ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,643 รายการ



บทความจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่านเรื่อง "การใช้พื้นที่ภายในคุ้มหลวงนครน่าน"ในจุลสารแป้นเกล็ดจุลสารเรื่องราวอาคารเก่า สาระความรู้ ศิลปกรรม สถาปัตยกรรมคณะกรรมการกองทุนเพื่อการอนุรักษ์อาคารเก่าเมืองน่านแป้นเกล็ด ฉบับที่ ๙ กันยายน-พศจิกายน ๒๕๖๑อ่านเนื้อหา บทความอื่นๆ ได้ที่ https://www.facebook.com/.../pfbid02QNxpsVkdQTVVpah2ZXBUH...


เลขทะเบียน : นพ.บ.413/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 32 หน้า ; 4 x 51 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 147  (71-80) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : แทนน้ำนมแม่--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.546/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 66 หน้า ; 4 x 49 ซ.ม. : ลานดิบ-ล่องรัก-รักทึบ-ล่องชาด ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 181  (303-310) ผูก 4 (2566)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อเรื่อง : ชีวิตมันสมองและการต่อสู้ของหลวงวิจิตรวาทการ ชื่อผู้แต่ง : พิมาน แจ่มจรัส ปีที่พิมพ์ : 2505 สถานที่พิมพ์ : พระนครสำนักพิมพ์ : ผ่านฟ้าพิทยา จำนวนหน้า : 1,012 หน้า สาระสังเขป : ชีวิตมันสมองและการต่อสู้ของหลวงวิจิตรวาทการ เป็นหนังสือชีวประวัติของหลวงวิจิตรวาทการรัฐบุรุษคนสำคัญของประเทศไทย ชื่อหนังสือ มีที่มาจากหนังสือเรื่อง “มรสุมชีวิต” และ “มันสมอง” ของหลวงวิจิตรวาทการ หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหา 8 บทประกอบด้วย ความรักอันใด จิตตานุภาพ วิธีทำงานและสร้างอนาคต ทางสู้ในชีวิต มันสมอง กำลังใจ วิชา 8 ประการ และวิชาครองเรือนและครองรัก มีบทเสริม 4 บท ประกอบด้วย เรื่องจิตวิทยาทางการเมือง โลกพูด-วิญญาณฟัง จากชีวิตถึงวิญญาณ และบทส่งท้ายมหาบุรุษ




พระพุธพระอิศวรทรงใช้ช้าง ๑๗ เชือก บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีเขียวใบไม้ พรมด้วยน้ำอมฤตได้บุรุษมีผิวกายสีเขียว ทรงช้างเป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศใต้ เป็นเทพนพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ ชอบพูดชอบเจรจา สุขุม รอบคอบ แต่ตื่นกลัวง่าย เป็นมิตรกับพระจันทร์ และเป็นศัตรูกับพระราหู สัญลักษณ์เลข ๔ มีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๗


สุนทรโวหาร, พระยา.  พระอภัยมณี คำกลอนของสุนทรภู่.  พิมพ์ครั้งที่ 1.  พระนคร: ศิลปาบรรณาคาร,         2507.         สุนทรภู่ เกิดเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 ได้แต่งพระอภัยมณีในระหว่างที่ติดคุกเพื่อเลี้ยงปากท้องตัวเอง จำนวน 94 เล่มสมุดไทย  ซึ่งเริ่มเรื่องด้วยท้าวสุทัศน์และนางปทุมเกสรกษัตริย์เมืองรัตนา  มีโอรส คือพระอภัยมณีและศรีสุวรรณไปเรียนวิชาวิชาปี่และกระบี่กระบอง   ได้เป่าปี่ให้ศรีสุวรรณและพราหมณ์ทั้งสามหลับไป   นางผีเสื้อสมุทรได้ยินเสียงปี่จึงเอาตัวพระอภัยมณีไปและมีโอรสคือสินสมุทร  เมื่อสินสมุทรอายุได้ 8 ปีได้จับเงือกมาให้พระอภัยมณีดู  พระอภัยมณีจึงให้เงือกพาหนีจากนางยักษ์  เงือกพาพระอภัยมณีและสินสมุทรหนีไปอาศัยอยู่กับพระฤาษีที่เกาะแก้วพิสดารและได้นางเงือกเป็นชายา   ทั้งหมดหลงทางไปถึงเมืองรมจักรจึงปลอมตัวเป็นพราหมณ์เข้าไปอาศัยอยู่กับนายด่านตรวจเมืองรมจักร   ศรีสุวรรณได้อภิเษกกับนางแก้วเกษราและได้ครองเมืองรมจักร  มีธิดาคือนางอรุณรัศมี  ท้าวสิลราชเจ้าเมืองผลึก  มีธิดาชื่อนางสุวรรณมาลีซึ่งเป็นคู่หมั้นของอุศเรนโอรสเจ้ากรุงลังกา  เมื่อใกล้จะถึงการอภิเษกสมรส  ท้าวสิลราชได้พานางสุวรรณมาลีออกไปเที่ยวทะเล  เกิดพายุใหญ่เรือท้าวสิลราชไปเกยติดฝั่งที่เกาะแก้วพิสดาร สินสมุทรฝากตัวเป็นลูกของนางสุวรรณมาลี  เมื่อท้าวสิลราชและนางสุวรรณมาลีเดินทางกลับเมือง  พระฤาษีจึงฝากพระอภัยมณี สินสมุทรและผู้คนที่ติดเกาะจำนวนหนึ่งให้โดยสารเรือกลับมาด้วย   พระอภัยมณีและบริวารหนีนางผีเสื้อมาจนถึงเกาะมหิงษะ  พระอภัยมณีจึงเป่าปี่จนนางยักษ์ขาดใจตาย ฝ่ายสินสมุทรอุ้มนางสุวรรณมาลีว่ายน้ำมาพบเรือของโจรสุหรั่ง  โจรสุหรั่งอยากได้นางเป็นภรรยา  แต่สินสมุทรไม่ยอมจึงเกิดการต่อสู้กัน  สินสมุทรฆ่าโจรสุหรั่งและได้ครอบครองเรือนั้นแทน สินสมุทรเดินเรือมาจนเข้าเขตแดนเมืองรมจักร  อาหารหมดจึงเข้าตีเมืองรมจักรเพื่อแย่งอาหาร  ศรีสุวรรณเมื่อรู้ว่าสินสมุทรเป็นหลานพาสินสมุทรเดินทางตามหาพระอภัยมณีโดยนางอรุณรัศมีร่วมเดินทางด้วย อุศเรนคู่หมั้นของนางสุวรรณมาลีเดินทางมาเมืองผลึกตามกำหนดวันอภิเษกสมรส  ออกตามหานางสุวรรณมาลีที่หายไปมาจนถึงเกาะมหิงษะพบพระอภัยมณีและบริวารจึงรับขึ้นเรือมาด้วย  เรืออุศเรนพบเรือของสินสมุทรที่กลางทะเล  สินสมุทรและศรีสุวรรณได้พบพระอภัยมณี  อุศเรนขอนางสุวรรณมาลีคืน  สินสมุทรไม่ยอมให้จึงเกิดการต่อสู้กัน อุศเรนถูกสินสมุทรจับได้และกลับไปกรุงลังกาส่วนพระอภัยมณีไปกับสินสมุทร  เมื่อกลับไปถึงเมืองผลึกนางมณฑาแม่ของนางสุวรรณมาลีเชิญให้พระอภัยมณีครองเมืองกับนางสุวรรณมาลีอย่างมีความสุข วันหนึ่งสุดสาครได้พบม้านิลมังกรจับม้านิลมังกรออกเดินทางตามหาพ่อพบชีเปลือยถูกชีเปลือยผลักตกเหวชิงไม้เท้าวิเศษหนีไปยังเมืองการะเวก พระฤาษีมาช่วยให้ขึ้นจากเหวได้ สุดสาครติดตามไปเอาไม้เท้าและม้านิลมังกรคืน  เจ้าเมืองการะเวกรับสุดสาครเป็นโอรสบุญธรรมให้เป็นเพื่อนเล่นกับธิดาและโอรส อุศเรนยกทัพมาแก้แค้นแต่พ่ายแพ้ถูกจับได้   เจ้ากรุงลังกาเสียใจเรื่องอุศเรนจนตรอมใจตายตาม  นางละเวงวัณฬาน้องสาวของอุศเรนได้ครองราชย์เป็นกษัตริย์กรุงลังกาต่อ  นางแก้แค้นให้พ่อและพี่ชายใช้อุบายทำเสน่ห์ใส่รูปวาดแจกจ่ายแก่เจ้าเมืองต่าง ๆ เพื่อให้ช่วยยกทัพมาตีเมืองผลึก  เจ้าละมานหลงเสน่ห์รูปนางละเวงจึงยกทัพมาตีเมืองผลึก  พระอภัยมณีเป่าปี่จับเจ้าละมานได้  พอเห็นรูปนางละเวงก็หลงเสน่ห์ไปด้วย ฝ่ายสุดสาครต่อสู้กับผีเสื้อกินคนได้ตาผีเสื้อไว้ป้องกันตัว  เมืองผลึกขณะนั้นมีสงครามเก้าทัพสุดสาครจึงเข้าช่วยทำสงครามจนชนะ  สุดสาครเข้าเมืองผลึกได้พบพ่อและแก้เสน่ห์นางละเวงได้ พระอภัยมณีเกี้ยวนางละเวง  แต่นางหนีไปได้ดินถนันซึ่งเป็นยาวิเศษ  และมาถึงบ้านสิงคารนำ  ได้นางยุพาผกาและสุลาลีวันชาวบ้านสิงคารนำเป็นบุตรีบุญธรรม ขณะเดินทางกลับเมืองลังกานางพักที่ถ้ำกลำพัน  ได้พบย่องตอดซึ่งยอมเป็นทาสรับใช้เพราะเกรงอำนาจตราราหู ศรีสุวรรณและสินสมุทรนำกองทัพตีด่านดงตาลฆ่าอิเรนนายด่านตาย   ย่องตอดช่วยทำศึกทัพจับสามพราหมณ์แต่พราหมณ์หนีไปได้  นางละเวงเห็นว่าเป็นศึกหนักจึงคิดหย่าทัพ คิดอุบายพาตัวพระอภัยมณีเข้าเมืองลังกา  พระอภัยมณีจึงได้นางละเวงและยอมเข้ารีตฝรั่ง  ศรีสุวรรณและสินสมุทรตามพระอภัยมณีเข้าเมืองลังกาถูกเสน่ห์นางรำภาสะหรีและนางยุพาผกาจึงไม่กลับ นางสุวรรณมาลีและสุดสาครจึงยกทัพไปกรุงลังกา  สุดสาครถูกเสน่ห์นางสุลาลีวันอีกคน  ทัพเมืองผลึกจึงมีแต่นางสุวรรณมาลีกับหัสไชยเป็นนายทัพ ท้าวทศวงศ์พานางแก้วเกษราและนางอรุณรัศมีมายังเมืองลังกา  ส่วนเจ้าเมืองการะเวกให้นางเสาวคนธ์และทิศาปาโมกข์โลกเชษฐ์มาช่วยทำศึกรบกับทัพนางละเวง   ทิศาปาโมกข์โลกเชษฐ์ทำพิธีเชิญพระฤาษีเกาะแก้วพิสดารมาช่วยสงครามจึงยุติ  นางละเวงเชิญทุกคนเข้าเมืองลังกา  นางเสาวคนธ์ได้โอกาสขอขุดโคตรเพชรไปได้เมื่อสงครามสงบพระอภัยมณีจึงจัดการอภิเษกสินสมุทรกับนางอรุณรัศมี  สุดสาครกับเสาวคนธ์  แต่นางเสาวคนธ์น้อยใจหนีพิธีอภิเษกปลอมตัวเป็นฤาษีชื่อพระอัคนีไปเมืองวาหุโลมทำสงครามกับเจ้าเมืองชนะได้ครองเมืองวาหุโลม  สุดสาครออกตามหาจนพบและได้นางเสาวคนธ์เป็นชายาด้วยอุบายแล้วจึงพากลับเมืองทางเมืองลังกาสี่นางต่างให้กำเนิดโอรสคือ  นางละเวงให้กำเนิดมังคลา  นางรำภาสะหรีให้กำเนิดวลายุดา  นางยุพาให้กำเนิดวายุพัฒน์  และนางสุลาลีวันให้กำเนิดหัสกัน  เมื่อโอรสเจริญวัยนางละเวงมังคลาครองเมืองลังกาได้นางสุนีเป็นชายา  บาทหลวงยุให้มังคลาไปชิงโคตรเพชรคืน  วายุพัฒน์กับหัสกันอาสายกทัพไปชิงโคตรเพชรจากเมืองการะเวกมาถวายมังคลา  ท้าวสุริโยทัยส่งข่าวถึงนางสุวรรณมาลี จึงส่งหัสไชยกลับเมืองการะเวกและมีสารถึงนางละเวง  แต่ทหารฝ่ายมังคลาจับคนเดินสารได้  มังคลาจึงให้วายุพัฒน์กับหัสกันไปจับนางสุวรรณมาลี นางสร้อยสุวรรณ จันทร์สุดาไปขังไว้ที่ด่านดงตาล  ส่วน วลายุดาไปตีเมืองรมจักรจับท้าวทศวงศ์และมเหสีไปได้ นางเสาวคนธ์และสุดสาครทราบข่าวศึกจึงขอกำลังเมืองวาหุโลมมาสมทบกับทัพหัสไชยซึ่งยกไปจากเมืองการะเวกช่วยกันตีกองทัพฝ่ายลังกา  เมื่อนางละเวงทราบว่ามังคลาจับท้าวทศวงศ์ นางสุวรรณมาลี และพระราชธิดามาขังไว้ที่ด่านดงตาลจึงมาช่วยแก้ไขพาคนทั้งหมดไปอยู่ในวังเมืองลังการะหว่างนั้นพระอภัยมณีและศรีสุวรรณซึ่งไปปลงพระศพท้าวสุทัศน์  ณ เมืองรัตนา  ทราบข่าวศึกจึงยกทัพมาช่วย  นางละเวงร่วมมือกับพระอภัยมณีทำสงครามกับฝ่ายมังคลาจับวลายุดา วายุพัฒน์และหัสกันได้  แต่ผู้วิเศษซึ่งเป็นอาจารย์ของคนทั้งสามมาช่วยพาหนีไป  พระอภัยมณีจึงเข้าเมืองลังกาเมื่อสงครามสงบ  พระอภัยมณีออกบวช ณ เขาสิงคุตร์  สองนางคือนางสุวรรณมาลีและนางละเวงจึงบวชตาม  มีนางรำภาสะหรี  ยุพาผกาและสุลาลีวันคอยปรนนิบัติรับใช้ สุดสาครกับนางเสาวคนธ์จึงได้ครองเมืองลังกา  หัสไชยครองเมืองการะเวก  สินสมุทรครองเมืองผลึก  ศรีสุวรรณกลับไปเมืองรมจักร  


ชื่อเรื่อง                         ธมฺมบทวณฺณนา ธมฺมบทฏฺฐกถา (ขุทฺทกนิกายฏฺฐกถา) อย.บ.                            327/13 หมวดหมู่                       พุทธศาสนา ลักษณะวัสดุ                   54 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 53 ซม. หัวเรื่อง                         พระธรรมเทศนา                                                                       บทคัดย่อ/บันทึก           เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด ไม้ประกับธรรมดา


อาคารมณฑป เมืองสุโขทัย            มณฑป ความหมายในเชิงสถาปัตยกรรมไทยหมายถึง อาคารที่มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีหลังคาเป็นเรือนยอดแหลมหลายชั้น ซึ่งรูปแบบมณฑปที่มีเรือนยอดหลายชั้นนี้บางครั้งอาจเรียกว่า ปราสาท และยังรวมไปถึงอาคารที่มีแผนผังเป็นสี่เหลี่ยมเกือบจัตุรัส ที่มีลักษณะทึบตันตั้งแต่ผนังไปจนถึงหลังคา ทั้งนี้ มณฑปในความหมายของพุทธสถาปัตยกรรมคือ วิหารประเภทหนึ่ง มีรูปทรงแบบแผนและพื้นที่ใช้สอยภายในอาคารค่อนข้างแคบกว่าวิหารทั่วไป จุดประสงค์เพื่อเป็นอาคารที่ใช้ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ เปรียบเป็น “คัณฑกุฎี”หรือ “กุฏิ” ของพระพุทธเจ้า ทำให้พื้นที่ภายในอาคารค่อนข้างแคบ ไม่เหมาะสำหรับคนทั่วไปเข้าไปสักการะพระพุทธรูปหรือสิ่งที่ประดิษฐาน          การก่อสร้างมณฑปสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปนี้สันนิษฐานว่า ได้รับมาจากการสร้างปฏิมาฆระ ของทางลังกา ซึ่งเป็นอาคารที่ใช้สำหรับประดิษฐานรูปเคารพ โดยในสมัยอนุราธปุระตอนปลายพบว่าปฏิมาฆระที่ใช้ประดิษฐานพระพุทธรูปได้มีความสำคัญในฐานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์เทียบเท่าสถูป และต้นศรีมหาโพธิ์          ในสถาปัตยกรรมของสุโขทัยนิยมก่อสร้างมณฑปเป็นอย่างมาก ถือว่าเป็นลักษณะที่โดดเด่นของสถาปัตยกรรมสุโขทัย ทั้งนี้ ความสำคัญของมณฑปจะเทียบเท่ากับสถูปเจดีย์ มีการจัดวางตำแหน่งของมณฑปในตำแหน่งกับตำแหน่งของสถูปประธานของวัด ในวัดที่มีมณฑปเป็นประธานจะมีการสร้างวิหารอยู่ด้านหน้า ซึ่งวิหารนี้จะก่อสร้างไปชนหรือเชื่อมกับด้านหน้าของมณฑป ยกเว้น มณฑปที่ประดิษฐานพระสี่อิริยาบถและมณฑปรายภายในวัด ซึ่งจะเหมือนกับวิหารหรือเจดีย์รายที่ก่อสร้างเป็นเอกเทศ           รูปแบบของมณฑปสามารถจำแนกออกได้ 3 รูปแบบ คือ          1. มณฑปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเป็นรูปแบบมณฑปที่นิยมก่อสร้างในเมืองสุโขทัย ผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ส่วนผนังนิยมก่อสร้างด้วยอิฐเป็นผนังทึบตัน เจาะช่องเปิดผนังเฉพาะทางเข้า หรืออาจก่อสร้างเป็นเสาขึ้นไปรับหลังคา ทั้งนี้สามารถจำแนกออกเป็น 2 ลักษณะคือ มณฑปแบบผนังรับน้ำหนัก และมณฑปแบบเสารับน้ำหนักมณฑปแบบผนังรับน้ำหนัก เป็นลักษณะที่แพร่หลาย พบทั้งมณฑปขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ผนังมักก่อด้วยอิฐ ฉาบปูน ทีบตัน และมีความหนา มีช่องเปิดเฉพาะทางเข้ามณฑปเท่านั้น โครงสร้างหลังคาสันนิษฐานว่าเป็นไม้มุงด้วยกระเบื้องดินเผา ภายในมักประดิษฐานพระพุทธรูปมณฑปแบบเสารับน้ำหนัก มณฑปลักษณะนี้จะก่อเสารับน้ำหนักหลังคาเป็นช่วงๆ ผนังที่ก่อระหว่างเสาจึงบางหรืออาจทำด้วยไม้           2. มณฑปที่ภายในเดินได้รอบหรือมณฑปพระสี่อิริยาบถมณฑปประเภทนี้นิยมประดิษฐานพระพุทธรูปหลายองค์ ซึ่งนิยมทำเป็นสี่ปางที่แตกต่างกันคือ ปางนั่ง เดิน ยืน และนอน พระพักตร์หันไปต่างทิศกันเป็นสี่ทิศ จึงมีการตั้งชื่อมณฑปตามพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ภายใน เช่น มณฑปพระสี่อิริยาบถการสร้างพระพุทธรูปสี่ปางนี้ทำให้เกิดการก่อสร้างมณฑปลักษณะพิเศษ ที่ทำให้ผู้เข้าไปภายในมณฑปสามารถเดินภายในอาคารโดยรอบได้ โดยพระพุทธรูปแต่ละปางนั้นจะประดิษฐานอยู่ที่ส่วนกลางของอาคารที่มีผนังทึบเป็นแผ่นหลัง ซึ่งเป็นส่วนที่ก่อผนังขึ้นไปรับส่วนหลังคา ซึ่งการก่อสร้างลักษณะนี้สันนิษฐานว่าอาจได้รับมาจากเมืองพุกาม ซึ่งมีการสร้างห้องมณฑปในส่วนของฐานเจดีย์ ทั้งนี้ การก่อโครงสร้างของพุกามแตกต่างจากของสุโขทัย โดยเป็นการก่อแบบซุ้มโค้งและใช้ผนังรับน้ำหนัก          3. มณฑปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามณฑปแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าและอาจมีการย่อมุมนิยมสร้างกันมากที่เมืองศรีสัชนาลัย วัสดุนิยมใช้ศิลาแลง เพราะเป็นวัสดุที่หาง่ายในพื้นที่ มีสัดส่วนของอาคารมีความกว้างต่อความยาวไม่มากนัก แต่ก็ทำให้มีพื้นที่ภายในมณฑปเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจากวัสดุก่อสร้างและความนิยมก่อสร้างมณฑปที่เมืองศรีสัชนาลัย ทำให้เกิดมณฑปที่มีรูปแบบเฉพาะเป็นจำนวนมาก สามารถจำแนกรูปแบบของมณฑปออกได้ 2 ลักษณะด้วยกัน คือ          - แบบผนังรับน้ำหนักโครงหลังคาที่เป็นวัสดุก่อ : เป็นแบบที่นิยมก่อสร้างมากที่สุด โดยใช้ศิลาแลงก่อตั้งแต่ผนังไปจนถึงหลังคา เป็นการใช้ระบบก่อเหลื่อม ไม่พบการเจาะช่องแสงของอาคารยกเว้นการเจาะช่องประตูทางเข้าออก ในส่วนของหลังคาพบว่ามีการถากผิวภายนอกให้เป็นทรวดทรงตามที่ต้องการ ซึ่งรูปทรงของหลังคาที่พบจะมี หลังคาทรงแอ่น เลียนแบบรูปทรงของหลังคาโครงสร้างไม้ และหลังคาทรงโค้งคันธนู ที่มีเส้นโค้งของหลังคาคล้ายคันธนู          - แบบเสารับน้ำหนักโครงหลังคาเครื่องไม้ : ผนังมีลักษณะเหมือนกับมณฑปที่มีแผนผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่หลังคาแทนที่จะเป็นเรือนยอด สันนิษฐานเป็นหลังคาทรงจั่วทรงสูงเอกสารอ้างอิง          1.ศ.เกียรติคุณ สันติ เล็กสุขุม. งานช่าง คำช่างโบราณ ศัพท์ช่างและข้อคิดเกี่ยวกับงานช่างศิลป์ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงทพฯ : มติชน, 2557.          2.รศ.สมคิด จิระทัศนกุล. รู้เรื่อง วัด วิหาร โบสถ์ เจดีย์ พุทธสถาปัตยกรรมไทย. กรุงเทพฯ : มิเซียมเพรส, 2555.          3.ศ.เกียรติคุณ สุรพล ดำริห์กุล. ประวัติศาสตร์และศิลปะสุโขทัย. นนทบุรี : เมืองโบราณ, 2562.           4.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. “ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และศิลปะศรีลังกา.” (เอกสารคำสอนรายวิชา 310212 Sri Lanka Art ฉบับปีการศึกษา 2554)


ชื่อเรื่อง                         มหานิปาต(เวสฺสนฺตรชาดก)ชาตกปาลิขุทฺทกนิกาย(คาถาพัน)อย.บ.                            170/1ฆหมวดหมู่                       พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                  66 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง                         มหาเวสสันดรชาดก                                                               บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา


            ตามที่ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 39 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2558 มีหนึ่งในข้อเสนอให้ประเทศไทย กำหนดมาตรการควบคุมสิ่งปลูกสร้างใหม่ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลก นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและพื้นที่โดยรอบ             กรมศิลปากร ในฐานะหน่วยงานที่ดูแลพื้นที่โบราณสถานพระนครศรีอยุธยา จึงดำเนินการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการควบคุมสิ่งปลูกสร้างอาคารภายในเขตโบราณสถานพระนครศรีอยุธยา (เกาะเมือง) โดยเพิ่มเติมเนื้อหาและรายละเอียดให้มากขึ้นกว่าประกาศฉบับเดิม ที่บังคับใช้ตั้งแต่พ.ศ. 2540 โดยผ่านการกลั่นกรองโดยคณะที่ปรึกษาและกรรมการปรับปรุงหลักเกณฑ์ฯ ที่มีการประชุมและปรับปรุงหลักเกณฑ์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2559 เรียบร้อยแล้ว             ปัจจุบัน กรมศิลปากรจึงมีระเบียบฉบับใหม่ ชื่อ "ระเบียบกรมศิลปากร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร หรือดำเนินการใดๆ ในเขตโบราณสถานพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. 2566" ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566             จึงขอแจ้งให้ทุกท่านทราบโดยทั่วกัน  หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อผ่านแชทเพจเฟสบุ๊ก : อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา Ayutthaya Historical Park  หรือ โทร. 035 242 286 ดาวโหลดระเบียบฉบับใหม่  https://drive.google.com/file/d/1Onf1HqIqpFfQFrQzQuiQAcu9PYLhSB6-/view?fbclid=IwAR0NBN6kt-dPeMy7aZuW6z7OxpzqHRu4Xa0ZCQ47dFPSyPBfpvFHw7wy5hw


วัฒนธรรมการฝังศพในบ้านเชียงยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดย นางสาวปิยะธิดา ราชวัตร นักศึกษาฝึกสหกิจ สาขามานุษยวิทยาวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว #มหาวิทยาลัยนครพนม


วิทยาจารย์ ปีที่ 53 มกราคม 2497 ฉบับที่ 1 จัดพิมพ์โดยคุรุสภา เรื่องราวในเล่มประกอบด้วย พระโอวาทและพระพรของสมเด็จพระสังฆราช เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2497, พระราชดำรัสในโอกาสขึ้นปีพุทธศักราช 2497 31 ธันวาคม 2496, คำปราศรัยของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เนื่องในโอกาสเถลิงศก พุทธศักราช 2497, ผู้แทนประเทศไทยลงนามในสัญญาเกี่ยวกับการจัดตั้งศูนย์กลางการศึกษาผู้ใหญ่ที่จังหวัดอุบลราชธานี ณ กรุงปารีส เป็นต้น


Messenger