ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : งานนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์เมื่อร้อยกว่าปีก่อน -- พระแท่นศิลาอาสน์ มีลักษณะเป็นศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้างประมาณ 2.50 เมตร ยาวประมาณ 3 เมตร โดยมีไม้จำหลักลงรักปิดทองประดับกระจกประกอบเข้าตัวพระแท่นเป็นพุทธบัลลังก์ ประดิษฐานในมณฑป ตั้งอยู่ภายในวิหารใหญ่ของวัดพระแท่นศิลาอาสน์ ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ตามตำนานกล่าวว่าพระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์เสด็จมาประทับ ณ พระแท่นศิลาอาสน์นี้หลังจากที่ตรัสรู้แล้ว พระแท่นศิลาอาสน์เป็นสถานที่ที่มีพุทธศาสนิกชนนิยมมาสักการะบูชามาช้านาน จนเกิดประเพณีงานนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ขึ้นทุกช่วงวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 เป็นประจำทุกปี งานนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์เมื่อร้อยกว่าปีก่อนเป็นอย่างไร เราอาจจะหาคำตอบได้จากเอกสารจดหมายเหตุชุดกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง รายงานนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ ระบุว่า เมื่อวันที่ 15 มีนาคม ร.ศ. 113 (นับอย่างปฏิทินปัจจุบันคือปี พ.ศ. 2438) พระบริรักษ์โยธี ปลัดขวาผู้รักษาเมืองพิไชย ได้มีใบบอกถึงพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตรฯ ข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลพิษณุโลกเกี่ยวกับงานนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ประจำปี ร.ศ. 113 ใจความโดยสรุปว่า พระศรีพนมมาศ ผู้ว่าราชการเมืองทุ่งยั้งได้ขอกรมการไปช่วยรักษาความสงบเรียบร้อยในงาน พระบริรักษ์โยธีจึงให้หลวงสุนทรพิทักษ์ กรมการ ขึ้นไปช่วย และส่งกำนันผู้ใหญ่บ้านและเลกข้าพระ (คือไพร่ทาสที่มีหน้าที่รับใช้พระในวัด – ผู้เขียน) ไปเป็นกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย พร้อมทั้งได้ออกข้อบังคับสำหรับรักษาความสงบเรียบร้อยรวม 9 ข้อ เมื่อช่วงงานนมัสการสิ้นสุดลง พระศรีพนมมาศจึงได้รายงานให้พระบริรักษ์โยธีทราบว่า งานนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ดำเนินไปอย่างเรียบร้อย มีผู้ร่วมงานทั้งพระสงฆ์ สามเณรและฆราวาสรวมทั้งสิ้นประมาณ 44,600 คน ได้เงินที่มีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคไว้ในหลุมพระแท่นศิลาอาสน์จำนวน 259 บาท 24 อัฐ ซึ่งทางพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตรฯ ได้ชื่นชมผู้รักษาเมืองและกรมการที่ช่วยกันดูแลรักษาความปลอดภัยในบริเวณที่มีคนจำนวนมากถึง 40,000 กว่าคนโดยไม่มีเหตุร้ายแรงอะไร ทั้งๆ ที่ใช้ข้อบังคับสำหรับรักษาความสงบเรียบร้อยตามแบบของเดิมและมีบางข้อที่รุนแรงไปบ้าง เป็นที่น่าเสียดายว่า เรายังไม่พบภาพงานนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ในสมัยนั้นว่ามีความยิ่งใหญ่เพียงใดถึงมีจำนวนผู้เข้าร่วมงานนมัสการถึง 40,000 กว่าคน ซึ่งนับว่ามากในสมัยนั้น ขนาดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชกระแสว่า “ก็แปลกดีไม่เคยฟัง พึ่งรู้ว่าคนมากเช่นนี้….” ผู้เขียน : นายธัชพงศ์ พัตรสงวน (นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารและข้อมูลอ้างอิง:1. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงศึกษาธิการ ร.5 ศ 13/9 เรื่อง รายงานนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์. [24 – 26 เม.ย. 114].2. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (2498). เที่ยวตามทางรถไฟ. พระนคร: โรงพิมพ์ตีรณสาร. (พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงกำจรนิติสาร (กำจร นิติสาร) 30 เมษายน 2498). 3. ตรี อมาตยกุล. (2511). นำเที่ยวจังหวัดอุตรดิตถ์. พระนคร: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง. (พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพระณรงค์ฤทธี (ชาย ดิฐานนท์) 15 มกราคม 2511).#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
หนังสือ พระประธาน พระสมเด็จ ญสส. พระธรรมคำสั่งสอน และพระธรรมเทศนา. กรุงเทพฯ: เอส. ออฟเซ็ท กราฟฟิคดีไซน์, 2564. 216 หน้า.ภาพประกอบ.อธิบายความหมายของพระประธาน ข้อความในพระเครื่อง ประวัติพระเครื่อง พระประธาน พระสมเด็จ ญสส. พระบูชา พิมพ์พระพุทธเจ้าปิดตา พิมพ์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พิมพ์หลวงปู่ทวด พิธีผสมชนวนมวลสาร พิธีพุทธาภิเษกชนวนมวลสาร พิธีหลอมชนวนโลหะผสม พิธีถวายสังฆทาน มีพระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมเทศนาและพระโอวาทธรรมเพื่อผู้อ่านที่สนใจได้ศึกษาเป็นคติธรรม294.31218ห144 (ห้องหนังสือทั่วไป1 )
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 57/5ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 26 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ของขวัญปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๖ จากใจกรมศิลปากร โดยสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ขอเชิญผู้สนใจเข้าชมพิพิธภัณฑ์ยามเย็นและรับพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในกิจกรรมนำชมรอบพิเศษ "นบพระ ไหว้ (เทพ) เจ้า" ลงทะเบียนหน้างาน และนำชมวันละ ๑ รอบเท่านั้น ระหว่างวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๕ - ๒ มกราคม ๒๕๖๖
กำหนดการ
๑๖.๓๐ น. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม ณ ศาลาลงสรง
๑๗.๐๐ น. เริ่มกิจกรรมนำชมรอบพิเศษ
๑๘.๐๐ น. จับฉลากของที่ระลึก
-------------------------------------------------------
*พิเศษ! ลุ้นรับของที่ระลึกสุดพิเศษวันละ ๑๐ ชิ้นเท่านั้น* "เครื่องรางโอมาโมริแก้ชง ปีเถาะ ธาตุน้ำ" ภายในบรรจุยันต์ "องค์ไท่ส่วย" ปี ๒๕๖๖ รับเมตตาอธิษฐานจิตจากพระอาจารย์จีนคณาณัติจีนพรต (เย็นงี้)เจ้าอาวาสวัดมังกรกมลาวาส (เล่งเน่ยยี่) สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒ และ ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๓๓ (วันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา ๐๘.๓๐ น. - ๑๖.๓๐ น.)
ชื่อผู้แต่ง จุลทัศน์ พยาฆรานนท์
ชื่อเรื่อง อนุสรณ์ ร.ต.บุญเทพ ปรีชานนท์
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์วิญญาณ
ปีที่พิมพ์ 2521
จำนวนหน้า 67 หน้า
หมายเหตุ พิมพ์ในงานฌาปนกิจศพ ร.ตบุญเทศ ปรัชานนท์
รายละเอียด :
ช่างสิบหมู่จากผลงานการเรียบเรียงของอาจารย์จุลทัศน์ พยาฆรานนท์ เนื้อหาสาระเป็น
ประวัติของช่างสิบหมู่ ประกอบด้วย ช่างเขียน ช่างปั้น ช่างหล่อ ช่างหุ่น ช่างแกะ ช่างสลัก ช่างปูน ช่างกลึง ช่างปุ ช่างรัก รวม ๑๐ ช่าง
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 152/1 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
งานวิจัย เรื่อง แนวคิดและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเมืองชายฝั่งทะเลอันดามันของพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) ศึกษาเฉพาะจังหวัดตรัง เป็นการศึกษาสภาพทั่วไปของหัวเมืองภาคใต้ฝั่งตะวันตกและเมืองตรังระหว่าง พ.ศ. 2352-2433 โดยค้นคว้าจากเอกสารและข้อมูลทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น
ชื่อเรื่อง คู่มือศาสนพิธีผู้แต่ง พระราชวิสุทธิเวทีประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ ศาสนาเลขหมู่ 294.31433 พ382คสถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์บางกะปิระหว่างประเทศปีที่พิมพ์ 2534ลักษณะวัสดุ 214 หน้า หัวเรื่อง บทสวดมนต์ พิธีทางศาสนาและพิธีกรรมภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกรวบรวมเกี่ยวกับบทสวดมนต์ คำอาราธนาศีลต่างๆ คำอธิฐานต่างๆ คำถวายทานทุกชนิด 265 อย่าง
ชื่อผู้แต่ง ศิลปากร,กรม
ชื่อเรื่อง สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๒
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ รุ่งศิลป์การพิมพ์
ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๙
จำนวนหน้า ๑๓๔ หน้า
หมายเหตุ เนื่องในโอกาสเชิดชูเกียรติในฐานะปรมาจารย์แห่งวิชาประวัติศาสตร์ในประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๙
หนังสือสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย เล่มนี้ ผู้สนใจจะเห็นได้ว่าแนวทางการศึกษาวิชาโบราณคดีของผู้เขียนยังอยู่ในมาตราฐานสากลที่ปรากฏในหนังสือและบทความต่างๆ ตั้งแต่เทคนิควิธีการในการรวบรวมข้อมูลจนถึงการวิเคราะห์ การแปลความในเรื่องต่างๆ เช่น สมัยหินเก่า สมัยหินกลาง สมัยหินใหม่ ยุคโลหะ เป็นต้น
ชื่อผู้แต่ง -
ชื่อเรื่อง อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพนายเชื้อ ชนานพ
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ ม.ป.ท.
สำนักพิมพ์ ม.ป.พ.
ปีที่พิมพ์ ๒๕๔๐
จำนวนหน้า ๑๒๔ หน้า
หมายเหตุ อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายเชื้อ ชนานพ
รายละเอียด
หนังสือที่ระลึกงานศพนายเชื้อ ชนานพ คณะบดีชาวชลบุรีตอนแรกเป็นคำไว้อาลัยของบุคคลสำคัญและญาติมิตรตลอดจน บุตรหลานและต่อด้วยประวัติผู้วายชนม์ ตั้งแต่เยาว์วัยจนถึงเสีบชีวิต เรื่องพระในบ้าน วิธีการฝึกสมาธิ ยาอายุวัฒน วิธีดื่มน้ำรักษาโรคต่างๆจากหนังสือพิมพ์จีน คติพจน์ และโคลงภาพฤาษีดัดตน
เลขทะเบียน : นพ.บ.412/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4 x 53 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 147 (71-80) ผูก 2 (2566)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.543/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 42 หน้า ; 4.5 x 58 ซ.ม. : ลานดิบ-ล่องรัก-รักทึบ-ล่องชาด ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 181 (303-310) ผูก 4 (2566)หัวเรื่อง : ลำเทวทูตตสุด--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม