ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ
องค์ความรู้สุพรรณบุรี เรื่อง ประเพณีการแต่งงานของลาวโซ่ง-ไทยทรงดำผู้เรียบเรียง :
นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ
หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
ชื่อเรื่อง สพ.ส.63 คาถาอาคมประเภทวัสดุ/มีเดีย สมุดไทยขาวISBN/ISSN -หมวดหมู่ ไสยศาสตร์ลักษณะวัสดุ 18; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง คาถาอาคม ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก ประวัติวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 15 ส.ค..2538
แผ่นทองคำสลักดุนรูปกิเลน
พุทธศตวรรษที่ ๒๑
ได้จากวัดเจดีย์สูง ตำบลฮอด อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๗
ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องล้านนา อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
แผ่นทองคำกลม ดุนรูปกิเลนยืนเหนือผิวน้ำ ท่ามกลางก้อนเมฆ ด้านบนเจาะรูเล็ก ๆ หนึ่งรู ส่วนขอบชำรุดไปบางส่วน
กิเลน หรือ ฉิหลิน (ในภาษาจีนแต้จิ๋ว) เป็นสัตว์วิเศษ ๑ ใน ๔ (ประกอบด้วย มังกร กิเลน หงส์ และเต่า) ซึ่งสามารถขจัดสิ่งชั่วร้ายและภูตผีปีศาจได้ ตามความเชื่อในวัฒนธรรมจีน กิเลนเกิดขึ้นจากธาตุทั้งห้าคือดิน น้ำ ไฟ ไม้และโลหะ สามารถเดินบนน้ำและในอากาศได้ อีกทั้งมีอายุอยู่ได้นับพันปี จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งคุณงามความดีและความมีอายุยืน* ชาวจีนนิยมทำยันต์รูปกิเลนหรือประติมากรรมกิเลนตั้งหันหน้าออกนอกถนนหรือทางแยก เพื่อป้องกันสิ่งชั่วร้ายที่อาจเข้ามายังที่อยู่อาศัย กิเลนมีศีรษะคล้ายสุนัขป่า** มีเขา ลำตัวมีเกล็ด ขาทั้งสี่มีกีบเท้าคล้ายกับม้า หางเหมือนวัว นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกตามเพศด้วย หากเป็นตัวผู้มีคำเรียกว่า “กิ” หากเป็นตัวเมียมีคำเรียกว่า “เลน” ดังนั้นเมื่อเรียกรวมกันจึงเรียกว่า “กิเลน”
คนไทยคงรู้จักกิเลนจากการติดต่อค้าขายกับจีน และนำมาประยุกต์ใช้ในงานศิลปกรรม อย่างน้อยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฏหลักฐานบนตู้พระธรรมวัดเซิงหวาย และน่าจะจัดให้กิเลนเป็นหนึ่งในสัตว์หิมพานต์ ดังหลักฐานจากสมุดภาพ เลขที่ ๑๙๗ “สมุดรูปสัตว์ต่าง ๆ” มีข้อความระบุว่าวาดขึ้นเมื่อ จ.ศ. ๑๑๙๗ (พ.ศ. ๒๓๗๘)*** ในสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งหน้าต้นที่ ๔๙-๕๐ ปรากฏเป็นภาพกิเลนลายเส้นสีดำ นอกจากนี้สันนิษฐานว่า กิเลน ยังเป็นแรงบันดาลใจให้สุนทรภู่ สร้างตัวละครคือ “ม้านิลมังกร” ในเรื่องพระอภัยมณี ดังความตอนหนึ่งที่สุดสาครพบม้านิลมังกรว่า
“พอพบม้าหน้าเหมือนมังกรร้าย
แต่กีบกายนั้นเป็นม้าน่าฉงน
หางเหมือนอย่างหางนาคปากคำรน
กายพิกลกำยำดูดำนิล”
*พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) ให้คำอธิบายเพิ่มเติมด้วยว่า กิเลนเป็นสัตว์ทิพย์ ปรากฏขึ้นเมื่อใดก็เป็นสวัสดิมงคล เพราะฉะนั้นจึงมักปรากฏตัวเมื่อบ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุขหรือผู้มีบุญมาเกิด นอกจากนี้ในวรรณกรรมจีนปรากฏ “กิเลน” ในเนื้อเรื่อง เช่น ไคเภ็ก และห้องสิน เป็นต้น
**ในคำอธิบายของพรพรรณ จันทโรนานนท์ ระบุว่ามีศีรษะคล้ายหมูป่า ดูใน พรพรรณ จันทโรนานนท์. ฮก ลก ซิ่ว. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๓๗.
***หน้าต้นมีข้อความระบุไว้ดังนี้ “๏ วันอังคาร ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือนสาม (กุมภาพันธ์-นับเดือนตามจันทรคติ) จุลศักราช ๑๑๙๗ [พ.ศ. ๒๓๗๘] ปีมะแมสัพศก ข้าพระพุทธจ้าวพรหมประกาศิต เขียรรูปสัตว์ต่าง ๆ ข้าพระพุทธิจ้าวนายฉายจำลองชุปเส้นอักสรทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ขอเดชะ ๚ะ”
อ้างอิง
กรมศิลปากร. สมุดภาพสัตว์หิมพานต์. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, ๒๕๖๑.
พรพรรณ จันทโรนานนท์. ฮก ลก ซิ่ว. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๓๗.
สมบัติ พลายน้อย. สัตว์หิมพานต์. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ: พิมพ์คำ, ๒๕๕๒.
เนื่องในโอกาสครบรอบ 132 ปี ชาตกาล ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี วันที่ 15 กันยายน “วันศิลป์ พีระศรี” พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป เชิญชวนทุกท่านร่วมวางดอกไม้เพื่อรำลึกและสักการะอัฐิของ “ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี”บุคคลสำคัญในวงการศิลปะของไทย ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องเป็น “บิดาแห่งวงการศิลปะร่วมสมัยไทย” ผู้บุกเบิกวงการศิลปกรรมของไทยให้ก้าวหน้าสู่สากล และผู้ก่อตั้งและอาจารย์ผู้สอนศิลปะประจำมหาวิทยาลัยศิลปากร ณ ห้องเอนกประสงค์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ในวันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2567 เวลา 09.30 น. - 14.00 น. โดยร่วมจุดเทียนและขับร้องเพลง “Santa Lucia” พร้อมกัน เพื่อเป็นการรำลึกถึงศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เวลา 13.30 น.
ขออนุญาตปลูกสร้างอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการก่อสร้างอาคารภายใน เขตของโบราณสถาน
เว็ปไซต์หอจดหมายเหตุแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่ : www.finearts.go.th/chiangmaiarchives
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่ เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่เก็บรักษาเอกสารจดหมายเหตุไว้เป็นหลักฐานชั้นต้นในการค้นคว้า อ้างอิงถึงการดำเนินงานของหน่วยงานเจ้าของเอกสาร และเป็นประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นรวมถึงประเทศ ด้วยวิธีการปกป้อง คุ้มครอง สงวนรักษาเอกสารจดหมายเหตุแต่ละประเภทที่ถูกต้องเหมาะสม และได้มาตรฐานตามหลักวิชาการจดหมายเหตุสากล เพื่อยืดอายุเอกสารจดหมายเหตุนั้น ๆ ให้มีอายุยืนยาว เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าถาวรตลอดไป
ลำดับการก่อตั้งหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่ มีดังนี้
พ.ศ.๒๕๒๖ : มีสถานภาพเป็นหน่วยจดหมายเหตุ ตั้งอยู่ ณ ชั้น ๔ อาคารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พ.ศ.๒๕๓๕ : มีสถานภาพเป็นหน่วยจดหมายเหตุ ตั้งอยู่ ณ ชั้นล่าง อาคารหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
พ.ศ.๒๕๓๖ : เริ่มก่อสร้างอาคารโดยหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรุงเทพฯสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเป็นองค์ประธาน วางศิลาฤกษ์อาคาร หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๖
"แม่ผมเก็บขยะขาย"
คุณสุดารัตน์ ปริญญาวุฒิชัย แปลจากนวนิยายจีน เขียนโดย จางไห่เซิง, หลี่เหวย