ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,619 รายการ
ผลการตรวจสอบแหล่งโบราณสถานที่ได้รับแจ้งข้อมูล แหล่งโบราณสถานวัดพระวังหาร (เก่า) นั้นตั้งอยู่ในแหล่งโบราณคดีบ้านพระวังหาร ซึ่งกลุ่มโบราณดคีได้มีการการสำรวจและจัดทำเอกสารการสำรวจเบื้องต้นไว้แล้ว เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๗ โดยนายสมเดช ลีลามโนธรรม ซึ่งมีข้อมูลสำคัญสรุปได้ ดังนี้แหล่งโบราณคดีบ้านพระวังหาร หมู่ ๔ ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา มีลักษณะเป็นเนินดินขนาดใหญ่ แผนผังรูปกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๓๐๐ เมตร มีความสูงจากที่นาโดยรอบประมาณ ๔ เมตร จากการสำรวจพบหลักฐานทางโบราณคดี ได้แก่๑. เศษภาชนะดินเผาแบบเนื้อดินหยาบ ผิวสีครีม (นวล) สีส้ม มีทั้งแบบผิวเรียบและตกแต่งลายเชือกทาบ ลายขูดขีดเป็นเส้นตรง ลายเขียนสีดำ สันนิษฐานว่าเป็นเศษภาชนะดินเผาในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคเหล็ก๒. เศษภาชนะดินเผาเครื่องถ้วยเขมร แบบเนื้อดินละเอียด ผิวสีส้ม มีทั้งแบบผิวเรียบและตกแต่งลายขุดเป็นเส้นตรงขนานกัน ขูดขีดเป็นรูปสามเหลี่ยม เศษภาชนะดินเผาแบบเนื้อแกร่งไม่เคลือบและเคลือบน้ำเคลือบสีเขียว เศษภาชนะดินเผาส่วนก้นไม่มีลวดลาย๓. ก้อนศิลาแลง/แท่งศิลาแลง รูปทรงเป็นแท่งสี่เหลี่ยม จำนวน ๒ ก้อน ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ภายในวัดพระวังหาร จากการสัมภาษณ์ชาวบ้านทราบว่า พบอยู่ใกล้ๆ กับหมู่บ้าน๔. นอกจากนี้จากการสัมภาษณ์ชาวบ้านทราบว่า เคยมีการขุดพบโครงกระดูกมนุษย์ร่วมกับภาชนะดินเผาในบริเวณหมู่บ้านด้วยจากหลักฐานที่พบสันนิษฐานได้ว่า แหล่งโบราณคดีบ้านพระวังหาร เป็นแหล่งประเภทที่อยู่อาศัยของมนุษย์หลายช่วงสมัย ดังนี้๑. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคเหล็ก อายุราว ๒,๕๐๐ – ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว ในช่วงเวลานี้ชุมชนอาจมีประเพณีการฝังศพเช่นเดียวกับชุมชนร่วมสมัยอื่นๆ๒. สมัยประวัติศาสตร์วัฒนธรรมขอมหรือเขมร อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๘ หรือประมาณ ๘๐๐ – ๑,๑๐๐ ปีมาแล้ว
กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี และอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ จัดโครงการปลูกต้นไม้สำคัญในอุทยานประวัติศาสตร์ ต้นกล้ามเหสักข์-สักสยามมินทร์ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมงคลเฉลิมพระชนม์พรรษา 84 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยมีกิจกรรมปลูกต้นมเหสักข์-สักสยามมินทร์ ณ อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ ในวันที่ 20 มกราคม 2559 ซึ่งนายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี พร้อมทั้งหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดสำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี ผู้แทนหน่วยงานราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ครู และนักเรียน ในตำบลสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี เข้าร่วมกิจกรรม
ภาพยนตร์ไทยที่ถูกสร้างมาจากเรื่องจริงมีหลากหลายแนว ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นหนังเกี่ยวกับโศกนาฏกรรม, อาชญากรรม, กีฬา (นำเสนอเกี่ยวกับนักกีฬาหรือการแข่งขันที่มีชื่อเสียง) หรือเรื่องราวชีวิตของคนที่มีชื่อเสียงในด้านต่าง ๆ หรือประวัติศาสตร์ในแต่ละช่วงเวลา โดยภาพยนตร์บางเรื่องได้ถูกสร้างและถูกแต่งเพิ่มเติมเพิ่มบทพูดบางบท มุมมองเรื่องราวต่าง ๆ เข้าไป เพื่อเพิ่มอรรถรสในการรับชม
ในปลายปีมะเมีย พุทธศักราช ๒๔๐๐ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกประกาศเรื่องออกหนังสือราชกิจจานุเบกษา ด้วยทรงพระราชดำริ “...ตริตรองในการจะทำนุบำรุงแผ่นดินให้เรียบร้อยสำเร็จประโยชน์ทั่วถึง แลแน่นอนให้ดีขึ้นไปกว่าแต่ก่อน..”ทรงเห็นว่า ในเวลามีราชการต่างๆ อาจมีการถ่ายทอดคำสั่งไปผิดบ้างถูกบ้าง ประกอบกับราษฎรที่รู้หนังสือมีน้อยกว่าที่ไม่รู้หนังสือ จึงทำให้มีการคดโกง ซึ่งสร้างความเดือดร้อนแก่ราษฎรและสร้างความเสื่อมเสียพระเกียรติยศ จึงโปรดให้ตีหนังสือขึ้นมา ใช้ชื่อว่า “ราชกิจจานุเบกษา” แปลว่า หนังสือเป็นที่เพ่งดูราชกิจ สันนิษฐานว่า ได้โปรดให้ทรงออกประกาศมหาสงกรานต์ ในหนังสือราชกิจจานุเบกษาด้วย โดยให้คัดเฉพาะเนื้อความ มีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า “...มีพระบรมราชโองการ ให้ประกาศแก่คนทั้งปวง บรรดาคนที่ถือพระพุทธศาสนาแลธรรมเนียม ปี เดือน คืน วัน อย่างเช่นใช้ในเมืองไทยรู้ทั่วกัน ว่าในปีมะเมียนี้ วันอาทิตย์ เดือนห้า แรมสิบสามค่ำ เป็นวันมหาสงกรานต์ วันจันทร์ เดือนห้า แรมสิบสี่ค่ำ แลวันอังคารเดือนหก ขึ้นค่ำหนึ่ง เป็นวันเนาว์ วันพุธเดือนหก ขึ้นสองค่ำ เป็นวันเถลิงศก ขึ้นศักราชใหม่เป็น ๑๒๒๐ ในปีนี้การทำบุญแลเล่นนักขัตฤกษ์สงกรานต์เป็น ๔ วันด้วยกัน คือ เดือนห้า แรมสิบสามค่ำ สิบสี่ค่ำ แลเดือนหก ขึ้นค่ำหนึ่ง และสองค่ำเป็นแน่แล้ว คนฟั่นๆ เฟือนๆ เลือนๆ ไหลๆ จำการหลังไม่ได้ อย่าตื่นถามว่าทำไมสงกรานต์จึงเป็นสี่วันก็สงกรานต์สี่วันนี้โดยบังคับตามคัมภีร์โหราศาสตร์ลางปีก็เคยมีมาแต่ก่อนดอก...” พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยในวิชาคำนวณ ดาราศาสตร์ และโหราศาสตร์มาตั้งแต่ครั้งทรงผนวช ครั้นเมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว ทรงใช้ความรู้ที่สนพระราชหฤทัยดังกล่าวในทางที่จะเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองในประการต่างๆ ตลอดรัชสมัย ประการหนึ่งที่สำคัญ คือเรื่องของเวลาและปฏิทิน แม้ว่าในขณะนั้น ไทยยังไม่มีปฏิทินที่อ้างอิงกับระบบสากลใช้ แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงศึกษาและทรงเข้าพระทัยเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวแล้ว หากแต่ในขณะเดียวกัน ยังทรงให้ความสำคัญกับการนับวันเดือนปีตามระบบเดิม ซึ่งคือระบบจันทรคติ ทรงเห็นว่า ราษฎรในขณะนั้น ยังไม่ทราบชัดเกี่ยวกับวันสงกรานต์ อันเป็นเทศกาลขึ้นปีใหม่ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ออกประกาศมหาสงกรานต์ดังกล่าว นอกจากนี้ ยังทรงมีพระบรมราชาธิบาย ว่าด้วยการเขียนวันเดือนปีที่ถูกต้องสำหรับช่วงเวลาที่คาบเกี่ยวกันระหว่างปีใหม่และปีใหม่ไว้โดยละเอียดด้วย ในประกาศคราวเดียวกันนี้ ยังมีประกาศที่น่าสนใจอีกฉบับหนึ่ง ที่สะท้อนสภาพสังคมของสยามครั้งรัชกาลที่ ๔ ได้อย่างแจ่มชัด นั่นคือ ประกาศเรื่องคนเสพสุราเมาในวันสงกรานต์ มีความว่า “...ด้วยเจ้าพระยายมราชชาติเสนางคนรินทรมหินทราธิบดี ศรีวิไชย ราชมไหศวรรย์บริรักษ์ ภูมิพิทักษโลกากรณ ทัณฑฤทธิธรนครบาลสมุหบดี อภัยพิริยปรากรมพาหุ รับพระบรมราชโองการใส่เกล้าใส่กระหม่อม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสั่งว่า เปนเยี่ยงอย่างสืบมาแต่โบราณยามตรุษยามสงกรานต์ผู้ชายโดยมาก เปนนักเลงบ้างมิใช่นักเลงบ้าง พากันเสพสุราเมามายไปทุกหนทุกแห่ง แล้วก็ออกเที่ยวเดินไปในถนนแลซุกซนเข้าไปในวัดวาอาราม ก่อถ้อยความวิวาทชกตีแทงฟันกัน ตรุษสามวันเปน ๔ ทั้งวันจ่ายเปน ๕ ทั้งวันส่งสงกรานต์สามวันหรือสี่วันเปน ๔ หรือ ๕ ทั้งวันจ่ายเปน ๕ หรือ ๖ ทั้งวันส่งนั้น มักเกิดถ้อยความวิวาทตีรันฟันแทงกันหลายแห่งหลายตำบลนัก ทั้งในกำแพงพระนคร แลภายนอกพระนคร เหลือกำลังที่นายอำเภอแลกกองตระเวนจะระวังดูแล แต่นี้ไปเวลาตรุษแลสงกรานต์ ให้เจ้าของบ้านเอาใจใส่ระวังรักษาหน้าบ้านของตัว ถ้ามีคนเมาสุรามาเอะอะอื้ออึงที่หน้าบ้าน ก็ให้จับเอาตัวมาส่งกรมพระนครบาลที่หน้าหับเผย ให้ทันเวลาที่ผู้นั้นยังเมาอยู่อย่าให้ทันส่างเมา แต่ห้ามไม่ให้พวกบ้านอื่นๆ มาพลอยกลุ้มรุมจับด้วย ถ้าคนเมามีพวกมากต่อสู้เจ้าของบ้าน ถึงเจ้าของบ้านจะชกตีมีบาดเจ็บก็ดี ถ้าเมื่อจับตัวไปส่งกรมพระนครบาลๆ ชันศูจน์รู้แน่ว่าคนนั้นเมาจริงก็ให้เจ้าของบ้านเปนชนะ ถ้าผู้จับมาส่งเหนว่าถ้าจับตัวคนผู้บุกรุกไปส่ง จะมีพวกของผู้นั้นคอยสกัดกั้นทาง แก้ไขตามทางที่จะไปส่งจะเกิดวิวาทกัน ถ้าอย่างนั้นก็ให้ยึดเอาไว้ มาบอกเล่ากับกรมพระนครบาลหรือนายอำเภอคนใดคนหนึ่งให้ไปชันศูจน์ว่าเมาฤๅไม่เมา อย่าให้ทันคนเมานั้นส่าง จะเปนคำโต้เถียงกันไป อนึ่งในยามตรุษยามสงกรานต์นั้น ผู้ใดจะเสพย์สุราเมามากก็ให้อยู่แต่ในบ้านเรือนของตัว ถึงจะมีที่ไปก็ให้งดรอต่อส่างเมาแล้วจึงไป หมายประกาศมาณวันอาทิตย์ เดือนห้าขึ้นสิบสี่ค่ำ ปีมะเมียยังเปนนพศก เปนวันที่ ๒๕๑๐ ในรัชกาลปัจจุบันนี้...” ภาพ : พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฎวิทยมหาราช ที่มา : พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จ. พระราชพิธีสิบสองเดือน.กรุงเทพฯ : แสงดาว, ๒๕๕๖. พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จ. รวมพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๔๘. ผู้เรียบเรียง : นายวสันต์ ญาติพัฒ ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี
***บรรณานุกรม***
สุนทรภู่
กาพย์เรื่องพระไชยสุริยาและสุภาษิตสอนสตรี พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายเชื่อม เอมกมล ณ เมรุวัดท่ามะปราง จังหวัดพิษณุโลก วันที่ 7 เมษายน 2516
กรุงเทพฯ
อมรการพิมพ์
2516
วัดพนัญเชิงวรวิหารเป็นพระอารามหลวงมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหารแบบมหานิกาย
หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยหัวเรื่อง ภาษาบาลี--ไวยากรณ์ คัมภีร์มูลกัจจายน์ การศึกษาและการสอนประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 70 หน้า : กว้าง 6 ซม. ยาว 58 ซม. บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากพระครูวิมลสังวร วัดแค ต.รั้วใหญ่ อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี
นิตยสารรายสองเดือน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
วัตถุประสงค์ : เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมในสาระสำคัญต่าง ๆ และ
เพื่ออนุรักษ์สืบทอดมรดกวัฒนธรรมของชาติ
ไตรภูมิฉบับภาษาเขมรนี้ เป็นคัมภีร์ที่อธิบายถึงภูมิและกำเนิดต่างๆ ทั้งในเทวโลก มนุษยโลก และยมโลก คล้ายกับหนังสือไตรภูมิฉบับภาษาไทยซึ่งมีอยู่ในหอสมุดแห่งชาติ
นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยา และ ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา. สาส์นสมเด็จ (ภาคที่ 48). พระนคร : กรมศิลปากร, 2502. สาส์นสมเด็จ (ภาคที่ 49) นี้ เป็นลายพระหัตถ์สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์กับสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมีโต้ตอบกันในบั้นปลายแห่งพระชนม์ชีพ เมื่อทรงวางภาระทางราชการงานเมือง และทรงพักผ่อนอย่างเงียบๆ มีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องโบราณคดี ศิลปะ วรรณคดี และการปกครอง