ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,351 รายการ


  ***บรรณานุกรม***  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมราโชวาทและโคลงสุภาษิต พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ท่านเชื้อ ณ สงขลา ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส  วันที่ 3 ธันวาคม พุทธศักราช 2487 พระนคร  โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง 2487


          ลูกปัดแก้วเป็นเครื่องประดับชนิดหนึ่งที่ทำมาจากแก้ว ซึ่งแก้วเป็นวัสดุที่สันนิษฐานว่ามีต้นกำเนิดเมื่อประมาณ ๔,๕๐๐ - ๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว โดยในสมัยโบราณผลิตจากการหลอมส่วนประกอบหลัก ๓ อย่าง รวมกัน ได้แก่           ๑. ซิลิกา (Silica) เป็นส่วนประกอบหลัก ได้แก่ ทราย           ๒. ด่าง (Alkali) เช่น โซเดียมไบคาร์บอนเนตหรือเกลือ Natron ช่วยให้ใช้อุณหภูมิในการหลอมละลายลดลง           ๓. แคลเซียม (Calcium) เช่น ปูนขาวหรือหินปูน ช่วยให้แก้วคงรูปร่าง           นอกจากนี้ยังมีการใส่วัตถุดิบที่ให้เกิดสีอื่นๆ เช่น เหล็กให้สีเขียว คาร์บอนหรือนิเกิลให้สีน้ำตาล โครเมียมให้สีเขียว โคบอลท์ให้สีฟ้า เป็นต้น          จากหลักฐานทางโบราณคดีในประเทศไทยพบลูกปัดแก้วตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์ตอนปลาย โดยสันนิษฐานว่าในช่วงแรกเป็นของนำเข้ามาจากประเทศอินเดีย โดยผ่านการค้าทางทะเลกับชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายริมชายฝั่งทะเลด้านทิศตะวันตกของไทย และค้าขายผ่านเส้นทางการค้าทางบกไปยังชุมชนร่วมสมัยต่างๆ ที่อยู่ห่างไกลจากชายฝั่งทะเล และต่อมาบางชุมชนริมชายฝั่งทะเลด้านทิศตะวันตกของไทยได้ผลิตลูกปัดแก้วขึ้นใช้เอง โดยอาจนำเข้าก้อนแก้ว หรือวัตถุดิบมาผลิต เช่น แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว จ.ชุมพร (อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๕-๑๐) และแหล่งโบราณคดีควนลูกปัด จ.กระบี่ (อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๖-๘) ที่พบหลักฐานเป็นเศษแก้วหลอม และลูกปัดแก้วที่ยังผลิตไม่สมบูรณ์           ที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ได้ขุดค้นพบลูกปัดแก้วอยู่ร่วมกับหลุมฝังศพ โดยพบเป็นลูกปัดแก้วสีต่างๆ ได้แก่ สีเหลือง สีเขียว สีฟ้า สีน้ำเงิน สีแดง และมีรูปทรงต่างๆ ได้แก่ ทรงกระบอกยาว ทรงกลม ทรงกลมแบน ทรงถังเบียร์ ทรงกระบอกยาวแบบหลอดคล้ายตะกรุด และทรงกรวยหัวตัดฐานประกบคู่ (Truncated bicone) โดยเฉพาะทรงกระบอกยาวแบบหลอดคล้ายตะกรุด และรูปทรงทรงกรวยหัวตัดฐานประกบคู่ (Truncated bicone) นี้ พบเฉพาะในแหล่งโบราณคดีกลุ่มวัฒนธรรมบ้านเชียงเท่านั้น และยังไม่พบแหล่งผลิตที่ชัดเจน และจากการที่พบลูกปัดแก้วอยู่ร่วมกับหลุมฝังศพเพียงไม่กี่หลุมเท่านั้น ซึ่งแสดงว่าเป็นเครื่องประดับที่มูลค่าสูงหรือหายากในชุมชนบ้านเชียงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และผู้สวมใส่จะมีสถานภาพทางสังคมสูงด้วย และจากการที่เป็นของนำเข้ามาจากที่อื่นก็แสดงถึงติดต่อสัมพันธ์กับชุมชนอื่นๆ ที่อยู่ร่วมสมัยกันด้วย ............................................อ้างอิง: ผุสดี รอดเจริญ, “การศึกษาแก้วสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายที่พบในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย”, สารนิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ภาควิชาโบราณคดี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๘ วิลภา กาศวิเศษ, “การศึกษาเครื่องประดับที่ได้จากการขุดค้นที่วัดโพธิ์ศรีใน ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๖”, สารนิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (โบราณคดี) ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๖. สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ, เครื่องใช้และเครื่องประดับที่ทำด้วยแก้ว ก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๘, กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๔๙. ................................................. เรียบเรียงโดย: นายวีระเกียรติ สหวรเมธี ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง


หมวดหมู่                        ประเพณีเทศกาลต่างๆภาษา                            บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง                          ไทย                                    ความเป็นอยู่และประเพณีประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    16 หน้า : กว้าง 5ซม. ยาว 56 ซม. บทคัดย่อ                      เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม  ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534


สาระสังเขป     :  บันทึกการท่องเที่ยวประเทศทางฝั่งตะวันออกในเอเชีย ได้แก่ มะลายู ฮ่องกง มะนิลา เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง  เกาหลี ญี่ปุ่น และอินโดจีนผู้แต่ง             :  สิบพันพารเสนอ โสณกุล, หม่อมเจ้าโรงพิมพ์         :  กรมวิชชาธิการปีที่พิมพ์         :  2475ภาษา             :  ไทยรูปแบบ           :  PDFเลขทะเบียน    :  น.32บ.4842จบเลขหมู่           :  915                        ส728ร


หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลี/ไทยหัวเรื่อง                          พุทธศาสนา—บทสวดมนต์                                    บทสวดมนต์                                    พระอภิธรรมประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    24 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม. บทคัดย่อ                      เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากพระครูวิมลสังวร วัดแค ต.รั้วใหญ่ อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี


วันพฤหัสบดีที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๐๐ น. นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการตรวจการรับการจ้างงาน ในโครงการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (บ้านเก่า) ตามสัญญาจ้างเลขที่ ๑๘/๒๕๖๒ ประจำงวดที่ ๗ และงวดที่ ๘ พร้อมทั้งตรวจงานความคืบหน้าโครงการก่อสร้างอาคารจัดแสดง(หลังใหม่) โดยมีนางสาวอัจฉรา แข็งสาริกิจ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องร่วมการประชุม ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (บ้านเก่า) ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี



ชื่อผู้แต่ง  มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระชื่อเรื่อง  บทละครพูดเรื่องเสียสละ บทละครพูดเรื่องเรื่องหัวใจนักรบและหัวใจชายหนุ่มครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๔สถานที่พิมพ์  กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์บุรินทร์การพิมพ์ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๘จำนวนหน้า ๓๒๓ หน้าหมายเหตุ –          บทละครพูดเรื่องเสียสละ ได้กล่าวถึงความเสียสละในความรัก แต่ผู้ที่เสียสละก็ได้รับผลสมกับที่ได้ตั้งใจไว้        บทละครพูดเรื่องหัวใจนักรบ เรื่องนี้นับว่าเป็นเรื่องเยี่ยมในเชิงปลุกใจให้รักชาติ วรรณคดีสโมสรได้ยกย่องให้เป็นยอดแห่งบทละครพูด แสดงถึงคุณประโยชน์ของเสือป่าและลูกเสือ        หัวใจชายหนุ่ม ได้กล่าวถึงจดหมายที่ชายหนุ่มไทย ที่มีโอกาสไปศึกษาวิชาการ ณ ประเทศในยุโรป เขียนจดหมายมาถึงเพื่อน แสดงความเห็นและทำให้ทราบถึงความเป็นไปต่างๆในการศึกษา ณ ต่างประเทศในสมัยนั้น



วณิชชา วัฒนพงศ์.chanthaburiจันทบุรี...เมืองต้องห้ามพลาด.จันท์ยิ้ม.(3):1;ต.ค.-พ.ย.2560.           จันทบุรี เป็นเมืองเล็ก ๆ ที่น่ารัก มีอัตลักษณ์วิถีถิ่นที่ยังคงสืบทอดสู่วิถีชีวิตที่มองเห็นได้ในปัจจุบันของชุมชนต่าง ๆ สร้างสรรค์ใหเกิดเส้นทางท่องเที่ยวเก๋ไก๋ สไตลิวิถีจันท์ เช่น ชุมชนริมน้ำจันทบูร ชุมชนขนมแปลกริมคลองหนองบัว ชุมชนตะปอน ชุมชนคนน้ำตื้นบางสระเก้า ชุมชนตำนานพลอยบางกะจะ วิถีชาวสวน อาหารถิ่นเมืองจันท์



วิบูล  ธรรมวิทย์.  อาชญาวิทยา.  พิมพ์ครั้งที่ ๒.  กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์ รสพ. , ๒๔๙๘.       เป็นหนังสือที่อธิบายถึงลักษณะธรรมชาติของมนุษย์ทั่วไป และพื้นฐานของผู้ที่เป็นอาชญากร  ได้แก่ กรรมพันธุ์ อารมณ์ สภาวะครอบครัว สัมพันธภาพในสังคม สภาพท้องที่และความเป็นอยู่  แนะนำวิธีการป้องกันอาชญากรรม การลงโทษของผู้กระทำความผิดทางกฏหมาย การรอลงอาญา การปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง การใช้แรงงานผู้ต้องขัง  การนำผู้กระทำผิดมาเข้ารับการอบรม ฟื้นฟูบำบัดจิตใจให้กลับไปสู่สังคมที่ดี



ชื่อเรื่อง : เอกสารประกอบการเสวนาทางวิชาการ เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย 2553 “ข้อมูลใหม่ก่อนประวัติศาสตร์น่าน : ลำพูน” ผู้แต่ง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ลำพูน กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2553 สถานที่พิมพ์ : ลำพูน สำนักพิมพ์ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ลำพูน


Messenger