ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,340 รายการ
ชื่อเรื่อง มงฺคลตฺถทีปนี(มังคลัตถทีปนีอัฏฐกถา)
สพ.บ. 310/5หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยหัวเรื่อง พุทธศาสนา พระสูตร มงคลสูตรประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 70 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม. บทคัดย่อเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
วัดจักรวาฬภูมิพินิจ (วัดจักรวาลภูมิพินิจ) ตั้งอยู่ที่ บ้านหนองหมื่นถ่าน หมู่ที่ ๕ ตำบลหนองหมื่นถ่าน อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๐ โดยนายสิงห์ สิงห์เสนา (ปู่เมืองปาก) มีถิ่นเดิมอยู่บ้านหนองแล้ง แขวงสุวรรณภูมิ ได้พาครอบครัวและญาติมาตั้งบ้านใหม่ คือ บ้านหนองหมื่นถ่าน ต่อมาได้ชักชวนชาวบ้านสร้างวัดจักรวาฬขึ้น และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๕๑ มีโบราณสถานที่สำคัญ คือ สิม (อุโบสถ) หลังเก่า สิม (อุโบสถ) หลังเก่า ลักษณะเป็นสิมทึบ ก่ออิฐถือปูน ตั้งบนฐานเอวขัน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ขนาด ๓ ห้อง รวมห้องมุขด้านหน้า มีประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออกเชื่อมต่อกับบันได โครงสร้างอาคาร ใช้เสาและผนังรับโครงสร้างหลังคาทรงจั่ว มุงกระเบื้องไม้ (แป้นเกล็ด) หน้าบันตีไม้เป็นลายตะวัน ประดับกระจกเงา มุมทั้งสามของหน้าบันประดับดอกลอยขนาดใหญ่ แผงรวงผึ้งไม่มีเสาด้านในคู่หน้า ทำให้รวงผึ้งหย่อนเกือบถึงระดับเดียวกับระเบียงห้องมุข ประดับไม้แกะสลักลายกนกเครือ และลายดอกลอยด้านล่างบริเวณโค้งรวงผึ้ง คันทวยเป็นไม้แกะสลัก ผนังภายนอกด้านหน้ามีฮูปแต้ม (ภาพจิตรกรรม) เป็นภาพ พุทธประวัติตอนพระพุทธเจ้าออกผนวช ภาพมารผจญ และภาพขุมนรก ด้านในอุโบสถเป็นภาพวรรณคดี เรื่องสังข์สินไซ (สังข์ศิลป์ชัย) สิม (อุโบสถ) หลังเก่า วัดจักรวาลภูมิพินิจ ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘ ตอนพิเศษ ๑๒๔ ง หน้า ๘ วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๔๔ และระวางแนวเขตพื้นที่ประมาณ ๑ ไร่ ๒ งาน ๓๔ ตารางวา-------------------------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูลโดย นางสาวศุภภัสสร หิรัญเตียรณกุล นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี -------------------------------------------------------------อ้างอิงจาก กรมศิลปากร. (๒๕๕๖). ทำเนียบโบราณสถานขึ้นทะเบียนสำนักศิลปากรที่ ๑๐ ร้อยเอ็ด (พ.ศ. ๒๔๗๘ – ๒๕๔๕). ขอนแก่น : บริษัทเพ็ญพรินติ้งจำกัด. ปิยนันท์ ชอบศิลประกอบ. (๒๕๕๒).รายงานการสำรวจข้อมูลโบราณสถานวัดจักรวาลภูมิพินิจ หมู่ ๕ และหมู่ ๑๓ บ้านหนองหมื่นถ่าน ตำบลหนองหมื่นถ่าน อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด. กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๐ ร้อยเอ็ด. (เอกสารพิมพ์คอมพิวเตอร์) สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี. (๒๕๖๓). โบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแล้วในพื้นที่สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี (เล่ม ๒ : จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดนครพนม จังหวัดร้อยเอ็ด). อุบลราชธานี : ห้างหุ้นส่วนจำกัด อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์.
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (ทสชาติ) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (มหาชนก-วิธูรบัณฑิต)
สพ.บ. 270/ค/2ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 52 หน้า กว้าง4.3 ซ.ม. ยาว 51 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง บทภาวนา (ความภาวนา)
สพ.บ. 262/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 22 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา--บทภาวนา พุทธศาสนา--คำสอน บทสวดมนต์
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
#เครื่องมือเครื่องใช้ในภาคเหนือแซะแซะ คือ เครื่องช้อนปลาบริเวณท้องนาหรือหนองน้ำตื้น ๆ ส่วนใหญ่ใช้ช้อนปลาเล็กและแมลงบางประเภท ลักษณะเป็นปากกรอบทรงสามเหลี่ยม กว้าง เอียงหงายทะแยงขึ้น ๔๕ องศา มีด้ามจับยาวประมาณ ๓๐ - ๖๕ เซนติเมตร ส่วนท้ายยกสูงยึดติดกับด้ามจับ มีหลายขนาด ขอบหลังของแซะรูปร่าง คล้ายตัวยูสานลายขัดแตะ ตัวแซะสานด้วยลายสองตา เพื่อให้น้ำไหลผ่านสะดวกแต่กันกุ้ง ปลา หรือแมลงตัวเล็กได้ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่ ชุดภาพส่วนบุคคลของนายบุญเสริม สาตราภัยอ้างอิง : เทพพิทักษ์ บุญทา. ม.ป.ป. คู่มือเครื่องมือประมงพื้นบ้านภาคเหนือภายใต้โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม. คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่.
เลขทะเบียน : นพ.บ.182/1กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 42 หน้า ; 4 x 55 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 104 (101-109) ผูก 1ก (2565)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันธ์ขันธ์ --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
พาลุกานิสํสกถา (พาลุกานิสํสกถา)
ชบ.บ.65/1-1
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง ภตฺตทานานิสํสกถา (ฉลองตักบาตร)
สพ.บ. 323/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 26 หน้า กว้าง 4.7 ซม. ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.284/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 60 หน้า ; 4 x 55 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 120 (253-257) ผูก 5 (2565)หัวเรื่อง : เอกนิปาต--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ขอเผยแพร่องค์ความรู้ประจำเดือนพฤศจิกายน เรื่อง "นางอัปสรา ประติมากรรมปูนปั้นซุ้มปราสาทเฟื้อง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง" รูปนางอัปสราที่ปรากฏภายในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียงอยู่ที่บริเวณฐานของซุ้มปราสาทเฟื้อง นางอัปสรา หรือนางอัปสร (Apsara) มาจากคำว่า อัป ในภาษาสันสกฤต หมายถึง “น้ำ” และคำว่า สรา หมายถึง “เคลื่อนไหว” เมื่อรวมกันจึงมีความหมายว่า “ผู้เคลื่อนไหวในน้ำ” บางครั้งเรียกว่า “สุรสุนทรี” หรือ “วิทยาธนี” ในคัมภีร์ปุราณะของฮินดูเล่าว่า นางอัปสราเกิดจากการกวนเกษียรสมุทรของเหล่าทวยเทพและอสูร เพื่อให้ได้มาซึ่งน้ำอมฤต โดยก่อนที่จะได้น้ำอมฤตนั้นบังเกิดสิ่งของมากมายหลายอย่าง หนึ่งในสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นคือนางอัปสรานับหมื่นนับแสน ทั้งหมดล้วนเป็นหญิงงาม ประดับด้วยเครื่องถนิมพิมพาภรณ์อย่างอลังการ แต่ไม่มีเทวดาองค์ใดหรืออสูรตนใดยอมรับเป็นคู่ครอง ด้วยเหตุนี้ พวกนางจึงกลายเป็นของกลางมีหน้าที่ขับกล่อมดนตรีและบำเรอกามให้แก่เหล่าเทพและอสูร นอกจากนี้ นางอัปสรยังมีหน้าที่นำวิญญาณของวีรบุรุษที่ตายในสนามรบขึ้นสู่สรวงสวรรค์และถวายรายงานต่อเทพเจ้าด้วย การประดับรูปนางอัปสรา คงต้องการแสดงนัยยะว่าเป็นดินแดนแห่งสรวงสวรรค์ อันเป็นที่สถิตของเหล่านางอัปสราและเทวดาทั้งหลาย ประติมากรรมปูนปั้นรูปนางอัปสราที่ประดับอยู่ที่ส่วนฐานของซุ้มปราสาทเฟื้องนี้มีลักษณะใบหน้าเหลี่ยม หน้าผากกว้าง ท่าทางและเครื่องทรงแบบศิลปะเขมร ประกอบด้วย กระบังหน้าและเครื่องประดับศีรษะ สวมสร้อยคอ พาหุรัด กำไลข้อมือ และกำไลข้อเท้า จากการศึกษาผ้าทรงของนางอัปสรา พบว่า ด้านหน้าผ้าทรงและด้านหลังประดับชายผ้านุ่งข้างหน้าพับซ้อนกันและส่วนล่างของชายก็ขยายออกเป็น ชายหางปลา หรือที่เรียกว่า ผ้าหางไหลพับซิกแซก มีความคล้ายคลึงกับผ้าทรงของนางอัปสราในศิลปะเขมร แต่เนื่องจากมีลักษณะบางประการของนางอัปสราบนฐานซุ้มปราสาทเฟื้องนี้ ที่ผ้าพบเป็นเส้นขีดเป็นริ้วบริเวณส่วนปลายผ้าชายหางปลา และปลายผ้าห้อยหน้าของผ้าทรงนางอัปสรา ซึ่งเป็นริ้ว เป็นลักษณะที่ไม่นิยมในศิลปะเขมร แต่พบในผ้าทรงแบบสุโขทัยประยุกต์ที่นิยมกันตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เป็นต้นไป ดังนั้นจึงสันนิษฐานว่าเป็นผลงานของสกุลช่างสุโขทัยที่จำลองมาจากศิลปะเขมร โดยมีอายุร่วมสมัยกันประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ นอกจากนี้ยังพบศิลปกรรมการนุ่งผ้าทรงที่ได้รับอิทธิพลศิลปะเขมรเช่นเดียวกันในอาณาจักรสุโขทัย เช่น ผ้าทรงเทวดาในจารึกภาพชาดกวัดศรีชุม วัดศรีสวาย และวัดเจดีย์สี่ห้อง เป็นต้น บรรณานุกรมบันลือ ขอรวมเดช, รูปแบบศิลปะบนแผ่นภาพจารึกลายเส้นเรื่องชาดกของวัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร), ๒๕๓๓.วรารักษ์ ชะอุ่มงาม, การวิเคราะห์ผ้าทรงในศิลปะสุโขทัยและล้านนาในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๐. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาควิชา ประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร), ๒๕๕๗. ศักดิ์ชัย สายสิงห์, ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, ๒๕๖๑.สุภัทรดิศ ดิศกุล, หม่อมเจ้า. ศิลปะขอม. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๔๗.อรุณศักดิ์ กิ่งมณี, ทิพยนิยายจากปราสาทหิน. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๕๕.Monier Monier-Williams, Sir. A Sanskit-English Dictionary (Oxford: Oxford University) ๑๘๘๙.