ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,393 รายการ

หนังสือประเพณีทำศพ และ ประเพณีบวชนาค เคยพิมพ์รวมอยู่ในประเพณีเกี่ยวกับชีวิตของกรมศิลปากร


หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง                          ทาน (พุทธศาสนา)                                    อานิสงส์ประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    16 หน้า : กว้าง 5ซม. ยาว 55 ซม. บทคัดย่อ                      เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม  ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534


๑. ชื่อโครงการ            แผนปฏิบัติงานตามบันทึกความเข้าใจ ว่าด้วยการดำเนินงานแลกเปลี่ยนวิทยากร                             ทางโบราณคดี โบราณสถาน วัฒนธรรม และพิพิธภัณฑสถานฯ ระหว่าง                             กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ประเทศไทย และ กรมมรดก กระทรวงแถลงข่าว                             วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว   ๒. วัตถุประสงค์           เพื่อสำรวจ ทำสำเนาจารึกเอกสารโบราณในเขตวัดพู แขวงจำปาสัก สปป.ลาว ๓. กำหนดเวลา           ระหว่างวันที่ ๘ – ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ๔. สถานที่                 ๑. พิพิธภัณฑ์วัดพู  แขวงจำปาสัก  สปป. ลาว                              ๒. คลังพิพิธภัณฑ์วัดพู แขวงจำปาสัก สปป.ลาว                              ๓. โบราณสถานในแขวงจำปาสัก    สปป.ลาว ๕. หน่วยงานผู้จัด        กรมศิลปากร ๖. หน่วยงานสนับสนุน   กลุ่มงานวิเทศสัมพันธ์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ( งบประมาณ ) ๗. กิจกรรม                วันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐        เวลา ๐๘.๓๐ น.          ผู้แทนศึกษาจารึกเดินทางถึง สปป.ลาว เวลา ๑๔.๐๐ น.          เยี่ยมคารวะท้าวอุดมสี แก้วสักสิด ผู้อำนวยการมรดกโลกวัดพูจำปาสัก  ท้าวสุบัน หัวหน้าขะแหนงพิพิธภัณฑ์วัดพู ท้าวบุนทำ ปาคำ รองขะแหนง พิพิธภัณฑ์วัดพู เพื่อรับทราบข้อมูลและเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงาน โดยพิพิธภัณฑ์วัดพูจัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกในการสำรวจ และ                                                    จัดทำสำเนาจารึกในแขวงจำปาสัก ระหว่างวันที่ ๙ – ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๐  วันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๘.๓๐ น.          คณะผู้แทนศึกษาจารึก เดินเท้าเข้าไปสำรวจ และทำสำเนาจารึกบนภูเขา  รอบวัดพู จำนวน ๓ แหล่ง ดังนี้                                        ๑. จารึกอูบมุง เป็นจารึกแผ่นหินทราย ฝังอยู่บริเวณหน้าปราสาทอูปมุง                                       บนภูเขาวัดพู ขนาดกว้าง ๑๑๒ เซนติเมตร สูง ๑๘๙ เซนติเมตร จารึกจำนวน ๑ ด้าน อักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต จำนวน ๗ บรรทัด  คณะทำงานจัดทำสำเนาจารึก จำนวน ๓ สำเนา                                      ๒. จารึกถ้ำเลก ๑, ๒  เป็นจารึกบนเพดานถ้ำ จำนวน ๒ ข้อความ อยู่บนภูเขาวัดพู จารึกถ้ำเลก ๑ และ ๒ เป็นจารึกที่แสดงรายละเอียดของการเตรียมพื้นที่ในการจารึก ด้วยการตีกรอบล้อมรอบข้อมูลจารึกไว้ภายใน จารึกถ้ำเลก ๑  มีขนาด กว้าง ๔๐ เซนติเมตร ยาว ๗๐ เซนติเมตร จารึกข้อความ ๕ บรรทัด ส่วนจารึกถ้ำเลก ๒ มีขนาดกว้าง ๒๐ เซนติเมตร ยาว ๔๒ เซนติเมตร จารึกข้อความ ๒ บรรทัด จารึกทั้งสองรายการ บันทึกข้อความด้วยอักษรขอมโบราณ ภาษาสันสกฤต คณะทำงานได้บันทึกภาพ และบันทึกข้อมูลเท่านั้น เนื่องจากจารึกอักษรชัดเจน และมีเวลาจำกัด จึงมิได้ทำสำเนา                                      ๓. จารึกพูเพ เป็นจารึกบนหินทรายขนาดใหญ่ ใกล้ลำธาร บริเวณภูเขาวัดพู จารึกอักษรอยู่ในกรอบที่มีขนาดกว้าง ๔๔ เซนติเมตร ยาว ๖๔ เซนติเมตร จารึกอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต จำนวนบรรทัด ทำสำเนาจารึก จำนวน   ๒ สำเนา วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๐    คณะผู้แทนศึกษาจารึกออกเดินทางถึงคลังพิพิธภัณฑ์วัดพู ริมถนน ช่องเม็ก   จำปาสัก เวลา ๐๙.๐๐ น.บันทึกข้อมูลและทำสำเนาจารึก ๓ รายการ ดังนี้                                        ๑. จารึกส่าง ๑ เป็นจารึกบนแท่นฐานหินทราย ขนาดความกว้างของฐานแต่ละด้าน ๙๐ เซนติเมตร ฐานสูง ๕๐ เซนติเมตร พบที่บ้านห้วยสระหัว แขวงจำปาสัก อักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต จำนวน ๓ บรรทัด จัดทำสำเนาจำนวน ๕ สำเนา                                          ๒. จารึกส่าง ๒ เป็นจารึกบนแท่นฐานหินทราย ขนาดความกว้าง ๑๐๔ เซนติเมตร สูง ๓๕ เซนติเมตร พบที่บ้านห้วยสระหัว แขวงจำปาสัก อักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต จำนวน ๓ บรรทัด จัดทำสำเนาจารึก ๕ สำเนา                                                    ๓. จารึกส่าง ๓ เป็นจารึกบนแท่นหินทรายขนาดใหญ่ จำนวน ๔ ด้าน  ขนาดความกว้างด้านละ ๖๐ เซนติเมตร ความสูง ๓๐๐ เซนติเมตร จารึกอักษรลบเลือน เหลือเพียง ๓ ด้าน จำนวนด้านละ ๕๑ – ๕๒ บรรทัด จัดทำสำเนาจารึกเฉพาะด้านที่ ๑ จำนวน ๒ สำเนา                                      เวลา ๑๕.๐๐ น. คณะทำงานได้เข้าสำรวจจารึกภายในคลังพิพิธภัณฑ์วัดพู โดยมีเจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์วัดพู อำนวยความสะดวก พบจารึกจำนวน ๓ รายการ บางรายการชำรุดมาก ไม่สมควรทำสำเนา จึงวัดขนาดและบันทึกภาพ ได้ทำสำเนาจารึก จำนวน ๒ หลัก คือ                                       ๑. จารึกในคลังพิพิธภัณฑ์วัดพู ๑ เป็นจารึกหินทราย รูปใบเสมา ขนาดฐานกว้าง ๔๒ เซนติเมตร สูง ๖๙ เซนติเมตร หนาบน ๒๐ เซนติเมตร หนาล่าง ๓๑ เซนติเมตร ไม่ทราบแหล่งที่พบ สันนิษฐานว่าพบในบริเวณวัดพู อักษรขอมโบราณ จำนวน ๑๒ – ๑๔ บรรทัด แต่อักษรค่อนข้างลบเลือน ทำสำเนาจารึก จำนวน ๓ สำเนา                                        ๒. จารึกในคลังพิพิธภัณฑ์วัดพู ๒ เป็นจารึกหินทราย ขนาดกว้าง ๕๓ เซนติเมตร สูง ๖๔ เซนติเมตร หนา ๑๐ เซนติเมตร พบที่โบราณสถานโพนสาวเอ้ บ้านทางคบ แขวงจำปาสัก อักษรปัลลวะและอักษรขอมโบราณ จำนวน ๓ ด้าน ด้านที่ ๑ มี ๖ บรรทัด ด้านที่ ๒ มี ๕ บรรทัดและด้านที่ ๓ มี ๒ บรรทัด ทำสำเนาด้านที่ ๑ จำนวน ๓ สำเนา ด้านที่ ๒ จำนวน ๓ สำเนา และด้านที่ ๓ จำนวน ๔ สำเนา     ๘. คณะผู้แทนไทย                           ๑. นางสาวพิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ     นักอักษรศาสตร์ทรงคุณวุฒิ กรมศิลปากร                    ๒. นางสาวเอมอร  เชาวน์สวน               นักภาษาโบราณเชี่ยวชาญ สำนักหอสมุดแห่งชาติ                    ๓ นางเสริมกิจ ชัยมงคล                      ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ                                                                    สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ                    ๔. นายพงศ์พิศิษฏ์ กรมขันธ์                  นักโบราณคดีปฏิบัติการ                                                                   สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี  ๙. สรุปสาระของกิจกรรม                    ๑. ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับจารึกโบราณในแขวงจำปาสัก                    ๒. สำรวจเส้นทาง บันทึกข้อมูลจารึก และบันทึกภาพ สถานที่พบจารึกทั้ง ๘ รายการ                     ๓. ทำสำเนาจารึกและบันทึกภาพจารึกที่พบใหม่ในแขวงจำปาสัก จำนวน ๘ รายการ       รายการละ  ๒ – ๕ สำเนา                    ๔. มอบสำเนาจารึกให้พิพิธภัณฑ์วัดพู สปป.ลาว จำนวน ๖ รายการ / ๖ สำเนา และสำนัก                       ศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี จำนวน ๒ รายการ / ๒ สำเนา ๑๐. ข้อเสนอแนะการจัดกิจกรรม ๑. เจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์วัดพู สปป.ลาว มีความสนใจในการอ่าน แปล จารึกอักษรโบราณ และประสงค์จะเรียนรู้ให้สามารถอ่านแปลจารึกได้ จึงเสนอขอความอนุเคราะห์ให้นักวิชาการฝ่ายไทยช่วยจัดกิจกรรมอ่าน แปล อักษรโบราณในโอกาสต่อไป                      ๒. ควรจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้จากจารึกที่สำรวจพบในครั้งนี้ เพื่อแสดงศักยภาพของกรมศิลปากร โดยผนวกรวมความรู้จากจารึกพระเจ้าจิตรเสนที่พบในประเทศไทย เพื่อ เป็นชุดข้อมูลสำเร็จรูปให้แก่เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ของ สปป.ลาว ใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการสำรวจจารึกต่อไป                    ๓. การจัดกิจกรรมสำรวจและทำสำเนาจารึก ควรกำหนดแผนล่วงหน้า เพื่อจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ และระยะเวลาดำเนินการให้สอดคล้องกับปริมาณงาน เพื่อความปลอดภัย และประโยชน์สูงสุดของการทำงาน                                                     นางสาวพิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ                                                      นักอักษรศาสตร์ทรงคุณวุฒิ กรมศิลปากร                                                                                                   สรุปรายงานการเดินทางไปราชการ                                        


หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลี/ไทยหัวเรื่อง                          พุทธศาสนา—บทสวดมนต์                                    บทสวดมนต์                                    พระอภิธรรมประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    22 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 56.5ซม. บทคัดย่อ                      เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากพระครูวิมลสังวร วัดแค ต.รั้วใหญ่ อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี



          ด้วยพระมหากรุณาธิคุณในช่วงเวลาดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2532 จังหวัดสุพรรณบุรี โดยนายอารีย์ วงศ์อารยะ (ขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี) มีดำริที่จะจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย เพื่อเป็นอนุสรณ์เทิดพระเกียรติพระองค์ และเพื่อเป็นสถานที่รวบรวมองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำนา ประเพณี วิถีชีวิตของชาวนาไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมไปถึงงานโบราณคดีที่เกี่ยวข้องกับข้าวและการเกษตรในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนเข้าชมและได้รับองค์ความรู้ที่เป็นอาชีพหลักของชาวไทย           การก่อตั้งโครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย เกิดขึ้นจากความร่วมมือทั้งจังหวัดสุพรรณบุรี โดยจังหวัดสุพรรณบุรีจัดหางบประมาณในการก่อสร้างเป็นหลัก อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน โดยกรมศิลปากรรับผิดชอบในการออกแบบก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย ซึ่งมีแนวทางการออกแบบภายใต้แนวความคิดของบ้านเรือนไทยภาคกลางที่มีใต้ถุนสูง            กรมศิลปากรได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ออกแบบอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี สถาปนิกผู้ออกแบบโดย นายอุดม สกุลพาณิชย์ สถาปนิก กองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร            อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี (หลังแรก) เป็นอาคาร 2 ชั้น ขนาด 19.20 เมตร x 25.20 เมตร ลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ที่ผสมผสานระหว่างเรือนไทยและยุ้งฉางข้าวของชาวนา ซึ่งเป็นลักษณะที่อยู่อาศัยที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นภาคกลาง เป็นแนวความคิดหลักในการออกแบบอาคารพิพิธภัณฑ์          การก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2532 และกระทรวงศึกษาธิการ (ในขณะนั้นกรมศิลปากรสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ) ได้ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย จังหวัดสุพรรณบุรี ในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 117 ตอนที่ 112 วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2533 ประกาศ ณ วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2533           วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2532 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี ณ บริเวณ ศาลากลาง (หลังเก่า) ถนนประชาธิปไตย ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่รวบรวมเครื่องมือเครื่องใช้ที่พระองค์ทรงใช้เมื่อครั้งทรงทำนาประวัติศาสตร์ที่บึงไผ่แขก ตลอดจนนิทรรศการข้อมูลความรู้ด้านการทำนา ประเพณี วิถีชีวิตของชาวนาไทย                    วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2537 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี อย่างเป็นทางการ           จากนั้นเป็นต้นมา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี ได้เปิดบริการให้ประชาชนเข้าชม โดยไม่มีค่าธรรมเนียมการเข้าชมจวบจนปัจจุบัน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี เปิดให้บริการเป็นเวลากว่า 30 ปีมาแล้ว ข้อมูลประกอบการเรียบเรียง : นายปณิธาน เจริญใจ สถาปนิกชำนาญการ สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร เครดิตภาพถ่าย : หอจดหมายเหตุแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี, นางสาวภัทรา เชาว์ปรัชญากุล ภัณฑารักษ์ชำนาญการ (บันทึกภาพวันที่ 1 เมษายน 2563)ที่มาของข้อมูล: Facebook Page : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชาวนาไทย Thaifarmersnationalmuseum เผยแพร่วันที่ 20 เม.ย. 2563


ถ้ำวัวแดง ตั้งอยู่ที่ บ้านหนองแสง หมู่ ๗ ตำบลโพนงาม อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบุณฑริก – ยอดมน           บริเวณที่พบภาพเขียนสีเป็นเพิงหินที่เกิดจากการกัดเซาะตามธรรมชาติ ลักษณะเป็นก้อนหิน ขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนลานหินกลางป่า ห่างจากจุดผ่อนปรนช่องตาอูไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ ๒.๕ กิโลเมตร เพิงหินมีขนาดกว้าง ๓.๓ เมตร ยาว ๖.๗ เมตร สูง ๑.๙๖ เมตร           ภาพเขียนสีถ้ำวัวแดง พบครั้งแรกปี พ.ศ. ๒๕๓๐ โดยผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในสมัยนั้น ชาวบ้านเห็นว่า ภาพที่พบมีลักษณะคล้ายวัว จึงเรียกที่แห่งนี้ว่า “ถ้ำวัวแดง” ภาพเขียนสีอยู่บริเวณผนังทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเพิงหิน มีขนาดกว้าง ๘๐ เซนติเมตร ยาว ๑๑๐ เซนติเมตร ตัวภาพเขียนด้วยสีแดง มีภาพสัตว์ลักษณะคล้ายวัว เป็นศูนย์กลางของภาพ หากสังเกตจะพบรอยสีจางๆบนภาพวัว ลักษณะคล้ายภาพคนกำลัง ขี่วัว ทางด้านขวาของภาพวัวเป็นภาพสามเหลี่ยมระบายสีทึบ ล้อมรอบด้วยภาพลายเส้น ทั้งเส้นตรง เส้นซิกแซก และเส้นก้างปลา (รูปสามเหลี่ยมไม่มีฐานเรียงซ้อนกัน) เมื่อดูโดยรวมคล้ายภาพวัวอยู่กลาง พื้นที่โล่ง ใกล้กับเพิงหิน (ภาพสามเหลี่ยมระบายสีทึบ) มีแนวทางเดิน (เส้นตรงสั้นๆ) และแนวภูเขาอยู่ทางฝั่งขวา (รูปสามเหลี่ยมไม่มีฐานเรียงซ้อนกัน) ล้อมรอบไปด้วยป่า (เส้นซิกแซก) ซึ่งภาพที่ปรากฏคล้ายกับสภาพ ภูมิประเทศในจุดที่พบภาพเขียนสีดังกล่าว           ภาพเขียนสีที่พบนอกจากจะบ่งบอกว่าพื้นที่ป่าบุณฑริกในอดีตมีวัวอาศัยอยู่ ยังสะท้อนให้เห็นว่ามนุษย์ในอดีตที่ไม่มีเทคโนโลยีทันสมัยแบบยุคปัจจุบัน ก็มีความรู้ความสามารถในการสำรวจ และสามารถถ่ายทอดสภาพพื้นที่โดยรอบออกมาเป็นภาพเขียนสีได้ ---------------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวศุภภัสสร หิรัญเตียรณกุล นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี อ้างอิง ศิลปากร, กรม. โดย สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี. รายงานการสำรวจเบื้องต้นโครงการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งโบราณคดีผาแต้มและแหล่งภาพเขียนสีพื้นที่อีสานตะวันออก (กิจกรรมดำเนินงานปีที่ ๑ ในจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. ๒๕๖๒). ม.ป.ท. : ม.ป.ป.,๒๕๖๒. (อัดสำเนา)



พระราชดำรัสในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และบทละคอนเรื่องพระศรีเมือง. พระนคร : กรมศิลปากร, 2510.               เนื้อหากล่าวถึงนิทานเรื่องพระศรีเมือง บทละคอนเรื่องพระศรีเมืองทั้ง 10 ตอน ได้แก่ 1) ตอนพระศรีเมืองเรียนวิชา 2) หงส์อาสาหาคู่ให้พระศรีเมือง 3) พระศรีเมืองเข้าเมืองยโสธร 4) พระศรีเมืองได้นางสุวรรณเกสร 5) ท้าวพินทุทัตให้ธิดาเสี่ยงคู่ 6) อภิเษกพระศรีเมือง 7) ท้าวโขมพัสตร์ให้ไปรับพระศรีเมือง 8) พระศรีเมืองชมสวน 9) พระศรีเมืองทูลลาท้าวพินทุทัต และ 10) พระศรีเมืองรบกับพระยาจันทวงศ์ ในตอนท้ายได้รวบรวมพระราชดำรัสในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ไว้ด้วย



พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา นำเสนอองค์ความรู้ เรื่อง “ศัพท์น่ารู้ก่อนดูพิพิธภัณฑ์ : Definitions Before Visiting the Exhibitions” เพื่อช่วยปูพื้นฐานด้านคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับนิทรรศการด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี โดยวันนี้ขอนำเสนอคำว่า “ก่อนประวัติศาสตร์ : Prehistory” เรียบเรียง / กราฟฟิก /ถ่ายภาพ : ฝ่ายวิชาการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา อ้างอิง :1. กรมศิลปากร. นิยามศัพท์ Definitions Before Visiting the Exhibition. กรุงเทพฯ: ฤทธี ครีเอชั่น, 2558. 2. กรมศิลปากร. สำนักโบราณคดี. โบราณคดีสำหรับเยาวชน เล่ม 2 ยุค สมัยทางโบราณคดี. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2560. 3. สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์, 2549. 4. อัญชลี สินธุสอน, พรพรรณ หงสไกร. คนก่อนประวัติศาสตร์ บนดินแดนไทย. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้น, 2552.


จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. ประชุมพระราชนิพนธ์ภาษาไทยในรัชกาลที่ ๔ ภาค ๒.  พิมพ์       ครั้งที่ ๑.  กรุงเทพ ฯ : ร.พ.มหามกุฎราชวิทยาลัย,  ๒๕๑๒.       เป็นหนังสือนุสรณ์ศพที่รวบรวมพระราชนิพนธ์ในพระบาทสเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  มีทั้งภาษาไทย ภาษาบาลีและภาษาต่างประเทศ เป็นสาคดีธรรม ประวัติศาสตร์ โบราณคดี  การพระศาสนาและอื่น ๆ ซึ่งเล่มนี้ได้รวบขึ้นมาในวาระครบ ๑๐๐ ปีเสด็จสวรรคต ประกอบด้วยสารคดีธรรมและปกิณณกะ เช่น มนต์ปราบเสนียด ตำรากลับชะตา ดาวหาง หมอดูชาตาราศีและทำวิทยาคุณต่าง เหมาะแก่การศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรมเป็นอย่างยิ่ง



ชื่อเรื่อง : อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ (2538) ผู้แต่ง : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2538 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : รุ่งศิลป์การพิมพ์



Messenger