ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,619 รายการ
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาดก)ชาตกฎฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (ทสพร-มหาราช)
สพ.บ. 263/2ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 38 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา--การศึกษาและการสอน ชาดก
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง ประวัติ วัดเสนาสนาราม พระนครศรีอยุธยาผู้แต่ง พระพรหมเทพาจารย์ (กุสุโม)ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ ศาสนาเลขหมู่ 294.3135 พ349ปสสถานที่พิมพ์ พระนคร สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัยปีที่พิมพ์ 2479ลักษณะวัสดุ 23 ซ.ม. 23 หน้า.หัวเรื่อง วัดเสนาสนารามวรวิหารภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกวัดเสนาสนาราม เป็นวัดชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร อยู่หลังพระราชวังจันทรเกษม อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่วิสุงคามของวัดนี้มี 2 รัชกาล คือ รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 เดิมชื่อวัดเสือ เป็นวัดโบราณแต่ครั้งกรุงศรีอโยธยา พระเจ้าอยู่หัวปราสาททองทรงปฏิสังขรณ์ฯ รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาใหม่ทั่วทั้งพระอาราม เมื่อพระพุทธศักราช 2406
เลขทะเบียน : นพ.บ.182/3กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 42 หน้า ; 5 x 54.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 104 (101-109) ผูก 3ก (2565)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันธ์ขันธ์ --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
พฺรยาสุนนฺทราช (พฺรยาสุนนฺทราช)
ชบ.บ.67/1-1
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (หิมพานต์-นครกัณฑ์)
สพ.บ. 415/7ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 34 หน้า กว้าง 4.4 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา เทศน์มหาชาติ ชาดก
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ-ลานดิบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.285/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 56 หน้า ; 4.5 x 51.5 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 121 (258-265) ผูก 3 (2565)หัวเรื่อง : มหานิบาตวณฺณนา(เวสสนฺตรชาดก)ชาดกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา(ทานขันธ์)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
องค์ความรู้สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่เรื่อง "เมืองเชียงรายจากหลักฐานทางโบราณคดี ตอนที่ 1 : การตั้งถิ่นฐานแรกเริ่ม - สมัยล้านนา" เรียบเรียงโดย : นางสาวนงไฉน ทะรักษา นักโบราณคดีชำนาญการ. ในพื้นที่เทศบาลนครเชียงรายพบหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มาเนิ่นนาน โดยในปี พ.ศ. 2474 ศาสตราจารย์ฟริทซ์ สารสิน (Fritz Sarasin) ได้ขุดค้นพบเครื่องมือหินที่ถ้ำพระ เป็นเครื่องมือแบบไซแอเมียน (Siamian) ในยุคหินเก่า แบบเดียวกับที่พบที่แหล่งโบราณคดีบ้านแควน้อย จังหวัดกาญจนบุรี แหล่งโบราณคดีที่บ้านผาหมู อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ และแหล่งโบราณคดีในอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ พบเศษภาชนะดินเผา และเครื่องมือที่ทำด้วยกระดูกสัตว์ สรุปว่าคนที่อาศัยอยู่นี้เป็นกลุ่มชนล่าสัตว์ ยังไม่รู้จักการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์. ส่วนในเอกสารประวัติศาสตร์ พบการกล่าวถึงเมืองเชียงรายในพื้นเมืองเชียงแสน ฉบับรวบรวมและปริวรรตโดย ศาสตราจารย์สรัสวดี อ๋องสกุล ตั้งแต่สมัยตำนานจนถึงสมัยล้านนาและสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ดังนี้ - ลวจังกราช (พ.ศ.1182-1304) ได้โปรดฯ ให้สร้างเมืองแห่งหนึ่งขึ้นในบริเวณที่พบช้างป่าใหญ่ แล้วเรียกชื่อเมืองแห่งนี้ว่า “เวียงเชียงรอย” ซึ่งภายหลังคำว่าเชียงรอยได้แผลงไปเป็น “เชียงราย” - ตำนานยังเล่าอีกว่า พ.ศ.1438 พญาเรือนแก้วผู้ครองเมืองไชยนารายณ์ทรงสร้างพระธาตุขึ้น บนยอดดอยจอมทองริมฝั่งแม่น้ำกกในเขตตัวเมืองเชียงราย - ใน พ.ศ.1587 ท้าวกีฅำลาน เจ้าเมืองแคว้นกาวได้ยกทัพมารบกับลาวจังกวาเรือนฅำแก้วที่กลางทุ่งเชียงราย ลาวจังกวาเรือนฅำแก้วพ่ายแพ้ ชาวเชียงรายเสียแม่ทัพ เมืองแตก ทิ้งเมืองไป ทำให้เมืองเชียงรายกลายเป็นเมืองร้างไป - จนกระทั่งพญามังราย เสด็จประพาสป่าพร้อมกับบริวาร พบเมืองเชียงรายร้าง ทางใต้ของเวียงเงินยาง มีความพึงพอใจ จึงได้สร้างเมืองขึ้นมาใหม่ และประทับอยู่เมืองเชียงรายนี้ ไม่ได้กลับไปยังเมืองเงินยางอีก โอรสของพระองค์คือ พญาไชยสงครามก็ประทับอยู่ที่เมืองเชียงรายนี้จนสิ้นพระชนม์ หลังจากนั้นบทบาทของเมืองเชียงรายก็ลดน้อยลง กษัตริย์โปรดฯ ให้ขุนนางปกครองเมืองแห่งนี้แทน - แต่ยังคงปรากฏเรื่องราวเกี่ยวกับเมืองเชียงรายด้านพุทธศาสนาในสมัยล้านนาอยู่ ดังเช่นชินกาลมาลีปกรณ์กล่าวถึงคณะสงฆ์นิกายป่าแดงได้เดินทางไปอุปสมบทกุลบุตรในเมืองเชียงแสนแล้ว ก็ได้เดินทางไปทำการอุปสมบทกุลบุตรที่เมืองเชียงราย เมื่อปี พ.ศ.1977 - ในรัชสมัยพญาสามฝั่งแกน เกิดฟ้าผ่าองค์เจดีย์วัดป่าเยี้ยะ ได้พบพระแก้วมรกตในองค์เจดีย์นั้น วัดป่าเยี้ยะจึงถูกเรียกว่าว่าวัดพระแก้วตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา - จารึกดอยถ้ำพระเป็นหลักฐานแสดงถึงประเพณีการนำพระพุทธรูปไปประดิษฐานไว้ยังถ้ำพระ ในปี พ.ศ.2027 ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีประเพณีนี้มาตั้งแต่ก่อนหน้านั้น ถ้ำพระจึงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มาตั้งแต่สมัยล้านนา - ขอบเขตของเมืองเชียงรายนั้น ดร. ฮันส์ เพนธ์ สันนิษฐานไว้ว่าเมื่อแรกสถาปนาในสมัยราชวงศ์มังราย มีขนาดไม่ใหญ่นัก มีกำแพงเมืองเก่าเป็นอิฐเพียงบริเวณตีนดอยจอมทองเท่านั้น นอกนั้นเป็นกำแพงดินและอาศัยแม่น้ำกกเป็นคูเมือง. โบราณสถานในเมืองเชียงรายที่ได้กล่าวถึงไปข้างต้น ทั้งดอยถ้ำพระ พระธาตุดอยทอง วัดพระแก้ว และกำแพงเมือง-คูเมืองเชียงราย มีการใช้งานตลอดระยะเวลาตั้งแต่สมัยล้านนาจนถึงปัจจุบัน จึงถูกดัดแปลงปรับเปลี่ยนตลอดมา จนไม่ทราบลักษณะดั้งเดิมเมื่อสมัยแรกสร้างแล้ว โบราณสถานเกือบทั้งหมดที่ค้นพบยังไม่เคยได้รับการขุดค้นศึกษาทางโบราณคดี จนกระทั่งปี พ.ศ.2560 สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ มีโอกาสได้ดำเนินการทางโบราณคดีในพื้นที่มณฑลทหารบกที่ 37 ค่ายเม็งรายมหาราช ทำให้ได้ข้อมูลทางโบราณคดีที่สำคัญของเมืองเชียงรายเพิ่มขึ้น ซึ่งจะได้กล่าวถึงในตอนต่อไป--------------------------------เอกสารอ้างอิง-กองโบราณคดี. โบราณคดีเชียงราย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2533.บวรเวท รุ่งรุจีและคณะ, โครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคเหนือ). ม.ป.ท., 2529.สรัสวดี อ๋องสกุล. พื้นเมืองเชียงแสน. กรุงเทพมหานคร : อัมรินทร์พริ้งติงลิชชิ่ง, 2546.สุภาพร นาคบัลลังก์ บรรณาธิการ. จากยุคน้ำแข็งไพลสโตซีนสู่สมัยล้านนา. เชียงใหม่ : โครงการจัดตั้งศูนย์โบราณคดีภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2550.สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่. นามานุกรมแหล่งมรดกวัฒนธรรมในพื้นที่ล้านนาตะวันตก. เชียงใหม่ : เชียงใหม่สแกนเนอร์, 2560.อภิชิต ศิริชัย. รู้เรื่องเมืองเชียงราย. เชียงราย : สำนักพิมพ์ล้อล้านนา, 2559.ฮันส์เพนธ์ และคณะ. ประชุมจารึกล้านนา. เชียงใหม่ : คลังข้อมูลจารึกล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2546.
มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๒๗ เมษายน ๒๔๑๖ วันประสูติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพินทุ์เพ็ญภาค
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพินทุ์เพ็ญภาค เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ ๙ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดา หม่อมราชวงศ์ย้อย (ธิดาหม่อมเจ้าโสภณ อิศรางกูร กับหม่อมอิ่ม) ประสูติเมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๔๑๖
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพินทุ์เพ็ญภาคทรงตั้งอยู่สัมมาปฏิบัติ ประพฤติพระองค์สมควรแก่ราชสกุลทุกประการและยังมีพระอัธยาศัยเผื่อแผ่กว้างขวาง ทรงเห็นประโยชน์ของสาธารณชนเป็นสำคัญ เช่น ตึกอรพินทุ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพินทุ์เพ็ญภาคทรงสร้างขึ้น เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๙ ตั้งอยู่ โรงเรียนวัดบวรนิเวศ
เมื่อประชวรใกล้สิ้นพระชนม์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพินทุ์เพ็ญภาคทรงทำพินัยกรรมยกทรัพย์ในกองมรดกของพระองค์ ประทานให้เป็นทุนของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เพื่อเก็บผลทำนุบำรุงสาธารณชนผู้ป่วย
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพินทุ์เพ็ญภาค สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๘ ด้วยพระโรคพระหทัยพิการ ณ พระตำหนักที่ประทับริมคลองสามเสน เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๔๗๘ (นับแบบปัจจุบันเป็นพุทธศักราช ๒๔๗๙) สิริพระชันษา ๖๒ ปี พระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๙ (นับแบบปัจจุบันเป็นพุทธศักราช ๒๔๘๐) ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพินทุ์เพ็ญภาค นับเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่สืบสายจากพระบรมชนกนาถ
ภาพ : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพินทุ์เพ็ญภาค
ลวดลายเรือที่ปรากฏบนกลองมโหระทึกที่พบในจังหวัดมุกดาหาร
เมื่อ พ.ศ.2563 สำนักศิลปากรที่ 9 อุบลราชธานี ได้พบกลองมโหระทึกที่บ้านโพน อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร บริเวณไหล่กลองปรากฏลวดลายเรือจำนวน 6 ลำ แต่ละลำมีรูปบุคคลแบบนามธรรมนั่งอยู่ในเรือและมีบุคคลถือไม้พายอยู่บริเวณท้ายเรือ ซึ่งลวดลายเรือแบบนี้ได้พบบนกลองมโหระทึกในจีนตอนใต้และเวียดนามเหนือ จึงมีนักวิชาการตีความหมายไว้มากมาย เช่น อาจเป็นเทศกาลแข่งเรือ พิธีกรรมเกี่ยวกับน้ำ และพิธีกรรมเกี่ยวกับความตาย แต่อย่างไรก็ตามลวดลายเรือนี้ก็แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตเกี่ยวกับสายน้ำของกลุ่มคน “เยว่”(Yue) ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ใช้กลองมโหระทึกนี้ด้วย
“เยว่”(Yue) เป็นชื่อที่กลุ่มคนจากพื้นที่ภาคเหนือของจีน (กลุ่มคนฮั่น) ใช้เรียกกลุ่มคนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่บริเวณทางภาคใต้ของประเทศจีน ตั้งแต่ชายฝั่งทะเลของเมืองเซี่ยงไฮ้ มณฑลเจ้อเจียง มณฑลฝูเจี้ยน มณฑลกว่างตง ยาวจรดบริเวณตอนกลางของประเทศเวียดนามในปัจจุบัน ซึ่งในบันทึกของซือหม่าเชียน (Si Ma Qian) ก็เรียกคนกลุ่มนี้ว่า “เยว่”ด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ยังมีชนพื้นเมืองทางใต้ที่เรียกว่า “ไป๋เยว่”(Bai Yue) หรือพวกเยว่ร้อยเผ่าที่อยู่ทางภาคใต้ ใน มณฑลฝูเจี้ยน มณฑลกว่างตง มณฑลกว่างซี มณฑลกุ้ยโจว มณฑลหยุนหนาน และในประเทศเวียดนามตอนเหนือ
นอกจากเรือที่ใช้แล่นในแม่น้ำแล้วพวก “ไป๋เยว่” กลุ่มซีโอว (Xi Ou) และลั่วเยว่ (Luo Yue) ซึ่งเป็นชาติพันธุ์สาขาหนึ่งของไป๋เยว่ ได้ตั้งถิ่นฐานบริเวณชายฝั่งทะเลด้วย รู้จักการสร้างเรือออกทะเลที่เมืองท่ากุ้ยกั่ง (Gui Gang Port) อ่าวหลัวปั๋ว (Luobowan) ได้พบกลองมโหระทึกที่มีลายเรือเป็นสิ่งยืนยันได้ว่าชนชาติเยว่รู้จักใช้ลำเรือคู่ (Catamaran) เดินทางออกสู่ทะเลแล้ว ในหนังสือ “เยว่เจวี๋ยซู”(Yue jue shu) ตอนที่ 2 กล่าวไว้ว่า “ชาวเยว่ใช้เรือฝั่ง(Fang,舫) หรือเรือสี่เหลี่ยม (Square boat) ในการสัญจรค้าขาย” คำว่าฟาง (Fang,方) ก็คือชื่อเรือฝั่ง(Fang,舫) ซึ่งเป็นชนิดของเรือที่ชาวเยว่ใช้ออกทะเลในยุคแรกเริ่ม ชาวเยว่ยังได้สร้างเรือสำริดโบราณอีกด้วย หนังสือหลิ่งว่ายไต้ต๋า (Ling wai dai da) อ้างจากหนังสือเจียวจื่อจี้ (Jiaozhi Ji) ว่า “ชาวเยว่หล่อสำริดเป็นเรือโป๋” (Bo,舶) เรือโป๋เป็นเรือออกทะเลขนาดใหญ่
จากงานเขียนของจื่อเยว่ (Zhi Yue) เรื่อง“ประวัติเศรษฐกิจของหลิ่งหนาน” (Lingnan jingji shihua) มีความเห็นว่า เทคโนโลยีการสร้างเรือในสมัยฮั่นมีพื้นฐานมาจากพัฒนาการต่อจากเรือใบที่มีลำเรือเป็นไม้ของสมัยราชวงศ์ฉิน ที่เป็นเรือใหญ่สองชั้นมีสิบพายหนึ่งกรรเชียง เรือใหญ่สองชั้นสามารถล่องไกลไปในทะเลได้และบนลำเรือมีพื้นที่ในการบรรทุกน้ำจืดและอาหารแห้งเพื่อยังชีพอย่างจำกัด เรือจึงไม่สามารถแล่นออกไปได้ไกลนัก เพราะต้องมาเติมเสบียงให้ทันเวลา ดังนั้นการล่องเรือยังคงเลียบไปตามเส้นชายฝั่ง ประกอบกับลักษณะชายฝั่งแถบหลิ่งหนานเป็นชายหาดยาวที่คดเคี้ยวไปมา ไม่เหมือนกับแนวชายหาดแถบมณฑลเจ้อเจียงที่มีลักษณะทอดยาวและยากต่อการต้านกระแสลมและกระแสน้ำ การจอดแวะพักเรือตามท่าเลียบชายฝั่งทางทิศใต้จึงเป็นเรื่องที่ปลอดภัยกว่า
การเดินเรือและการติดต่อค้าขายทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของกลุ่มคนในจีนตอนใต้กับทางตอนเหนือของเวียดนามทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและการติดต่อกับกลุ่มคนในเวียดนามและกลุ่มคนในชายฝั่งทะเลทางภาคใต้ ซึ่งในปัจจุบันเป็นประเทศจีน แสดงให้เห็นว่าในบริเวณนี้มีการเดินเรือในระยะใกล้เพื่อติดต่อแลกเปลี่ยนกันทางวัฒนธรรมตั้งแต่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะในช่วงสมัยราชวงศ์ฮั่นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนจีน เป็นสาเหตุที่ทำให้มีการผสมผสานของกลุ่มคนจากมณฑลเสฉวน หยุนหนาน กวางซี กลุ่มคนเหล่านี้มีการแลกเปลี่ยนการทำสำริดและโลหะ โดยเฉพาะกลองสำริด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมดองซอนในเวียดนามตอนเหนือ
จากข้อมูลดังกล่าว จึงทำให้สันนิษฐานได้ว่ากลองมโหระทึกที่บ้านโพน อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งปรากฏลวดลายเรือแบบเดียวกับที่พบบนกลองมโหระทึกในเวียดนามเหนือและจีนตอนใต้ น่าจะเป็นกลองมโหระทึกที่นำเข้ามาจากบริเวณดังกล่าวมากกว่าที่จะผลิตขึ้นในท้องถิ่น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการติดต่อสัมพันธ์ของผู้คนในวัฒนธรรมกลองมโหระทึกบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เวียดนามเหนือ และจีนตอนใต้ได้อย่างชัดเจน และคงส่งผลต่อวิถีวัฒนธรรม เทคโนโลยี ตลอดจนพัฒนาการทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญที่ต้องศึกษากันต่อไป
ข้อมูล นางสาวเมริกา สงวนวงษ์ นักโบราณคดีปฏิบัติการ
อ้างอิง
-Zhao Ming long赵明龙(พรพรรณ จันทโรนานนท์ แปล), เหอผู่(เป๋ยไห่)คือท่าเรือใหญ่สุดจุดเริ่มต้นของเส้นทางแพรไหมทางทะเลแห่งแรกของจีน (สถาบันไทย-จีนศึกษา, 2002 )
-Erica Fox Brindley, Ancient China and The Yue (Cambridge: University Printing House, 2015)
กรมศิลปากร และชมพูนุช พงษ์ประยูร. จิตรกรรมฝาผนังและภาพลายเส้นในประเทศไทย. พระนคร : กรมศิลปากร, 2515. หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนแรกกล่าวถึงเรื่องจิตรกรรมฝาผนังในประเทศไทย ตอนที่สองกล่าวถึงเรื่องภาพลายเส้นในประเทศไทย ซึ่งทั้งภาพจิตรกรรมและภาพลายเส้น สำรวจพบว่ามีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์โดยมนุษย์สมัยก่อนเขียนไว้ตามถ้ำ ถัดมาเป็นภาพจิตรกรรมสมัยทวารวดี ศรีวิชัย สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์