ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,356 รายการ

" ๔๘ ปี แห่ง ความทรงจำ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่" ๐ เนื่องในวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ที่จะถึงนี้ เป็นวาระครบรอบ ๔๘ ปี การเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ อย่างเป็นทางการ ๐ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ จึงขอนำเสนอ เรื่องราวความทรงจำ พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงตลอดระยะเวลา ๔๘ ปีที่ผ่านมาของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ โดยจะแบ่งเนื้อหาออกเป็น ๓ ตอน ค่ะ '''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''' (ตอนที่ ๒)  : ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง . นับตั้งแต่ก่อตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๖ นั้น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ได้มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง โดยแบ่งออกเป็น ๓ ช่วงหลักๆ ดังนี้ +++ พุทธศักราช ๒๕๑๖ – ๒๕๓๙  +++ . ในระยะแรก กรมศิลปากรได้รับความร่วมมือจากสถาบันต่าง ๆ มอบของให้ ได้แก่ พุทธสถานจังหวัดเชียงใหม่ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ วัดต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ และบริเวณใกล้เคียงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่กรมศิลปากรทำการสำรวจ กอบกู้ และขนย้ายมาจากวัดร้างต่างๆ, พื้นที่บริเวณที่จะก่อสร้างเขื่อนภูมิพล และจากประชาชนทั่วไป  . นอกจากนี้ ยังมีโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ของภาคเหนือ และตัวอย่างศิลปกรรมสมัยต่าง ๆ ที่พบในประเทศไทย ซึ่งเดิมเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ภายในกำกับดูแลของกองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นำมาร่วมจัดแสดงด้วย ต่อมา เมื่อมีการสำรวจและขุดค้นแหล่งโบราณคดี การขุดแต่งและบูรณปฏิสังขรณ์โบราณสถาน ในพื้นที่ ๘ จังหวัดภาคเหนือตอนบนเพิ่มมากขึ้นและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่ได้จากการดำเนินงานดังกล่าว ส่วนหนึ่งได้รับการอนุรักษ์ จัดเก็บ และจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ +++ พุทธศักราช ๒๕๔๒ – ๒๕๕๖ +++ . ช่วงพุทธศักราช ๒๕๔๒ – ๒๕๕๖ การจัดแสดงนิทรรศการถาวรพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ได้รับการซ่อมแซม ปรับปรุง และเพิ่มเติมเนื้อหาสาระวิชาการให้หลากหลายสาขายิ่งขึ้น ในลักษณะของพิพิธภัณฑสถานประจำเมือง จังหวัด และ ภูมิภาค โดยเน้นความสำคัญของอาณาจักรล้านนาและนครเชียงใหม่ รวมทั้งความเป็นเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ของวัฒนธรรมภาคเหนือ โดยแบ่งการจัดแสดงออกเป็น ๖ ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ ๑ แสดงเรื่องราวทางธรณีวิทยาและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ในพื้นที่ภาคเหนือ รวมไปถึงเรื่องราวของชนเผ่าลัวะและหริภุญไชย  ส่วนที่ ๒ แสดงเรื่องราวประวัติศาสตร์อาณาจักรล้านนา ส่วนที่ ๓ แสดงเรื่องราวของนครเชียงใหม่ใต้ร่มอาณาจักรสยาม ตั้งแต่การกอบกู้เอกราชจากพม่า การตั้งเมืองเชียงใหม่ และความสัมพันธ์กับอาณาจักรสยาม ส่วนที่ ๔ แสดงเรื่องการค้า และเศรษฐกิจของล้านนา ส่วนที่ ๕ แสดงเรื่องราวการดำรงชีวิตและพัฒนาการทางสังคม  ส่วนที่ ๖ แสดงถึงวิวัฒนาการของศิลปกรรมล้านนา และศิลปกรรมในประเทศไทย . นอกจากแผนที่ แผนผัง แผนภูมิ ภาพถ่าย ป้ายคำบรรยายและป้ายคำอธิบายวัตถุที่ใช้เป็นสื่อจัดแสดงระหว่างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่และผู้เข้าชมแล้ว การปรับปรุงนิทรรศการถาวรครั้งนี้ ยังได้เพิ่มเติมและเทคนิคและสื่อการจัดแสดงหลากหลายยิ่งขึ้น เช่น การจำลองหลุดขุดค้นทางโบราณคดี ภาพเขียนเล่าเรื่อง ภาพเขียนประกอบหุ่นจำลองบุคคลและเหตุการณ์สำคัญพร้อมเสียงบรรยายภาษาไทยและภาษาอังกฤษ การใช้ตู้จัดแสดงภาพโปร่งแสงขนาดใหญ่ การแสดงเรื่องราวและข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับนิทรรศการผ่านระบบคอมพิวเตอร์แบบสัมผัสหน้าจอ +++ พุทธศักราช ๒๕๕๖ - ปัจจุบัน +++  . ช่วงพุทธศักราช ๒๕๕๖ – ๒๕๕๙ มีการปรับปรุงนิทรรศการถาวรพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ทั้งหมดอีกครั้ง โดยเพิ่มเติมรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับองค์ความรู้ด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปกรรมของล้านนาเพื่อให้สอดคล้องเท่าทันความก้าวหน้าทางวิชาการปัจจุบัน การจัดแสดงเดิมที่เกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยาและชาติพันธุ์วิทยา ถูกลดระดับความสำคัญลงไป เพื่อพัฒนาให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ เป็นแหล่งเรียนรู้ศูนย์กลางการศึกษา อนุรักษ์ และให้บริการข้อมูลมรดกศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่ และภาคเหนือตอนบนอย่างชัดเจน . การปรับปรุงนิทรรศการครั้งใหม่นี้ เน้นความงามของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุโดยให้ความสำคัญกับการออกแบบครุภัณฑ์ เช่น ตู้ ชั้น แท่นฐาน และแผงจัดแสดง การใช้สี การจัดวาง และการจัดแสง และเพิ่มการให้บริการข้อมูลนำชมพิพิธภัณฑสถานและข้อมูลรายละเอียดของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่จัดแสดงด้วยสื่อมัลติมีเดีย และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทันสมัย เช่น ระบบ QR/AR CODE ระบบไดโอรามาจำลองภาพสามมิติ พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง (Virtual Museum) . นอกจากนี้ มีการก่อสร้างอาคารคลังพิพิธภัณฑ์ อาคารสำนักงานพิพิธภัณฑ์และส่วนบริการธุรกิจศิลป์เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการจัดเก็บรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และสิ่งทำเทียมที่มีแนวโน้มเพิ่มปริมาณขึ้นในอนาคต  ''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''








จัดพิมพ์เนื่องในงาน "วันกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส" ๑๑ ธันวาคม ๒๕๑๑








ชื่อเรื่อง                                อรรถกถามหาปัฏฐาน  (อรรถกถามหาปัฏฐาน) สพ.บ.                                  208/7ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           24 หน้า กว้าง 4.5 ซ.ม. ยาว 55.5 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก                                           เทศน์มหาชาติ                                           คาถาพัน บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดกกม่วง ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                                มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาดก)ชาตกฎฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (ทานขันธ์-นครกัณฑ์)  สพ.บ.                                  250/7ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           32 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา--การศึกษาและการสอน                                           ชาดก บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ-ล่องรัก  ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี 


เค้าสนามหลวงหลังจากเชียงใหม่ขับไล่พม่าออกจากเมืองได้สำเร็จ ภายใต้การสวามิภักดิ์และความร่วมมือของพระยาจ่าบ้านและเจ้ากาวิละ (โอรสเจ้าฟ้านครลำปาง) เชียงใหม่จึงตกอยู่ภายใต้การปกครองของสยามในฐานะเมืองประเทศราช เมื่อพระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองเชียงใหม่ถึงแก่กรรมลง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้แต่งตั้งพระเจ้ากาวิละขึ้นปกครองนครเชียงใหม่ พระเจ้ากาวิละทรงฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่จากการเป็นบ้านเมืองร้าง ให้เป็นศูนย์กลางการปกครองและทรงฟื้นฟูระบบการปกครองล้านนาให้มีเอกภาพดังเดิม มีการแต่งตั้งเสนาบดี ๔ ตำแหน่งเช่นเดียวกับขุนนางจตุสดมภ์ของส่วนกลาง และเค้าสนามหลวง เพื่อทำหน้าที่ถวายข้อคิดเห็นตามที่มีทรงหารือ คำว่า “เค้าสนามหลวง” หรือ “เค้าสนาม” ปรากฏในเอกสารจดหมายเหตุและหนังสือทั่วไป (เรียกชื่ออื่นได้ว่า ข่วง ข่วงสนาม หรือสนาม) ซึ่งคำนี้เป็นคำในภาษาถิ่นพายัพและเป็นคำโบราณ ไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มมีมาตั้งแต่เมื่อใดราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายคำว่า เค้าสนามหลวง (ถิ่น-พายัพ; โบ) น. สำนักผู้ปกครองบ้านเมือง ที่ว่าราชการเมือง คณะผู้ว่าการบ้านเมืองซึ่งประกอบด้วย เจ้าผู้ครองเมืองหรือผู้ครองเมืองข้าหลวงประจำนครหรือเมือง ซึ่งต่อมาเรียกว่า ปลัดมณฑลประจำจังหวัด และข้าหลวงผู้ช่วย มีหน้าที่บังคับบัญชารับผิดชอบในกิจการทั่วไปของเมือง เค้าสนาม ก็ว่า อรวรรณ ภิรมจิตรผ่อง (อ้างถึง สินชัย กระบวนแสง, ๒๕๔๕) อธิบายคำว่า เค้าสนาม ว่า เป็นชื่อเรียกคณะบุคคลคณะหนึ่งที่ทำงานสำคัญต่าง ๆ ถวายพระเจ้าเชียงใหม่ วรชาติ มีชูบท อธิบายคำว่า เค้าสนามหลวง หรือที่ภาษาถิ่นล้านนาออกเสียงว่า เก๊าสนามหลวง หรือ เก๊าสนาม นั้น คือ องค์คณะขุนนางผู้ทำหน้าที่บริหารราชการบ้านเมือง เปรียบได้กับเสนาบดีจตุสดมภ์และลูกขุน ณ ศาลา และลูกขุน ณ ศาลหลวง  จินตนา กิจมี กล่าวถึงพื้นที่บริเวณหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ว่า “...เดิมเป็นมรดกตกทอดมาตั้งแต่สมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๖ ถึงเจ้าเทพไกรสร พระธิดา ซึ่งเสกสมรสกับเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๗ ซึ่งทรงใช้เป็น “หอคำ” ซึ่งอยู่ในบริเวณคุ้มกลางเวียง หรือ “เค้าสนามหลวง” สำนักผู้ปกครองบ้านเมือง หรือที่ว่าราชการเมืองในสมัยนั้น...” ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีนโยบายรวมหัวเมืองประเทศราชเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสยาม โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิรูปการปกครองในหัวเมืองฝ่ายเหนือ อันประกอบด้วย เมืองเชียงใหม่ เมืองลำพูน และเมืองลำปางขึ้นเป็นหัวเมืองลาวเฉียง โดยทรงแต่งตั้งให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิชิตปรีชากร ไปบัญชาการการปฏิรูป ซึ่งทรงมีนโยบายปรับปรุงรูปแบบการปกครองให้มีความสอดคล้องกับการปกครองตามประเพณีเดิม โดยคงเค้าสนามไว้ แต่ตั้งกรมใหม่ขึ้น ๖ กรม ได้แก่ กรมมหาดไทย กรมทหาร กรมคลัง กรมยุติธรรม กรมวัง และกรมนา มีตำแหน่งเสนาทำหน้าที่เป็นเจ้ากรมเค้าสนาม มีหน้าที่คัดเลือกเจ้านายท้องถิ่น ขุนนางท้องถิ่น มาดำรงตำแหน่งเสนา เสนารอง แล้วเสนอให้พระเจ้าเชียงใหม่ทรงแต่งตั้ง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล เชียงใหม่ยังคงใช้ระบบปกครองให้สอดคล้องกับประเพณีเดิม โดยมีเค้าสนามเป็นคณะกรรมการบริหารและเสนา ๖ ตำแหน่งตามเดิม แต่ได้ยุบตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมไป จนตำแหน่งเค้าสนามและเสนาทั้ง ๖ หมดไป ในส่วนของเอกสารจดหมายเหตุ พบในเอกสารสำคัญหลายฉบับที่ระบุถึงคณะทำงาน “เค้าสนามหลวง” ยกตัวอย่างเช่น เอกสารที่กล่าวถึงการเสด็จฯ นครเชียงใหม่ชั่วคราวของเจ้าดารารัศมี ในปี ร.ศ. ๑๒๗ – ๑๒๘ (ประมาณ พ.ศ. ๒๔๕๑) พบว่า เมื่อมีคำสั่งเรื่องการเสด็จนครเชียงใหม่ของพระนางเจ้าดารารัศมี ทางส่วนราชการได้มอบหมายให้คณะทำงานเค้าสนามหลวง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทำการรับเสด็จอย่างสมพระเกียรติ คณะทำงานเค้าสนามหลวง จึงได้สั่งการแก่กองตำรวจภูธรนครเชียงใหม่เรื่องการรับเสด็จและการจัดริ้วกระบวนดำเนินการต่อไป ผู้เรียบเรียง: นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการ และนางสาวอริสรา คงประเสริฐ นักจดหมายเหตุ อ้างอิง: ๑. กรมศิลปากร. ๒๕๖๐. ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่ม ๒๓ จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพมหานคร: รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗). ๒. จินตนา  กิจมี.  ๒๕๖๒. “เค้าสนามหลวง.” ใน วงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ (บรรณาธิการ).  เชียงใหม่ นครแห่งอมต.  เชียงใหม่: บริษัท วิทอินดีไซน์ จำกัด, ๖๕-๗๒.๓. ราชบัณฑิตยสถาน.  ๒๕๕๔.  พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔.  พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้น.๔. วรชาติ มีชูบท.  ๒๕๕๖.  เจ้านายฝ่ายเหนือและตำนานรักมะเมียะ.  กรุงเทพมหานคร: เอ.พี.กราฟิคดีไซน์และการพิมพ์.๕. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่.  เอกสารการจัดเตรียมต้อนรับพระราชชายาเจ้าดารารัศมี เสด็จกลับเมืองเชียงใหม่ ครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๕๑-๒๔๕๒.  ๖. อรวรรณ  ภิรมจิตรผ่อง.  ๒๕๖๑.  “เค้าสนามหรือเค้าสนามหลวง.”  เดลินิวส์  (๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๑): ๒๓.


เลขทะเบียน : นพ.บ.181/2กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  46 หน้า ; 4 x 48 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 103 (91-100) ผูก 2ก (2565)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันธ์ขันธ์ --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


Messenger