจัยและซ่อมแซมบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องเป็นระยะเวลา ๒ ปี ในการนี้ ท่านเอกอัครราชทูตฯ ธนาธิป อุปัติศฤงค์ และภริยา พร้อมเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว ให้เกียรติมาร่วมเป็นสักขีพยานในการมอบหนังสือสัญญาข้อตกลงด้านการวิจัยและซ่อมแซมบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น และหนังสือตอบรับการรับมอบชิ้นบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นไว้ เพื่อการวิจัยและซ่อมแซม ระหว่างวัดกับสถาบันฯด้วย
คุณคาเมอิ ผู้อำนวยการสถาบันฯ ได้กล่าวคำต้อนรับคณะผู้แทนเจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐฯ และท่าน ทูตไทย ณ กรุงโตเกียว โดยมีคุณสุวิวรรณ เอื้อสุขกุล เป็นล่ามในการสื่อสารระหว่างทั้งสองฝ่าย อนึ่ง ท่านเอกอัครราชทูตฯ ธนาธิป อุปัติศฤงค์ และภริยา พร้อมเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว ยังได้ให้เกียรติขึ้นไปชมบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น ที่ทางวัดนำมามอบให้กับสถาบันเพื่อทำการวิจัยและซ่อมแซมต่อไป บนชั้น ๓ ที่ทำการของสถาบันฯอีกด้วย
เวลา ๑๗.๒๐ น. เดินทางกลับที่พัก
วันพุธที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๕๖
เวลา ๐๙.๓๐ น. เดินทางไปศึกษารูปแบบศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมของวัฒนธรรมประเทศญี่ปุ่น ณ วัด KotoKu Temple (โคโตคุ)
เวลา ๑๒.๔๐ น. เดินทางไปศึกษารูปแบบศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมของวัฒนธรรมประเทศญี่ปุ่น ณ วัด Kencho – ji Temple (เคนโชจิ)
เวลา ๑๓.๕๐ น. เดินทางไปศึกษารูปแบบศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมของวัฒนธรรมประเทศญี่ปุ่น ณ วัด Engaku – ji Temple (เอนกาคูจิ)
เวลา ๑๕.๑๕ น. เยี่ยมชม Tsurugaoka – Hachimangu Shrine ศาลเจ้าทัสสุรุกาโอกะ ฮาชิมันกุ ซึ่งเป็นศาลเจ้าสำคัญ เพื่อรำลึกถึง ฮาชิมัน เทพเจ้าแห่งสงคราม สร้างในปีค.ศ.1191
เวลา ๑๗.๒๕ น. เดินทางกลับที่พัก
วันพฤหัสบดีที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๖
เวลา ๐๙.๓๕ น. เดินทางมาเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการเครื่องรักญี่ปุ่น ณ มหาวิทยาลัยศิลปะของโตเกียว โดยคุณโยโกะ และคุณยามาชิตะ เป็นผู้นำไป และได้เข้าพบกับ อาจารย์ โอกูระ โนริฮิโกะ [Ogura Norihiko] อาจารย์คณะศิลปกรรมเครื่องรักญี่ปุ่นเป็นผู้นำชม ท่านนำชมผลงานคณะจารย์บางส่วน การปฏิบัติงานเครื่องรักของนักศึกษาระดับต่าง ๆ ได้แก่ ปี ๑ – ๒ ฝึกปฏิบัติสร้างเครื่องมือใช้เองได้แก่อุปกรณ์การกรองยางรัก (อุปกรณ์สร้างด้วยไม้) อุปกรณ์การปาดยางรักด้วยไม้สน ซึ่งนักศึกษาทั้งหญิงและชายจะต้องสร้างขึ้นเอง การปฏิบัติงานนักศึกษาปี ๓ – ๔ สร้างชิ้นงานเครื่องรักโดยการออกแบบชิ้นงาน การสร้างหุ่นขึ้นเองทั้งแบบปั้น ปะติดด้วยกระดาษ ขึ้นหุ่นด้วยโฟรมหรือฟองน้ำและปะติดด้วยกระดาษ จนชั้นปีสูงขึ้นทำการขึ้นหุ่นด้วยวิธีที่ยากขึ้นได้แก่การขึ้นหุ่นด้วยไม้แกะสลัก ทุกลักษณะการขึ้นหุ่นจบลงด้วยการทำพื้นยารักและประดับตกแต่งด้วยกรรมวิธียางรักแบบญี่ปุ่น ทั้งการทำรักสี โรยทอง รักสีขูดลายหรือรักลายนูน ล้วนมีขั้นตอนที่ละเอียดอ่อน ได้ศึกษาห้องบ่มเครื่องรัก และห้องปฏิบัติการตกแต่งผิวขั้นสุดท้ายที่เป็นห้องปลอดจากฝุ่นละออง ซึ่งคณะฯ ได้รับความรู้ความเข้าใจพอควรเนื่องจากไม่มีการจัดแบบแสดงกระบวนการครบวงจรเพียงศึกษาดูงานการเรียนการสอนพอสังเขป จากการสังเกตพบว่ามีนักศึกษาที่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และผู้เรียนวิชาเครื่องรักก็มีอาการแพ้ยางรักอยู่จำนวนมากแต่ไม่ถึงขั้นรุนแรงจนต้องเลิกเรียน
เวลา ๑๓.๕๐ น. เดินทางไปศึกษารูปแบบศิลปกรรม ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงโตเกียว พบว่ามีการจัดนิทรรศการศิลปกรรมนานาประเทศในอาเซียนเป็นห้อง ๆ และมีการจัดนิทรรศการหมุนเวียนด้านศิลปกรรมภายในประเทศเป็นระยะทำให้ประชาชนสนใจติดตามชม สักเกตว่ามีผู้คนเข้าชมจำนวนมาก ตลอดการเข้าชมพื้นที่การจัดกว้างขวาง ตลอดจนมีที่ขายสินค้าที่เป็นของที่ระลึกและหนังสือประวัติศาสตร์และศิลปกรรมที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
เวลา ๑๗.๐๐ น. เดินทางกลับที่พัก
วันศุกร์ที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๖
เวลา ๑๗.๕๕ น. เดินทางออกจากสนามบิน นาริตะ ประเทศญี่ปุ่นด้วยสายการบิน Japan airline เที่ยวที่ [JL 707]
เวลา ๒๓.๒๕ น. เดินทางถึงสนามบินสุวรรณภูมิ ประเทศไทยโดยสวัสดิภาพ
๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม
การเดินทางร่วมไปกับคณะตัวแทนของวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามครั้งนี้ ได้รับความรู้และประสบการณ์ในการดูแลอนุรักษ์ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุประเภทเครื่องรัก และเครื่องรักประดับมุกแบบญี่ปุ่น ที่ต้องใช้ความระมัดระวังและความประณีตเป็นอย่างสูงที่จะสามารถคงสภาพชิ้นงานให้คงอยู่สืบไปแม้จะต้องใช้เวลาในการดำเนินงานที่มากพอควร และได้ทราบถึงความรักความภาคภูมิใจใจศิลปวัตถุ โบราณวัตถุมาจากประเทศญี่ปุ่น ได้สัมผัสความรู้สึกของทั้งท่านผู้อำนวยการสถาบันวิจัยมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และเจ้าหน้าที่ทุกคนที่มาร่วมพิธีส่งมอบเพื่อการวิจัยครั้งนี้มีความปลื้ม ปิติ ที่ได้พบเห็นมรดกทางวัฒนธรรมที่เกิดจากประเทศญี่ปุ่นที่หาได้น้อยชิ้น ส่วนใหญ่จะเป็นวัตถุที่มีขนาดเล็กประเภทกล่อง ตลับพบอยู่ในทวีปยุโรปและประเทศจีน แต่ที่มีปรากฏในประเทศไทยกับเป็นชิ้นขนาดใหญ่และมีจำนวนเป็นร้อยชิ้นที่สามารถประดับบานประตูและบานหน้าต่างทำให้เห็นถึงอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงนำเอางานลักษณะนี้มาประดับไว้ในประเทศไทย เนื่องจากในปัจจุบันมีช่างที่สร้างงานประเภทนี้ในญี่ปุ่นน้อยลงมาก
ทั้งด้านการถ่ายทอดศิลปกรรม วัฒนธรรมของชนชาติญี่ปุ่น ถึงแม้ประเทศญี่ปุ่นจะเป็นประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีอันลำเลิศ แต่ญี่ปุ่นเองก็พยายามรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของเขาไว้ ถึงขั้นจัดเป็นหลักสูตรในมหาวิทยาลัยของรัฐที่มีถึงระดับปริญญาเอก ในขณะที่ประเทศไทยเองการนำวิชาช่างไทยแบบโบราณมาจัดทำเป็นหลักสูตรทำการเรียนการสอนเริ่มลดน้อยถอยลง ก็คงมีหน่วยงานภาครัฐบางส่วนที่นำเอาวิธีการแบบช่างไทยโบราณมาใช้ในการปฏิบัติงานอยู่บ้างเช่น สำนักโบราณคดี สำนักช่างสิบหมู่ ของกรมศิลปากร ดังนั้นการอนุรักษ์และพัฒนาวิธีการด้านช่างไทยในขณะนี้อาจอยู่ในขั้นวิกฤติที่ต้องได้รับการดูแลรักษาจากทุกภาคส่วน
นายอำพล สัมมาวุฒธิ
ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ
***บรรณานุกรม***
หม่อมรวงศ์วิจิตร
ตำนานเมืองนครจำปาศักดิ์ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายวิจิตรศักดิ์ สาระโสภณ ณ เมรุวัดแจ้ง จังหวัดอุบลราชธานี วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2527
พระนคร
กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์
2527
หนังสือเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ผู้สนใจในประวัติของวัดจะทิ้งพระ ตลอดถึงศาสนพิธีที่ควรทราบและประกอบเองได้