ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ


๐ สวัสดีค่ะ กลับมาพบกันอีกครั้งกับสาระความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ วันนี้เราขอเสนอองค์ความรู้ เรื่อง สัตตภัณฑ์ : พุทธศิลป์ถิ่นล้านนา ค่ะ ๐ สัตตภัณฑ์ เป็นเครื่องสักการะในพระพุทธศาสนาที่งดงามอย่างหนึ่งของชาวล้านนา ลักษณะเป็นเชิงเทียนตั้งอยู่หน้าแท่นแก้ว ใช้เป็นที่ปักเทียนสำหรับบูชาองค์ พระธาตุเจดีย์ หรือพระประธานในพระวิหารหรือพระอุโบสถ์ ด้วยความเลื่อมใส ศรัทธาและมีนัย คติ ความเชื่อต่าง ๆ แฝงอยู่อย่างแยบยลและกลมกลืน นับเป็นงานศิลปกรรมที่มีความเป็นเอกลักษณ์และปรากฏมีอยู่ในวัฒนธรรม ล้านนาเท่านั้น ความงดงามของลวดลายประดับสัตตภัณฑ์ ล้วนมีความโดดเด่นและงดงาม ๐ หากท่านใดสนใจชมความประณีตงดงามของสัตตภัณฑ์ที่จัดแสดงอยู่ สามารถเข้าชมได้ที่ ณ อาคารจัดแสดง ห้องเครื่องสักการะบูชาในพระพุทธศาสนา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ค่ะ ทางเรายินดีต้อนรับทุกท่านนะคะ แล้วพบกันใหม่ในองค์ความรู้รอบหน้านะคะ ------------------------------------- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ (หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. โทรศัพท์ : ๐๕๓-๒๒๑๓๐๘ e-mail : cm_museum@hotmail.com





+++วัดเขาพระบาทน้อย+++  . --- วัดเขาพระบาทน้อย หรือโบราณสถานร้าง ต.ต.๑๔ ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองสุโขทัยทางด้านตะวันตก และอยู่ห่างจากประตูอ้อไปทางทิศตะวันตก ประมาณ ๒.๗ กิโลเมตร กลุ่มโบราณสถานวัดเขาพระบาทน้อยนั้น ตั้งอยู่บนเนินเขาลูกเตี้ย ๆโดยมีทางขึ้นทางด้านทิศตะวันออกเป็นทางเดินปูด้วยแผ่นหินเหมือนกับวัดสะพานหิน บนยอดเขาที่เป็นที่ตั้งของโบราณสถานมีสภาพเป็นเนินดินที่ถูกไถปรับให้เป็นลานกว้าง เพื่อก่อสร้างกลุ่มโบราณสถาน ประกอบด้วยรายละเอียด ดังต่อไปนี้ .  --- ๑. เจดีย์ทรงจอมแห ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ ๗.๕๐ เมตร มีคูหาพระพุทธรูปอยู่ทั้ง ๔ ทิศ  --- ๒. ฐานวิหารตั้งอยู่ด้านหน้า หรือ ทางทิศตะวันออกของเจดีย์จอมแห มีลักษณะเป็นวิหาร ๕ ห้อง ขนาดกว้าง ๙ เมตร ยาว ๑๒ เมตร ฐานและเสาทำด้วยศิลาแลง พื้นปูด้วยหินชนวน เดิมเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทสี่รอย (ปัจจุบันได้เคลื่อนย้ายนำมาจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง สุโขทัย)  --- ๓. กุฏิสงฆ์ ก่อด้วยหินปนอิฐ และ ก่อหลังคาเป็นซุ้มคูหา มีขนาดพอให้พระสงฆ์จำพรรษาได้เพียง ๑ รูป อยู่ทางทิศตะวันตก ๑ แห่ง และทิศใต้ ๑ แห่ง --- ๔. ฐานเจดีย์ศิลาแลงรูปแปดเหลี่ยม ขนาดใหญ่ ส่วนยอดไม่มี ขนาดฐาน ๒๕ x ๒๕ เมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเจดีย์ทรงจอมแห . --- วัดเขาพระบาทน้อยนั้น ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างเมื่อใด แต่ในพระราชนิพนธ์เรื่อง “เที่ยวเมืองพระร่วง” มีการกล่าวถึง วัดเขาพระบาทน้อยว่า  “ที่ควรดูแห่งหนึ่ง คือ เขาพระบาทน้อย ซึ่งเป็นที่ราษฎรไปนมัสการกัน  ทางไปในป่า และ ทุ่งเลียบลำน้ำใหญ่ลำหนึ่ง ในฤดูแล้งแห้งหมด แลเห็นถนนตัดไปมาตามนี้หลายสาย  คงจะได้ทำขึ้นครั้งพระเจ้ารามคำแหง เพราะมีข้อความปรากฏอยู่ในคำจารึกหลักศิลา “วันเดือนดับเดือนเต็ม ท่านแต่งช้างเผือกกรพดดลยาง ท้ยน  ญ่อมทองงาซ้าย ขวาชื่อ รูจาครี พ่อขุนรามคำแหงขึ้นขี่ไปนบพระ(เถิง) อรัญญิก”   ดังนี้ต้องเข้าใจว่าทางป่าแถบนี้เป็นที่เสด็จไปอยู่เนือง ๆ ทางจากเมืองสุโขทัยไปถึงเขาพระบาทน้อยประมาณ ๑๐๐ เส้น เขานั้นไม่สู้สูงนัก ทางขึ้นก็ลาด สบายดีมีศิลาแลงเป็นแผ่นแบน ๆ วางเรียงกันเป็นถนนขึ้นไปถึงสันเขา มีเป็นลานก่อขึ้นไป มีบันไดขึ้น ๔ หรือ ๕ ขั้น บนนั้นมีพระเจดีย์ทรงจอมแห(คือชนิดที่มีอยู่ที่หน้าวัดชนะสงครามในกรุงเทพฯนี้) มีเป็นช่องกุฎี ๔ ทิศ เหนือบัวกลุ่ม ทรวดทรงงามดี ควรถือเป็นแบบอันดีของเจดีย์ชนิดนี้ได้ ทางด้านทิศตะวันออกของพระเจดีย์ มีวิหารย่อม ๆ หลังวิหารนี้มีเป็นแท่นติด กับฐานพระเจดีย์ ที่แท่นนี้มีศิลาแผ่นแบนแกะเป็นรอยพระพุทธบาท ลวดลายก็ดูเหมือนจะไม่สู้งามอะไรนัก ลงจากเนินที่ประดิษฐานพระเจดีย์และพระพุทธบาทนี้ต่อไปอีกเนินหนึ่ง มีเป็นฐานพระเจดีย์ใหญ่น่าดูมาก เป็นรูปแปดเหลี่ยม เหลี่ยมหนึ่งถึง ๕ วา มุมมีย่อเป็นไม้สิบสอง ฐานนั้นมีบัวเป็นชั้นๆ ซ้อนกันขึ้นไป รูปพรรณสันฐานงามมาก วัดจากพื้นดินขึ้นไปถึงบัวบน ๒ วา ๑ ศอก ต่อนี้ขึ้นไปพระเจดีย์ทลายเสียหมดแล้ว คงยังมีอยู่แต่กองดินปนกับแลง ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้แลเห็นทะลักทลายลงมา เห็นได้ชัดว่าจะได้มีผู้ตั้งกองขุดกันอย่างสามารถ เพราะฉะนั้นรู้ไม่ได้แน่ว่าพระเจดีย์รูปจะเป็นอย่างไร พระยาอุทัยมนตรี สันนิษฐานว่าจะเป็นรูปทรงเตี้ยอย่างพระเจดีย์รามัญ ซึ่งชอบกลอยู่ เพราะสังเกตว่าถ้าเป็นรูปที่มีทรงสูงน่าจะมีก้อนแลงที่ทำลายลงมากองอยู่กับดินนั้น เป็นกองใหญ่กว่าที่มีอยู่บัดนี้ อย่างไร ๆ พระเจดีย์นี้เห็นได้ว่า ทำด้วยฝีมือประณีตบรรจงมาก รากก่อด้วยอิฐ แล้วต่อขึ้นไปเป็นแลงก้อนใหญ่ ๆ ที่บัวและมุมก็ตัดแลงเป็นรูปให้เหมาะกับที่ต้องการ ไม่ใช่ประดับขึ้นแล้วปั้นบัวให้ถูกรูปด้วยปูน ที่นี้คงจะเป็นที่ พระเจ้าแผ่นดินสุโขทัยเสด็จมานมัสการแห่งหนึ่ง เป็นแน่แท้ และ พระเจดีย์องค์นี้ นอกจากผู้มีอำนาจจะสร้างก็เห็นจะทำให้สำเร็จได้โดยยาก เพราะเฉพาะแต่ยกก้อนแลงเขื่อง ๆ เท่านั้นซ้อนกันจนสูงได้เป็นหลายวาเช่นนั้น ก็ต้องใช้กำลังคนมากอยู่แล้ว” . --- นอกจากนี้วัดเขาพระบาทน้อยยังพบรอยพระพุทธบาท ๔ รอยสลักลงบนหินชนวน แสดงคติการสร้างรอยพระพุทธบาทที่กำลังเป็นที่นิยมในสุโขทัยในขณะนั้นโดยรอยพระพุทธบาท ๔ รอยนี้เป็นรอยพระบาทของอดีตพระพุทธเจ้า คือพระกกุสันธะ พระโกนาคม พระกัสปะ และพระบาทของพระสมณโคดม พระพุทธเจ้าในปัจจุบัน ซ้อนเหลื่อมกันอยู่แสดงถึงความต่อเนื่องในสืบพระพุทธศาสนาที่มียาวนาน รอยพระพุทธบาท ๔ รอยนี้ตามบันทึกมีการค้นพบประดิษฐานอยู่บริเวณด้านหน้าเจดีย์ทรงจอมแห  ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง สุโขทัย



          แหล่งโบราณคดีที่เป็นแหล่งภาพเขียนสีอีกแหล่งหนึ่งของจังหวัดตรัง คือ แหล่งโบราณคดีภาพเขียนสีอ่าวบุญคง ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีที่พบร่องรอยการใช้พื้นที่ของมนุษย์ในอดีตหลายยุคสมัยด้วยกัน แหล่งโบราณคดีภาพเขียนสีอ่าวบุญคง ตั้งอยู่ที่ หมู่ ๓ ตำบลไม้ฝาด อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ประวัติและความสำคัญ            ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของภูเขาหินปูนภายในอ่าวบุญคง มีลักษณะเป็นอ่าวปิด ไม่มีทางรถยนต์เข้าถึง การเดินทางจึงต้องใช้เรือหรือเดินตัดผ่านป่าชายเลนเข้าไป แหล่งโบราณคดีมีลักษณะเป็นเพิงผา และโพรงถ้ำที่เกิดจากการกัดเซาะของน้ำทะเลตามธรรมชาติ ภายในมีคูหาแบ่งเป็นหลายห้องทะลุถึงกันได้ บริเวณจุดที่พบภาพเขียนสีจะอยู่ด้านหน้าของโพรงถ้ำห่างจากปากถ้ำไปทางทิศเหนือประมาณ ๕ เมตร ตัวภาพสูงจากระดับน้ำทะเล ๒ เมตร ส่วนโพรงถ้ำที่พบหลักฐานทางโบราณคดีจะอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๑ เมตร ตัวเพดานโพรงถ้ำมีขนาดสูงประมาณ ๑ - ๒ เมตร จากการศึกษาพบหลักฐานทางโบราณคดีในยุคก่อนประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์ สิ่งสำคัญทางโบราณคดี           ๑. ภาพเขียนสี ตั้งอยู่บริเวณเพิงผาด้านหน้าโพรงถ้ำ เขียนลายเส้นสีแดง ใช้เทคนิคการเขียนโครงเส้น และระบายสีทึบด้านในเป็นบางส่วน ภาพมีลักษณะคล้ายรูปปลา สัตว์ทะเล บุคคล และลายเรขาคณิต บางส่วนลบเลือนเนื่องจากมีคราบหินปูนเคลือบทับไว้ ตัวภาพมีความคล้ายคลึงกับภาพเขียนสีเขาแบนะในเขตอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ซึ่งอยู่ห่างไปจากแหล่งโบราณคดีประมาณ ๑๓ กิโลเมตร ผลจากการศึกษาค่าอายุโดยการเปรียบเทียบรูปแบบกับกลุ่มภาพเขียนสีที่อ่าวพังงา จังหวัดพังงา และอ่าวลึก จังหวัดกระบี่ กำหนดอายุภาพเขียนสีอ่าวบุญคงราว ๔,๐๐๐ - ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว           ๒. หลักฐานทางโบราณคดีในโพรงถ้ำอ่าวบุญคง พบหลักฐานบริเวณพื้นถ้ำ ได้แก่ ชิ้นส่วนโครงกระดูกมนุษย์ ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีน และชิ้นส่วนตลับเคลือบใสสีขาว สมัยราชวงศ์ซุ่งใต้อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗ – ๑๙ ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อดิน เปลือกหอยทากบก (หอยหอม) และ เปลือกหอยทะเล เช่น หอยสังข์กระโดด (หอยชักตีน) หอยแครง แหวนพลอยสีชมพู ตัวเรือนทำจากโลหะเคลือบสีทองเป็นแหวนสมัยรัตนโกสินทร์ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๕ เป็นต้น           จากลักษณะสภาพภูมิศาสตร์ที่ตั้งของแหล่งโบราณคดีสันนิษฐานว่าคนโบราณได้มาใช้พื้นที่บริเวณอ่าวบุญคงสำหรับจอดพักเรือระหว่างการเดินทาง หรือใช้หลบกระแสคลื่นลมและใช้เป็นพื้นที่ประกอบพิธีกรรมมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยปัจจุบัน          อายุสมัย ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ราว ๔,๐๐๐ - ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว ยุคประวัติศาสตร์ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๙ และสมัยรัตนโกสินทร์ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๕ที่มาของข้อมูล : กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา






ชื่อเรื่อง                                ปทุมชาตก (บัวหอม) สพ.บ.                                  205/4ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           42 หน้า กว้าง 4.5 ซ.ม. ยาว 57 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก                                           เทศน์มหาชาติ                                           คาถาพัน บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดกกม่วง ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                                มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาดก)ชาตกฎฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (ทานขันธ์-นครกัณฑ์)  สพ.บ.                                  250/10ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           32 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา--การศึกษาและการสอน                                           ชาดก บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ-ล่องรัก  ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


กู่เจ้านายฝ่ายเหนือสายเชียงใหม่กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ เป็นอนุสรณ์สถานหรืออนุสาวรีย์ที่บรรจุพระอัฐิของอดีตเจ้าหลวงและอัฐิของเจ้านายฝ่ายเหนือ โดยกู่เจ้านายฝ่ายเหนือที่วัดสวนดอกเป็นสถานที่บรรจุพระอัฐิและอัฐิของเจ้านายฝ่ายเหนือสายเชียงใหม่ กู่เจ้านายฝ่ายเหนือที่วัดสวนดอก เกิดจากพระดำริของเจ้าดารารัศมี พระราชชายา เมื่อคราวเสด็จกลับเชียงใหม่ เมื่อ ร.ศ. ๑๒๗ - ๑๒๘ (ประมาณ พ.ศ. ๒๔๕๑) ว่าจะรวบรวมพระอัฐิเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่และอัฐิพระญาติวงศ์ในราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน ซึ่งขณะนั้นประดิษฐานกระจัดกระจายในข่วงเมรุ* มาประดิษฐานไว้ที่เดียวกัน ณ บริเวณลานวัดสวนดอก ที่มีอาณาบริเวณกว้างขวาง เมื่อก่อสร้างกู่เรียบร้อยแล้วจึงอัญเชิญพระอัฐิและอัฐิของพระญาติผู้ใหญ่มาประดิษฐานไว้เป็นปฐม ดังจารึกการย้ายพระอัฐิซึ่งประดิษฐานด้านหน้ากู่บรรจุพระอัฐิของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ดังนี้๑. พระเจ้ากาวิละ๒. เจ้าหลวงธรรมลังกา (ช้างเผือก)๓. เจ้าหลวงคำฟั่น (เศรษฐี)๔. เจ้าหลวงพุทธวงษ์๕. พระเจ้ามโหตระประเทศ ๖. พระเจ้ากาวิโลรส๗. พระเจ้าอินทวิชยานนท์๘. แม่เจ้าอุสาอัยกี๙. แม่เจ้าทิพเกสรพระชนนี๑๐. แม่เจ้ารินคำชนนีเจ้าอินทวโรรส๑๑. แม่เจ้าพิณทองนับจากนั้น เมื่อมีการปลงศพเจ้าหลวงและพระญาติแล้วก็ได้มีการนำพระอัฐิและอัฐิไปบรรจุไว้ในกู่ที่สร้างขึ้น ณ สุสานวัดสวนดอกเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยในวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๗ หนานปวงคำ ตุ้ยเขียว ได้สำรวจและบันทึกว่ามีจำนวนกู่ จำนวน ๑๐๕ กู่ ต่อมาใน พ.ศ.๒๕๒๗ ศาสตราจารย์ ดร. อุดม รุ่งเรืองศรี ได้สำรวจและจัดทำบัญชีอีกครั้ง และบันทึกว่ามีจำนวนกู่ทั้งหมด ๑๑๓ กู่ทายาทเจ้านายฝ่ายเหนือได้ร่วมกันจัดงานบุญถวายราชกุศลแด่ดวงพระวิญญาณของเจ้าหลวงเชียงใหม่และเจ้านายฝ่ายเหนืออย่างต่อเนื่อง ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ นครเชียงใหม่อายุครบ ๗๐๐ ปี หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และคณะเจ้านายฝ่ายเหนือได้ร่วมกันจัดพิธีสักการะดำหัวกู่เจ้าหลวงเชียงใหม่อย่างยิ่งใหญ่ และเชิญชวนประชาชนร่วมพิธีด้วย ปัจจุบันมีการกำหนดจัดพิธีสักการะกู่เจ้าหลวงเชียงใหม่ ในวันที่ ๑๗ เมษายน ของทุกปี ณ บริเวณกู่เจ้านายฝ่ายเหนือ วัดสวนดอก   ผู้เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการ ภาพ : ๑. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่. ภาพส่วนบุคคล ชุด นายบุญเสริม สาตราภัย๒. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่. หมายเหตุ : ข่วงเมรุ เป็นสถานที่สำหรับประกอบพิธีศพเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่มาตั้งแต่อดีต ตั้งอยู่บริเวณท้องทุ่งริมแม่น้ำปิงฝั่งตะวันตกระหว่างคุ้มท่าเจดีย์กิ่วทางตอนเหนือลงมาถึงท่าแพตอนใต้ ปัจจุบันเป็นพื้นที่ตลาดวโรรสอ้างอิง : ๑. พิเชษฐ์ ตันตินามชัย.  ๒๕๖๒. “ดำหัวกู่เจ้านายเชียงใหม่.” ใน วงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ (บรรณาธิการ).  เชียงใหม่ นครแห่งอมต.  เชียงใหม่: วิทอินดีไซน์, ๑๑๙-๑๓๒.๒. วรชาติ มีชูบท. ๒๕๕๔. พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ศรีแห่งนครเชียงใหม่. กรุงเทพมหานคร: เลิฟแอนด์ลิพเพรส.๓. ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี. ๒๕๕๕. เวียงสวนดอก. เชียงใหม่: ชุติมาพริ้นติ้ง.


เลขทะเบียน : นพ.บ.181/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  46 หน้า ; 4 x 48 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 103 (91-100) ผูก 4 (2565)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันธ์ขันธ์ --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


Messenger