เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
พระตำหนักทะเลชุบศร
พระตำหนักทะเลชุบศร
ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
สิ่งสำคัญ
๑. พระตำหนักทะเลชุบศร ๒.เขื่อนช่องระบายน้ำ ๓. คันทะเลชุบศร ๔. คลองปากจั่นและประตูระบายน้ำ
ประวัติความสำคัญ
:
พระตำหนักทะเลชุบศรหรือพระที่นั่งเย็น ตั้งอยู่ห่างจากเมืองเก่าลพบุรีประมาณ ๓ กิโลเมตร สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดฯ ให้สร้างขึ้น ณ กลางเกาะทะเลชุบศร เพื่อใช้เป็นที่ประทับพักผ่อนพระราชอิริยาบถ และในคราวเสด็จประพาสป่าทะเลชุบศรนั้นมีสภาพเป็นที่ลุ่ม มีพื้นที่ติดต่อกับทุ่งพรหมาสตร์ไปทางทิศตะวันออก ในฤดูฝนน้ำจะไหลจากเทือกเขามารวมอยู่ในแอ่งนี้ จนแลดูคล้ายทะเลสาบ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชาธิบายว่า เมื่อ พระนารายณ์อวตารลงมาเป็นพระรามนั้นเมื่อจะแผลงศรผลาญศัตรู จะต้องเอาคม พระแสงชุบในห้วงน้ำเสียก่อน บรรดาห้วงน้ำที่พระรามได้ชุบแสง ต่อมาถือเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ โดยทางสรุปว่าพวกพราหมณ์เป็นผู้ขนานนามทะเลสาบแห่งนี้
รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทะเลชุบศรนี้ตื้นเขินเป็นส่วนใหญ่ จึงได้โปรดฯ ให้ช่างชาวฝรั่งเศสทำการปรับปรุงพื้นที่ใหม่ ช่างได้ถมดินสร้างทำนบก่ออิฐ เพื่อขังน้ำเป็นทะเลสาบและยังทำปากจั่น หรือประตูกั้นน้ำ-ระบายน้ำไว้แล้วไขน้ำให้ล้นไหลลงมายังสระแก้ว และฝังท่อดินทำการประปาจากสระแก้วไปยังตัวเมืองลพบุรี
ปัจจุบันทะเลชุบศรตื้นเขินหมดแล้ว ประชาชนเข้าจับจองเป็นที่อยู่อาศัยแต่ก็ยังสามารถเห็นร่องรอยโบราณสถาน ตลอดจนประตูระบายน้ำเรียกกันว่าปากจั่นได้ตามบันทึกของชาวฝรั่งเศส กล่าวว่าเป็นที่เหมาะสมสามารถมองฟ้าได้ทุกด้าน และมีพื้นที่กว้างมากพอสำหรับจะติดตั้งเครื่องมือดาราศาสตร์ ทั้งยังมีภาพการสำรวจจันทรุปราคา ที่พระตำหนักแห่งนี้ ซึ่งชาวฝรั่งเศสวาดไว้เป็นรูปสมเด็จพระนารายณ์ทรงสวมลอมพอกและทรงกล้องส่องยาววางบนขาตั้งทอดพระเนตรจันทร์จากสีหบัญชรพระที่นั่ง ตรงเฉลียงสองข้างนั้น ด้านหนึ่งมีขุนนางหมอบก้มประนมมือ อีกด้านหนึ่งมีนักดาราศาสตร์ชาวยุโรปกำลังส่องกล้องดูอยู่เช่นกัน จึงกล่าวได้ว่า การศึกษาวิชาดาราศาสตร์สมัยใหม่ เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย ณ พระตำหนักทะเลชุบศรนี้
เส้นทางสู่แหล่ง
: จากศาลากลางจังหวัดลพบุรี มุ่งหน้าไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อถึงวงเวียนพระนารายณ์ใช้ทางออกที่ ๑ ไปยังถนนหมายเลข ๑ จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ซอยชุบศร ๑ ประมาณ ๖๕๐ เมตร และเลี้ยวขวา พระที่นั่งจะอยู่ทางซ้าย
ลักษณะรูปแบบศิลปกรรม
: สมัยอยุธยาตอนปลาย
ลักษณะการใช้งานในปัจจุบัน
: เปิดให้นักท่องเที่ยวและประชาชนเข้าชม
การขึ้นทะเบียน
: ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๓ ตอนที่ ๒๔ วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๔๗๙
ที่มาของข้อมูล : สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี
(จำนวนผู้เข้าชม 6634 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน