ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,346 รายการ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระราชหฤทัยงานด้านจดหมายเหตุมาตั้งแต่ครั้งยังทรงศึกษา ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาเอกประวัติศาสตร์ และทรงให้ความสำคัญกับเอกสารจดหมายเหตุในฐานะเป็นเอกสารชั้นต้นที่สะท้อนถึงภารกิจของหน่วยงานเจ้าของเอกสาร ซึ่งสามารถนำไปอ้างอิงวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์ได้ในทุกสาขาวิชา
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีสายพระเนตรที่กว้างไกล พระองค์มีพระราชปรารภถึงความจำเป็นที่ควรจัดให้มีหลักสูตรการศึกษาวิชาการจดหมายเหตุในระดับอุดมศึกษา เพื่อพัฒนาวิชาชีพจดหมายเหตุในประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้า เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือจากนานาอารยประเทศ อีกทั้งเพื่อปลูกฝังให้ประเทศไทยได้รู้จักงานจดหมายเหตุ เข้าใจถึงคุณค่าและมีความหวงแหนเอกสารประเภทต่างๆ ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์และมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ ในชั้นแรกหอจดหมายเหตุแห่งชาติได้มอบหมายให้นักวิชาการที่มีความรู้และประสบการณ์ในงานจดหมายเหตุ ร่วมกันจัดทำเอกสารเรื่อง “วิชาการพื้นฐานการบริหารและจัดการจดหมายเหตุ” เพื่อเป็นเอกสารทางวิชาการสำหรับผู้ปฏิบัติงานจดหมายเหตุและผู้สนใจทั่วไป และได้นำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย พร้อมทั้งจัดทำคู่มือเทคนิควิธีเกี่ยวกับกระบวนงานจดหมายเหตุ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องออกเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ หอจดหมายเหตุแห่งชาติยังจัดหลักสูตรการฝึกอบรมความรู้ด้านกระบวนงานจดหมายเหตุ ทั้งระยะสั้นและระยะยาวตามความประสงค์ของผู้ขอรับการฝึกอบรม ทั้งที่เป็นหน่วยงาน ผู้ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และผู้สนใจทั่วไปด้วย
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระราชหฤทัยและทรงให้ความสำคัญในขั้นตอนการซ่อมอนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุมากเป็นพิเศษ เพราะทรงเข้าพระราชหฤทัยในธรรมชาติของเอกสารจดหมายเหตุซึ่งเป็นของเก่า และมีอยู่เพียงชุดเดียวหรือมีเพียงจำนวนจำกัด แต่ต้องเก็บรักษาให้คงอยู่ตลอดไป จึงโปรดให้ผู้มีหน้าที่ดูแลหอพระสมุดส่วนพระองค์ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน มาเรียนวิธีซ่อมอนุรักษ์เอกสาร และหนังสือส่วนพระองค์อย่างง่ายๆ เพื่อนำความรู้ไปใช้ที่หอพระสมุดดังกล่าว ทรงแนะนำให้บรรณารักษ์หอสมุดโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า มาเรียนวิธีซ่อมอนุรักษ์เอกสารที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ รวมทั้งทรงนำนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ามาศึกษาดูงานที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติและหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงไว้วางพระราชหฤทัยให้หอจดหมายเหตุแห่งชาติดำเนินการอนุรักษ์และซ่อมสงวนรักษาแผนที่โบราณในหอพระสมุดส่วนพระองค์ และพระราชทานความเห็นในการซ่อมเอกสารของหอจดหมายเหตุแห่งชาติว่า “หนังสือซ่อมแล้วทำให้เอกสารอ่านยาก เพราะกระดาษสาใช้เสริมความแข็งแรงของเอกสารเป็นกระดาษสาที่ผลิตในประเทศ กระดาษสามีความหนากว่ากระดาษสาของญี่ปุ่น แต่กระดาษสาของญี่ปุ่นมีราคาสูง”หอจดหมายเหตุแห่งชาติจึงได้ประสานกับบริษัทผู้ผลิตกระดาษสาให้พัฒนาปรับปรุงการผลิตกระดาษสาให้บางลงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อีกทั้งให้มีสีหลากหลาย เพื่อให้พนักงานซ่อมเอกสารสามารถเลือกสีที่ใกล้เคียงกับสีของกระดาษของเอกสารที่จะซ่อมได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้เอกสารที่ซ่อมแล้วอ่านได้ง่ายขึ้น และนำตัวอย่างกระดาษสาไทยไปให้หน่วยงานที่ผลิตกระดาษสาสำหรับการซ่อมอนุรักษ์ของญี่ปุ่นวิเคราะห์ ซึ่งทางหน่วยงานของญี่ปุ่นชื่นชมบริษัทผลิตกระดาษสาของไทยที่ผลิตกระดาษสาได้บางมาก แม้จะยังไม่เหนียวเท่ากระดาษสาของญี่ปุ่น เพราะกระดาษสาของญี่ปุ่นมีเยื่อกระดาษมากและยาวกว่ากระดาษสาของไทย ซึ่งอาจเนื่องมาจากดินที่ปลูกต้นปอสาที่ใช้ผลิต
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระมหากรุณาเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดนิทรรศการของหอจดหมายเหตุแห่งชาติไม่น้อยกว่า ๑๑ ครั้ง ซึ่งทุกครั้งจะทรงตรัสถามถึงความเป็นอยู่ สุขภาพพลานามัยของเจ้าหน้าที่ของหอจดหมายเหตุแห่งชาติด้วยความห่วงใย และมีพระเมตตาให้คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล จัดทำโครงการตรวจและรักษาสุขภาพเจ้าหน้าที่ของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๐ นอกจากนี้ ในการเสด็จพระราชดำเนินมาแต่ละครั้งได้มีพระราชดำริพร้อมคำแนะนำในการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนางานจดหมายเหตุอยู่เสมอ
หอจดหมายเหตุแห่งชาติได้สนองพระราชดำริในด้านนี้ โดยได้จัดทำโครงการอ่านภาพเก่า โครงการประกวดภาพเก่า โครงการอวดภาพเก่า โครงการรวบรวมและรับบริจาคภาพจากบุคคลสำคัญ รวมทั้งการรับมอบภาพจากการประกวดภาพถ่ายของหน่วยงานต่างๆ
นอกจากเสด็จพระราชดำเนินเปิดนิทรรศการของหอจดหมายเหตุแห่งชาติแล้ว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ และทรงประกอบพิธีเปิดหอจดหมายเหตุแห่งชาติในส่วนภูมิภาค เช่น ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์หอจดหมายเหตุนายรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๒๙ ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๓๖ ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิม พระเกียรติฯ ตรัง เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๖ ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๓๖ ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ยะลา เมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๓๖ และทรงประกอบพิธีเปิดหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๓
ในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะทรงกำหนดให้มีการศึกษาดูงานด้านจดหมายเหตุในหมายกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินในแต่ละครั้งด้วยเสมอ ซึ่งเป็นการขยายองค์ความรู้ด้านจดหมายเหตุในพระองค์ และพระราชทานพระราชดำริในการพัฒนางานจดหมายเหตุในประเทศไทย อาทิ ทรงเสนอให้จัดทำโครงการรวบรวมศึกษาเอกสารที่เกี่ยวกับประเทศไทยในต่างประเทศ หอจดหมายเหตุแห่งชาติได้สนองแนวพระราชดำริในเรื่องนี้ ซึ่งในปัจจุบัน หอจดหมายเหตุแห่งชาติมีเอกสารที่เกี่ยวกับประเทศไทยจากประเทศต่างๆ อาทิ ประเทศออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา อังกฤษ โปรตุเกส ฝรั่งเศส เดนมาร์ก เบลเยี่ยม ไว้ให้บริการค้นคว้า
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสนับสนุนและพระราชทานคำแนะนำในการปฏิบัติงานด้านจดหมายเหตุเสมอมา ซึ่งบรรดาข้าราชการและบุคลากรผู้ปฏิบัติงานทุกคนของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และซาบซึ้งในน้ำพระราชหฤทัยที่พระองค์ทรงห่วงใยอาทรบุคลากรและงานจดหมายเหตุ บุคลากรของ หอจดหมายเหตุแห่งชาติทุกคนจึงร่วมใจกันมุ่งมั่นพัฒนาการบริหารจัดการงานจดหมายเหตุ การปฏิบัติงาน รวมทั้งให้การบริการเอกสารจดหมายเหตุให้ผู้มาใช้บริการได้รับความพึงพอใจและได้รับประโยชน์สูงสุด เพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณอย่างเต็มกำลังความสามารถตลอดไป
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา เกิดขึ้นจากกรมศิลปากรขยายงานหอจดหมายเหตุแห่งชาติออกไปสู่ส่วนภูมิภาคทั้ง ๑๒ เขตการศึกษา การจัดตั้งหอจดหมายเหตุแห่งชาติในเขตการศึกษาที่ ๓ ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา กรมศิลปากรพิจารณาว่าควรจัดตั้งขึ้นที่จังหวัดสงขลา และได้รับความร่วมมือจากนายกเทศมนตรีเทศบาลนครหาดใหญ่ (นายเคร่ง สุวรรณวงศ์) อนุญาตให้ใช้ที่ดินในบริเวณสวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่ จำนวน ๓ ไร่ เพื่อก่อสร้างอาคารหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ในการนี้ กรมศิลปากรได้รับพระมหากรุณาจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ใช้ชื่ออาคารนี้ว่า “หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา” เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๓๖ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์อาคารแห่งนี้เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๓๖
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลาปฏิบัติงานตามภารกิจหลักในการรับมอบ ติดตาม เเสวงหา และประเมินคุณค่าเพื่อการจัดเก็บ พัฒนา อนุรักษ์ เผยเเพร่เเละให้บริการเอกสารจดหมายเหตุประเภทต่าง ๆ บันทึกเหตุการณ์สำคัญของชาติ ภารกิจดังกล่าว หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา ได้น้อมนำพระราชดำรัสของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาใช้ปฏิบัติงาน ดังกระแสพระราชดำรัสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานเกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากภาพถ่ายเก่าและจัดทำคำบรรยายภาพที่เก็บรักษาเป็นหลักฐานด้านจดหมายเหตุในพิธีเปิดนิทรรศการ เรื่อง “สังคมไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕” เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๒๑ ความว่า
“การจัดนิทรรศการอย่างนี้เป็นผลดีแน่ ภาพจดหมายเหตุจะสามารถเล่าเรื่องต่างๆ ได้เอง โดยไม่ต้องอาศัยคำบรรยายมากนัก ขอแสดงความคิดเห็นบางประการ (เข้าใจว่าเจ้าหน้าที่ คงกำลังกระทำอยู่บ้างแล้ว)ถ้าทำได้ควรจะคอยสอดส่องหาภาพต่างๆ ในอดีตทั้งใกล้และไกลมาเก็บไว้อีก พยายามขอจากคนที่มีภาพ ถ้าเจ้าของไม่มอบให้เป็นสมบัติของหอจดหมายเหตุแห่งชาติก็พยายามขอยืมมาก๊อบปี้เอาไว้ ค่อยๆ ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับภาพให้ดีที่สุด โดยค้นจากเอกสารและสอบถามจากผู้รู้เรื่องหลายๆ ท่าน สอบทานกัน”
นายปิติ แก้วสลับสี ผู้ว่าราชการการจังหวัดสุโขทัย พร้อมด้าวนางพรรณสิริ กุลนาถศิริ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย พ.ต.อ.ธนวรรธน์ อยู่คง รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสุโขทัย นางนงคราญ สุขสม ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย และนางพัศลินทร์ เศวตรัตน์ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานสุโขทัย ร่วมกันแถลงข่าวการจัดงานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ ประจำปี 2558 โดยจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 21 – 25 พฤศจิกายน นี้ ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
ด้านผู้ว่าราชการการจังหวัดสุโขทัย เปิดเผย ถึงการเตรียมความพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวว่า ขณะนี้มีความพร้อมในทุกด้าน ทั้งการอำนวยความสะดวกด้านการจราจร การจัดเตรียมสถานที่ การประชาสัมพันธืงาน รวมถึงร้านค้าต่างๆที่จะนำมาจัดแสดง และจำหน่ายในบริเวณงาน ทั้งนี้ การจัดงานประเพณีลอยกระทง จัดขึ้นเพื่อต้องการสืบสานวัฒนธรรมประเพณี สร้างรายได้ให้กับประชาชนในท้องถิ่น และเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวให้กับประเทศ นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมงานลอยกระทงมีทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ จังหวัดสุโขทัย พยายามอนุรักษ์ตรงนี้ไว้ให้ยั่งยืน ในรูปแบบงาน ขรึม ขลัง อลังการ โดยในวันที่ 21 พฤศจิกายน นี้ จะมีพิธีบวงสรวงบูรพกษัตริย์สุโขทัยทุกพระองค์ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 มีขบวนอัญเชิญไฟพระประทีปพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ มีพิธีเปิดงานโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กิจกรรมการประกวดนางนพมาศ ประกวดกระทงเล็ก กระทงใหญ่ โคมชัก โคมแขวน การแสดงแสง-เสียงตำนานอาณาจักรสุโขทัย ตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์ การแสดงพลุ ตะไล ไฟพะเนียง การแสดงหมู่บ้านวิถีไทย ตลาดแลกเบี้ย ตลาดปสาน ตลอดจนการแสดงนาฏศิลป์ และการแสดงอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกมากมาย
เพลงลอยกระทง : ลายสือไท Lai Sue Thaiขับร้อง : คณะนักร้องกรมศิลปากรทำนอง : มนตรี ตราโมท
กิจกรรมนิทรรศการเคลื่อนที่อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ครั้งที่ ๑/๒๕๕๖
วันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ณ โรงเรียนบ้านหนองหัวคูปวงประชานุเคราะห์
ตำบลหนองหัวคู อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
ประชาสัมพันธ์ครบรอบ ๑๕๐ ปี ชาตกาล พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตเพื่อให้ประชาชนได้รับทราบชีวประวัติหลักธรรม คำสอน และปฏิปทาของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เพื่อน้อมนำมาประพฤติปฏิบัติ โดยท่านสามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ http://www.luangpumun.dra.go.th
ชื่อวัตถุ :: ขันหมากไม้ เลขทะเบียน :: 43/0636/2548
ลักษณะ :: แกะสลักบริเวณตัวขันหมากเป็นรูปฟันปลาล้อมรอบลายประแจจีนและระบายสีลงไปเพื่อเน้นลวดลาย ทำเอวขันหมากคอดเข้าไป และทำส่วนคิ้วยื่นออกมารับกับเชิงขันหมากที่เป็นขาบานออกอย่างขาสิงห์แกะสลักลายลงไปในเนื้อไม้และเขียนสีทั้งใบที่ตัวขันหมากทำช่องใส่เครื่องเชี่ยน หมาก3 ช่อง รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 2 ช่อง และช่องใหญ่ ทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 1 ช่อง
แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
แหล่งที่มาวัตถุ :: แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร
ชื่อวัตถุ :: ขันหมากไม้ เลขทะเบียน :: 43/0650/2553
ลักษณะ :: ตัวขันแกะสลักเป็นลายประแจจีนทั้งใบ ทำสันคิ้วที่ส่วนเอวขันที่เข้าไปต่อกับเชิงขัน ทาสีขาวที่ลายและทาสีแดงที่ส่วนอื่นๆทั้งใบ ไม่ได้ทำช่องใส่เครื่องเชี่ยนหมากแต่อย่างใด
แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
แหล่งที่มาวัตถุ :: แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร
ชื่อวัตถุ :: ตะกร้ามีหูหิ้วพร้อมฝา เลขทะเบียน :: 43/0059/2547
ลักษณะ :: ทรงกลม ก้นสอบ สานด้วยหวายเส้นใหญ่ มีฝาปิด และมีหูสำหรับหิ้ว ภาคเหนือเรียก ซ้า ภาคอีสานเรียก กะต่า ภาคใต้เรียก แตรง
แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
แหล่งที่มาวัตถุ :: ต.บ้านกลาง อ.เมือง จ.ปทุมธานี
ชื่อวัตถุ :: ซองพลู เลขทะเบียน :: 43/0068/2553
ลักษณะ :: ตัวซองพลู รูปทรงสี่เหลี่ยมแบน ดุนลายเป็นรูปสิงห์ ด้านข้างดุนลายเถาวัลย์ที่ปลายซองพลูม้วนเป็นวงเข้าหาตัว
แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
แหล่งที่มาวัตถุ :: แขวงบางบอน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
ชื่อวัตถุ :: ช้อนทองเหลือง เลขทะเบียน :: 43/0081/2554
ลักษณะ :: ช้อนชาที่ระลึกส่วนด้ามด้านหน้ามีข้อความ "เตนี-สหัสชัย"และตราสัญญลักษณ์ช้างสามเศียร ด้านหลังมีข้อความ "25ส.ค.14"
แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชื่อวัตถุ :: กล่องเครื่องเขินเลขทะเบียน :: 43/0056/2554
ลักษณะ :: ทรงกระบอก มีส่วนลำตัวและส่วนฝาลงรักและชาดทั่วใบ ส่วนฝา, ลำตัวและส่วนก้นด้านนอกขูดขีดลวดลายพรรณพฤกษาสลับลายช้างถมสีเขียวในร่องบางส่วนเพื่อเน้นลวดลาย บริเวณฐานและขอบปากมีที่สำหรับร้อยเชือกเป็นหูไว้ 4 ด้าน
แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชื่อวัตถุ :: ขวดไม้ เลขทะเบียน :: 43/0045/2554
ลักษณะ :: แกะสลักทรงแบน ปลายเรียวสอบ คล้ายใบบัวปากแคบ มีฝาไม้สำหรับเปิดปิด ลำตัวแกะสลักด้วยลวดลายไทย (มีเม็ดเครื่องหอมบรรจุอยู่ภายใน)
แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชื่อวัตถุ :: หมวก เลขทะเบียน :: 43/0020/2554
ลักษณะ :: ทรงกลม สานด้วยใบลานเรียงต่อกัน คลี่ออกคล้ายพัดเย็บติดกันด้วยด้าย
แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชื่อวัตถุ :: กำไลข้อมือ เลขทะเบียน :: 43/0060/2550
ลักษณะ :: ตัวกำไลเป็นลายปล้องพันเกลียว คือเป็นวงกลมหลายๆวงพันซ้อนกำไลที่แกะสลักลายเรขาคณิตไว้
แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
แหล่งที่มาวัตถุ :: แขวงบางบอน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
ชื่อวัตถุ :: ซองพลู เลขทะเบียน :: 43/0046/2550
ลักษณะ :: รูปร่างคล้ายกรวยแบน ทรงหกเหลี่ยมดุนลายใบไม้และดอกไม้ ใช้สำหรับใส่ใบพลูอยู่ในชุดเครื่องเชี่ยนหมาก
แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
แหล่งที่มาวัตถุ :: แขวงบางบอน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
ชื่อวัตถุ :: ตลับ เลขทะเบียน :: 43/0035/2550
ลักษณะ :: ทรงแปดเหลี่ยมพร้อมฝาปิด กลางฝาแกะสลักและบุลายรูปกิเลน2 ตัว หันหน้าเข้าหากัน อยู่ในกรอบแปดเหลี่ยมซึ่งล้อมรอบด้วยเถาวัลย์ อีกชั้นหนึ่งที่มีลายกลีบบัวซ้อนอยู่รอบนอกอีก3 ชั้น ตัวตลับแกะสลักและบุลายดอกพิกุล เถาวัลย์และลายประแจจีน ก้นตลับจารึกอักษรลาว
แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
แหล่งที่มาวัตถุ :: แขวงบางบอน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
ชื่อวัตถุ :: ขัน เลขทะเบียน :: 43/0011/2550
ลักษณะ :: ทรงมะนาวตัด บุรูปนักษัตร12ราศี เทวดาและนางฟ้าในช่องสี่เหลี่ยม ใช้ใส่น้ำดื่มหรือข้าวเพื่อตักบาตรพระแหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษกแหล่งที่มาวัตถุ :: แขวงบางบอน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
ชื่อวัตถุ :: พานเชิง เลขทะเบียน :: 43/0008/2550
ลักษณะ :: ทรงสูง ปากบาน ผายออก บุลายดอกไม้ มีเชิงทรงสูง จานแคบ ใช้สำหรับใส่ดอกไม้ธุปเทียนบูชาแหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษกแหล่งที่มาวัตถุ :: แขวงบางบอน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
รายงานบัญชีงบทดลองและเอกสารประกอบงบทดลอง สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา (เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๒)
ภายหลังจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) เสด็จขึ้นครองราชย์ ในพุทธศักราช ๒๓๙๔ แล้ว พระองค์โปรดให้กรมการเมืองเพชรบุรีไปจัดการบำรุงรักษาถ้ำเขาหลวง อันเป็นศาสนสถานสำคัญที่ทรงมีพระราชศรัทธา ตั้งแต่ครั้งทรงผนวช และมีพระประสงค์ที่จะเสด็จฯ มาเมืองเพชรบุรี ครั้นในเดือนอ้าย ปีมะเมีย สัมฤทธิศก พุทธศักราช ๒๔๐๑ จึงได้เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคมายังเมืองเพชรบุรี โดยในครั้งนั้นประทับแรมที่พลับพลาค่ายหลวงที่เขาหลวง ซึ่งเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค ภายหลังเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์) สมุหพระกลาโหม เป็นผู้อำนวยการสร้าง และประทับที่พลับพลาค่ายหลวงบ้านบางทะลุ อีกคืนหนึ่ง ก่อนเสด็จฯ กลับพระนคร อาจารย์เสยย์ เกิดเจริญ ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์เมืองเพชรบุรี ได้ให้ข้อสันนิษฐานว่าการเสด็จฯ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในเดือนอ้าย พุทธศักราช ๒๔๐๑ นับเป็นมูลเหตุสำคัญให้มีกระแสพระราชดำริ ในการจะสร้างพระราชวังขึ้นที่เมืองเพชรบุรีด้วย ปรากฏว่าหลังจากเสด็จฯ กลับพระนครแล้ว ได้มีรับสั่งให้พระพรหมบริรักษ์ (สันนิษฐานว่าคือ แย้ม บุณยรัตนพันธุ์ ภายหลังเป็นพระยาสีหราชฤทธิไกร) เจ้ากรมพระตำรวจ ออกมาทำแผนที่ร่วมกับพระยาเพชรบุรี เพื่อกะการสร้างพระราชวังบนเขาสมณ ดังเนื้อความในหมายรับสั่งรัชกาลที่ ๔ ฉบับหนึ่ง มีตอนหนึ่งว่า “…มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สั่งว่า ที่เขาพระนอนนั้น ทอดพระเนตรที่ทางชอบกลพอจะทำพระตำหนักพลับพลาได้…” น่าสนใจว่า พระพรหมบริรักษ์และเจ้าเมืองเพชรบุรี ในชณะนั้นคือใคร จากการศึกษาสืบค้นทำให้ทราบว่า เจ้าเมืองเพชรบุรีในขณะนั้น คือ พระยาสุรินทรฦๅไชย (เกษ ตาลวันนา) ชาวเพชรบุรี ซึ่งเข้ารับราชการในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จนได้รับตำแหน่งเจ้าเมืองเพชรบุรีในปลายรัชกาลนี้ ครั้นถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เป็นผู้สนองพระราชดำริในการจัดการบูรณะถ้ำเขาหลวง รวมถึงวัดสำคัญอื่น ๆ ด้วย และได้มีส่วนร่วมทำแผนที่ก่อสร้างพระราชวังแห่งใหม่บนเขาสมณ ผู้มีส่วนในการทำแผนที่สร้างพระราชวังแห่งใหม่อีกคนซึ่งปรากฏชื่อในหมายรับสั่งครั้งรัชกาลที่ ๔ คือ พระพรหมบริรักษ์ ซึ่งเป็นตำแหน่งในกรมพระตำรวจหลวง ซึ่งมีหน้าที่อารักขาพระเจ้าแผ่นดิน และนอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ตามที่พระเจ้าแผ่นดินได้มีรับสั่งโปรดเกล้าฯ เป็นครั้งคราว เช่น ไปราชการหัวเมือง ปราบปรามโจรผู้ร้าย เป็นต้น พระพรหมบริรักษ์ ผู้ได้มาทำแผ่นที่กะการก่อสร้างพระราชวังแห่งใหม่ในครั้งนั้น มีหลักฐานในพระราชหัตถเลขา รัชกาลที่ ๔ ได้แต่งตั้งนายแย้ม บุตรเจ้าพระยาภูธราภัย สมุหนายก เมื่อพุทธศักราช ๒๔๐๑ ให้เป็นพระพรหมบริรักษ์ ก่อนหน้าจะโปรดให้มาเมืองเพชรบุรีไม่นานนัก จึงอนุมานได้ว่า พระพรหมบริรักษ์ ในครั้งนั้น คือ นายแย้ม ซึ่งต่อมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์สูงสุดที่ พระยาสีหราชฤทธิไกร และผู้สืบเชื้อสายต่อมา ได้รับนามสกุลว่า บุณยรตพันธุ์ภาพถ่ายเก่าพระนครคีรี ถ่ายจากบริเวณหอพิมานเพชรมเหศวร์ ทำให้เห็นหมู่พระที่นั่งและอาคารประกอบต่าง ๆ ทั้งโรงสูทกรรม พระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ พระที่นั่งปราโมทย์มไหสวรรย์ พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท พระที่นั่งราชธรรมสภา และหอชัชวาลเวียงชัย ข้อมูล/ภาพ : นายณัฐพล ชัยมั่น ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี
ห้องที่ 9 : บันทึกสงขลา จัดแสดงโบราณวัตถุและศิลปวัตถุตามสาระสำคัญ คือ ศิลปวัตถุของผู้ปกครองเมืองสงขลา เป็นหนึ่งในหลักฐานที่สะท้อนถึงการการปกครอง 3 ช่วงเวลา คือ สงขลาภายใต้ การนำของผู้ปกครองเชื้อสายมุสลิม (สงขลาหัวเขาแดง) สงขลาภายใต้การปกครองของชาวจีน (สงขลาแหลมสนและสงขลาบ่อยาง) และสงขลาภายหลังการปฏิรูปการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล ซึ่งมีการปรับบทบาทของเจ้าเมืองให้เป็นผู้ว่าราชการเมืองสงขลา อิทธิพลเหล่านี้สะท้อนให้เห็นจากศิลปวัตถุ ได้แก่ บานประตูไม้แกะสลักลายจีน ชุดเซารามิกจากตะวันตก และชุดภาชนะทองเหลืองศิลปะของชาวมุสลิม