ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ
ประเพณีเลี้ยงดง ปู่แสะ ย่าแสะ เชิงเขาวัดพระธาตุดอยคำ เป็นที่ตั้งของศาลปู่แสะ ย่าแสะ ที่มีความสำคัญหลายแง่มุม ทั้งในฐานะอารักษ์ ผีเมือง หรือความสัมพันธ์เกี่ยวโยงบรรพบุรุษชาวลัวะ ดังปรากฏในเอกสารโบราณต่าง ๆ อาทิ ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ตำนานพระธาตุดอยคำ ตำนานพระเจ้าเลียบโลก อีกทั้งตำนานพระธาตุต่าง ๆ ในภาคเหนือของประเทศไทย และรัฐไทอื่น ๆ ความเชื่อเรื่องปู่แสะย่าแสะได้ผสานเข้ากับคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนาจนกลายเป็นพิธีกรรมที่ยังคงยึดถือปฏิบัติมาจนปัจจุบัน ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวถึงปู่แสะย่าแสะ ความว่า “ละจึงไหว้พระพุทธเจ้าว่า ภันเต ข้าแต่พระพุทธเจ้ายังมียักษ์ ๒ ตัวตัวเมีย เทียร ย่อมบีบเบียนกินชิ้นผู้คนบ้านเมืองลวดห่างรั้งไปเพื่ออั้นแล พระพุทธเจ้าก็จึงร้องเรียกเอายังยักษ์ ทั้งสองผัวเมียมา แล้วก็เทศนาธัมม์สั่งสอนข่มเสียยังมานะแห่งยักษ์เพื่อซื้อกินชิ้นคน ยักษ์ขาน / ตอบพระพุทธเจ้าว่า การอันเลี้ยงอินทรีย์ชีวิตเพื่อข้าหากมีแต่เท่านี้ คันบ่หื้อกินชิ้นคนก็หาสังกิน บ่ได้ขอกินเดือนแลคนเทอะ พระพุทธเจ้าบ่หื้อกิน ข้ำกินแลปีแลคนเทอะ พระพุทธเจ้าก็บ่หื้อกิน ยักษ์ซ้ำขอกินควายแลปีแลตัวเทอะ คันคนทังหลาย / ยังหื้อเผือข้ากินควายแลปีแลตัว ก็จักรักสาเขาทังหลายกับทังสาสนาพระพุทธเจ้า ๕,๐๐๐ วัสสาชะแลว่าอั้น พระพุทธเจ้ารำเพิงว่า ชาติยักษ์ทังหลาย เทียรย่อม มีชิ้นและเลือดเป็นอาหารจักตัดขาดเสียก็บ่ได้ พระก็ตุมหิภาวะอยู่ บ่ปาก พระก็เทศ / นาสั่งสอนยักษ์อย่าหื้อราวีเบียดเบียนคนทังหลาย แล้วยักษ์ปู่แสะย่าแสะ ก็ไหว้ว่าขอพระพุทธเจ้าและขีณาสาวเจ้าจุ่งมาเมตตาเผือข้าชุปีแด่เทอะว่าอั้น แล้วพระพุทธเจ้า ก็พาหมู่อรหันตาเจ้าทังหลายเสด็จไปสู่เมืองกุสินาราย / วันนั้น แต่นั้นมา คนทังหลายก็พลีกรรม เลี้ยงดู เทียรย่อมเอาพระบฏ ไปกางและเอาเจ้าภิกขุใหม่ไปเมตตาเป็นบริวารพระบฏเจ้าทุกปี หั้นแล พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วได้ ๗๕๐ พระวัสสา เมืองลูกนี้ชื่อกุรุรัฐก่อนแล กุมารยักษ์ ก็ได้เกิดเป็นพญาเจ้าเมือง” จากตำนานครั้งอดีต ถ่ายทอดผ่านความเชื่อของชุมชนชาวแม่เหียะ สู่ประเพณีการเลี้ยงดง บรวงสรวง เซ่นสังเวยปู่แสะ ย่าแสะ ซึ่งจัดขึ้นทุกปี ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๙ (เดือน ๗ ทางจันทรคติ) ณ บริเวณเชิงดอยคำ และบริเวณลานเลี้ยงดง ในบริเวณสำนักงานอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ที่ ๔ (แม่เหียะ) ประกอบด้วยการจัดตั้งแต่งเครื่องเซ่นสังเวย เริ่มต้นพิธีบวงสรวงศาลปู่แสะ-ย่าแสะ เชิญดวงวิญญาณปู่แสะ ย่าแสะเข้าสู่ม้าขี่ (ร่างทรง) ซึ่งม้าขี่จะกินเนื้อควายสด จากนั้นเป็นการไหว้พระบฏอันเป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้าดังเรื่องราวในตำนาน ด้วยรูปแบบพิธีกรรมความเชื่อที่ยังคงสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ได้กลายเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอันโดดเด่น จนเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปผู้เรียบเรียง : นายวีระยุทธ ไตรสูงเนิน นักจดหมายเหตุชำนาญการภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่.อ้างอิงอรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และ เดวิด เค. วัยอาจ. ๒๕๔๓. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : โอ.เอส. พรินติ้ง เฮ้าส์.อาสา อำภา. ๒๕๕๕. ปู่แสะ ย่าแสะ กับประเพณีเลี้ยงผีเมืองเชียงใหม่. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี. ๖ (๒): ๙๙-๑๒๒
หนังสือ : มนต์รักข้ามเวลา
ผู้เขียน : Karen Marie Moning (คาเรน มารี โมนนิ่ง)
ผู้แปล : ขีดขิน จินดาอนันต์
"ดรัสตัน แม็คเคลทาร์ แลร์ด" แห่งไฮแลนด์ต้องมนต์สะกดให้หลับใหล เขาตื่นมาในอีกห้าร้อยปีให้หลัง เพราะหญิงสาวผู้หนึ่งถอนคำสาปโดยบังเอิญ ดรัสตันไม่เคยพบหญิงใดเหมือนเช่นเธอ "คาสซิดี้" เป็นคำไอริส แปลว่า ฉลาด เกว็นโดลิน หมายถึง เทพีจันทรา เขาคิด เมื่อได้พบเธอ ดรัสก็รู้ว่า โชคชะตานำพาทั้งสองให้มาพบกัน และชะตากรรมของเขาก็อยู่ในกำมือของเธอ...
"เกว็น คาสซิดี้" แสนจะเพลียกับบรรดาลูกค้าประกันจอมงก เธอตัดสินใจกระโจนขึ้นรถทัวร์สกอตแลนด์ กับผู้สูงอายุอีกเป็นโขยง หมายจะหาความตื่นเต้นให้ชีวิตจืดชืด เธอโหยหาอะไรสักอย่างที่ยังระบุออกมาไม่ได้เลยด้วยซ้ำ หรือสิ่งนั้นจะเนแค่ความต้องการทางกายที่บรรจุอยู่ในยีน แต่แล้วเธอก็หล่นตุ้บลงบน "โชคชะตา" เข้าเต็มรัก...
ห้องบริการ 1 หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
เลขหมู่ : 823.914 ม931ม
องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “วันออกพรรษา วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11”
หลังจากเข้าพรรษาแล้ว พระสงฆ์จะต้องอยู่ประจำที่วัดตลอดระยะเวลา 3 เดือน จนถึงวันออกพรรษา ราวกลาง เดือน 11 พระสงฆ์จะต้องทำพิธ๊ปวารณาออกพรรษา
ปวารณา เป็นชื่อสังฆกรรม (กิจที่พระสงฆ์ตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไปร่วมกันทำภายในสีมา) ที่พระสงฆ์ทำในวันสุดท้ายแห่งการจำพรรษา คือ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เรียกว่า “วันมหาปวารณา” โดยภิกษุทุกรูปจะกล่าวปวารณา คือ เปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้
ปกติพระสงฆ์จะสวดพระปาฏิโมกข์ในพระอุโบสถทุกกึ่งเดือน คือ วันพระ ขึ้น 15 ค่ำ แรม 14 หรือ แรม 15 ค่ำ แต่ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ไม่ต้องสวดพระปาฏิโมกข์ ให้ทำพิธีปวารณาออกพรรษาแทน วันออกพรรษาปี 2566 นี้ ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2566
วันออกพรรษา หรือ วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา ถือเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากการจำพรรษา จากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และยังเป็นวันที่เปิดโอกาสให้พระภิกษุสงฆ์ในทุกระดับชั้นที่ได้จำพรรษาร่วมกันมาตลอด 3 เดือนสามารถว่ากล่าวตักเตือน ชี้ข้อบกพร่องของกันและกันได้ แต่ต้องเป็นไปด้วยความเมตตา ความปรารถนาดี และความเสมอภาค หลังจากการทำพิธีออกพรรษาแล้วพระภิกษุสงฆ์สามารถทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาได้ตามปกติ และสามารถค้างแรมในสถานที่ต่างๆ ที่ไปแสดงเทศนาได้ โดยที่ไม่ผิดพระพุทธบัญญัติใดๆ
กิจกรรมวันออกพรรษาของแต่ละภาคในประเทศไทยนั้นปฏิบัติไม่เหมือนกัน โดยเริ่มต้นด้วยวิธีการตักบาตรเทโว เพื่อสมมติจำลองถึงวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จะทำวันออกพรรษา หรือออกพรรษาแล้ว 1 วันก็ได้
อาหารที่ใช้ ตักบาตรเทโว หรือ ตักบาตรเทโวโรหณะ นิยมใช้ ข้าวต้มมัด และข้าวต้มลูกโยน ชาวบ้านรอพระภิกษุ สามเณร เดินลงมาจากบันไดอุโบสถ หลังจากทำวัตรเช้า เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นก็สมมติว่าพระพุทธเจ้าเสด็จบันไดสวรรค์ โดยบางแห่งเปิดเพลง หรือบรรเลงดนตรี สมมติว่าเป็นเทวดาบรรเลง ชาวบ้านที่รออยู่ก็จะใส่บาตรด้วยอาหารหวาน อาหารคาว ข้าวต้มลูกโยน
อ้างอิง : บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541.
ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
ห้องสมุดอเล็กซานเดรีย เป็นห้องสมุดที่เก่าแก่และมีการเก็บรวบรวมเอกสารตำรามากมาย เป็นห้องสมุดในยุคแรกที่มีการจัดระบบห้องสมุดโดยการจัดหมวดหมู่ตามเนื้อหา และเรียงตามลำดับอักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่ง น่าเสียดายที่ห้องสมุดนี้ได้ถูกทำลายลงไป ปัจจุบัน มีการสร้างห้องสมุด Bibliotheca Alexandrina ใกล้เคียงกับพื้นที่เดิมของห้องสมุดอเล็กซานเดรีย เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการระลึกถึงห้องสมุดที่ยิ่งใหญ่ในอดีตข้อมูลอ้างอิงโตมร ศุขปรีชา. Alexandria: ห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลกกับกษัตริย์ผู้รักในความรู้. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2565, จาก: https://themomentum.co/worldsend-alexandria-egypt/ยุวดี. ห้องสมุดแห่งอเล็กซานเดรีย แหล่งวิทยาการแห่งแรกของโลก. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2565, จาก: https://teen.mthai.com/education/95758.htmlฮอร์ตัน, ไบรอัน. ไขปริศนาอารยธรรมโลก. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเด็ก, 2552.Bibliotheca Alexandrina. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2565, จาก: https://www.bibalex.org/en/DefaultHarlitz-Kern, Erika . 10 Things you need to know about the ancient library of Alexandria. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2565, จาก: https://bookriot.com/library-of-alexandria-facts/ภาพไฟไหม้ห้องสมุดอเล็กซานเดรีย ที่มา https://www.gqthailand.com/culture/article/history-of-fireเรียบเรียงโดย นางสาวพิมพา สุธัญญาวัชชัย บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
บทละครนอก พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 2 (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) จัดพิมพ์เผยแพร่โดยกรมศิลปากร เมื่อพุทธศักราช 2530 มีทั้งหมด 6 เรื่อง ได้แก่ สังข์ทอง ไชยเชษฐ์ ไกรทอง มณีพิชัย คาวี และสังข์ศิลปะชัย
องค์ความรู้สุพรรณบุรี เรื่อง สระศักดิ์สิทธิ์ทั้งสี่ผู้เรียบเรียง :
นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ
หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
ปกสมุดโลหะดุนลายรูปพญานาค
สมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๕
ไม่ปรากฏประวัติที่มา
ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องธนบุรี-รัตนโกสินทร์ อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
แผ่นโลหะเงินรูปทรงสี่เหลี่ยมดุนลาย กึ่งกลางเป็นสี่เหลี่ยมมุมมนคล้ายโล่ ภายในสลักข้อความว่า “ข้าพระพุทธเจ้า จอมพล สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช จเรทหารทั่วไป* ขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสมุดเล่มนี้ ขอเดชะ” ขนาบทั้งสองข้างด้วยรูปพญานาคม้วนตัวท่ามกลางลายก้านขด ส่วนขอบตกแต่งด้วยแถบลายกระหนกใบเทศขนาดเล็กล้อมรอบทั้งสี่ด้าน
สันนิษฐานว่าปกสมุดชิ้นนี้สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช จัดทำขึ้นเพื่อทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เมื่อปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๕๙ เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๓ รอบ ๓๖ พรรษา วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๙ โดยเมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๙ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชทรงมีหน้าที่เป็นผู้กราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคลในการเฉลิมพระที่นั่งอนันตสมาคม และในเวลาค่ำวันนี้มีการเลี้ยงใหญ่พระราชทานผู้เป็นสหชาติ (ผู้เกิดร่วมปีนักษัตรเดียวกัน) ร่วมปีพระราชสมภพนักษัตรมะโรงครบสามรอบ
ปกสมุดโลหะชิ้นนี้แสดงการตกแต่งผิว ด้วยเทคนิคการ “ดุนลาย” คือการตอกแผ่นโลหะให้มีลักษณะนูนขึ้นมา ในส่วนของพื้นที่ว่างระหว่างลายที่นูนขึ้นมาใช้เทคนิคแกะแร**เป็นลายเบา***
*ทรงดำรงตำแหน่ง “จเรทหารทั่วไป” ตั้งแต่วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๖
**แกะแร หมายถึง แกะพื้นผิวโลหะให้เป็นเส้นหรือเป็นเหลี่ยมขึ้นเงา
***ลายเบา หมายถึง ลายที่เกิดขึ้นด้วยการแกะเดินเส้นเป้นร่องตื้น ๆ บนพื้นหินหรือพื้นโลหะ
อ้างอิง
ดำรัศดำรงศ์ เทวกุลฯ, หม่อมเจ้า. พระประวัติ สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศวรเดชฯ. พระนคร:โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๗๒ (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในงานพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข ณ พระเมรุท้องสนามหลวง เมื่อปีมะเส็ง พุทธศักราช ๒๔๗๒).
ยุทธนาวรากร แสงอร่าม. โลหศิลป์ ณ พระที่นั่งปัจฉิมาภิมุข. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๖๐.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๖.
แนวทางการทำนุบำรุงรักษา
ผู้แต่ง : นิคม มูสิกะคามะ
ต้นฉบับอยู่ที่ : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี (ห้องกรมศิลปากร)
โรงพิมพ์ : บริษัท ประชาชน จำกัด
ปีที่พิมพ์ : 2542
รูปแบบ : PDF
ภาษา : ไทย
เลขทะเบียน : น 30 ร. 6396
เลขหมู่ : 306 น553น
ประชุมพงศาวดารภาคที่ 51 จดหมายเหตุเมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต
ผู้แต่ง : ราชบัณฑิตยสภา
ต้นฉบับอยู่ที่ : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี (ห้องหนังสือหายาก)
ผู้จัดพิมพ์ : ราชบัณฑิตยสภา
โรงพิมพ์ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร
ปีที่พิมพ์ : 2472
รูปแบบ : PDF
ภาษา : ไทย
เลขทะเบียน : น. 34 บ. 6159 จบ. (ร)
เลขหมู่ : 959.3054 ร421น
สาระสังเขป : หนังสือพิมพ์พระราชทานในงานพระศพพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฎ ปิยมหาราชปดิวรัดา ครบสัปตมวาร เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2472 เนื้อหาว่าด้วยเรื่องของจดหมายเหตุเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต มีคำอธิบายพระนามและนามที่ปรากฏในจดหมายเหตุ พระราชปรารภและพระราชประสงค์ด้วยเรื่องต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เช่น พระราชปรารภเรื่องการปกครองแผ่นดิน พระราชดำรัสกับพระยาศรีสุริยวงศ์เรื่องรัชทายาท คำวินิจฉัยเรื่องพระสงฆ์ห่มผ้า พระราชปรารภเรื่องอาการทรงพระประชวร พระราชนิพนธ์ทรงขมาพระสงฆ์ พระกระแสรับสั่งเรื่องแจกเงินราษฎร เป็นต้น
สำนักช่างสิบหมู่ ขอเชิญชมการสาธิตงานศิลปกรรม จากบุคลากรของสำนักช่างสิบหมู่ โดยผู้เข้างานจะได้พบปะ สอบถามพูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้กับผู้สร้างงานศิลปกรรมแต่ละแขนง ซึ่งในแต่ละวันจะมีบุคลากรสับเปลี่ยนหมุนเวียนมาถ่ายทอดความรู้กระบวนการสร้างงานในขั้นตอนต่าง ๆ ให้ชมกันอย่างใกล้ชิด ทั้งงานช่างแกะสลัก งานช่างสนะไทย งานช่างประดับมุก งานช่างบุ งานช่างศิราภรณ์ งานช่างลายรดน้ำ งานแม่พิมพ์ งานจิตรกรรม-การเขียนสีน้ำ และงานเซรามิค
ทั้งนี้ งานนิทรรศการศิลปกรรมเฉลิมพระเกียรติ “สิปปกรวรราชสามิภักดิ์” จัดระหว่างวันที่ 9 - 11 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.00 - 16.00 น. ณ สำนักช่างสิบหมู่ ศาลายา จังหวัดนครปฐม ซึ่งภายในงานพบกับการจัดแสดงผลงานศิลปกรรมเฉลิมพระเกียรติ การบรรยายพิเศษ การเสวนาทางวิชาการ การทำกิจกรรม Workshop และ Art Market สามารถติดตามรายละเอียดแต่ละกิจกรรมได้ทาง Facebook สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร https://www.facebook.com/officeoftraditionalarts