ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ

เลขทะเบียน : นพ.บ.411/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 74 หน้า ; 4.5 x 57.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 147  (71-80) ผูก 3 (2566)หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.541/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 34 หน้า ; 4.5 x 51 ซ.ม. : ลานดิบ-ล่องรัก-รักทึบ-ล่องชาด ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 181  (303-310) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : พระธรรมนับชาติ--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อเรื่อง : ชีวประวัติของพลเอก หลวงหาญสงคราม ม.ป.ช.,ม.ว.ม.,ท.จ. (พิชัย หาญสงคราม) ชื่อผู้แต่ง : -ปีที่พิมพ์ : 2512 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ศิวพร จำนวนหน้า : 280 หน้าสาระสังเขป : ชีวประวัติของพลเอก หลวงหาญสงคราม (พิชัย หาญสงคราม) พิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอกหลวงหาญสงคราม เนื้อหาในเล่มกล่าวถึง ชีวประวัติของพลเอกหลวงหาญสงคราม ซึ่งคัดมาจากประวัติราชการของกระทรวงกลาโหม และคำไว้อาลัยจากผู้ใหญ่หลายท่านที่เคยรับราชการร่วมกัน อาทิ ฯพณฯ จอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นต้น เนื้อหาต่อมาได้แก่ประวัติส่วนตัวที่บุตรธิดาคัดมาจากสมุดบันทึกของท่าน เป็นการเล่าถึงชีวิตตั้งแต่เกิด จนถึงเข้ารับราชการเป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งได้สร้างผลงานไว้มากมายทั้งด้านสงครามและด้านราชการอื่นๆ




ถาดตาชั่งโลหะ พร้อมลูกตุ้มน้ำหนัก จากแหล่งเรือจมบางกะไชย 2 แหล่งเรือจมบางกะไชย 2 อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เป็นแหล่งเรือจมที่กองโบราณคดีใต้น้ำ ใช้เวลาในการสำรวจขุดค้นภายในตัวเรือและนอกตัวเรือถึง 5 ครั้ง ครั้งแรกคือปีงบประมาณ 2537 จากนั้นเว้นช่วงระยะเวลาไปและกลับมาทำงานอีกครั้งในปีงบประมาณ 2542 ถึง 2545 ด้วยหลักฐานโบราณวัตถุที่พบทั้งเครื่องถ้วยลายครามของจีนสมัยจักรพรรดิว่านลี่ ในราชวงศ์หมิง ประกอบกับตัวอักษรจีนบนกล่องคันชั่งไม้ และจารึกที่คันฉ่องสำริด สามารถกำหนดอายุแหล่งเรือจมบางกะไชย 2 ได้ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 22 จากการสำรวจขุดค้นแหล่งเรือจมนี้หลายครั้ง ทำให้พบหลักฐานวัตถุเป็นจำนวนมากและมีความแตกต่างหลากหลาย ตามที่ได้เคยนำเสนอในเพจกองโบราณคดีใต้น้ำก่อนหน้านี้ไปบ้างแล้ว วันนี้ขอนำเสนอหลักฐานโบราณวัตถุที่น่าสนใจอีกประเภทหนึ่งที่พบจากแหล่งเรือจมบางกะไชย 2 นี้ จึงขอเชิญติดตาม


  ประพัฒน์  ตรีณรงค์.  ชีวประวัติกวีไทย.  พิมพ์ครั้งที่ 1.  พระนคร: เจริญธรรม, 2499.           เป็นหนังสือที่ได้รวบรวมชีวประวัติกวีไทยที่เป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงในครั้งอดีตไว้รวม 21 คน ด้วยกัน เช่น กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ กรมสมเด็จพระเดชาดิศร พระยาศรีสุนทรโวหาร พระยาตรัง พระมหามนตรี หลวงจักรปวณี หลวงธรรมาภิมณฑ์ หลวงอรรถเกษมภาษา หมาห่วง นายมี เป-โมรา คุณพุ่มเจ้าแห่งสักวาหญิง และคุณสุวรรณ กวีผู้ถูกกล่าวหาว่า “บ้า”  


ชื่อเรื่อง                         ธมฺมบทวณฺณนา ธมฺมบทฏฺฐกถา (ขุทฺทกนิกายฏฺฐกถา) อย.บ.                            327/8 หมวดหมู่                       พุทธศาสนา ลักษณะวัสดุ                   54 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 53 ซม. หัวเรื่อง                         พระธรรมเทศนา                                                                       บทคัดย่อ/บันทึก           เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด ไม้ประกับธรรมดา


อย่างที่เกริ่นไปเดือนที่แล้วนะคะว่า สาระน่ารู้ในแต่ล่ะเดือนต่อจากนี้ ทางอุทยานขอนำเสนอหัวข้อ "จารึก" โดยในเดือนมิถุนายนนี้ทางอุทยานขอนำเสนอสาระน่ารู้เกี่ยวกับข้อมูลสังเขปจารึกสด๊กก๊อกธม หลักที่ 1 เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อเข้าสู่หัวข้อต่างๆ ในตอนถัดไปค่ะ ***โปรดติดตามสาระน่ารู้กันด้วยนะคะ **** ไปชมกันได้เลยค่าาาา หลักศิลาจารึกสด๊กก๊อกธม หลักที่ 1 เป็นจารึกเป็นอักษรขอมโบราณ ภาษาเขมร มีทั้งหมด 2 ด้าน ด้านที่ 1 มี 22 บรรทัด และด้านที่2 มีทั้งหมด 8 บรรทัด ตัวจารึกทำมาจากหินทรายสีแดง กว้าง 22 เซนติเมตร สูง 81 เซนติเมตร หนา 9 เซนติเมตร รูปทรงกลีบบัว จารึกระบุปีมหาศักราช 856 หรือ พุทธศักราช 1480 ในสมัยพระเจ้าชยวรมันที่ 4 จารึกดังกล่าวถูกค้นพบในปีพุทธศักราช 2511 โดยเจ้าหน้าที่กองโบราณคดี กรมศิลปากร ที่บ้านสระแจง ตำบลโคกสูง อำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี หรือปัจจุบันคือ บ้านหนองหญ้าแก้ว ตำบลโคกสูง อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว จารึกสด๊กก๊อกธม 1 ถูกนำมาเก็บรักษาเพื่อแปลข้อความในจารึกที่หอสมุดแห่งชาติเมื่อพุทธศักราช 2511 ต่อมาในปีพุทธศักราช 2529 ได้นำมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และย้ายมาจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ตั้งแต่พุทธศักราช 2561 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี : Prachinburi National Museum


          หนังสือ : ส้มสีม่วง           ผู้เขียน  : ดาวกระจาย           เคยสงสัยหรือไม่? ทำไมเมื่อคนเราโตขึ้น ความฝันและจินตนาการมักจะเหือดแห้งหายไป   มันถูกนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของการเติบโต หรือเวลากลืนกินมันไปทีละน้อย หรือหน้าที่การงานสูบมันออกไปจากเราจนหมด หรือมันไร้ค่าไร้ความสำคัญจนเราต่างลืมเลือนไปทีละน้อย หรือที่จริงมันยังคงอยู่ เพียงแต่ถูกกลบฝังไว้ลึกๆ จนยากที่จะขุดลงไปถึง เอาเข้าจริงๆ แล้ว เหตุผลเหล่านี้ก็ล้วนแต่ไร้ซึ่งจินตนาการอย่างยิ่ง ถ้าอย่างนั้น ความคิดฝันและจินตนาการของมนุษย์หายไปไหนหมด เป็นไปได้ไหมว่ามีใครบางพวกมาขโมยไป ใครซึ่งเราอาจจะมองเห็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันแต่คาดไม่ถึง ใครซึ่งแฝงฝังตัวอยู่ใกล้ๆ เรานี่เอง แต่ไม่มีใครรู้ถึงอันตรายอันใหญ่หลวงของมัน มันค่อยๆ กัดกินความฝันของเราไปทีละน้อย จนถ้าเราไม่ตระหนัก วันหนึ่งก็อาจลืมไปด้วยซ้ำว่าเคยมีฝันอะไรอยู่บ้างในชีวิต            มีแต่เด็กๆ เท่านั้นกระมังที่รู้ถึงพิษสงของมัน เด็กๆ ที่ไม่ได้เล่น ไม่ได้ฝัน ไม่ได้คิดจินตนาการ จะรู้ดีว่าชีวิตช่างแห้งแล้ง จืดชืด และไม่สนุกเอาเสียเลย พวกวายร้ายเหล่านี้จึงกลัวเด็กๆ เป็นพิเศษ เพราะเด็กๆ จะไม่ยอมให้มันขโมยความฝันไป ซ้ำยังจะป่าวประกาศให้ผู้ใหญ่ได้ระวังตัวด้วย และนี่ก็คือหนังสือที่เด็กๆ ช่วยกันเปิดโปงความชั่วร้ายนั้น แต่ก่อนจะเปิดหน้าต่อไป ลองถามตัวเองก่อนว่า โลกเรารูปร่างเหมือนส้มเขียวหวานจริงหรือไม่ ถ้าเชื่อว่าไม่จริง นี่คือหนังสือสำหรับคุณ แต่ถ้าเชื่อว่าจริง หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นเพื่อคุณโดยเฉพาะเลยละ!             รายละเอียดหนังสือ           ห้องบริการ 1 หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ           เลขหมู่ :  895.913 ด436ส


รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล กรมศิลปากร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566



พระราชดำรัส จัดพิมพ์โดยคณะกรรมการประชาสัมพันธ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นพระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันจันทร์ที่ 4 ธันวาคม 2532 ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา


องค์ความรู้สุพรรณบุรี เรื่อง ประเพณีบุญกำฟ้าของไทยพวนผู้เรียบเรียง : นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ


ชื่อเรื่อง                    สพ.ส.61 ตำราดูฤกษ์ยามประเภทวัสดุ/มีเดีย       สมุดไทยดำISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  โหราศาสตร์ลักษณะวัสดุ              40; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง                    ตำราดูฤกษ์ยาม                    ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   ประวัติวัดลาวทอง ต.สนามชัย  อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 15 ส.ค..2538


Messenger