ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,351 รายการ




ศิลาจารึกเขาพระนารายณ์ (จารึกหลักที่ ๒๖) วัสดุ : หิน อักษร/ภาษา : อักษรปัลลวะ ภาษาทมิฬ อายุ : ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑ สถานที่พบ : บริเวณที่พระนารายณ์ ตำบลกะปง อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ปัจจุบัน จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง จังหวัดภูเก็ต คำจารึก ๑…รวรฺมนฺ กุ (ณ) … ๒ (ม)านฺ ตานฺ นงฺคูรไฑ… ๓ (ตฺ) โตฏฺฏ กุฬมฺ เปรฺ ศฺรี (อวนิ) ๔ นารณมฺ มณิกฺกิรามตฺตารฺ (ก) ๕ (กุ) มฺ เศณามุคตฺตารฺกฺกุมฺ ๖ (มุฬุ)ทารฺกฺกุมฺ อไฑกฺกลมฺ คำแปล สระชื่อศรีอวนินารณัม ซึ่ง………….รวรรมัน คุณ………. ได้ขุดเอง ใกล้ (เมือง) นงคูร อยู่ในการรักษาของสมาชิกแห่ง มณิครามแลกองทัพระวังหน้า กับชาวไร่ชาวนา…………… (ศาสตราจารย์ ฮูล์ช สันนิษฐานว่า นงคูรเป็นชื่อตำบลที่พวกทมิฬตั้งอยู่ใกล้เมืองตะกั่วป่าทุกวันนี้ ชื่อผู้ขุดสระบางทีอาจเป็นภาสกวรรมัน)            ในจารึก กล่าวถึง สมาชิกแห่งมณิคราม            มณิคราม หรือ มณีคราม คือ หนึ่งในสมาคมพ่อค้าชาวอินเดียที่มีบทบาทการค้าที่เข้มแข็งในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๙ ในบริเวณที่ปัจจุบันเป็น กรณาฏกะ ทมิฬนาฑู อานธรประเทศตอนใต้ และบริเวณแนวยาวของชายฝั่งโคโรมันเดล บางยุคสมัยสามารถแผ่อิทธิพลไปถึงเกรละ และฝั่งทะเลทางด้านตะวันตกของอินเดีย ผู้คนในบริเวณนี้ส่วนใหญ่ใช้ภาษาทมิฬ สมาคมพ่อค้ามณิครามค่อนข้างผูกพันกิจการอยู่กับอำนาจของทมิฬโดยตรง เมื่อหมดอำนาจของพวกทมิฬในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙ สมาคมนี้ก็สลายตัวลง            จากหลักฐานจารึกที่พบ อาจกล่าวได้ว่า สมาชิกแห่งมณิคราม หรือสมาคมพ่อค้าของชาวทมิฬจากอินเดียใต้บางส่วนน่าจะมีบทบาทอยู่ในภาคใต้ของไทยในช่วงเวลาที่ชุมชนโบราณตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ได้เจริญขึ้นเป็นเมืองท่าสำคัญทางฝั่งทะเลอันดามัน โดยน่าจะเป็นกลุ่มชาวทมิฬที่น่าจะนับถือไวษณพนิกายซึ่งสอดคล้องกับการพบประติมากรรมในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไวษณพนิกาย ในชุมชนโบราณดังกล่าว            ศิลาจารึกเขาพระนารายณ์ (จารึกหลักที่ ๒๖) ซึ่งมีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ถือเป็นศิลาจารึกอักษรปัลลวะที่เก่าที่สุดในประเทศไทย โดยมีอายุร่วมสมัยกับศิลาจารึกหุบเขาช่องคอย จังหวัดนครศรีธรรมราช จารึกเยธฺมาฯ ๑ และ ๒ จังหวัดนครปฐม จารึกเมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ และจารึกเหรียญเงินเมือง พรหมทิน จังหวัดลพบุรี ----------------------------------------ค้นคว้า/เรียบเรียงข้อมูล: น.ส.สุขกมล วงศ์สวรรค์ ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ----------------------------------------อ้างอิง : - กรมศิลปากร. จารึกในประเทศไทย เล่ม ๑ อักษรปัลลวะ อักษรหลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๔. พิมพ์ครั้งที่ ๒. แก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร,๒๕๕๙. - ธิดา สาระยา,ดร. ประวัติศาสตร์มหาสมุทรอินเดีย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๕๔.


ผู้แต่ง : หลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก) ฉบับพิมพ์ :พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2556 หมายเหตุ : -                  พหลาคาวีคำฉันท์ เป็นผลงานประพันธ์ของหลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก) กวีที่มีความสามารถสูงยิ่งผู้หนึ่งในสมัยกรุงรัตน์โกสินทร์ พหลาคาวีคำฉันท์มีที่มาจากปัญญาสชาดกเรื่องพหลาคาวีชาดก ซึ่งเป็นนิทานเก่าแก่ของไทยที่พระภิกษุชาวล้านนานำมาแต่งเป็นชาดกเมื่อราวปีพุทธศักราช 2000-2200 หลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก) นำเอาเรื่องพหลาคาวีชาดก มาแต่งเป็นคำฉันท์ ประกอบด้วยคำประพันธ์ 6 ชนิด ได้แก่ อินทรวิเชียรฉันท์ 11 โตฎกฉันท์ 12 วสันตดิลกฉันท์ 14 ฉบังกาพย์ 16 สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ 19 และสุรางคนางค์กาพย์ 28


ในเดือนตุลาคมเป็นเดือนที่ปวงชนชาวไทยได้สูญเสียดวงใจผู้เป็นที่รักยิ่งเหนือสิ่งใด จากเหตุการณ์ที่ต้องสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ถึง 4 ครั้งด้วยกัน คือ - 1 ตุลาคม 2411 : พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เสด็จสวรรคต ภายหลังพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จฯ ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่บ้านหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตามที่พระองค์ทรงคำนวณไว้อย่างแม่นยำ และเสด็จกลับพระนครได้เพียงไม่นาน พระองค์เริ่มมีพระอาการประชวรจับไข้และทรงทราบว่าพระอาการจะไม่หาย จึงได้มีพระบรมราชโองการให้พระราชวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ 3 คน เข้าเฝ้าฯ พร้อมกันที่พระแท่นบรรทม เพื่อมอบพระราชกิจในการดูแลพระนคร ก่อนจะเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งภานุมาศจำรูญ ภายในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง เวลาทุ่มเศษ ตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม           พ.ศ. 2411 รวมพระชนมพรรษา 64 พรรษา รวมดำรงสิริราชสมบัติ 16 ปี 6 เดือน ในกาลต่อมาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชโอรสพระองค์ที่ 9 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 5 สืบต่อไป - 23 ตุลาคม 2453 : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ได้เกิดเหตุการณ์ที่สร้างความเศร้าโศกให้กับประเทศไทยครั้งใหญ่หลวง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระประชวรด้วยโรคพระวักกะ (ไต) เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต รวมพระชนมพรรษาได้ 58 พรรษา ครองราชสมบัตินานถึง 42 ปี           เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกษัตริย์ที่เป็นที่เคารพรักของทวยราษฎร์ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอเนกประการ ทั้งในการปกครองบ้านเมืองและพระราชทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ชนทุกหมู่เหล่า ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่าง ๆ อันก่อให้เกิดคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ ให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์ และสามารถธำรงเอกราชไว้ตราบจนทุกวันนี้ ทวยราษฎร์ทั้งปวงจึงน้อมใจแสดงความจงรักภักดี ด้วยการถวายพระราชสมัญญานามว่า "พระปิยมหาราช" หรือพระพุทธเจ้าหลวง และกำหนดให้ทุกวันที่ 23 ตุลาคม เป็นวันปิยมหาราช เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน - 24 ตุลาคม 2556 : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สิ้นพระชนม์ เมื่อช่วงค่ำของวันที่ 24 ตุลาคม 2556 ชาวพุทธได้รับทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องจากติดเชื้อในกระแสพระโลหิต ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ รวมพระชันษา 100 ปี นับเป็นพระสังฆราชที่ทรงดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดถึง 23 ปี และทรงมีพระชันษายืนยาวที่สุดในประวัติคณะสงฆ์ไทย           เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความโศกเศร้าอาดูรให้แก่ชาวพุทธทั่วโลกเป็นอย่างยิ่ง เพราะตลอดห้วงระยะเวลาที่ผ่านมา สมเด็จพระสังฆราช ทรงประกอบพระกรณียกิจเพื่อพุทธศาสนาอย่างมากมาย ทั้งในประเทศไทย และประเทศอื่นทั่วโลก จนได้รับทูลถวายตำแหน่งผู้นำคณะสงฆ์สูงสุดแห่งโลกพระพุทธศาสนา เมื่อปี พ.ศ. 2555 ซึ่งในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2558 ประชาชนชาวไทยทั่วประเทศต่างร่วมกันแต่งกายด้วยชุดดำ เพื่อร่วมถวายอาลัยแด่สมเด็จพระสังฆราช -13 ตุลาคม 2559 : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เสด็จสวรรคต ภายหลังพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทรสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปประทับรักษาพระอาการประชวร ณ โรงพยาบาล ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2557 ประชาชนชาวไทยจากทั่วทุกสารทิศต่างเดินทางมาลงนามถวายพระพร ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญ มีพระพลานามัยแข็งแรง อยู่เป็นมิ่งขวัญแก่ปวงชนชาวไทย พร้อมติดตามแถลงการณ์สำนักพระราชวังเพื่อรับทราบพระอาการของพระองค์อย่างใกล้ชิด           ถึงแม้ว่าคณะแพทย์ได้ถวายการรักษาอย่างสุดความสามารถตลอด 2 ปี แต่พระอาการประชวรหาคลายไม่ ได้ทรุดหนักลงตามลำดับ ในที่สุดแล้ว น้ำตาไทยต้องไหลรินเมื่อได้รับทราบข่าวพ่อหลวง รัชกาลที่ 9 เสด็จสวรรคตเมื่อเวลา 15.52 น. ของวันที่ 13 ตุลาคม 2559 ด้วยพระอาการสงบ สิริพระชนมพรรษาปีที่ 89 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงครองราชสมบัติ 70 ปี นับเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ครองราชย์นานที่สุดในโลก พระมหากรุณาธิคุณที่ทรงเหน็ดเหนื่อยตรากตรำเพื่อประชาชนทั่วทุกหนทุกแห่งของพระองค์มาตลอด 70 ปี จะสถิตอยู่ในใจของปวงชนชาวไทยตลอดไป... ------------------------------------------------------ผู้เรียบเรียง : นางสาวเมษา ครุปิติ บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี ------------------------------------------------------อ้างอิง : จดหมายเหตุงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ฉบับสื่อมวลชน (สื่อมวลชนไทย). กรุงเทพฯ : สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2561. เว็บไซต์ : https://hilight.kapook.com/view/143443





ชื่อเรื่อง                                ปฐมสมโพธิ (ปฐมสมฺโพธิเผด็จ)สพ.บ.                                  149/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           64 หน้า กว้าง 5.5 ซ.ม. ยาว 56.5 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 บทสวดมนต์ บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก วัดป่าเลไลยก์  ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี




บัญชีรายชื่อผู้ได้รับตำแหน่งนา ชบ.ส. ๑๐๙ เจ้าอาวาสวัดเขาคันธมาทน์ ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕ เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.32/1-7 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)



๐ สวัสดีค่ะ กลับมาพบกันอีกครั้งกับสาระความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ในวาระส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2564 ที่กำลังจะมาถึงนี้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ มีเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆมามอบให้กับแฟนเพจทุกๆท่านค่ะ โดยวันนี้เราขอเสนอองค์ความรู้ เรื่อง “ชุธาตุ ความเชื่อเรื่องพระธาตุประจำปีเกิดของล้านนา” ค่ะ ๐ "ชุธาตุ" (ออกเสียงว่า จุ๊ธาตุ) เป็นคำเรียกอันแสดงถึงความเชื่อเรื่องการบูชาพระธาตุเจดีย์องค์สำคัญในวัฒนธรรมล้านนา โดยเป็นแนวคิดที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญและการให้ความหมายต่อองค์พระบรมธาตุสำคัญอย่างเป็นระบบด้วยจำนวน 12 องค์ ควบคู่กับปีนักษัตรในล้านนา โดยชาวล้านนาจะมีความเชื่อว่า “ดวงจิตของมนุษย์ก่อนกำเนิดจะสถิตกับพระธาตุที่ต่างกันไปตามที่ “ตั๋วเปิ้ง”(สัตว์ประจำนักษัตร) พาไปพักเพื่อรอการถือกำเนิดขึ้น”  ๐ ความเชื่อเหล่านี้ทำให้ชาวล้านนามีความผูกพันกับพระธาตุประจำปีนักษัตรของตน และหาโอกาสไปไหว้พระธาตุสักครั้งหนึ่งในชีวิตเพื่อเป็นสิริมงคล และนำมาซึ่งความสงบและความเจริญรุ่งเรืองแก่ชีวิตค่ะ ๐ แม้ว่าความเชื่อเรื่องการไหว้บูชาพระธาตุประจำปีเกิด 12 นักษัตรจะไม่ใช่หลักปฏิบัติในหลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนา หากแต่เป็นคติความเชื่อของชาวล้านนา แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่หาโอกาสสักครั้งหนึ่งในชีวิตเพื่อเดินทางไปนมัสการไหว้พระธาตุประจำปีเกิดของแต่ละคนให้ได้รับอานิสงส์ผลบุญและเสริมสร้างความเป็นสิริมงคลให้กับตนเอง ๐ เมื่อเราทราบว่าพระธาตุประจำปีเกิดของตนเองอยู่ที่ไหน จังหวัดอะไรแล้วอย่าลืมหาโอกาสไปกราบไหว้พระธาตุประจำปีเกิดของเราสักครั้งหนึ่งในชีวิต เพื่อเสริมสร้างความเป็นสิริมงคลกันด้วยนะคะ แล้วพบกันใหม่ในองค์ความรู้รอบหน้านะคะ ---------------------------------------------------- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ (หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. e-mail : cm_museum@hotmail.com สอบถามเพิ่มเติมกรุณาติดต่อผ่านกล่องข้อความ หรือ โทรศัพท์ : 053-221308  For more information, please leave your message via inbox or call : +66 5322 1308+


Messenger