ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,643 รายการ
ผู้แต่ง : กรมศิลปากร
ฉบับพิมพ์ :พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2554
หมายเหตุ : -
ประวัติศาสตร์ไทยจากเอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ เล่มนี้ เป็นหนังสือที่รวบรวมบทความซึ่งค้นคว้าเรียบเรียงข้อมูลจากประวัติศาสตร์หลักฐานที่ปรากฏในเอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ เป็นหลัก และบางบทความก็เป็นการแสดงความคิดเห็นอันเกิดจากการศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน โดยในหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยบทความเรื่องต่างต่างๆ ได้แก่ บทบาทของอังกฤษในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยรัชกาลที่ 3 การเมืองสยามในสายตาของเฮนรี เบอร์นีย์ การเมืองไทยในหัวเมืองปักษ์ใต้ในอดีตกับจดหมายเหตุหลวงอุดมสมบัติ ปัตตานีในเอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ เจ้าพระยานครศรีธรรมราชกับการทำสนธิสัญญาเบอร์นีย์ (กรณีเมืองไทรบุรี) กบฏไทรบุรีในสมัยรัชกาลที่ 3 นโยบายของอังกฤษที่สเตรตส์ เซตเทิลเมนตส์ และความสัมพันธ์กับสยาม และประเพณีในราชสำนักที่ปรากฏในเอกสารเบอร์นีย์มิ
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณภิธมฺมเทสนา (เทศนาวิภังค์-มหาปัฏฐาน)สพ.บ. 129/4ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 20 หน้า กว้าง 4.5 ซ.ม. ยาว 55.5 ซ.ม. หัวเรื่อง ธรรมเทศนา
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดประสพสุข ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
ท้าวจิตรา ชบ.ส.๑๑๓
เจ้าอาวาสวัดเขาคันธมาทน์ ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕
เอกสารโบราณ (สมุดไทย)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.33/1-4 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
#พี่โข๋ทัยมีเรื๋องเล๋า ขอนำเสนอข้อมูลแหล่งโบราณคดี โบราณสถานในพื้นที่ วันนี้เราพาขึ้นเหนือไปที่ลุ่มแม่น้ำน่านที่จังหวัดอุตรดิตถ์กันค่ะ มาเรียนรู้ข้อมูลแหล่งโบราณคดีในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในจังหวัดอุตรดิตถ์กันนะคะ
.
ที่ราบลุ่มแม่น้ำน่านในจังหวัดอุตรดิตถ์เป็นอีกบริเวณหนึ่งที่ปรากฏหลักฐานการเข้ามาอยู่ของมนุษย์ หลักฐานจากการสำรวจโดยกรมศิลปากร พบว่า ตามเส้นทางลำน้ำน่านบริเวณตอนใต้เขื่อนสิริกิติ์ลงมาที่แหล่งโบราณคดีบ้านวังแพวน แหล่งโบราณคดีแก่งตาน ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา แหล่งโบราณคดีปางต้นผึ้ง และแหล่งโบราณคดีม่อนอารักษ์ อำเภอลับแล ได้พบหลักฐานการเข้ามาอยู่อาศัยของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีการใช้เครื่องมือหินขัด คือ ประมาณ 3,000 - 2,500 ปีมาแล้ว แต่หลักฐานที่พบมีน้อยมาก สันนิษฐานได้เพียงว่า น่าจะเป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราวของกลุ่มชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในสังคมระบบเร่ร่อน จับสัตว์ หาปลา (Hunting and Gathering Society) ซึ่งยังไม่มีการตั้งถิ่นฐานที่แน่นอน อาศัยความอุดมสมบูรณ์จากธรรมชาติเพื่อดำรงชีวิต ส่วนแหล่งโบราณคดีถ้ำกระดูก จากหลักฐานที่พบสันนิษฐานว่า คงจะใช้เป็นที่ฝังศพ ซึ่งน่าจะแยกจากแหล่งที่อยู่อาศัยของมนุษย์ในสมัยโบราณที่รู้จักการใช้เครื่องมือสำริดแล้ว จัดอยู่ในยุคสังคมกสิกรรมเช่นกัน
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่ง คือ แหล่งภาพเขียนสีเขาตาพรม อำเภอทองแสนขัน ซึ่งปรากฏภาพเขียนสีในรูปแบบเชิงสัญลักษณ์แบบเดียวกับที่พบที่บ้านผือ จังหวัดอุดรธานี สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นภาพเขียนสีของกลุ่มชนที่รู้จักทำการกสิกรรมแล้ว และภาพเขียนสีเหล่านี้อาจจะเป็นภาพเขียนสีที่แสดงออกถึงการประกอบพิธีกรรมนั้น
การขุดพบกลองมโหระทึก กาน้ำ และพร้าสำริด ที่บริเวณวัดเกษมจิตตาราม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ นั้น น่าจะแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมด่งเซินของเวียดนาม (Dong Son Culture) เนื่องจากกลองมโหระทึกนั้นเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมของกลุ่มชนในสมัยโบราณ
.
เมื่อประมวลหลักฐานทางโบราณคดีเท่าที่ค้นพบแล้ว ทำให้ทราบในขั้นต้นว่า ในเขตพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ได้เคยมีมนุษย์เข้ามาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และน่าจะมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันของหลักฐานทางโบราณคดีระหว่างท้องถิ่นต่าง ๆ โดยเฉพาะบริเวณที่ราบลุ่มแม่
น้ำน่านและลำน้ำสาขา แสดงว่า ชุมชนเหล่านี้น่าจะมีการติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างมนุษย์ในท้องถิ่น จนเกิดเป็นชุมชนขึ้นมา และมีความสัมพันธ์ไปถึงที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งได้แก่ ดินแดนทางภาคอีสานเหนือของไทย แขวงไชยบุรีของลาว และอาจจะเลยไปถึงแหล่งวัฒนธรรมด่งเซินในเวียดนามด้วย
การพบหลักฐานทางโบราณคดีในสมัยโลหะ พบโบราณวัตถุ เครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธ รวมทั้งเครื่องประดับ เช่น กำไล ตุ้มหู ที่ทำจากเหล็กและสำริด
.
อาจจะกล่าวได้ว่า สมัยโลหะนี้เป็นช่วงสมัยที่บางชุมชนได้พัฒนาเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ที่ประดิษฐ์อักษรสื่อสารกันได้ บางชุมชนก็ยังคงเป็นสมัยก่อนประวัติศาสตร์อยู่แต่คงมีการพัฒนาวิถีชีวิตให้ดีขึ้น มีการอยู่รวมเป็นชุมชน มีระบบการปกครอง มีผู้นำเป็นหัวหน้า มีการแบ่งชนชั้นในสังคม มีการติดต่อกับชุมชนอื่นที่อยู่ห่างไกลและมีการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อ ดังที่ได้พบหลักฐานคือ กลองมโหระทึกสำริด ซึ่งใช้ในพิธีกรรมขอฝนหรือพิธีศพ เรียกวัฒนธรรมนี้ว่า “วัฒนธรรมด่งเซิน” (Dong Son Culture) ตามแหล่งที่พบครั้งแรกที่เวียดนาม แต่ก็ยังมีข้อสันนิษฐานบางประการในการขุดพบกลองมโหระทึกว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่อาจจะมีการเคลื่อนย้ายกลองมโหระทึกเหล่านี้เข้ามาพร้อมกับกลุ่มชนที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณนี้ เนื่องจากบริเวณที่ขุดพบกลองมโหระทึกนี้ ไม่พบเศษชิ้นส่วนของแม่พิมพ์ดินเผา , เศษตะกรัน (Slag) ที่เกิดจากการหลอมโลหะ หรือชิ้นส่วนเบ้าหลอมโลหะดินเผาภายในบริเวณนี้ ซึ่งในอนาคตควรที่จะดำเนินการศึกษาขุดค้นทางโบราณคดีเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
.
ส่วนการตั้งถิ่นฐานของสมัยโลหะในระยะแรกคงเป็นการรวมตัวเป็นชุมชนเล็กๆ มีเครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยโลหะ ต่อมาเมื่อสามารถเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้น จึงเริ่มมีการแลกเปลี่ยนค้าขายกับดินแดนทั้งใกล้เคียงและห่างไกลเพิ่มขึ้นด้วยเป็นผลให้ชุมชนขยายเติบโตขึ้น เกิดการขยายอำนาจไปยังชุมชนใกล้เคียง มีการรวมตัวกันสร้างคันดิน ขุดคูน้ำ เพื่อป้องกันการรุกรานจากชุมชนอื่นๆ ซึ่งแสดงถึงระบบของการควบคุมกำลังคน จนบางชุมชนสามารถขยายตัวกลายเป็นบ้านเมืองได้ในที่สุด
.
อย่างไรก็ตาม การเขียนบทความในครั้งนี้เป็นเพียงการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นจากเอกสารที่กล่าวถึงแหล่งโบราณคดีซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ และ พ.ศ. ๒๕๕๑ เท่านั้น และในปัจจุบันแหล่งโบราณคดีเหล่านี้ยังไม่ได้มีการขุดค้นทางโบราณคดีเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการศึกษาเก็บข้อมูลทางวิชาการอย่างเป็นระบบ หากในอนาคตได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อนำมาดำเนินงานขุดค้นทางโบราณคดี ข้อมูลที่ได้จากการขุดค้นจะช่วยให้เราเข้าใจและมองเห็นภาพรวมของการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของจังหวัดอุตรดิตถ์ได้มากยิ่งขึ้น และสามารถนำเรื่องราวเหล่านั้นไปเผยแพร่ให้กับประชาชนและผู้สนใจได้ต่อไป
ชื่อเรื่อง มหากาลเถระ (พระมหากาลเถระ) สพ.บ. 309/1หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยหัวเรื่อง พุทธศาสนา พระธรรมเทศนาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 28 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม. บทคัดย่อเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า อาคารประติมากรรมขุนหลวงพะงั่วและประวัติศาสตร์สุพรรณบุรี ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้แห่งใหม่ทางด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ของจังหวัดสุพรรณบุรีและของประเทศไทย พร้อมเปิดให้บริการแล้วในวันนี้ (วันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๔) แต่เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ และการประกาศปิดแหล่งเรียนรู้ของกรมศิลปากร เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ ๓ - ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๔ กรมศิลปากรจึงเปิดให้บริการแบบออนไลน์ โดยสามารถเข้าชมการจัดแสดงอาคารประติมากรรมขุนหลวงพะงั่วและประวัติศาสตร์สุพรรณบุรี ผ่านระบบ smartmuseum ของกรมศิลปากร https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/home อาคารประติมากรรมขุนหลวงพะงั่วและประวัติศาสตร์สุพรรณบุรี ตั้งอยู่ที่ตำบลสนามชัย อำเภอ เมือง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดงประติมากรรมสำริดที่มีความยาวมากที่สุดในประเทศไทย เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ หรือขุนหลวงพะงั่ว ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ และประวัติศาสตร์เมืองสุพรรณบุรี จัดตั้งขึ้นตามดำริของ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีคนที่ ๒๑ เริ่มก่อสร้างเมื่อพุทธศักราช ๒๕๕๓ โดยได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วนในการสนับสนุนงบประมาณ ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี มูลนิธิบรรหาร-แจ่มใส ศิลปอาชา กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กรมการท่องเที่ยว โดยกรมศิลปากรเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดแสดงพระราชประวัติของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ หรือ ขุนหลวงพะงั่ว เจ้าเมืองสุพรรณบุรี ผู้ซึ่งต่อมาเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ พระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๓ ของกรุงศรีอยุธยา และทรงเป็นองค์ปฐมแห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ นอกจากนี้ยังบอกเล่าเรื่องราวของจังหวัดสุพรรณบุรีตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยสังคมเกษตรกรรม ยุคประวัติศาสตร์แรกเริ่มเรื่อยมาจนถึงยุคประวัติศาสตร์ สมัยรัตนโกสินทร์ อีกทั้งเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช พระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงมีพระมหากรุณา ธิคุณต่อพสกนิกรชาวจังหวัดสุพรรณบุรีและชาวไทย การจัดแสดงได้นำเสนอเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับเมืองสุพรรณบุรี จำนวน ๙ ตอน ผ่านงานประติมากรรมนูนสูง และนูนต่ำ หล่อด้วยโลหะสำริด ความยาว ๘๘ เมตร สูง ๔.๒๐ เมตร ซึ่งนับว่าเป็นประติมากรรมสำริดที่มีความยาวมากที่สุดในประเทศไทย แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๙ ตอน ประกอบด้วยตอนที่ ๑ สุพรรณบุรี : ชุมชนแรกเริ่ม ตอนที่ ๒ สุพรรณบุรี : อู่ทอง...เครือข่ายการค้าข้ามภูมิภาค ตอนที่ ๓ สุพรรณบุรีในวัฒนธรรมศาสนา : อู่ทองเมืองศูนย์กลางศาสนารุ่นแรก ตอนที่ ๔ สุพรรณบุรี : เนินทางพระ...ร่องรอยพุทธศาสนามหายาน ตอนที่ ๕ สุพรรณบุรี : ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา ตอนที่ ๖ สุพรรณบุรี : เมืองลูกหลวงของราชธานีศรีอยุธยา ตอนที่ ๗ สุพรรณบุรี : สมรภูมิยุทธหัตถี ตอนที่ ๘ สุพรรณบุรี : หัวเมืองแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และตอนที่ ๙ ปัจจุบัน...สุพรรณบุรีโดยผู้เข้าชมจะได้รับความรู้และความเพลิดเพลินผ่านระบบการบรรยายนำชมที่ทันสมัยทั้งในรูปแบบออนไลน์ ออฟไลน์ และอุปกรณ์ Audio guide จำนวน ๓ ภาษา คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน พร้อมใช้เทคโนโลยีแสง เสียง ประกอบการจัดแสดง ทั้งนี้ ผู้สนใจยังสามารถใช้บริการผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งกรมศิลปากรได้พัฒนาระบบเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้ง่าย สะดวก โดยสามารถเข้าชมอาคารประติมากรรมขุนหลวงพะงั่วและประวัติศาสตร์สุพรรณบุรีในรูปแบบ SMART MUSEUM ผ่านทาง https://smartmuseum.finearts.go.th กดเลือกนิทรรศการพิเศษอาคารประติมากรรมขุนหลวงพะงั่วและประวัติศาสตร์สุพรรณบุรี และบนระบบ Application “SMART MUSEUM” รวมถึงสามารถรับชมวีดิทัศน์เนื้อหาภายในอาคารประติมากรรมฯ ผ่านช่องทาง YouTube กรมศิลปากร ตลอดจนองค์ความรู้ผ่านช่องทางเฟสบุ๊ก แฟนเพจ ของกรมศิลปากร อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวอีกว่า แหล่งเรียนรู้แห่งนี้จะอำนวยประโยชน์สูงสุดในการศึกษาด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ของจังหวัดสุพรรณบุรีและของชาติ ให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชน อันจะก่อให้เกิดความรัก ความภาคภูมิใจ และนำไปสู่การร่วมกันอนุรักษ์ ปกป้อง คุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติให้ยั่งยืนสืบไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี โทร.๐ ๓๕๕๓ ๕๓๓๐ หรือ facebook fanpage พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี