ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,340 รายการ
วัดสุปัฏนารามวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ถนนสุปัฏน์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ตามประวัติระบุว่าเริ่มสร้างในปี พ.ศ. ๒๓๙๓ โดย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โดยมอบหมายให้พระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฎ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีลำดับที่ ๓ เป็นประธานเลือกพื้นที่ตั้งวัดให้เป็นที่จำพรรษาของพระพนฺธุโล (ดี) นับเป็นวัดธรรมยุติกนิกายแห่งแรกในอีสาน และโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อวัดว่า “สุปัฏนาราม” ในความหมายว่า วัดที่มีท่าน้ำหรือท่าเรือที่ดี สะดวกในการขึ้นลง ทั้งนี้ท่าเรือวัดสุปัฏนารามวรวิหารตั้งอยู่ทางทิศใต้ซึ่งเป็นด้านหน้าวัด
. อุโบสถ (สิม) วัดสุปัฏนารามวรวิหาร สร้างในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๐-๒๔๗๙ สมัยสมเด็จพระมหาวีร-วงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เจ้าคณะมณฑลอุบลราชธานี เจ้าอาวาสลำดับที่ ๗ ออกแบบโดยหลวงสถิตถ์นิมานการ (ชวน สุปิยพันธ์) เพื่อทดแทนอุโบสถ (สิม) หลังเก่าที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบพระราชนิยมในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ก่ออิฐถือปูน หันหน้าไปทางทิศใต้ ตัวอาคารตั้งอยู่ภายในกำแพงแก้ว มีขนาด ๙ ห้อง โดย ๒ ห้องด้านหน้าและ ๒ ห้องด้านหลังเป็นโถง โครงสร้างอาคารใช้เสาก่ออิฐสี่เหลี่ยมและผนังรองรับน้ำหนักหลังคาจั่วที่ต่อหลังคาปีกนกด้านข้างรับด้วยเสาก่ออิฐ ประดับหัวเสาด้วยบัวแวง ระหว่างเสาก่ออิฐเป็นวงโค้งหยักปลายแบบกรอบหน้านาง ประดับดาวเพดานทั้งภายในและภายนอก มีประตูรอบตัวอาคาร เหนือประตูเป็นช่องลมที่แต่งปูนปั้นรูปธรรมจักรและอุณาโลม มีบันไดทางขึ้นบริเวณระเบียงด้านหน้าและด้านหลัง รวม ๔ ทาง เชิงบันไดประดับสิงโตหมอบปูนปั้น หน้าจั่วเรียบเต็มเสมอเสาด้านหน้า ตกแต่งหน้าบันทั้งด้านหน้าและด้านหลังด้วยลายปูนปั้นรูปเจดีย์ทรงระฆัง ล้อมรอบด้วยลายพันธุ์พฤกษาแบบลายไทย ประดับช่อฟ้า (โหง่) แบบหัวนาค ใบระกาแบบลำตัวนาค หางหงส์เป็นหัวนาคเช่นกัน ภายในอุโบสถประดิษฐานพระประธานสำริดนาม “พระสัพพัญญูเจ้า” จำลองจากพระพุทธชินราช ประทับนั่งบนฐานแอ่นโค้งขาสิงห์
. กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานวัดวัดสุปัฏนารามวรวิหาร ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๓ หน้า ๑๕๓๓ วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๔๗๙ แต่ยังไม่ได้ประกาศแนวเขตพื้นที่ดินโบราณสถาน โดยมีสิ่งสำคัญ คือ อุโบสถ (สิม) วัดสุปัฏนาราม วรวิหาร
------------------------------------------
++อ้างอิงจาก++
. กองพุทธศาสนสถาน, กรมการศาสนา. ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๑๔. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์การศาสนา,
๒๕๓๘. หน้า ๓๗๑
. คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุฯ. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์
และภูมิปัญญาจังหวัดอุบลราชธานี. หนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒, ๒๕๔๔.หน้า ๑๒๗
. สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี. โบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแล้วในพื้นที่สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี
(เล่ม ๑ : จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดยโสธร จังหวัดมุกดาหาร). อุบลราชธานี : ห้างหุ้นส่วนจำกัด อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์, ๒๕๖๓.
ข้อมูล : กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : ว่าด้วยเรื่องของฝาย (ตอนจบ) -- การมีฝายตามลำน้ำต่างๆ มิใช่การควบคุมน้ำแต่หน้าฝายเท่านั้น หากยังดูแลท้ายฝายด้วย แล้วท้ายฝายมีอะไร? ท้ายฝาย คือลำน้ำตามธรรมชาติ อาจเป็นห้วย บึงใหญ่มีทางระบายไปสู่คลอง ซึ่งมีการปรับปรุง ปรับแต่ง ให้เป็นระบบบังคับตามที่ฝายถูกออกแบบไว้ ปี 2519 งานบูรณะแหล่งน้ำและก่อสร้าง กรมประมง ได้ออกแบบรูปตัดคลองระบายน้ำท้ายฝายน้ำล้น ห้วยสกึ๋น หนองหลวง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย เพื่อปรับระดับคลองระบายน้ำให้ได้มาตรฐาน จากแบบแปลน สังเกตได้ว่า แนวดินของเดิมกับระดับพื้นคลองมีความลาดชันเป็นรูปตัว (V) ทั้ง 2 ข้าง แล้วความลาดชันนี้ต้องรองรับปริมาณน้ำได้ไม่ให้ไหลเอ่อขึ้นท่วมพื้นที่ข้างบน แต่อย่างไรก็ตาม แบบแปลนไม่ระบุวัสดุก่อสร้างว่า พื้นคลองกับแนวลาดชันเป็นคอนกรีตหรือดินธรรมชาติดังเดิม รวมทั้งความลาดของพื้นคลอง (ความเอียง) เพื่อบังคับน้ำให้ไหลเป็นอย่างไร เพราะหากพื้นคลองไม่มีความลาด เป็นแนวระนาบเดียวตลอด น้ำก็จะไหลช้าลงเท่านั้น แบบแปลนเกี่ยวกับฝายดังได้แสดงมาทั้ง 2 ตอนนี้ ส่วนใหญ่จะมีเพียงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้รับเหมาก่อสร้างที่จำเป็นต้องใช้ เมื่อแบบแปลนได้รับการประเมินคุณค่าเป็นเอกสารจดหมายเหตุแล้ว แบบแปลนจึงมีความสำคัญต่อการศึกษาค้นคว้า เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ สะท้อนกิจกรรมที่มันถูกผลิตขึ้น แงล้วนำมาสู่การเรียนรู้ ซึ่งอย่างน้อยเรื่องของ " ฝาย " ทำให้เราเห็นความสำคัญต่อการจัดการน้ำได้ดียิ่ง. ผู้เขียน : นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา ผจ (2) กษ 1/2 แบบรูปตัดคลองระบายน้ำท้ายฝายน้ำล้นห้วยสกึ๋น หนองหลวง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย [26 ก.พ. 2519]#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 61/3ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 26 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 62/6ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 66 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 152/6 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
มงฺคลตฺถทีปนี (มงฺคลตฺถทีปนีเผด็จ) ชบ.บ 181/1เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
หนังสือ กันตัง หน้าต่างอันดามัน จัดทำขึ้นภายใต้โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมท้องถิ่น จังหวัดตรัง เนื้อหาประกอบด้วยข้อมูลประวัติศาสตร์และทรัพยากรของกันตัง
ชื่อเรื่อง โคลงโลกนิติ พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศรผู้แต่ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศรประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ ประเพณี ขนบธรรมเนียม คติชนวิทยาเลขหมู่ 398.9 ด846คยสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัยปีที่พิมพ์ 2508ลักษณะวัสดุ 132 หน้า หัวเรื่อง สุภาษิตและคำพังเพย คติพจน์ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกหนังสือโคลงโลกนิติ เป็นสุภาษิตเก่าแก่ แต่งมาแต่โบราณครั้งกรุงเก่า ผู้แต่งเที่ยวเลือกหาคาถา สุภาษิตภาษาบาลี และสันสกฤต
ชื่อผู้แต่ง สุธน กวิญโญ แพพงศ์ดิษฐ์
ชื่อเรื่อง วันเด็กและเยาวชนแห่งชาติ และนำทัศนาจร วัดสุทัศนเทพวราราม
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ ทวีกิจการพิมพ์
ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๓
จำนวนหน้า ๔๐ หน้า
หมายเหตุ -
หนังสือวันเด็กและเยาวชนแห่งชาติ และนำทัศนาจร วัดสุทัศนเทพวราราม เล่มนี้ กล่าวถึงการถือกำเนิดมาจากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของเด็ก ซึ่งสหประชาชาติไดประกาศกฎบัตรปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธฺของมนุษยชนทั้ง ๑๐ ข้อนี้ จัดให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ส่วนอีกเรื่อง กล่าวถึงความเป็นมาของวัดสุทัศนเทพวราราม