ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ
ชื่อเรื่อง สุคนฺธกฏาหทานานิสํสกถา (อานิสงส์ถวายหม้อน้ำคำ)
สพ.บ. 207/7ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 52 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 58 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดกกม่วง ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาดก)ชาตกฎฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (ทานขันธ์-นครกัณฑ์)
สพ.บ. 250/8ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 52 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา--การศึกษาและการสอน ชาดก
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ-ล่องรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
สิงห์คู่สิงห์หรือราชสีห์คู่ หน้าวัดพระธาตุหริภุญชัย เป็นสิงห์ทรงเครื่องขนาดใหญ่ ก่ออิฐฉาบปูน ลักษณะยืนอ้าปากกระดกลิ้น มีเครา หางตั้งม้วนเป็นขดบนกลางหลัง ระบายสีแดงก่ำและตกแต่งลายปูนปั้นสีขาว สร้างขึ้นพร้อมกับซุ้มโขง จากภาพถ่ายเก่าพบว่าเคยมีลวดถักเป็นตาข่ายรัดตัวสิงห์ไว้ไม่ให้ชำรุด พร้อมสร้างศาลามีหลังคาคลุมไว้ชาวล้านนาเรียกสิงห์หน้าวัดว่า “สิงห์ไถ่บาป” ซึ่งการทำรูปสิงห์ให้เป็นผู้เฝ้าศาสนสถานนี้ ตามความเชื่อของอินเดียโบราณมีความเกี่ยวข้องกับราชวงศ์ศรีศากยมุนีขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีสิงห์เป็นรูปสัญลักษณ์ จึงถูกนำมาใช้ประดับตกแต่งงานพุทธศิลป์เกือบทุกส่วน รวมไปถึงการใช้สิงห์เฝ้าดูแลหน้าวัดเสมือนทวารบาล แต่ตำนานของชาวพม่าซึ่งมีอิทธิพลต่อชาวล้านนาในช่วงระยะเวลากว่าสองศตวรรษ มีการผูกเรื่องให้พระธิดาของพระราชาองค์หนึ่งหายไปในป่า แล้วถูกนางสิงห์เลี้ยงดูเหมือนลูกอยู่หลายปี จนพระราชาตามมาพบแล้วพรากพระธิดาจากนางสิงห์มา นางสิงห์กรีดร้องโหยหวนและกลั้นใจตายเพราะไม่สามารถข้ามแม่น้ำติดตามพระธิดาได้ เป็นเหตุให้พระราชาสร้างอนุสาวรีย์นางสิงห์ไว้เพื่อเป็นที่ระลึกและเป็นการขอขมา จึงเรียกว่า “สิงห์ไถ่บาป” สิงห์ที่อยู่หน้าวัดของชาวพม่าและล้านนาจึงมีลักษณะโก่งคอตะโกนร้องเรียกหาพระธิดา จากตำนานดังกล่าวสิงห์ไถ่บาป จะต้องเป็นเพศเมีย แต่สิงห์คู่หน้าวัดพระธาตุหริภุญชัยเป็นสิงห์เพศผู้ ดังในโคลงนิราศหริภุญชัยเรียกว่า “มิคราช” ดังนั้น ตำนานเรื่องสิงห์ไถ่บาปน่าจะเป็นการผูกเรื่องขึ้นภายหลัง เนื่องจากพบสิงห์ไถ่บาปตามวัดต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นใหม่โดยชาวยองที่อพยพมาตั้งถิ่นในลำพูน ก่อนที่จะมีการสร้าง “ขัวมุง” หรือสะพานมีหลังคาคลุมข้ามแม่น้ำกวงไปสู่ฝั่งเวียงยอง บริเวณหน้าวัดพระธาตุหริภุญชัย เดิมเคยมีสะพานชื่อ “ขัวท่าสิงห์” ซึ่งเป็นการเรียกชื่อตามรูปปั้นสิงห์ไถ่บาปที่ตั้งอยู่หน้าวัด ผู้เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุ ชำนาญการภาพ : ๑. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่. ภาพชุด เสด็จประพาสภาคเหนือ พ.ศ. ๒๕๐๑.๒. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่. ภาพชุด การประกวดภาพเก่าเกี่ยวกับจังหวัดลำพูน. อ้างอิง :๑. กรมศิลปากร. ๒๕๕๓. พระธาตุหริภุญชัย. กรุงเทพมหานคร: ถาวรกิจการพิมพ์.๒. กรมศิลปากร. ๒๕๕๗. เที่ยวท่องส่องวัฒนธรรม: ลงใต้-ไปเหนือ. กรุงเทพมหานคร: รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗).
เลขทะเบียน : นพ.บ.181/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 46 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 103 (91-100) ผูก 3 (2565)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันธ์ขันธ์ --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
กฐินานิสํสกถา (อานิสํสกถิน)
ชบ.บ.60/1-1ก
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง มิลินฺทปญฺหาสงฺเขป (มิลินทปัญหา)
สพ.บ. 322/2ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 52 หน้า กว้าง 4.7 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.283/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 119 (248-252) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
สิงห์คู่สิงห์หรือราชสีห์คู่ หน้าวัดพระธาตุหริภุญชัย เป็นสิงห์ทรงเครื่องขนาดใหญ่ ก่ออิฐฉาบปูน ลักษณะยืนอ้าปากกระดกลิ้น มีเครา หางตั้งม้วนเป็นขดบนกลางหลัง ระบายสีแดงก่ำและตกแต่งลายปูนปั้นสีขาว สร้างขึ้นพร้อมกับซุ้มโขง จากภาพถ่ายเก่าพบว่าเคยมีลวดถักเป็นตาข่ายรัดตัวสิงห์ไว้ไม่ให้ชำรุด พร้อมสร้างศาลามีหลังคาคลุมไว้ชาวล้านนาเรียกสิงห์หน้าวัดว่า “สิงห์ไถ่บาป” ซึ่งการทำรูปสิงห์ให้เป็นผู้เฝ้าศาสนสถานนี้ ตามความเชื่อของอินเดียโบราณมีความเกี่ยวข้องกับราชวงศ์ศรีศากยมุนีขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีสิงห์เป็นรูปสัญลักษณ์ จึงถูกนำมาใช้ประดับตกแต่งงานพุทธศิลป์เกือบทุกส่วน รวมไปถึงการใช้สิงห์เฝ้าดูแลหน้าวัดเสมือนทวารบาล แต่ตำนานของชาวพม่าซึ่งมีอิทธิพลต่อชาวล้านนาในช่วงระยะเวลากว่าสองศตวรรษ มีการผูกเรื่องให้พระธิดาของพระราชาองค์หนึ่งหายไปในป่า แล้วถูกนางสิงห์เลี้ยงดูเหมือนลูกอยู่หลายปี จนพระราชาตามมาพบแล้วพรากพระธิดาจากนางสิงห์มา นางสิงห์กรีดร้องโหยหวนและกลั้นใจตายเพราะไม่สามารถข้ามแม่น้ำติดตามพระธิดาได้ เป็นเหตุให้พระราชาสร้างอนุสาวรีย์นางสิงห์ไว้เพื่อเป็นที่ระลึกและเป็นการขอขมา จึงเรียกว่า “สิงห์ไถ่บาป” สิงห์ที่อยู่หน้าวัดของชาวพม่าและล้านนาจึงมีลักษณะโก่งคอตะโกนร้องเรียกหาพระธิดา จากตำนานดังกล่าวสิงห์ไถ่บาป จะต้องเป็นเพศเมีย แต่สิงห์คู่หน้าวัดพระธาตุหริภุญชัยเป็นสิงห์เพศผู้ ดังในโคลงนิราศหริภุญชัยเรียกว่า “มิคราช” ดังนั้น ตำนานเรื่องสิงห์ไถ่บาปน่าจะเป็นการผูกเรื่องขึ้นภายหลัง เนื่องจากพบสิงห์ไถ่บาปตามวัดต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นใหม่โดยชาวยองที่อพยพมาตั้งถิ่นในลำพูน ก่อนที่จะมีการสร้าง “ขัวมุง” หรือสะพานมีหลังคาคลุมข้ามแม่น้ำกวงไปสู่ฝั่งเวียงยอง บริเวณหน้าวัดพระธาตุหริภุญชัย เดิมเคยมีสะพานชื่อ “ขัวท่าสิงห์” ซึ่งเป็นการเรียกชื่อตามรูปปั้นสิงห์ไถ่บาปที่ตั้งอยู่หน้าวัด ผู้เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุ ชำนาญการภาพ : ๑. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่. ภาพชุด เสด็จประพาสภาคเหนือ พ.ศ. ๒๕๐๑.๒. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่. ภาพชุด การประกวดภาพเก่าเกี่ยวกับจังหวัดลำพูน. อ้างอิง :๑. กรมศิลปากร. ๒๕๕๓. พระธาตุหริภุญชัย. กรุงเทพมหานคร: ถาวรกิจการพิมพ์.๒. กรมศิลปากร. ๒๕๕๗. เที่ยวท่องส่องวัฒนธรรม: ลงใต้-ไปเหนือ. กรุงเทพมหานคร: รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗).
วันพฤหัสบดีที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๓๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดี กรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการหนังสือหายากของหอสมุดแห่งชาติ เรื่อง “เยี่ยมเยือนเมืองสยาม ย้อนเวลาไปกับหนังสือหายาก” ณ ห้องวชิรญาณ ๒ - ๓ อาคาร ๒ ชั้น ๑ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ผู้สนใจสามารถ เข้าชมนิทรรศการได้ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า หนังสือหายากของหอสมุดแห่งชาติ มีลักษณะไม่เหมือนกับหนังสือ หายากทั่วไป หนังสือส่วนใหญ่เป็นสมบัติส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ และ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ได้พระราชทาน ประทาน และบริจาคให้หอพระสมุดวชิรญาณ รวมทั้งหนังสือที่หอพระสมุด วชิรญาณจัดพิมพ์และจัดหาให้บริการ หนังสือเหล่านี้แสดงให้เห็นวิวัฒนาการของภาษาและการพิมพ์ บางเล่มมีการผลิตอย่างประณีตสวยงามด้วยวัสดุอันมีค่า บางเล่มมีเนื้อหาเกี่ยวกับวิทยาการต่าง ๆ ในอดีต ซึ่งไม่สามารถหาได้ในหนังสือปัจจุบัน และที่สำคัญที่สุดคือได้แสดงถึงประวัติศาสตร์ วิวัฒนาการด้านการเมือง การปกครอง พระราชกรณียกิจ วัฒนธรรมประเพณี บันทึกการเดินทางของชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย สนธิสัญญาต่าง ๆ บันทึกการเดินทางท่องเที่ยวเยี่ยมเยือนเมืองสยามของพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนประชาชนทั่วไป ซึ่งเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ของชาติไทยที่สำคัญ การจัดแสดงนิทรรศการในครั้งนี้จะทำให้ ผู้เข้าชมนิทรรศการได้รับความรู้และรู้สึกถึงคุณค่าของประวัติศาสตร์ไทย สังคมไทยหลายยุคหลายสมัย และคุณค่าหนังสือหายากของหอสมุดแห่งชาติที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน สำนักหอสมุดแห่งชาติ จัดนิทรรศการ เรื่อง “เยี่ยมเยือนเมืองสยาม ย้อนเวลาไปกับหนังสือหายาก” แบ่งการจัดแสดงออกเป็น ๓ ส่วน ได้แก่ - ส่วนที่ ๑ “หนังสือหา (ไม่) ยาก” จัดแสดงเกี่ยวกับข้อมูลหนังสือหายากของหอสมุดแห่งชาติ คุณค่าและความสำคัญ ลักษณะหนังสือหายาก ๑๒ ประเภท พร้อมตัวอย่างหนังสือประกอบ - ส่วนที่ ๒“เยี่ยมเยือนเมืองสยาม” เนื้อหาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเมืองสยาม ประวัติความเป็นมาของการท่องเที่ยว รูปแบบการเดินทางท่องเที่ยว ประโยชน์ของการเที่ยว การเสด็จประพาสในรัชสมัยต่าง ๆ การท่องเที่ยวทั่วไทย โดยผ่านหนังสือหายาก จัดแสดงหนังสือพร้อมภาพการเดินทางและสถานที่ท่องเที่ยวประกอบ - ส่วนที่ ๓ “เพราะหนังสือจึงรังสรรค์” การนำหนังสือหายากมารังสรรค์และต่อยอด โดยนำไปพัฒนาจัดทำเป็นของที่ระลึกในโอกาสต่าง ๆ ได้แก่ การพิมพ์หนังสือ (Reprint) ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ต้นฉบับและสืบทอดอายุหนังสือให้คงอยู่ต่อไป การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ โดยนำลักษณะเด่นของหนังสือหายากมาสร้างสรรค์เป็นผลงานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เข็มกลัด แฟ้มใส่เอกสาร ไปรษณียบัตร และการส่งเสริมการเรียนรู้ ด้วยการนำเนื้อหาในหนังสือมาประยุกต์เป็นเกมส่งเสริมการเรียนรู้
สุนทรภู่ และนายมี. โคลงนิราศสุพรรณ ฉบับสมบูรณ์ และนิราศสุพรรณ. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2521. โคลงนิราศสุพรรณ ฉบับสมบูรณ์ และนิราศสุพรรณ มีเนื้อหากล่าวถึงโคลงนิราศสุพรรณ และนิราศสุพรรณ โดยโคลงนิราศสุพรรณของสุนทรภู่ กล่าวถึงใจความขณะที่สุนทรภู่ออกเดินทางไปสุพรรณบุรี ส่วนนิราศสุพรรณของนายมี แต่งขึ้นเมื่อคราวที่มีบรรดาศักดิ์เป็นหมื่นพรหมพัตสร นายอากรเมืองสุพรรณบุรี ได้เดินทางไปเก็บอากรที่เมืองสุพรรณ
วัดลัฏฐิกวัน ตำบลชะโนด อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร ตั้งอยู่ริมถนนสายมุกดาหาร-หว้านใหญ่ ด้านทิศเหนือติดกับลำห้วยชะโนด ตามประวัติระบุว่า พระครูบุ นันทวโร เป็นผู้สร้างวัดนี้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ เดิมเป็นวัดป่า ได้มีการปลูกต้นตาลไว้รอบ ๆ วัดจำนวนมาก จึงได้ชื่อว่า “ลัฏฐิกวัน” ซึ่งแปลว่า “สวนตาลหนุ่ม” และยังมีนัยยะถึงสวนตาลที่พระเจ้าพิมพิสารถวายแด่พระพุทธเจ้าอีกด้วย ปัจจุบันชาวบ้านในพื้นที่ยังเรียกวัดนี้ว่า “วัดป่าตาล” ตามสภาพแวดล้อมที่มีต้นตาลจำนวนมาก สิ่งสำคัญที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ได้แก่ อุโบสถ (สิม) หลังเก่า, ศาลาพระพุทธบาทเก่า, ศาลารูปปั้นพิธีศพ
. อุโบสถ (สิม) หลังเก่า เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดเล็ก ขนาด ๓ ช่วงเสา หันหน้าไปทางทิศตะวันตก เป็นรูปแบบสิมโปร่ง มีการก่อผนังปิดทึบด้านทิศตะวันออกเพียงด้านเดียว ซึ่งเป็นด้านหลังพระประธาน ภายในอุโบสถมีพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัยเป็นประธาน และมีพระสาวก (ปัญจวัคคีย์) ทั้ง ๕ นั่งรายล้อมอยู่ ผนังด้านหลังมีภาพจิตรกรรมฝีมือช่างพื้นถิ่น ส่วนหลังคาเป็นเครื่องไม้ทรงจั่วทำปีกยื่นโดยรอบทั้ง ๔ ด้าน มุงสังกะสี ซึ่งเดิมน่าจะเป็นกระเบื้องดินเผา
. ศาลาพระพุทธบาทเก่า เป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส กั้นผนังด้านทิศตะวันออกเพียงด้านเดียวประดับลายปูนปั้น ส่วนเสาศาลาทาสีประดับลวดลายปูนปั้น ส่วนหลังคาทรงปั้นหยาประดับยอดแหลมมุงกระเบื้องดินเผา รอยพระพุทธบาทประกอบด้วยลวดลายมงคล ๑๐๘ ตั้งอยู่บนชุดฐานบัว ก่ออิฐถือปูน
. ศาลารูปปั้นปรินิพพาน สร้างเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคามุงสังกะสี ภายในทำเป็นพระพุทธรูปนอนตะแคงขวา ด้านนอกทำรูปเหล่ากษัตริย์แคว้นต่าง ๆ นั่งในท่วงท่าอาการโศกเศร้า
. ศาลารูปปั้นพิธีศพ เป็นอาคารโถงทรงจตุรมุข ก่ออิฐถือปูน มุงกระเบื้องดินเผา ภายในทำหุ่นจำลองตอนถวายพระเพลิงสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระสาวกและพุทธศาสนิกชนร่วมพิธีโดยรอบ อีกทั้งยังมีวงมโหรีประกอบในงานด้วย ปรากฏศักราชที่หน้าบันด้านทิศตะวันออก พ.ศ. ๒๔๗๙ สันนิษฐานว่าเป็นปีที่สร้าง
. วัดลัฏฐิกวันได้รับประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๑๕ ตอนพิเศษ ๔ง วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๔๑ ระวางเขตพื้นที่ ก ๑ไร่ ๓ งาน ๑๑.๔๘ ตารางวา เขตพื้นที่ ข ๑ งาน ๗๘.๕๓ ตารางวา
------------------------------------------------------
++++ อ้างอิงจาก ++++
. กรมศิลปากร. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดมุกดาหาร. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๔๔. หน้า ๑๔๗.
. สำนักศิลปากรที่ ๑๑ อุบลราชธานี. รายชื่อโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแล้ว จังหวัดมุกดาหาร.เอกสารอัดสำเนา,
๒๕๕๒.
ข้อมูล : กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี
สิปปกร. ศิลปภัณฑ์. พระนคร: แพร่พิทยา, 2502.
ภาพชุด “ศิลปภัณฑ์” เป็นหนังสือภาพที่ได้รวบรวมสิ่งของเครื่องใช้เกี่ยวกับโบราณขัตติยราชประเพณีของพระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อต้องการเผยแพร่ศิลปกรรมไทยและอนุรักษ์ไว้ไม่ให้สูญหาย พร้อมนำเสนอข้อมูลเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับรูปทรง ลักษณะ และประวัติสังเขป
ชื่อเรื่อง สพ.ส.30 บทสวดมนต์ต่างๆประเภทวัสดุ/มีเดีย สมุดไทยขาวISBN/ISSN -หมวดหมู่ ธรรมคดีลักษณะวัสดุ 33; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง ธรรมคดี ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก ประวัติวัดสามทอง ต.ตลิ่งชัน อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 9 ส.ค.2538