ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,351 รายการ




        อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยร่วมกับโรงพยาบาลสุโขทัยขอคืนความสุขให้ทุกท่าน กับการแสดงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2559 "มหกรรมดนตรี วิถีไทย วิถีโลก" พบกับคลื่นลูกใหม่สุนทราภรณ์ และฮัคกี้ ไอเคิลมานน์ นักกีต้าร์ผู้บรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์ ในวันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม 2558 ณ โรงละครกลางแจ้ง อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตั้งแต่ 18.00 น.เป็นต้นไป          งานนี้ชมฟรีเหมือนเช่นเคย นอกจากนี้ยังเพลิดเพลินกับอาหาร เครื่องดื่มในบรรยากาศย้อนยุค ที่มาให้บริการกันหน้าโรงละครฯเลยทีเดียว


ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง รับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป สังกัดกรมศิลปากร ครั้งที่ 1/2563ตำแหน่งที่รับสมัคร1.นักจัดการงานทั่วไป กลุ่มอำนวยการและประสานราชการสำนักบริหารกลางกรมศิลปากรจำนวน 1 อัตราเงินเดือน 18000 บาทคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง-ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา2.นักจัดการงานทั่วไป ฝ่ายบริหารงานทั่วไปสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกรมศิลปากรจำนวน 1 อัตราเงินเดือน 18000 บาทคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง-ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา3.นักจัดการงานทั่วไป ฝ่ายบริหารงานทั่วไปสำนักหอสมุดแห่งชาติกรมศิลปากรจำนวน 1 อัตราเงินเดือน 18000 บาทคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง-ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา4.ผู้ช่วยนักโบราณคดี อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยสำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย กรมศิลปากรจำนวน 1 อัตราเงินเดือน 18000 บาทคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง-ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาประวัติศาสตร์ โบราณคดี ทางโบราณคดี5.ผู้ช่วยนักโบราณคดี อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อุดรธานีสำนักศิลปากรที่ 8 ขอนแก่นกรมศิลปากรจำนวน 1 อัตราเงินเดือน 18000 บาทคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง-ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาประวัติศาสตร์ โบราณคดี ทางโบราณคดี6.คีตศิลปิน ไทย หญิง กลุ่มดุริยางค์ไทยสำนักการสังคีตกรมศิลปากรจำนวน 2 อัตราเงินเดือน 18000 บาทคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง-ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาใดสาขาหนึ่งทางคีตศิลป์7.นายช่างศิลปกรรม ด้านช่างประดับมุกและช่างรักจำนวน 1 อัตราเงินเดือน 13800 บาทคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง-ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปวส. สาขาวิชาวิจิตรศิลป์ หรือสาขาวิชาการออกแบบ หรือสาขาวิชาศิลปหัตถกรรม หรือสาขาวิชาศิลปะหัตถกรรมโลหะรูปพรรณและเครื่องประดับ หรือสาขาวิชาเครื่องประดับอัญมณี หรือสาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับอัญมณี8.นายช่างศิลปกรรม ด้านประติมากรรมจำนวน 1 อัตราเงินเดือน 13800 บาทคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง-ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปวส. สาขาวิชาวิจิตรศิลป์9.นายช่างศิลปกรรม ด้านงานแม่พิมพ์จำนวน 2 อัตราเงินเดือน 13800 บาทคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง-ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปวส. สาขาวิชาวิจิตรศิลป์ หรือสาขาวิชาศิลปหัตถกรรม10.นายช่างศิลปกรรม ด้านสถาปัตยกรรมจำนวน 1 อัตราเงินเดือน 13800 บาทคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง-ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปวส. สาขาวิชาวิจิตรศิลป์ รือสาขาวิชาออกแบบ หรือสาขาวิชาศิลปหัตถกรรม หรือสาขาวิชาเทคโนโลยีศิลปกรรม หรือสาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟฟิก หรือสาขาวิชาใดสาขาหนึ่งทางสถาปัตยกรรม หรือทางเทคนิคสถาปัตยกรรม11.นายช่างเขียนแบบ ปราจีนบุรีจำนวน 1 อัตราเงินเดือน 13800 บาทคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง-ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปวส. สาขาวิชาการก่อสร้าง หรือสาขาวิชาโยธา หรือสาขาวิชาเทคนิคสถาปัตยกรรม12.นายช่างโยธา นครราชสีมาจำนวน 1 อัตราเงินเดือน 13800 บาทคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง-ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปวส. สาขาวิชาการก่อสร้าง โยธา ช่่างสำรวจ13.พนักงานทะเบียนบุคคล ส่วนกลางจำนวน 1 อัตราเงินเดือน 13800 บาทคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง-ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปวส. ทุกสาขา14.พนักงานพัสดุ ฝ่ายบริหารงานทั่วไปสำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย กรมศิลปากรจำนวน 1 อัตราเงินเดือน 13800 บาทคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง-ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปวส. ทุกสาขา15.พนักงานพัสดุ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง บุรีรัมย์สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา กรมศิลปากรจำนวน 1 อัตราเงินเดือน 13800 บาทคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง-ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปวส. ทุกสาขา16.พนักงานการเงินและบัญชี ฝ่ายบริหารงานทั่วไปสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากรจำนวน 1 อัตราเงินเดือน 13800 บาทคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง-ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปวส. สาขาวิชาการบัญชี หรือสาขาวิชาการเงินและการธนาคาร17.พนักงานการเงินและบัญชี ฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย กรมศิลปากรจำนวน 1 อัตราเงินเดือน 13800 บาทคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง-ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปวส. สาขาวิชาการบัญชี หรือสาขาวิชาการเงินและการธนาคาร18.พนักงานการเงินและบัญชี อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยสำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย กรมศิลปากรจำนวน 1 อัตราเงินเดือน 13800 บาทคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง-ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปวส. สาขาวิชาการบัญชี หรือสาขาวิชาการเงินและการธนาคาร19.พนักงานธุรการ กลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากรจำนวน 1 อัตราเงินเดือน 13800 บาทคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง-ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปวส. ทุกสาขา สมัครทางเว็บไซต์ https://finearts.thaijobjob.comวันที่ตั้งแต่วันที่ 16 - 31 ธันวาคม 2562 ตลอด 24 ชั่วโมง


โขนเป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงอย่างหนึ่ง ของไทย มีกำเนิดมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๐         ในชั้นเดิมปรับปรุงจาก การเล่น ๓ ประเภท คือ หนังใหญ่ ชักนาคดึกดำบรรพ์ และกระบี่ กระบอง ได้แก้ไขปรับปรุง ให้ประณีต ตามลำดับ แต่เดิมนั้นผู้แสดงโขนจะต้องสวมหัวโขน เปิดหน้าทั้งหมด จึงต้องมีผู้พูดแทนเรียกว่าผู้พากย์ - เจรจา ต่อมาได้ปรับปรุง ให้ผู้แสดง ซึ่งเป็นตัวเทพบุตร เทพธิดา และมนุษย์ชาย หญิง สวมแต่เครื่อง ประดับศีรษะไม่ต้อง เปิดหน้าทั้งหมด เครื่องประดับศีรษะ ได้แก่ ชฎา มงกุฎ รัดเกล้า กระบังหน้า ซึ่งมี ศัพท์ เรียกว่า ศิราภรณ์ แต่ผู้แสดงโขนที่สวมศิราภรณ์เหล่านี้ ก็ยังคงรักษาประเพณีเดิมไว้ คือ ไม่พูดเอง ต้องมีผู้พากย์ - เจรจาแทน เว้นแต่ผู้แสดง เป็นตัวตลก และฤาษีบางองค์ จึงจะเจรจาเอง ถือเป็นเอกลักษณ์ อย่างหนึ่งของผู้แสดงโขนที่เป็นตัวตลก         เรื่องที่ใช้ แสดงโขน ในปัจจุบันนี้ นิยมเพียงเรื่องเดียว คือ เรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งไทย ได้เค้าเรื่องเดิม มาจากเรื่องรามายณะ ของอินเดีย มีอยู่หลายตอนที่ เรื่องรามเกียรติ์ ดำเนินความ แตกต่างจาก เรื่องรามายณะมาก โดยเหตุที่ เรื่องรามเกียรติ์เป็นเรื่องยาว ไม่สามารถ แสดงให้จบในวันเดียวได้ บูรพาจารย์ ทางด้านการแสดงโขน จึงแบ่งเรื่องราวที่จะแสดงออกเป็นตอน ๆ มีศัพท์เรียก โดยเฉพาะว่า "ชุด" การที่เรียกการแสดงโขนแต่ละตอนว่าชุดนั้น เรียกตามแบบหนังใหญ่ คือเขาจัดตัวหนังไว้เป็นชุด ๆ จะแสดงชุดไหนก็หยิบตัวหนังชุดนั้นมาแสดง        ที่กล่าวว่าโขน ปรับปรุงมาจาก การเล่นหนังใหญ่ ชักนาคดึกดำบรรพ์ และการเล่น กระบี่กระบองนั้น ท่านผู้รู้อธิบายว่า แต่เดิมการเล่นหนังใหญ่ เป็นมหรสพขึ้นชื่อลือชา มีมาตั้งแต่ ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี ดังที่กล่าวไว้ในหนังสือ บุณโณวาทคำฉันท์ของพระมหานาค วัดท่าทราย ซึ่งแต่งขึ้นในราว พ.ศ. ๒๒๙๔ - ๒๓๐๑ เป็นระยะเวลา ๗ ปี ปลายรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ในหนังสือเล่มนี้ กล่าวถึงมหรสพ ที่แสดงฉลองพระพุทธบาท ในตอนกลางคืนว่า มีการละเล่นหนังใหญ่อยู่ด้วย การละเล่น หนังใหญ่นั้น เขานำแผ่นหนังวัว (บางท่านก็ว่ามีหนังควายด้วย) มาฉลุสลัก เป็นรูปตัวยักษ์ ลิง พระ นาง ตามเรื่อง รามเกียรติ์        การเล่นหนังใหญ่ นอกจากจะมีตังหนังแล้ว ยังต้องมีคนเชิดหนัง คนเชิดหนัง คือคนที่นำตัวหนัง ออกมาเชิด และยกขาเต้นเป็นจังหวะ นอกจากนี้ ยังต้องมีผู้พากย์ - เจรจา ทำหน้าที่ พูดแทนตัวหนัง และมีวงปี่พาทย์ ประกอบการแสดงด้วย สำหรับสถานที่ แสดงหนังใหญ่ นิยมแสดงบน สนามหญ้าหรือบนพื้นดิน มีจอผ้าขาว ราว ๆ ๑๖ เมตร ขึงโดยมีไม้ไผ่ หรือไม้กลม ๆ ปักเป็นเสา ๔ เสา รอบ ๆ จอผ้าขาว ขลิบริมด้วยผ้าแดง ด้านหลังจอจุดไต้ ให้มีแสงสว่าง เพื่อเวลา ที่ผู้เชิดหนัง เอาตัวหนัง ทาบจอทางด้านใน ผู้ชมจะได้แลเห็นลวดลาย ของตัวหนังได้ชัดเจนสวยงาม เมื่อแสดงหนังใหญ่นาน ๆ เข้า ทั้งผู้ชมและผู้เชิดหนัง ก็คงจะเกิดความเบื่อหน่ายผู้ชม คงจะเบื่อที่ตัวหนังใหญ่ เคลื่อนไหวอิริยาบถ ไม่ได้ฉลุสลัก เป็นรูปร่างอย่างไร ก็เป็นอยู่อย่างนั้น ส่วนผู้เชิดหนัง ก็อาจจะเบื่อหน่าย ที่จะนำตัวหนัง ออก ไปเชิด เนื่องจาก ตัวหนังบางตัว มีน้ำหนักมาก การที่ต้อง จับยกขึ้น เชิดชูอยู่เป็น เวลานาน ๆ ก็ทำให้ เมื่อยแขน ตัวหนังที่มีน้ำหนักมาก ๆ บางตัวมีขนาดใหญ่ และสูงขึ้นถึง ๒ เมตร เช่น หนังเมือง หรือหนัง ปราสาท จึงคิดจะออกไปแสดงแทน ตัวหนังใหญ่ แต่ก็ยังหา เครื่องแต่งกายให้ เหมาะสม กับตัวละครใน เรื่องรามเกียรติ์ ที่แบ่งเป็น พระ นาง ยักษ์ และลิง ไม่ได้        บังเอิญในเวลานั้น มีการเล่นใน พระราชพิธี อินทราภิเษกอยู่อย่างหนึ่ง คือ การเล่นชักนาค ดึกดำบรรพ์ การเล่นแบบ นี้ผู้เล่นแต่งกาย เป็นยักษ์ ลิง เทวดา มีพาลี และสุครีพ เป็นตัวเอก การเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ ในพระราชพิธี อินทราภิเษกนี้ ท่านผู้รู้ สันนิษฐานว่า บางทีพระมหากษัตริย์ไทย ในสมัยโบราณ อาจจะได้แบบอย่าง มาจากขอม แม้จะ ไม่มีตำนาน กล่าวไว้โดยชัดเจน แต่ก็ปรากฏว่า มีพนักสะพานทั้งสองข้าง ที่ทอดข้ามคู เข้าสู่นครธม ทำเป็นรูปพญานาค ตัวใหญ่มี ๗ เศียร ข้างละตัว มีเทวดา อยู่ฟากหนึ่ง อสูรอยู่ฟากหนึ่ง กำลังทำท่าฉุด พญานาค และที่ในนครวัด ก็จำหลักรูปชัดนาค ทำน้ำอมฤตไว้ที่ผนัง ระเบียง ด้านตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ผู้รู้สันนิษฐานว่า การเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ ในพระราชพิธีอินทราภิเษกของไทย น่าจะได้แบบอย่าง มาจากขอม การเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ ในพระราชพิธีอินทราภิเษก จะสร้างภูเขา จำลองขึ้น แล้วทำเป็นตัวพญานาค พันรอบ ภูเขาจำลอง ให้พวกทหาร ตำรวจมหาดเล็ก เด็กชาย แต่งกายเป็นยักษ์ เทวดา และลิง ทำท่าฉุดพญานาค โดยพวกยักษ์ ฉุดด้านเศียรพญานาค เทวดา อยู่ทางด้านหาง และพวกลิงอยู่ทางปลายหาง ผู้ที่คิด จะออกไปแสดงแทนตัวหนังใหญ่ จึงเอาเครื่อง แต่งกายของ ผู้ที่เล่นชักนาคดึกดำบรรพ์มาแต่ง และเครื่องแต่งกาย ก็วิวัฒนาการ ตามลำดับจนกระทั่ง ถึงปัจจุบัน เชื่อกันว่า เครื่องประดับศีรษะ หรือที่เรียกกัน ต่อมาว่าหัวโขน ที่ทำเป็นหน้ายักษ์ ลิง เทวดา และมนุษย์ผู้ชายนั้น         ในสมัยที่ได้แบบอย่าง เครื่องแต่งตัว มาจากการเล่นชักนาคดึกบรรพ์ คงจะไม่ใช่ เป็นแบบหัวโขน ที่สวมปิดหน้าทั้งหมด เช่นในปัจจุบันนี้ ในสมัยนั้น คงจะเป็นแบบหน้ากากสวมปิดเพียง ใบหน้า ให้เห็นเป็นรูปยักษ์ ลิง หรือเทวดามากกว่า ส่วนศีรษะก็คงจะสวม เครื่องสวมหัว แบบเดียวกัน ทุกคน บางท่านสันนิษฐานว่า อาจจะสวมลอมพอก แบบผู้ที่แต่งกายเป็นเทวดา เข้ากระบวนแห่ก็เป็นได้ ครั้นต่อมา จึงปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ทำเป็นหัวโขนครอบทั้งศีรษะ เช่นในปัจจุบันนี้ และเข้าใจว่าหัวโขน ที่สวมครอบทั้งศีรษะ คงจะมีมาตั้งแต่ในสมัยกรุงธนบุรี หรือไม่ก็ต้นกรุงรัตนโกสินทร์        เมื่อมี เครื่องแต่งกายแล้ว ก็นำเอาลีลาท่าทาง การเต้นยกขาขึ้นลง ตามแบบ ท่าเชิดหนังใหญ่ มาเป็นท่าเต้น ของการแสดง ที่คิดขึ้นใหม่ และนำเรื่องรามเกียรติ์ ที่เคยแสดงหนังใหญ่ มาเป็น เรื่องสำหรับแสดง โดยมีการพากย์ เจรจาตามแบบ ที่เคยแสดงหนังใหญ่ นอกจาก ท่าเต้นแล้ว ยังจะต้องมีท่ารำอีกด้วย ในสมัยโบราณ คนไทยเรา เคยเห็นการเล่น กระบี่กระบองมา จนชินตา การเล่นกระบี่กระบองนั้น ก่อนที่คู่ต่อสู้ จะทำการต่อสู้กันอย่างจริงจัง จะต้องรำไหว้ครูด้วยลีลาท่ารำ ตามแบบแม่ท่าเสียก่อน ผู้ที่คิดจะใช้คน ออกไปแสดงแทน ตัวหนังใหญ่ จึงนำเอาท่ารำ ของกระบี่ กระบองมา เป็นท่ารำของตน โดยประดิษฐ์และดัดแปลงขึ้นใหม่บ้าง เช่น ท่าเทพนม ท่าปฐม เป็นต้น นอกจาก ลีลาท่ารำแล้ว ยังเอาท่าทางและ การต่อสู้กัน ของกระบี่กระบอง มาเป็นท่าทางในการรบกัน ของการแสดงชนิดใหม่นี้ด้วย             การแสดงที่ปรับปรุงมาจาก การเล่นทั้ง ๓ ประเภท ดังกล่าวมานี้ ต่อมาได้ชื่อว่า "โขน" เป็นชื่อที่ปรากฏ ในหนังสือ ของชาวต่างชาติ กล่าวถึงศิลปะการแสดงของไทย ในสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่เหตุใด จึงเรียกนาฏกรรม ที่ปรับปรุงจากการเล่นหนังใหญ่ ชักนาคดึกดำบรรพ์ และกระบี่กระบอง ว่าโขน ยังไม่มีผู้ใด พบหลักฐาน ความเป็นมา อย่างแน่นอน แต่มีอยู่ท่านหนึ่ง คือ นายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ได้เขียนไว้ในหนังสือโขน พิมพ์เผยแพร่มาแล้วหลายครั้ง อธิบายถึงคำว่า"โขน" ไว้ดังนี้        เราได้พบคำว่า"โขล" ของเบงคาลี , "โกล" หรือ "โกลัม" ของทมิฬ และ "โขน" ของอิหร่าน อันมี ความหมาย คล้ายคำว่า "โขน" ซึ่งเป็นนาฏกรรม ของเราในบัดนี้ อย่างน้อยก็ มีความหมาย เป็น ๓ ทาง คือ๑. จากคำว่า "โขล" ของเบงคาลี ว่าเป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง ขึงด้วยหนังและใช้ตีรูปร่างเหมือนตะโพน๒. จากคำว่า "โกล" หรือ โกลัม ของทมิฬ หมายถึง การตกแต่ง ประดับประดาร่างกาย แสดงตัว ให้หมายรู้ถึงเพศ๓. จากคำว่า "ควาน" หรือ "โขน" ของอิหร่าน ว่า หมายถึงผู้อ่าน หรือขับร้องแทนตัวตุ๊กตาหรือหุ่น        ถ้าที่มาของโขน อันเป็นมหานาฏกรรมของเรา จะสืบเนื่องมาจากคำ ในภาษาเบงคาลี ภาษาทมิฬและ ภาษาอิหร่านทั้งสามนั้น ก็ดูจะมีความหมายใกล้เคียง กับรูปศัพท์อยู่บ้าง แม้จะคงยังขาด ความหมาย ถึงผู้เต้น ผู้รำ แต่โขนจะมาจากคำในภาษาเบงคาลี หรือทมิฬหรืออิหร่านก็ตาม ตามหลักฐาน ที่นำมา เสนอไว้นี้ แสดงว่าแต่เดิมก็มาจากอินเดียด้วยกัน เพราะแม้ที่ว่าเป็นคำอิหร่าน ท่านอนันทกุมารสวามี ก็ว่ามีกำเนิดหรืออิทธิพลของอินเดีย "



วันศุกร์ที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๕  กระทรวงการต่างประเทศ โดยสถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ  หลักสูตรนักบริหารการทูต (นบท.) รุนที่ ๔ เข้าทัศนศึกษาอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร และทำกิจกรรมเวียนเทียนบริเวณวัดพระสี่อิริยาบถ อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร



เว็ปไซต์หอจดหมายเหตุแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พะเยา : www.finearts.go.th/phayaoarchives      หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดพะเยาสร้างขึ้นเนื่องด้วยพิจารณาเห็นว่าจังหวัดพะเยามีความเหมาะสมที่จะจัดตั้งหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เพราะเป็นจังหวัดที่มีอดีต  อันรุ่งเรือง เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรสำคัญทางภาคเหนือ และมีความพร้อมที่เกิดจากการสนับสนุน ของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง  รวมทั้งบุคลากรที่เข้าใจและเห็นคุณค่าของเอกสาร จดหมายเหตุ  โดยเริ่มต้นจากการที่นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  ได้มีหนังสือถึง กรมศิลปากร  เมื่อเมื่อวันที่ ๑๙  ตุลาคม  ๒๕๓๕   ขอให้พิจารณาดำเนินการจัดตั้งหอสมุดแห่งชาติ ที่จังหวัดพะเยา  โดยเสนอให้ใช้อาคารที่ว่าการอำเภอเมืองเดิม เป็นที่ทำการสำนักงานชั่วคราว กรมศิลปากร พิจารณาเห็นสมควรปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี โดยมีข้อสังเกตว่างานจดหมายเหตุ และงานหอสมุดมีลักษณะใกล้เคียงกัน ดังนั้นเพื่อเป็นการประหยัดทั้งงบประมาณ อัตรากำลังและสถานที่           ในการก่อสร้าง  ควรจัดตั้งรวมหน่วยงานทั้งสองแห่งไว้ในสถานที่เดียวกัน  กรมศิลปากร จึงเสนอ        ขอดำเนินการจัดตั้งหอจดหมายเหตุแห่งชาติควบคู่กันไปด้วย และได้มอบหมายให้ นายพูลลาภ อินทรนัฎ วิศวกรโยธา และ นายสุเทพ  วิริยะบุศย์ มัณฑนากร  ไปตรวจสอบอาคารดังกล่าว พบว่าอาคารนั้น  มีสภาพไม่แข็งแรงเพียงพอที่จะรับน้ำหนักเอกสารได้           กรมศิลปากร  จึงได้พิจารณาที่ดินเพื่อทำการก่อสร้างอาคารใหม่และได้รับการสนับสนุนจากพระธรรมวิมลโมลี  เจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ (ขณะนั้น) โดยมอบที่ดินของวัดพระธาตุจอมทองจำนวน ๕ ไร่  ด้านที่ติดถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ ให้เป็นสถานที่ก่อสร้างอาคารหอจดหมายเหตุแห่งชาติจังหวัดพะเยา กรมศิลปากรจึงมอบหมายให้นายไพบูลย์ ผลมาก สถาปนิก (ขณะนั้น)  ดำเนินการออกแบบอาคาร ส่วนการตกแต่งภายในอาคารนั้นมอบหมายให้ นายสุเทพ วิริยะบุศย์ มัณฑนากร ดำเนินการโดยได้รับงบประมาณดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ถึง พ.ศ. ๒๕๔๒  รวมทั้งสิ้น ๒๗,๖๗๘,๖๐๐บาท (ยี่สิบเจ็ดล้านหกแสนเจ็ดหมื่นแปดพันหกร้อยบาทถ้วน )หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดพะเยาแห่งนี้ กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ (ขณะนั้น)สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาส  ที่ทรงมีพระชนมายุครบ ๔๕  พรรษา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐        สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้พระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้ชื่ออาคารว่า “หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ  สยามมกุฎราชกุมาร พะเยา ”เมื่อวันที่  ๒  กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๘  และได้เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันพุธที่  ๘  มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๘  เวลา ๑๕.๐๐ น.ต่อมาได้รับ พระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระนามาภิไธยย่อ มวก.เพื่ออัญเชิญมาประดิษฐาน ณ อาคารหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร  พะเยา        สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พะเยา ในวันจันทร์ที่  ๒๖  กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๒  หอจดหมายแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร  พะเยา จึงพร้อมเปิดให้บริการได้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๒      หน้าที่ความรับผิดชอบ   ๑. รับผิดชอบการบริหารงานเอกสารของส่วนราชการ ๘  จังหวัดภาคเหนือ  ได้แก่  จังหวัดพะเยา  เชียงราย  แพร่  น่าน  อุตรดิตถ์  สุโขทัย  พิจิตร  และเพชรบูรณ์   ๒. รวบรวม  ประเมินคุณค่า  วิเคราะห์ จัดหมวดหมู่   เก็บรักษา และอนุรักษ์เอกสารสำคัญของชาติ   ๓.ให้บริการศึกษาค้นคว้าวิจัยแก่หน่วยงานองค์กร รัฐวิสาหกิจ นักเรียนนักศึกษา ประชาชนทั่วไป   ๔. บันทึกเหตุการณ์สำคัญของชาติ   ๕.ดำเนินการเป็นตัวแทนกรมศิลปากรในพื้นที่ จังหวัดพะเยา   ๖.ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นทีเกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมายในรูปแบบบูรณาการ


การตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกรมศิลปากร ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๖   หน่วยงานและโบราณสถานในเขตรับผิดชอบของ สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา



ชื่อวัตถุ :: ตะเกียงเจ้าพายุเลขทะเบียน :: 43/0098/2549  ลักษณะ :: ด้านบนเป็นโลหะ ฉลุลาย มีหูสำหรับแขวน ส่วนกลางมีโปะกระจก สำหรับครอบใต้ มีแกนโลหะยึด ส่วยฐานมือหมุนปรับระดับความสว่างเป็นโลหะ มีช่องสำหรับเติมน้ำมัน แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก   ชื่อวัตถุ :: ป้านชา เลขทะเบียน ::43/0103/2549 ลักษณะ :: ป้านชาทรงกระบอก ก้นตัด ฝาเชื่อมติดกับลำตัว มีหูจับระหว่างกลาง อีกด้านสามารถเปิดได้ อีกด้านทำเป็นพวยกา แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก แหล่งที่มาวัตถุ :: ต.มวกเหล็ก อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี   ชื่อวัตถุ :: พาน เลขทะเบียน :: 43/0132/2549 ลักษณะ :: พานทรงกลม มีเชิงปากผายออก ลงรักปิดทองด้านในและด้านนอก ของพาน แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษกแหล่งที่มาวัตถุ :: ต.ตาลเดี่ยว อ.แก่งคอย จ.สระบุรี   ชื่อวัตถุ :: กระโถนปากแตรเลขทะเบียน :: 43/0076/2549 ลักษณะ :: ขอบปากบานออก ช่วงกลางลำตัวปั้นเป็นลายแบบฟักทอง แตกราน เคลือบน้ำเคลือบสีเขียว มีฐานเป็นเชิงกลมเตี้ย แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก   ชื่อวัตถุ :: กระปุกดินเผา เลขทะเบียน :: 43/0035/2549 ลักษณะ :: ทรงป้านแบบกระปุกตังฉ่าย เคลือบน้ำดินสีดำ แตกรานทั้งใบ ประทับลายบริ-เวณไหล่ภาชนะเป็นช่องสี่เหลี่ยม แบ่งช่องเป็นเส้นแต่ละช่อง คล้ายผลฟักทอง ขอบปากหนา สำหรับใส่ของเหลว แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษกแหล่งที่มาวัตถุ :: ต.ศาลารีไทย อ.เสาไห้ จ.สระบุรี   ชื่อวัตถุ :: เต้าปูนเลขทะเบียน :: 43/0092/2547 ลักษณะ :: ทรงกระบอก ก้นตัด ผิวเรียบ ด้านในกลวง สำหรับใส่ปูนกินหมาก แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษกแหล่งที่มาวัตถุ :: ต.บ้านกลาง อ.เมือง จ.ปทุมธานี   ชื่อวัตถุ :: เครื่องมือทำขนมปลากริม เลขทะเบียน :: 43/0080/2547 ลักษณะ :: คล้ายไม้แผ่นแบน คล้ายไม้พายมีด้ามจับบริเวณใบพายเป็นเจาะเป็นรู แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษกแหล่งที่มาวัตถุ :: ต.บ้านกลาง อ.เมือง จ.ปทุมธานี   ชื่อวัตถุ :: โถมีฝาก้นกลมเลขทะเบียน :: 43/0050/2554 ลักษณะ :: เครื่องเขินทรงโถก้นกลม ประกอบด้วยส่วนลำตัวและฝา ส่วนลำตัวมีลักษณะเป็นทรงก้นกลม มีขาไม้ทรงขาสิงห์ 6 ขา มาเชื่อมต่อเป็นฐาน บริเวณไหล่มีลักษณะเป็นสันตกแต่งด้วยการขูดขีดลายสัตว์มงคลส่วนฝาตกแต่งด้วยการขูดขีดลายนกยูง แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก   ชื่อวัตถุ :: ปัจจัยไม้รูปวัวเลขทะเบียน :: 43/0042/2554 ลักษณะ :: แกะสลักเป็นรูปวัว ส่วนหลังมีช่องสำหรับใส่ของ มีฝาเปิดปิดบริเวณคอมีกระดิ่งผูกห้อยคอ แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก   ชื่อวัตถุ :: ตลับเลขทะเบียน :: 43/0038/2554 ลักษณะ :: ตลับทรงกลม ส่วนฐานมีลักษณะเป็นขา 4 ขาลวดลายพรรณพฤกษาส่วนลำตัวฉลุโปร่งเป็นลายดอกไม้ส่วนฝาเป็นกระจกใสมีบานพับและที่จับสำหรับเปิดปิด แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก   ชื่อวัตถุ :: กรรไกรหนีบหมากเลขทะเบียน :: 43/0055/2549 ลักษณะ :: กรรไกรหนีบหมาก ด้านบนของกรรไกรรูปมีด ส่วนด้านล่าง เป็นแผ่น เพื่อรองรับคมมีด ปลายด้ามจับทำเป็นเม็ดมัณฑ์ แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก   ชื่อวัตถุ :: กรรบิดเลขทะเบียน :: 43/0054/2549 ลักษณะ :: ประกอบด้วยคมมีดยาว 2 ด้าน แต่ละด้านมีด้ามจับยาวออกมาเชื่อมต่อกันสำหรับจับและบังคับการใช้งาน แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก   ชื่อวัตถุ :: ปั้นชาชื่ออื่น :: ป้านชา, เต้ป๋านเลขทะเบียน :: 43/0030/2549 ลักษณะ :: เคลือบน้ำดินสีน้ำตาลทั้งใบ มีฝาหู และพวยเหมือนกาน้ำชา สันนิษฐานว่าที่เรียกว่าปั้นชานั้นมาจากกิริยา ปั้น เป็นการทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นรูปทรง ตามช่างปั้น ปั้นชา ภาคใต้ เรียกว่า เต้ป๋านที่ใต้ฝามีตราประทับของผู้ผลิตเป็นรูปหนู เหนือรูปหนู เขียนว่า "ศก110"แหล่งที่มาของวัตถุ :: ต.ห้วยบง อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก   ชื่อวัตถุ :: ถ้วยขนมถ้วยเลขทะเบียน :: 43/0140/2547 ลักษณะ :: ก้นลึกและแคบลายดอกไม้แทรกด้วยภาษาจีน แหล่งที่มาของวัตถุ :: ต.บ้านกลาง อ.เมือง จ.ปทุมธานีแหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก   ชื่อวัตถุ :: กระชอนกรองกะทิเลขทะเบียน :: 43/0102/2547 ลักษณะ :: ลักษณะป็นวงกลม ตาถี่ มีด้ามจับที่ขอบทั้ง 2 ด้าน แหล่งที่มาวัตถุ :: ต.บ้านกลาง อ.เมือง จ.ปทุมธานีแหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก ชื่อวัตถุ :: ย่าม เลขทะเบียน :: 43/0017/2553 ลักษณะ :: พื้นสีดำ ทอสลับลายทางสีแดง มุมล่างกระเป๋ามีพู่ห้อย แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก   ชื่อวัตถุ :: ย่าม เลขทะเบียน :: 43/0005/2553 ลักษณะ :: ย่ามของกลุ่มชาติพันธุ์ไทแดง ตัวย่ามสั้น เมื่อเทียบกับสายสะพาย ทำด้วยผ้าฝ้ายพื้นสีแดง ทอเป็นลวดลายเลขาคณิต สลับลายเส้นทึบสีเหลือง เขียว และขาว ก้นถุงทั้งสองข้างตกแต่งพู่ห้อยสีดำไทแดงชอบมีเครื่องประดับเสื่อผ้า เป็นลูกไม้หรือเป็นลวดลายสีแดง จึงถูกเรียกว่าไทแดง หัตถกรรมทอผ้าถือว่าเป็นสิ่งที่โดดเด่นและเชิดหน้าชูตาของผู้หญิงไทแดง ผู้หญิงไทแดง ได้ใช้กระบวนการทอผ้าเป็นเครื่องมือสำคัญในกระบวนการขัดเกลาทางสังคมอย่างยอดเยี่ยมและเข้มแข็ง หญิงใดที่จะออกไปงานแต่งงานได้จะต้องมีความพร้อมในการทำผลิตภัณฑ์จากผ้าเพื่อเตรียมไว้สำหรับสมมาและนำไปใช้ในครอบครัวใหม่ของเธอ หากไม่สามารถกระทำได้ก็หมายความว่าพวกเธอยังไม่พร้อมที่จะออกเรือน          ในขณะที่ผู้หญิงมีหน้าที่ทอผ้า ผู้ชายจะเป็นคนดำเนินในการจักทำเครื่องทอผ้าทุกชนิด โดยเฉพาะกี่ ส่วนใหญ่จะไช้วัตถุดิบในท้องถิ่น โครงกี่จะทำจากไม้ไผ่มากกว่าไม้เนื้อแข็ง *สมมา คือ ขั้นตอนไหว้ผู้ใหญ่ เนื่องในพิธีสู่ขอ โดย ฝ่ายหญิงจะนำผ้าที่ตนเองทอมา มอบให้กับ พ่อ-แม่ฝ่ายชาย เสมือนการฝากตัวเข้ามาอยู่เป็นครอบครัวเดียวกัน แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก   ชื่อวัตถุ :: ย่าม เลขทะเบียน :: 43/0001/2553 ลักษณะ :: ทำด้วยผ้าไหม พื้นสีเขียว ตกแต่งด้วยลายจกทั้ง 2 ด้าน เป็นรูปฟันปลา ด้วยเส้นไหม สีแดง เขียว เหลือง ด้านบนและล่างทำเป็นลวดลายเลขาคณิต กุ๊นขอบสายสะพายด้วยผ้าสีแดง ก้นถุงมุมล่างซ้าย-ขวา ห้อยชายครุยด้วยพู่สีเดียวกับย่าม  สำหรับใส่ของใช้ประจำตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยวน  แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก   ชื่อวัตถุ :: ย่าม  เลขทะเบียน :: 43/0674/2548 ลักษณะ :: ทำด้วยผ้าฝ้าย พื้นขาวตกแต่งด้วยเส้นฝ้ายสีดำเป็นลายเส้นทับและขนาบข้างด้วยลายเส้นประ ด้วยเทคนิคการทอสลับสลับสี ประดับพู่ตกแต่งที่ก้นถุงทั้งสองข้าง เป็นอุปกรณ์ติดตัว ส่วนมากจะพบเป็นของใช้ประจำตัวของผู้ชายสำหรับใส่ของ เช่น มีด ยาสูบ แหล่งที่มาของวัตถุ :: อำเภอลี้  จังหวัดลำพูน    แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก   ชื่อวัตถุ :: แท่นวางของ เลขทะเบียน :: 43/0037/2554    ลักษณะ :: ลักษณะเป็นแผ่นทองเหลืองทรงกลม ด้านบนทำเป็นช่องกลมสี่ช่องเชื่อมติดกันสำหรับวางแก้วน้ำ ตรงกลางประดับด้วยมุกขนาดใหญ่ ด้านข้างระหว่างช่องกลมประดับด้วยอัญมณี (นิล)และทองเหลืองฉลุลายพรรณพฤกษาทั้งสี่ด้าน ฐานตกแต่งเป็นรูปใบไม้โดยรอบ ตรงกลางฐานแต่ละด้านประดับด้วยมุก ฐานด้านใต้ ขาทำเป็นปุ่ม 3 ปุ่มแหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)   ชื่อวัตถุ :: เหล็กจารเลขทะเบียน :: 43/0419/2549    ลักษณะ :: ลักษณะเป็นเหล็กปลายแหลมยาว ใช้สำหรับจารคาถาหรือคัมภีร์ต่างๆลงบนใบลาน แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)  


วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๑ นายวิทูรัช ศรีนาม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ได้นำข้าราชการ ประชาชน นักเรียน นักศึกษา ในจังหวัดจันทบุรี ร่วมแต่งกายชุดไทย ร่วมพิธีเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งถือเป็นวันอนุรักษ์มรดกไทย   โดยกิจกรรมในภาคเช้าเป็นพิธีทำบุญพระสงฆ์จำนวน ๑๐ รูป และมีการลงนามถวายพระพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยพลเรือตรี นพดล ปัญญาโฉม รองผู้บัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด เป็นประธานกล่าวถวายราชสดุดี   ต่อมานายวิทูรัช ศรีนาม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ได้ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการซึ่งจัดโดยหน่วยงานในสังกัดกรมศิลปากรประกอบด้วยหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี จันทบุรี, กองโบราณคดีใต้น้ำ และหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี โดยหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรีได้จัดทำชุดนิทรรศการชุด "บรรพโบราณสร้าง ปริวงศ์วานจันท์สืบสาน"   ในช่วงค่ำ นายวิทูรัช ศรีนาม เป็นประธานในพิธีถวายราชสดุดี และถวายพระพรชัยมงคลต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ โดยมีการจัดแสดงการประกวดการแต่งกายด้วยผ้าไทย และตลาดพื้นบ้านจากสภาวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี


เมื่อวันอังคารที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๒ เวลา ๐๘.๔๙ น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจยังโรงเรียนวัดสระกำแพงใหญ่ หมู่ที่ ๑ บ้านสระกำแพงใหญ่ ตำบลสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ โดยมี นายจารึก วิไลแก้ว ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา พร้อมด้วยข้าราชการสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา เฝ้าฯ รับเสด็จ


 เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๙ นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร พร้อมด้วยนางสาวศุภร รัตนพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง และคณะ เดินทางมาตรวจราชการกรมศิลปากรในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีและกาญจนบุรี และให้เกียรติเยี่ยมชมพร้อมตรวจราชการหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีนายวิเศษ เพชรประดับ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี นางสาวธารทิพย์ ภิรมย์อนุกูล หัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี และเจ้าหน้าที่ ให้การต้อนรับและร่วมหารือการดำเนินงาน


Messenger