ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ
“สวรรคโลก” ชื่อนี้มีที่มาเรื่องราวของเมืองสวรรคโลกสืบย้อนไปได้ถึงราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ในนาม “เมืองเชลียง” ตามที่ปรากฏในเอกสารของล้านนาและพงศาวดารจีนสมัยราชวงศ์ซ่ง โดยมีศูนย์กลางอยู่บริเวณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง จนเมื่อมีการสถาปนากรุงสุโขทัยในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัยได้ตั้งเมืองเชลียงหรือ “เมืองศรีสัชนาลัย” เป็นเมืองลูกหลวงและเป็นเมืองสำคัญคู่กับเมืองสุโขทัย ก่อนที่จะมีการย้ายศูนย์กลางอำนาจของเมืองศรีสัชนาลัยไปยังบริเวณที่ราบติดเชิงเขาทางด้านเหนือซึ่งเชื่อว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช (พ.ศ. ๑๘๒๒ – ๑๘๔๑) เมืองศรีสัชนาลัยเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ และมีพัฒนาการการผลิตเครื่องปั้นดินเผาจนกลายเป็นอุตสาหกรรมสำคัญในเวลาต่อมา กระทั่งอาณาจักรสุโขทัยตกอยู่ท่ามกลางการแผ่ขยายอำนาจระหว่างกรุงศรีอยุธยาและล้านนาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๐ เป็นต้นมา ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้เอง อยุธยาได้เรียกขานเมืองศรีสัชนาลัยในนาม “เมืองสวรรคโลก” โดยพบหลักฐานปรากฏชื่อเมืองสวรรคโลกที่เก่าที่สุดในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พ.ศ. ๒๐๙๑ – ๒๑๑๑) ซึ่งนักวิชาการส่วนใหญ่สันนิษฐานว่าชื่อเมืองสวรรคโลกอาจเป็นที่มาของคำว่า “สังคโลก” ที่เป็นชื่อเรียกเครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตขึ้นที่เมืองศรีสัชนาลัยและเมืองสุโขทัย อันเป็นสินค้าส่งออกสำคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในขณะที่อาณาจักรล้านนาเรียกขานชื่อเมืองนี้ว่า “เมืองเชียงชื่น”แม้ชื่อเมืองสวรรคโลกจะมีมาอย่างยาวนาน แต่สถานที่ตั้งในปัจจุบันกลับไม่ได้เป็นที่ตั้งเดิมของเมืองสวรรคโลกในอดีตเนื่องจากภายหลังการเสียกรุงครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ เมืองสวรรคโลกถูกทิ้งร้างไป ผู้คนอพยพหนีสงครามไปคนละทิศละทาง แม้จะมีความพยายามรวบรวมผู้คนกลับมาสร้างเมืองขึ้นใหม่ในสมัยธนบุรีก็ตาม เมืองสวรรคโลกก็ยังมีผู้คนเพียงเล็กน้อยไม่เพียงพอที่จะรักษาเมืองได้อย่างเข้มแข็ง เหตุนี้ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) จึงโปรดเกล้าฯ ให้อพยพชาวเมืองมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านท่าชัยระยะหนึ่ง แล้วจึงย้ายมายังบ้านวังไม้ขอนเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๙ ซึ่งถือเป็นการตั้งบ้านตั้งเมืองอย่างถาวรและเรียกขานนามเมือง “สวรรคโลก” ตามถิ่นฐานเดิมที่อพยพโยกย้ายมาก่อนจะกลายมาเป็นจังหวัดสวรรคโลกและอำเภอสวรรคโลกในปัจจุบัน
ตรัง, พระยา. วรรณคดีพระยาตรัง. พิมพ์ครั้งที่ 4. พระนคร : กรมศิลปากร, 2515. วรรณคดีพระยาตรัง เล่มนี้ มีเนื้อหากล่าวถึงบทประพันธ์จำนวน 5 เรื่อง ไว้ด้วยกัน ได้แก่ 1) โครงนิราศพระยาตรัง ซึ่งแต่งเมื่อคราวไปทัพเมืองถลาง ซึ่งพม่ายกทัพมาตีเมืองชุมพรและเมืองถลาง ใน พ.ศ. 2352 2) โคลงนิราศตามเสด็จทัพลำน้ำน้อย แต่งขึ้นเมื่อคราวตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ไปตีทวายใน พ.ศ. 2330 3) โคลงดั้นเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย 4) เพลงยาวพระยาตรัง และ 5) โคลงกวีโบราณ
วัดนรวราราม หมู่ ๘ บ้านหนองโอ ตำบลโนนยาง อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร มีสิ่งสำคัญ คือ อุโบสถ (สิม) วัดนรวราราม เป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอิทธิพลญวน (เวียดนาม) กำหนดอายุการก่อสร้างจากศักราชที่ระบุไว้ที่หน้าบันด้านหน้าอุโบสถ (สิม) ว่า พ.ศ. ๒๔๗๑
. อุโบสถ (สิม) ตัวอาคารมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๔ เมตร มีบันไดทางขึ้นด้านหน้าผายออก ราวบันไดทำเป็นพญานาคศิลปกรรมแบบอีสานพื้นถิ่น ตัวอาคารก่ออิฐถือปูนขนาด ๓ ห้อง มีมุขโถงด้านหน้าและราวโดยรอบมุขโถงทำเป็นเสาหลอกประดับวงโค้ง เหนือวงโค้งประดับกระจกเป็นลายริ้วสีเหลือง แดง เขียว และกระจกเงาทรงกลมในกรอบขนาดเล็ก ส่วนหน้าบันด้านหน้าเขียนสีรูปพญาครุฑในกรอบวงโค้งประดับเสาหลอก สองฝากข้างเขียนลายต้นไม้ บานประตูอุโบสถเป็นไม้แกะสลักนูนต่ำลายพันธุ์พฤกษา เหนือประตูเป็นซุ้มโค้งเขียนลายเส้นรูปดอกบัวและดอกไม้ประดับกระจกเงาเป็นวงกลมขนาดเล็ก ผนังด้านข้างมีหน้าต่างด้านละ ๑ ช่อง ฝ้าเพดานทำด้วยไม้ หลังคาเป็นเครื่องไม้ซ้อนกัน ๓ ชั้น มุงด้วยไม้แป้นเกล็ด ครอบหลังคาทำด้วยไม้แกะสลักไว้กึ่งกลางสันหลังคา โหง่ว (ช่อฟ้า) เป็นรูปหัวหงส์ ใบระกา และหางหงส์ทำเป็นรูปนาค แผงปิดคอสองแกะสลักเป็นรูปพญานาค รูปบุคคล รูปดอกไม้ กลางดอกไม้ประดับกระจกเงาวงกลมและทาสี เชิงชายแกะสลักเป็นรูปนาคเกี้ยวและทาสี ภายในอุโบสถมีพระประธานปูนปั้นฝีมือช่างท้องถิ่น
. กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ ๑๑ อุบลราชธานี (สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี ในปัจจุบัน) ได้จัดสรรงบประมาณมาดำเนินการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๕ และอุโบสถ(สิม) วัดนรวราราม ได้รับประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒ ตอนพิเศษ ๑๒๖ง วันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ ขอบเขตพื้นที่ประมาณ ๑ ไร่ ๘๕ ตารางวา
-------------------------------------------------------------------
+++อ้างอิงจาก+++
. กรมศิลปากร. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดมุกดาหาร. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๔๔. หน้า ๑๔๖.
. สำนักศิลปากรที่ ๑๑ อุบลราชธานี. รายชื่อโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแล้ว จังหวัดมุกดาหาร. เอกสารอัดสำเนา
, ๒๕๕๒.
ข้อมูล : กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี
ยานสำรวจก็เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้สำหรับการสำรวจแหล่งเรือจม หรือแหล่งโบราณคดีใต้น้ำ ของกองโบราณคดีใต้น้ำ ซึ่งยานสำรวจนั้น มีข้อดีหลักๆ คือช่วยลดอัตราความเสี่ยงของบุคคลากรกองโบราณคดีใต้น้ำในการลงดำน้ำเพื่อการสำรวจในพื้นที่ที่มีความลึก นอกจากนี้ ยังมีข้อดีอีกหลายอย่าง รวมถึงมีส่วนประกอบที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานจำนวนหลายส่วน ซึ่งสามารถรับชมได้จากภาพประกอบ
-------------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : กองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร
https://www.facebook.com/100069197290106/posts/288142626835645/?d=n
พระเสด็จสุเรนทราธิบดี (เปีย มาลากุล), เจ้าพระยา. สมบัติของผู้ดีพร้อมคำอธิบายประโยคประถมศึกษา ตอนปลาย. พิมพ์ครั้งที่ 8. พระนคร: โรงพิมพ์คุรุสภา, 2513.
หนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่องสมบัติของผู้ดีพร้อมคำอธิบายประโยคประถมศึกษาตอนปลาย เป็นผลงานของเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) เป็นหนังสือเกี่ยวกับหลักปฏิบัติ 10 ประการ ของผู้มีความประพฤติดีทั้งทางกาย วาจา และความคิด แบ่งเนื้อหาออกเป็น 10 บท ในแต่ละบทจะกล่าวถึงหลักปฏิบัติแต่ละประการโดยแยกย่อยเป็นกายจริยา วจีจริยา และมโนจริยา ซึ่งเป็นแนวทางในการอบรมบ่มเพาะนิสัยโดยใช้ภาษาและข้อความที่เข้าใจง่าย เหมาะสำหรับเด็กนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : การธนาณัติในเมืองเหนือ -- ในโลกยุคเทคโนโลยีเช่นในปัจจุบัน การรับ-ส่งเงิน หรือการทำธุรกรรมใดๆ ทางการเงิน ย่อมเป็นเรื่องที่ง่ายแค่ปลายนิ้วสัมผัสเท่านั้น หากแต่คนในอดีตกลับมีประสบการณ์ที่แตกต่าง เพราะพวกเขาต้องพึ่งพาบริการรับ-ส่งเงินผ่านทางไปรษณีย์ซึ่งเป็นบริการที่มีความสะดวกสบายที่สุดในสมัยนั้น นั่นคือบริการธนาณัตินั่นเอง เดิมทีแล้วการรับ-ส่งเงินในสมัยก่อน พ่อค้าจะนิยมส่งเงินไปให้ผู้รับโดยสอดไปในซองจดหมาย แต่วิธีการนี้ไม่ปลอดภัย เพราะมักทำให้เงินสูญหายไปในระหว่างทาง ด้วยเหตุนี้กรมไปรษณีย์โทรเลขจึงได้เปิดบริการธนาณัติขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกในการรับฝากส่งเงินของประชาชนให้มีความปลอดภัยและเกิดความสะดวก ซึ่งการฝากส่งเงินทางธนาณัตินั้น ผู้ฝากส่งเงินจะต้องกรอกข้อความและจำนวนเงินลงในใบฝากส่งเงินธนาณัติ ใบธนาณัตินี้จะถูกส่งไปถึงผู้รับทางไปรษณีย์ เรียกว่า ไปรษณีย์ธนาณัติ แต่หากต้องการส่งด่วนจะส่งไปทางโทรเลขก็ได้ เรียกว่า โทรเลขธนาณัติ กรมไปรษณีย์โทรเลขเริ่มเปิดการธนาณัติโดยตรงกับต่างประเทศก่อนกับดินแดนสเตรตส์เซตเทิลเมนต์ (Straits Settlements) ฮ่องกง มาเก๊า และญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2431 ต่อมาจึงได้เปิดการธนาณัติในประเทศขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2440 โดยเปิดบริการรับฝากส่งเงินระหว่างกรุงเทพฯ กับเมืองพิษณุโลก เฉพาะบริการไปรษณีย์ธนาณัติเพียงอย่างเดียว จำกัดวงเงินรับฝากอย่างสูงฉบับละไม่เกิน 80 บาท สำหรับหัวเมืองในภาคเหนือนั้น ในระยะแรกมีการเปิดการธนาณัติขึ้นที่เมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2440)ตามด้วยเมืองนครลำปาง (พ.ศ. 2444) เมืองเชียงรายและเมืองน่าน (พ.ศ. 2450) ตามลำดับ ซึ่งเหตุผลที่มีการเปิดการธนาณัติในหัวเมืองต่างๆ นั้น เราอาจสืบทราบได้จากข้อมูลในเอกสารจดหมายเหตุ ดังตัวอย่างที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ ข้อมูลจากเอกสารจดหมายเหตุ ชุดกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงโยธาธิการ ระบุว่า เมื่อปี พ.ศ. 2453 กระทรวงโยธาธิการได้มีหนังสือกราบทูล พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสมมตอมรพันธุ์ ราชเลขานุการ ความว่า กรมไปรษณีย์โทรเลขได้รายงานมาว่า ที่เมืองแพร่ในมณฑลพายัพ และเมืองอุตรดิตถ์ในมณฑลพิษณุโลก มีความเจริญขึ้นมากกว่าแต่ก่อน จึงสมควรที่เปิดการไปรษณีย์โทรเลขธนาณัติ (กล่าวคือมีทั้งบริการไปรษณีย์ธนาณัติ และโทรเลขธนาณัติ - ผู้เขียน) ขึ้นที่เมืองทั้งสองแห่งนี้ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ราชการและมหาชนที่ฝากส่งเงินไปมาถึงกัน พร้อมกันนี้ได้ถวายร่างประกาศเปิดการรับส่งไปรษณีย์โทรเลขธนาณัติมาพร้อมกัน เมื่อความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระบรมราชานุญาตให้เปิดการไปรษณีย์โทรเลขธนาณัติที่เมืองแพร่และเมืองอุตรดิตถ์ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ร.ศ. 129 (พ.ศ. 2453) และนับตั้งแต่นั้นมา ประชาชนในหัวเมืองภาคเหนือจึงคุ้นเคยกับบริการรับ-ส่งเงินทางไปรษณีย์ที่เรียกว่า “ธนาณัติ” จวบจนศตวรรษต่อมาที่ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาแทนที่การทำธุรกรรมทางการเงินในรูปแบบเดิมผู้เขียน: นายธัชพงศ์ พัตรสงวน (นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา) เอกสารและข้อมูลอ้างอิง:1. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงโยธาธิการ ร.5 ยธ 3.4/11 เรื่อง ประกาศเปิดใช้ไปรสนีย์โทรเลขธนาณัติระหว่างเมืองแพร่ เมืองอุตรดิฐ กับกรุงเทพฯ. [14 – 15 มิ.ย. 129].2. กรมไปรษณีย์โทรเลข. ประวัติและวิวัฒนาการกรมไปรษณีย์โทรเลข ครบรอบ 80 ปี พ.ศ. 2426 – 2506. พระนคร: โรงพิมพ์ธนาคารออมสิน, 2506.3. “แจ้งความกรมไปรสนีย์สยาม ว่าด้วยการส่งไปรสนีย์ธนาณัติไปถึงเมืองเชียงใหม่.” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 13 ตอนที่ 37 [13 ธันวาคม 115]: 453.4. “ประกาศกระทรวงโยธาธิการ แพนกกรมไปรสนีย์โทรเลข ว่าด้วยการรับฝากเงินแลจ่ายเงินธนาณัติ ระหว่างนครลำปางกับกรุงเทพฯ.” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 18 ตอนที่ 4 [28 เมษายน 120]: 45-46. 5. “ประกาศกระทรวงโยธาธิการ แพนกไปรสนีย์โทรเลข.” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 24 ตอนที่ 20 [18 สิงหาคม 126]: 515.6. “ประกาศกระทรวงโยธาธิการ แพนกไปรสนีย์โทรเลข.” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 27 ตอน ง [19 มิถุนายน 129]: 486-487.#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 56/7ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 96 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
วันนี้ (วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๕) เวลา ๑๐.๐๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ตรวจเยี่ยมความพร้อมในการเปิดให้บริการอาคารเครื่องทองอยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วยนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายประทีป การมิตรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีนายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร สำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ให้การต้อนรับ
อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวรายงานความเป็นมาของอาคารเครื่องทองอยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยาว่า ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๗ กรมศิลปากรมีนโยบายปรับปรุงและพัฒนา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา โดยการจัดสร้างอาคารหลังใหม่ สำหรับจัดแสดงโบราณวัตถุประเภทเครื่องทองอยุธยาที่ค้นพบในแหล่งโบราณคดีจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้อยู่ในรูปแบบที่น่าสนใจ ทันสมัย และได้มาตรฐานตามหลักพิพิธภัณฑสถานสากล เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของพิพิธภัณฑ์ในฐานะแหล่งเรียนรู้ทางมรดกศิลปวัฒนธรรมแก่สถาบันครอบครัวและสถาบันการศึกษา รวมทั้งเป็นการสร้างภาพจำและความประทับใจให้แก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ในฐานะพิพิธภัณฑ์ที่บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ โบราณคดีที่ยิ่งใหญ่ในอดีตของไทย
อาคารเครื่องทองอยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐ โดยนายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมในขณะนั้น ลักษณะเป็นอาคารไทยประยุกต์ ๒ ชั้น มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ ๓,๒๗๕ ตารางเมตร แบ่งเนื้อหาการจัดแสดง ออกเป็น ๓ ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ ๑ จัดแสดงเครื่องทองจากวัดราชบูรณะ ประเภทเครื่องราชกกุธภัณฑ์ เครื่องสูง เครื่องราชูปโภคและเครื่องถนิมพิมพาภรณ์ ส่วนที่ ๒ จัดแสดงเครื่องทองจากวัดราชบูรณะ ประเภทเครื่องพุทธบูชา เครื่องอุทิศ และพระบรมสารีริกธาตุ รวมถึงกรุจำลองวัดราชบูรณะ ส่วนที่ ๓ จัดแสดงเนื้อหาเกี่ยวกับคติการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพระบรมสารีริกธาตุที่พบในโบราณสถานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ พระปรางค์วัดพระราม พระปรางค์วัดมหาธาตุ เจดีย์วัดพระศรีสรรเพชญ์ และเจดีย์ศรีสุริโยทัย จำนวนโบราณวัตถุที่จัดแสดงภายในอาคารเครื่องทอง มีจำนวนทั้งสิ้น ๒,๒๔๔ รายการ โบราณวัตถุชิ้นเด่น อาทิ พระแสงขรรค์ชัยศรี พระคชาธารจำลอง จุลมงกุฎ พระสุวรรณมาลา บัดนี้ อาคารเครื่องทองอยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา พร้อมเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๕ เป็นต้นไป โดยระหว่างวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๒ มกราคม ๒๕๖๖ ไม่เก็บค่าธรรมเนียมเข้าชมเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ ทั้งนี้ ผู้ที่เข้ามาใช้บริการจะได้รับความรู้เกี่ยวกับเครื่องทองอยุธยามากยิ่งขึ้น ตลอดจนเกิดความภาคภูมิใจและความตระหนักในการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมของประเทศชาติต่อไป
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 61/7ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 34 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อผู้แต่ง สัน ท. โกมลบุตร
ชื่อเรื่อง เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติของกระทรวงการทหารเรือ ฝรั่งเศษ เกี่ยวกับประเทศสยาม ค.ศ. ๑๖๘๔ – ๑๖๙๙ ( พ.ศ.๒๒๒๗ – ๒๒๔๒ )
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์การศาสนา
ปีที่พิมพ์ 2524
จำนวนหน้า 447 หน้า
รายละเอียด
เป็นหนังสือที่บันทึกความสัมพันธ์ธไมตรีระหว่างประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศส ในสมัย
อยุธยา โดยแปลจากหนังสือ Archives Nationa’es อันเป็นเอกสารสำคัญ ทางประวัติศาสตร์แห่งชาติของกระทรวงทหารเรือประเทศฝรั่งเศษ เกี่ยวกับประเทศไทย ค.ศ.๑๖๘๔-๑๖๙๙ ( พ.ศ. ๒๒๒๗ – ๒๒๕๒ ) สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 151/7 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
อภิธมฺมตฺถสงฺคห (อภิธมฺมสงฺคห) ชบ.บ 179/1ฏ เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)