ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,643 รายการ
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : ปี้ในบ่อนเบี้ยหัวเมือง -- บ่อนเบี้ย คือสถานที่สำหรับเล่นการพนันชนิดหนึ่งที่เรียกว่าถั่วโป หรือกำถั่ว สันนิษฐานว่าเริ่มเกิดขึ้นในชุมชนที่มีชาวจีนอาศัยอยู่มาก เนื่องจากเป็นการพนันที่ชาวจีนในอดีตนิยมเล่นกัน และมีการเล่นกันมาอย่างน้อยตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว การเล่นถั่วโปนั้นสามารถเล่นได้เฉพาะผู้ที่ทางการอนุญาตแล้วเท่านั้น โดยแต่เดิมมีเฉพาะชาวจีนที่ได้รับอนุญาตให้เล่นถั่วโป ต่อมาจึงอนุญาตให้คนไทยเล่นได้ โดยผู้ที่ได้รับอนุญาตต้องเสียเงินเข้าท้องพระคลัง เรียกว่า “อากรบ่อนเบี้ย” ในสมัยรัชกาลที่ 2 รัฐมีรายได้จากอากรบ่อนเบี้ยมากขึ้น จึงมีการกำหนดพื้นที่ทั้งในกรุงเทพฯ และตามหัวเมืองต่างๆ ให้เป็นแขวงสำหรับทำอากร โดยมีนายอากรบ่อนเบี้ยเป็นผู้ได้รับอนุญาตจากทางการให้ผูกขาดการเก็บอากรบ่อนเบี้ยในแต่ละแขวงหรือหัวเมือง นายอากรบ่อนเบี้ยนี้จะได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่ขุนพัฒนสมบัติ หรือขุนอื่นๆ ที่ขึ้นต้นว่า “พัฒน-” ประชาชนโดยทั่วไปจึงเรียกนายอากรว่า“ขุนพัฒน์” นอกจากการเปิดบ่อนและรับผูกขาดอากรบ่อนเบี้ยแล้ว นายอากรบ่อนเบี้ยยังได้ผลิตปี้ไว้สำหรับใช้แทนคะแนนสำหรับเล่นเบี้ยในบ่อน ปี้ในโรงบ่อนมีทั้งที่ทำจากกระเบื้องและโลหะ ซึ่งปี้ของนายอากรแต่ละคนจะมีลวดลายแตกต่างกัน การใช้ปี้นั้น เมื่อแรกยังคงมีการใช้กันเฉพาะในโรงบ่อน แต่ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เกิดสภาวะเงินปลีกในท้องตลาดขาดแคลน ประชาชนจึงนำปี้ในโรงบ่อนมาใช้จ่ายซื้อขายสินค้าในชีวิตประจำวันแทนเงินปลีก ภายหลังเมื่อทางการสั่งผลิตเหรียญกษาปณ์ทองแดงมาจากต่างประเทศเพื่อแก้ปัญหาเงินปลีกขาดแคลนในปี พ.ศ. 2418 แล้ว ปัญหาเงินปลีกขาดแคลนจึงสงบลง แต่การใช้จ่ายปี้นอกโรงบ่อนยังคงมีอยู่ต่อมา จนกรมสรรพากรต้องออกประกาศข้อบังคับสำหรับนายอากรบ่อนเบี้ย ลงวันที่ 1 ตุลาคม ร.ศ. 110 (พ.ศ. 2434) โดยมีข้อหนึ่งระบุว่า ห้ามมิให้นายอากรบ่อนเบี้ยนำปี้มาให้นักพนันใช้ทั้งในและนอกบ่อน รวมถึงห้ามใช้ปี้ซื้อขายสินค้าต่างๆ ซึ่งแม้ว่าทางการจะมีการออกประกาศมาแล้วก็ตาม แต่ยังคงมีการใช้ปี้โรงบ่อนอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศอยู่ ดังตัวอย่างจากเอกสารจดหมายเหตุชุดกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เรื่อง บ่อนเบี้ยมณฑลฝ่ายเหนือ ความดังนี้ เมื่อเดือนตุลาคม ร.ศ. 111 (พ.ศ. 2435) ขุนศรีสมบัติ เจ้าพนักงานกระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้รายงานว่า ขุนพัฒน์เจ้าของบ่อนเบี้ยตามหัวเมืองต่างๆ ได้แก่เมืองชัยนาท เมืองสวรรคโลก เมืองตาก และเมืองกำแพงเพชรได้ใช้ปี้แทนเงินแพร่หลายออกไป ขุนศรีสมบัติได้รวบรวมปี้ตามหัวเมืองในชนิดราคาต่างๆ ได้จำนวน 27 อัน ซึ่งได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงษ์ รองเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และเนื่องจากเรื่องนี้เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงษ์ จึงทรงขอให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยทำการสอบสวนว่า ผู้ว่าราชการเมืองและกรมการเมืองปล่อยปะละเลยให้เกิดการกระทำผิดหรือไม่ ในเวลาต่อมา กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ได้มีลายพระหัตถ์ลงวันที่ 5 มกราคม ร.ศ. 111 (นับอย่างปฏิทินปัจจุบันคือ พ.ศ. 2436) กราบทูลกรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงษ์ ความว่า ได้ทรงไต่สวนแล้วพบว่า นายอากรบ่อนเบี้ยตามหัวเมืองนั้นใช้ปี้จริง แต่เป็นการใช้แทนเค้า (หมายถึงวัตถุที่ใช้แทนตัวเงิน – ผู้เขียน) ในบ่อน เนื่องจากการใช้เงินปลีกทองแดงแทนเค้านั้น เวลาเล่นเบี้ยนายอากรจะทำการเกี่ยวขอหัวเบี้ยไม่ค่อยสะดวก เพราะเงินปลีกเป็นเหรียญทองแดงที่มีลักษณะแบน การใช้ปี้จะเกี่ยวได้สะดวกกว่า ทั้งนี้เมื่อถึงเวลาเลิกเล่นเบี้ยแล้วก็ให้ผู้เล่นนำปี้มาแลกคืนเป็นเงินปลีกกลับไป ไม่ได้เป็นการตั้งใจใช้ปี้ในการใช้สอยแทนเงินปลีกตามท้องตลาดทั่วไปโดยตรง พระองค์จึงทรงมีพระดำริว่าไม่ควรจะให้เป็นความผิดหนักหนานัก และได้รับสั่งให้เก็บปี้เข้าถุงประทับตรารวมไว้ให้หมด แล้วนำเงินเฟื้องเงินสลึงติดขี้ผึ้งมาใช้แทนปี้ ส่วนตัวผู้ว่าราชการเมืองที่ปล่อยให้นายอากรใช้ปี้นั้น นับว่ามีความผิด โดยทางกระทรวงมหาดไทยจะตัดสินโทษเทียบตามที่กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงษ์ตัดสินโทษของนายอากรต่อไป ซึ่งต่อมากรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงษ์ทรงมีพระดำริว่า กรณีนายอากรบ่อนเบี้ยควรกำหนดภาคทัณฑ์ไว้ครั้งหนึ่งก่อน ต่อไปอย่าคิดใช้ปี้อีก ส่วนผู้ว่าราชการเมืองก็ควรภาคทัณฑ์โทษไว้ให้เอาใจใส่ตรวจตราการกระทำผิดกฎหมายมากกว่านี้เช่นกัน ส่วนเรื่องความลำบากของนายอากรในการเกี่ยวขอหัวเบี้ยนั้น ทางกระทรวงพระคลังมหาสมบัติจะจัดปี้หลวงจำหน่ายให้นายอากรนำไปใช้เป็นเค้าในปี ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) ต่อไปผู้เขียน : นายธัชพงศ์ พัตรสงวน (นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง:1. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ร.5 ค 14.1 ค/2 เรื่อง บ่อนเบี้ยมณฑลฝ่ายเหนือ. [6 พ.ย. – 25 ม.ค. 111].2. “ข้อบังคับสำหรับนายอากรบ่อนเบี้ย.” (ร.ศ. 110). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 8, ตอนที่ 40 (3 มกราคม): 364-368.3. เฉลิม ยงบุญเกิด. (2514). ปี้โรงบ่อน. พระนคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิวพร. (พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายสันต์ รัศมิทัต 1 พฤศจิกายน 2514).4. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (2463). ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 17 ตำนานเรื่องเลิกหวยแลบ่อนเบี้ยในกรุงสยาม. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร. (พิมพ์ในงานศพนางยิ้ม มารดาคุณหญิงอินทรมนตรี ปีวอก พ.ศ. 2463). 5. นวรัตน์ เลขะกุล. (2543). เบี้ย บาท กษาปณ์ แบงก์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สารคดี.6. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน. (2563). ปี้ เบี้ยบ่อน. เข้าถึงเมื่อ 18 กรกฎาคม 2565. เข้าถึงได้จาก https://www.facebook.com/.../pfbid02csKoR9hMnZAbR5j2qUCMW...#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่น จังหวัดตราด. เมืองตราดเพชรแห่งบูรพา. ม.ป.ท.: หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่น จังหวัดตราด, 2541. ๗4 หน้า ภาพประกอบเป็นเรื่องราวของมรดกศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดตราด ที่โรงเรียนสตรีประเสริฐศิลป์ ตระหนักในคุณค่าของการ อนุรักษ์ จึงจัดรวบรวมสาระความรู้ซึ่งประกอบด้วย แหล่งศิลปกรรม บุคคลสำคัญ เหตุการณ์สำคัญ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ประเพณีท้องถิ่น อาหารประจำถิ่น พืชสัตว์ประจำถิ่น สถานที่ท่องเที่ยว เป็นต้นท915.9326ห141ม(ห้องจันทบุรี)
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 62/5ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 80 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อผู้แต่ง -
ชื่อเรื่อง ที่ระลึกพระราชพิธีเปิดพระอนุสาวรีย์พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์พระจันทร์
ปีที่พิมพ์ 2522
จำนวนหน้า 44 หน้า
หมายเหตุ พิมพ์เป็นที่ระลึกพระราชพิธีเปิดพระอนุสาวรีย์ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ณ หาดอรุโณทัย ตำบล ปากตะโก อ.ทุ่งตะโก จ.ชุมพร
รายละเอียด
เนื้อหาสาระประกอบด้วยประวัติการก่อสร้างศาลกรมหลวงชุมพรประประวัติพลเรือเอกพระ
เจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์และพระราชกรณียกิจ
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 152/5 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
โครงการศึกษาเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมเขาสามบาตร ในด้านต่าง ๆ เช่น ความเป็นมาและประวัติศาสตร์พัฒนาการ ขอบเขต คุณลักษณะเด่น สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ สภาพปัจจุบัน ปัญหา และกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
ชื่อผู้แต่ง -
ชื่อเรื่อง รวมประวัติศาสตร์สามพระรัตนธัชมุนี
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์การศาสนา
ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๓
จำนวนหน้า ๙๑ หน้า
หมายเหตุ อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระรัตนธัชมุนี ศรีธรรมราช (แบน คณฺฐาภรณเถร เปรียญ ) วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช ๑๔ กันยายน ๒๕๒๓
หนังสือรวมประวัติศาสตร์สามพระรัตนธัชมุนี เล่มนี้ ได้รวมประวัติพระรัตนธัชมุนี ผู้มีความรู้ ความสามารถ และมีจริยาวัตรอันงดงาม เสียสละและบำเพ็ญประโยชน์ ๓ รูป คือ พระรัตนธัชมุนี ( ม่วง รตนธชเถร เปรียญ ) พระรัตนธัชมุนี ( จู อิสฺสรญาณเถร เปรียญ ) พระรัตนธัชมุนี ( แบน คณฺฐาภรณเถร เปรียญ )
ภูมิบริรักษ์ หมายถึง สิ่งที่มีอิทธิฤทธิ์ปกป้องคุ้มครอง ดูแล รักษามวลมนุษยชาติที่อยู่ในโลกนี้ ทั้งเบื้องบน พื้นแผ่นดิน และใต้หล้าให้มีความสุขสบายมั่งคั่งบริบูรณ์ ปราศจากโรคภัยร้าย หรือความทุกข์ยากอัปมงคลทั้งปวงภูมิบริรักษ์ มาจากคำ ๒ คำ คือ คำว่าภูมิสมาสกับคำว่าบริรักษ์ภูมิ เป็นคำนาม หมายถึง พื้นแผ่นดิน หรือที่ดินซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของมวลมนุษยชาติมายาวนานหลายพันปีบริรักษ์เป็นคำกริยา หมายถึง คุ้มครอง ดูแล รักษา และปกครองภูมิบริรักษ์ เป็นความเชื่อที่สืบทอดมาตามสายธารแห่งอารยธรรมในซีกโลกตะวันออก ซึ่งมีทั้งเทพ อมนุษย์และสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถให้คุณและโทษแก่มนุษย์ได้ เพราะได้รับพรจากเทพเจ้าชั้นสูงและการบำเพ็ญเพียรของตนเองมานานนับพันนับหมื่นปี โดยมีภพภูมิที่อาศัยเป็นหลักแหล่งตามความเชื่อในพุทธศาสนาด้วยความเชื่อถือและศรัทธาอย่างสูงยิ่ง จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ศิลปินรังสรรค์งานศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมที่มีภูมิบริรักษ์อันได้แก่ ครุฑ ยักษ์ และนาค เป็นองค์ประกอบสำคัญด้วยเจตนาแห่งอลังการแต่แฝงด้วยคติอันเป็นความเชื่อและความศรัทธาของบรรพชนที่รักษาสืบทอดต่อกันมาอย่างไม่ขาดสายแม้ว่าต่อมาวิทยาการของโลกเจริญก้าวหน้าเป็นลำดับมนุษย์จึงรับรู้ได้ว่า สรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ย่อมพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในระบบนิเวศวิทยา มิใช่อำนาจอิทธิพลจากเทพเจ้าองค์ใดทั้งสิ้น แต่การอ่อนน้อมต่อธรรมชาติและการไหว้ดีพลีถูกในสมัยอดีตก็สามารถรักษาระบบนิเวศให้สมบูรณ์ และส่งผลต่อความเป็นปกติของมวลมนุษยชาติได้เป็นอย่างดีก็ตาม แต่ความศรัทธาเชื่อถือที่หยั่งรากลึกในใจของมนุษย์ก็ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญให้รักษาขนบเดิมไว้ เพื่อจรรโลงศิลปะและจิตใจภูมิบริรักษ์ทั้ง ๓ หมู่นี้ ต่างมีที่มาและมีอิทธิฤทธิ์ดังปรากฏในคัมภีร์โบราณของแต่ละศาสนาเป็นหลักฐานสืบมาThe World Guardians : Garuda Yaksha NagaPhumborirak (the world guardians) refer to supernatural beings who look after and protect all mankind in the world from malignant illnesses or any sufferings and inauspiciousness and bless humans with prosperity, happiness, and well-being.Phumborirak is a compound word formed by two words, Phum and BorirakPhum is a noun, meaning land or earth where mankind has dwelt upon for thousands of years.Borirak is a verb, meaning to protect, guard well, and govern.Phumborirak is a belief inherited from the Eastern civilization. These supernatural beings include deities, non-human beings, and sacred animals who can be beneficial and be harmful to humans as they receive blessings from deities and attain supernatural power from thousand to ten thousand years of practicing religious austerity. According to Buddhist tradition, these beings reside in different domains.Through strong faith, artists have been creating artworks and architectural works which represent Phumborirak, namely Garuda, Yaksha, and Naga, as an integral part of the works. These works carry both grandeur and traditions which have been passed down from generation to generation.Although scientific discoveries and technological advancement have brought to light the truth that all things in the world depend on each other in ecosystems, not on supernatural power of any deities, the deferential attitude people have held towards nature and the worships they have conducted since ancient times have helped preserve the perfect condition of the ecosystems in the world, resulting in the well-being of mankind. Therefore, the strong beliefs which have been deeply rooted in people’s minds have played a significant role in supporting the preservation of old traditions which results in art conservation and nourishing of minds.The three groups of Phumborirak were mentioned in ancient scriptures of different religions as beings who possess magical power.ภาพ: รูปพิภพแห่งครุฑ ในสมุดภาพไตรภูมิสมัยกรุงศรีอยุธยา เลขที่ ๖ แสดงให้เห็นที่พำนักแห่งครุฑอยู่เชิงเขาพระสุเมรุข้อมูล: สมุดภาพมรดกศิลปวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิบริรักษ์ : ครุฑ ยักษ์ นาค
บทความจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่านเรื่อง "การศึกษาข้อมูลทางโบราณคดีที่คุ้มหลวงเมืองน่าน"ในจุลสารแป้นเกล็ดจุลสารเรื่องราวอาคารเก่า สาระความรู้ ศิลปกรรม สถาปัตยกรรมคณะกรรมการกองทุนเพื่อการอนุรักษ์อาคารเก่าเมืองน่าน แป้นเกล็ด ฉบับที่ ๘ มิถุนายน-สิหาคม ๒๕๖๑อ่านเนื้อหา บทความอื่นๆ ได้ที่ https://www.facebook.com/.../pfbid0xCHf2S3mLVrebMrkdDZAVX...
เลขทะเบียน : นพ.บ.414/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 64 หน้า ; 4.5 x 59 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 147 (71-80) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : สวดมนต์กลาง--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.547/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 36 หน้า ; 4 x 59 ซ.ม. : ลานดิบ-ล่องรัก-รักทึบ-ล่องชาด ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 181 (303-310) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : ลำจตุวีก--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม